วิธีกำจัดข้าวปน
ข้าวปน คือ ข้าวต่างสายพันธุ์ มีทั้งต่างสายพันธุ์โดยกำเนิดและต่างสายพันธุ์ที่เกิดจากการ
กลายพันธุ์ในแปลงปลูก ไม่ว่าสายพันธุ์จะมีความเป็นมาอย่างไร เมื่อปลูกไปแล้วผลผลิตที่ได้
คุณภาพ และราคาย่อมแตกต่างกัน เพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตข้าวทั้งหมดตรงตามสายพันธุ์อย่าง
แท้จริง จึงจำเป็นต้องป้องกันและกำจัดข้าวปน ดังนี้....
1.ตรวจสอบความน่าเชื่อถือแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ว่า มีมาตรการป้องกันข้าวปนอย่างไร เช่น
ความบริสุทธิ์เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ การป้องกันกำจัดวัชพืช การป้องกันกำจัดโรคและแมลง การปฏิบัติ
บำรุงต่อต้นข้าวทุกระยะตั้งแต่ ก่อนปลูก ระหว่างปลูก จนถึงหลังเก็บเกี่ยว เมล็ดพันธุ์ที่ใช้
ปลูกติดต่อกันมาแล้ว 3 รุ่น เมื่อนำมาปลูกเป็นรุ่นที่ 4 มักจะกลายพันธุ์หรือได้คุณภาพไม่ตรง
กับสายพันธุ์เดิมที่ปลูกรุ่นแรกๆ
2.คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่รูปทรงลักษณะ (ขนาด รูปทรง สี ฯลฯ) ผิดเพี้ยนไปจากเมล็ดพันธุ์
ส่วนใหญ่ทิ้งไป
3.ตรวจลักษณะต้นกล้าในแปลงตกกล้าก่อนถอนกล้าไปดำ (ด้วยมือ) ในแปลงจริง
โดยพิจารณาถอนทิ้งต้นที่ขนาดและรูปทรง (โตกว่า/เล็กกว่า/อ้วน/ผอม) ผิดปกติจากต้นกล้า
ส่วนใหญ่อย่างเห็นได้ชัด
ส่วนนาดำด้วยรถดำนาซึ่งต้องตกกล้าในกระบะ อาจจะไม่สะดวกต่อการตรวจสอบขนาดและรูปทรง
ต้นกล้าก็ให้อนุโลมผ่านไปก่อน
4.ปลังจากดำแล้วให้ตรวจสอบลักษณะต้นข้าวในแปลง ทุก20-30 วัน โดยพิจารณาลักษณะต่างๆ
ดังนี้
อัตราการเจริญเติบโต.....เร็ว/ช้า
แตกกอ.............มาก/น้อย
ลำต้น..............อ้วน/ผอม...สูง/ต่ำ......ปล้องยาว/สั้น
ใบ................ยาว/สั้น....กว้าง/แคบ....สีเข้ม/จาง
กาบใบ..............แน่น/หลวม
ดอก...............ออกเร็ว/ช้า...ออกแล้วพุ่ง/ไม่พุ่ง....ตั้งตรง/ตั้งเอียง
รวง...............ความยาว/สั้น..เมล็ดดก/ไม่ดก......โค้งงอลงมาก/น้อย
เมล็ด..............ขนาดใหญ่/เล็ก..ยาว/สั้น...กลม/แบน...สีเข้ม/จาง
อายุ...............แก่ก่อน/หลัง....แก่พร้อมกัน/ไม่พร้อมกัน
การวิเคราะห์สาเหตุจากลักษณะทุกอย่างดังกล่าวหรืออื่นๆ ที่ปรากฏเด่นชัดให้ถูกต้องนั้น จะต้อง
พิจารณาลักษณะแปลงปลูกที่เป็นปัจจัยพื้นฐานด้านการเพาะปลูก(ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดู
กาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) อย่างละเอียดประกอบด้วย เพราะบางครั้งลักษณะอาการของต้น
ข้าวที่ผิดเพี้ยนไปนั้นเกิดจากปัจจัยพื้นฐาน ไม่ใช่ลักษณะอาการของสายพันธุ์โดยแท้ เช่น ที่ลุ่ม/ที่
ดอน ร่มเงา/แสงแดด ดินเก่า/ใหม่ ร้อน/หนาว/ฝน สารเคมี (ยาฆ่าแมลง/ยาฆ่า
หญ้า) จากแปลงข้างเคียง และอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวแต่ละระยะ
ระหว่างตรวจแปลง
ถ้ามั่นใจว่าลักษณะของต้นข้าวบางต้นที่ต่างไปจากต้นอื่นส่วนใหญ่ทั้งแปลงนั้น เกิดจากลักษณะทาง
สายพันธุ์ไม่ใช่จากสภาพแวดล้อม และการปฏิบัติบำรุงแน่ ก็ให้ถอนทิ้งต้นนั้นไป
5. ก่อนลงมือหว่านหรือดำเพื่อทำนารุ่นใหม่ด้วยสายพันธุ์ใหม่ ควรกำจัดตอซังของนาข้าวรุ่นก่อน
หน้าให้หมดสิ้น เพื่อไม่ให้เกิดหน่อใหม่งอกขึ้นมาจากตอซัง ซึ่งหน่อใหม่นี้จะโตจนเป็นต้นข้าวแล้ว
ให้ผลผลิตหรือเมล็ดข้าวที่ต่างจากสายพันธุ์ใหม่
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.