-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 572 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว








นาข้าวปีละ 2 รุ่น               


         
หลักการและเหตุผล :                                
        ดังได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า นาข้าวไม่มีฤดูกาล เพียงแต่ขอให้มีน้ำอย่างเพียงพอและสามารถ ชักน้ำเข้านาได้ทุกเมื่อ ณ เวลาที่ต้องการเท่านั้น ทั้งนี้ต้นข้าวเมื่อลงมือหว่านหรือดำเมื่อใดให้นับต่อไปอีก 90-110 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้.....ชาวนาส่วนใหญ่นิยมทำนาปีละ 2 รุ่น (นาปี-นาปรัง) เนื่องจากธรรมชาติ (ฝน)เอื้ออำนวย แต่บางปีธรรมชาติก็ไม่เอื้ออำนวยเอาเสียดื้อๆจนชาวนาเดือดร้อนไปตามๆกัน โดยเฉพาะชาวนาปรัง กรณีที่ธรรมชาติเอื้ออำนวยหรือไม่เอื้อไม่ใช่ปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ ถ้าธรรมชาติไม่เอื้ออำนวยหรือไม่มีฝนตกระหว่างต้นข้าวกำลังเจริญเติบโตก็ให้แก้ปัญหาด้วยวิธี กักเก็บน้ำไว้ใต้ดิน แม้จะได้น้ำไม่มากนักแต่ก็ถือว่าพอเพียงต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวอยู่บ้าง.....เทคนิคในการเก็บน้ำไว้ใต้ดิน นอกจากจะได้น้ำแล้วยังได้อินทรีย์วัตถุปรับปรุงบำรุงดินอีกด้วย                        

        ในการทำนาปีละ 2 รุ่น ควบคู่กับการปรับปรุงบำรุงดินไปด้วยนั้น จำเป็นต้องปรับช่วงเวลาและจัดรุ่นในการทำนาใหม่ ดังนี้...                         
        เริ่มจาก นาข้าวรุ่น 1 ให้ลงมือหว่าน/ดำในเดือน ส.ค. เมื่อถึงเดือน พ.ย.ก็จะเกี่ยวได้ เสร็จจากเกี่ยวข้าวนารุ่น 1 แล้วเริ่มให้ลงมือทำ นาข้าวรุ่น 2 ต่อทันที โดยหว่าน/ดำในเดือน ธ.ค.จนถึงเดือน มี.ค. ก็จะเกี่ยวได้อีกรุ่น                   

        หลังจากเกี่ยวข้าวรุ่น 2 แล้ว ยังจะเหลือระยะเวลาอีก 4 เดือนของปี คือช่วงเดือน เม.ย.- ก.ค. ช่วง 4 นี้ให้พักดินหรือปรับปรุงบำรุงดิน โดยไถดะไถแปรพอเป็นพิธีแล้วปลูกพืชตระกูลถั่ว จนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิตถั่วแล้วลงมือทำเทือกโดยไถกลบเศษต้นถั่วสำหรับทำนารุ่น 1 ของรอบปีการผลิตใหม่ต่อไป....หรือถือโอกาสช่วงนี้กำจัดวัชพืชแบบล่อให้ขึ้นแล้วทำลายก็ได้ เริ่มโดยบำรุงดิน (ให้น้ำพอหน้าดินชื้น)เพื่อล่อให้หญ้า วัชพืช เมล็ดข้าวร่วงงอกขึ้นมาก่อน แล้วกำจัดด้วยวิธีย่ำเทือกหลายๆรอบ...เพื่อให้ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอีกแนะนำให้ปลูกต้นถั่วก่อน แล้วบำรุงให้ต้นถั่วเจริญเติบโตพร้อมๆกับต้นวัชพืช เมื่อเห็นว่าต้นวัชพืชทุกต้นงอกขึ้นมาหมดแล้วก็ให้กำจัดด้วยวิธีการย่ำเทือกหลายๆรอบ วิธีนี้นอกจากจะได้กำจัดวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี (ยาฆ่าหญ้า)แล้วยังได้เศษซากพืชปรับปรุงบำรุงดินอีกด้วย 
                    

            สรุป :
 
            นาข้าวรุ่น  1   เดือน   ส.ค.-พ.ย.  (หว่านวันแม่.....)
            นาข้าวรุ่น  2   เดือน   ธ.ค.- มี.ค. (หว่านวันพ่อ......)
            ปรับปรุงดิน     เดือน   เม.ย.-ก.ค.  (หว่านเมล็ดถั่ววันปีใหมไทย)

                 
            หมายเหตุ  :               
          - ใช้พันธุ์ข้าวประเภท 110 วันเก็บเกี่ยวได้ เป็นข้าวสำหรับบริโภค
          - ควรทำนารุ่น 2 แล้วกะเก็งเวลาเกี่ยวให้ได้ในช่วงปลายเดือน มี.ค. ซึ่งเป็นเดือนที่ยังไม่มีฝน แต่ถ้ารอไปถึงเดือน เม.ย.(สงกรานต์)มักมีฝนหรือพายุฤดูร้อน
          - การพักดินโดยปลูกพืชตระกูลถั่วประจำทุกปี ๆละ 1 รอบ จะช่วยให้ดินดี....หากไม่ปลูกถั่วก็อาจจะพิจารณาปลูกพืชอายุสั้นอย่างอื่นที่เก็บเกี่ยวได้ภายในระยะเวลา 4 เดือนแทน หรือปลูกถั่วแล้วไม่เอาผลผลิต แต่จะเอาเศษซากต้นบำรุงดินก็ได้ โดยเมื่อต้นถั่วเริ่มออกดอกก็ให้ลงมือไถกลบลงดินเลย จากนั้นรอเวลาเข้าสู่วงรอบนาข้าวรุ่น 1 ต่อไป 










พด.หนุนปลูกข้าวปีละ 2 หน  เปิดเผยวิจัย
พบปลูกพืชปุ๋ยสดคั่นช่วงเวลาทำนาส่งผลดินดี
กรมพัฒนาที่ดินยันระบบปลูกข้าวปีละ 2 หน คือทางออกในการบริหารทรัพยากรดินและน้ำอย่างยั่งยืน พร้อมเผยผลวิจัยปลูกพืชปุ๋ยสดคั่นในนาข้าวทำให้ดินดี ลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีไม่ต่ำกว่า 25% ดันผลผลิตข้าวเพิ่มกว่า 20%

นายฉลอง เทพวิทักษ์กิจ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายปรับระบบปลูกข้าวใหม่เป็นปีละ 2 ครั้ง เพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำและป้องกันปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชระบาดทำลายผลผลิตเสียหาย ที่สำคัญยังช่วยในการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นแนวทางส่งเสริมให้เกิดการปลูกข้าวอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ จากผลการศึกษาวิจัยของกรมพัฒนาที่ดินในเรื่องระบบปลูกข้าวใหม่ ที่มุ่งเน้นให้เกษตรกรปลูกข้าวและให้พักดินโดยการปลูกพืชปุ๋ยสดคั่นนั้น พบว่า การปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ปอเทือง โสนอัฟริกันแล้วทำการไถกลบ จะสามารถสร้างปุ๋ยให้กับดินเทียบเท่ากับปุ๋ยยูเรีย 26 กิโลกรัม/ไร่ หรือคิดเป็นเงินไม่ต่ำกว่าไร่ละ 700 บาท และเมื่อเกษตรกรปลูกข้าวในรอบต่อไป นอกจากจะลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีลงไม่ต่ำกว่า 25% ยังช่วยเพิ่มผลผลิตข้าว โดยข้าวขาวดอกมะลิ 105 เพิ่มจาก 403 เป็น 486 กิโลกรัมต่อไร่ หรือคิดเป็น 20% ส่วนข้าว กข.23 เพิ่มขึ้นจาก 443 เป็น 601 กิโลกรัม/ไร่ หรือคิดเป็น 42% ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้สุทธิจากการปลูกข้าวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 681 บาทต่อไร่

"การปลูกข้าวแล้วคั่นด้วยการปลูกพืชปุ๋ยสด นอกจากเป็นการลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมีให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญพืชปุ๋ยสดยังช่วยในการเพิ่มอินทรียวัตถุ เพิ่มไนโตรเจนให้แก่ดิน ช่วยในการปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น เมื่อดินมีความอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตข้าวก็จะมากกว่าการปลูกข้าวเพียงอย่างเดียวต่อเนื่องแบบไม่มีการพักดิน" รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวย้ำ



ที่มา  :  แนวหน้า





บังคับชาวนาปลูกข้าวปีละ 2 ครั้ง

นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบแผนการจัดระบบการเพาะปลูกข้าวของประเทศไทย ให้เหลือแค่ปีละ 2 ครั้ง คือ นาปี 1 ครั้ง และนาปรัง 1 ครั้ง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เนื่องจากเห็นว่าเป็นแผนงานที่เหมาะสม และน่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะปลูกข้าวในประเทศได้ดีมากขึ้น และจะนำข้อเสนอนี้เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมครม.พิจารณาอย่างเป็นทางการต่อไปด้วย
   
สำหรับแผนการจัดระบบเพาะปลูกข้าวใหม่ที่เสนอให้พิจารณาครั้งนี้ จะเริ่มต้นใช้อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ช่วงการปลูกข้าว นาปรังปี 54-56 รวม 3 ปี กำหนดพื้นที่เป้าหมาย 22 จังหวัด ในเขตชลประทาน ดำเนินการปีละ 3 ล้านไร่ รวมเป็น 9 ล้านไร่
   
ทั้งนี้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าว เมล็ดพันธุ์พืช การอบรมความรู้ จัดหาตลาดรองรับผลผลิตพืช การผ่อนปรนดอกเบี้ย และเลื่อนกำหนดเวลาชำระหนี้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งการดำเนินงานทั้งหมด คาดว่าใช้งบประมาณสนับสนุนทั้งหมด 2,180 ล้านบาท
   
รูปแบบของระบบการเพาะปลูกข้าว ใหม่นี้ จะนำเรื่องการพักหน้าดิน จากการหยุดทำนาและการปลูกพืชหลังนา เข้ามาร่วมกับการเพาะปลูกข้าวตามระบบปกติ เพื่อช่วยรักษาหน้าดิน และตัดวงจรการแพร่ระบาดของโรคแมลง ที่สร้างความเสียหายให้การปลูกข้าวในช่วงที่ผ่านมาอย่างมาก

สำหรับระบบการเพาะปลูกข้าว ที่กำหนดไว้ในขณะนี้ มี 4 รูปแบบ พิจารณาปรับใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ คือ ปลูกข้าวนาปรัง จากนั้นปลูกข้าวนาปีต่อ หลังจากนั้นปลูกพืชหลังนา ก่อนจะเริ่มปลูกข้าวนาปรังอีกครั้ง.

ที่มา  : เดลินิวส์











สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (3811 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©