-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 541 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





นวลศรี โชตินันทน์

วิธีการจัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างยั่งยืน


เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงศัตรูข้าวประเภทปากดูด อยู่ในอันดับโฮม็อปเทอร่าแมลงที่อยู่ในอันดับนี้ ได้แก่ แมลงประเภทเพลี้ยต่างๆ เช่น เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยแป้ง เป็นต้น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีความเฉพาะเจาะจงต่อพืชอาหารเพียงชนิดเดียวคือ ข้าว เท่านั้น ทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์ท่อน้ำ ท่ออาหารบริเวณโคนต้นข้าวเหนือน้ำ ต้นข้าวจะแสดงอาการ ใบเหลือง เหี่ยวแห้งตายเป็นหย่อมๆ เรียกว่า อาการฮ็อปเพอร์เบิร์น นอกจากนี้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเป็นแมลงพาหะนำเชื้อโรคไวรัส ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคใบหงิกหรือโรคจู๋

คุณสุเทพ สหายา นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเกิดการระบาดรุนแรงหลายประเทศในเอเชีย เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว มาเลเซีย และไทย สำหรับประเทศไทยนั้น กรมส่งเสริมการเกษตร ได้รายงาน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2552 ว่า มีการระบาดมากกว่า 13 จังหวัด พื้นที่ความเสียหายมากกว่า 2 ล้านไร่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ทดสอบหาสารที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

"กลุ่มกีฏและสัตววิทยา ได้นำสารที่เคยแนะนำในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวซึ่งเกิดอย่างรุนแรง เมื่อประมาณเกือบสิบปีมาแล้ว นำมาทดสอบทั้งรูปแบบสารเดี่ยวที่เพิ่มอัตราการใช้แล้วกับการผสมสาร 2 ชนิด ที่มีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกัน และผสมสารฆ่าแมลงกับสารเสริมประสิทธิภาพมาทดสอบในสภาพรุนแรงเช่นปัจจุบัน" คุณสุเทพ บอก

คุณสุเทพ ชี้ว่า การรระบาดรุนแรงในปัจจุบัน เรียกว่า เป็นการระบาดมากกว่าระดับเศรษฐกิจ (Econcmic threshold) โดยทดสอบในแปลงข้าวที่มีการระบาดอยู่ในระดับ 100-200 ตัว ต่อกอ ผลพบว่าทุกวิธีการไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ระบาดในปัจจุบัน ดังนั้น วิธีที่จะลดความรุนแรงของการระบาดที่เหมาะสมที่สุดในระยะวิกฤตนี้ คือ การเว้นการปลูกข้าวในช่วงนี้ เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และการปลูกข้าวในฤดูการถัดไป เกษตรกรต้องดูแลเอาใจใส่แปลงให้เข้มข้นมากกว่าปกติ



สาเหตุการระบาด มีหลายปัจจัยด้วยกัน คือ

1. มีการปลูกข้าวตลอดทั้งปีโดยไม่พักดิน ปัจจุบัน ในเขตชลประทานมีการทำนา 6-7 ครั้ง/2 ปี ซึ่งข้าวมีอายุประมาณ 110-120 วัน ทำให้ไม่มีการพักดิน ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีแหล่งพืชอาหารตลอดปี ทำให้เพลี้ยมีวงจรชีวิตต่อเนื่องหลายชั่วอายุในช่วงเวลาเดียวกัน ส่งผลให้ลูกหลานของเพลี้ยพัฒนาความต้านทานต่อสารฆ่าแมลง ทำให้การพ่นสารไม่ได้ประสิทธิผลเท่าที่ควร

2. การปลูกข้าวพันธุ์ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เพลี้ยระบาด ดังนั้น ชาวนาต้องเลือกปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานต่อการทำลายของโรคและแมลง ซึ่งจะทำให้ลดปัญหาของศัตรูข้าวตั้งแต่ต้น แต่ปัญหาก็คือ ชาวนาชอบปลูกพันธุ์ข้าวที่พ่อค้าให้ราคาดี ซึ่งไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล นอกจากนี้ การใช้พันธุ์ข้าวที่ไม่ใช่พันธุ์ที่ทางราชการแนะนำ อาจไม่ใช่พันธุ์บริสุทธิ์ อาจมีการปลอมปน อีกประการหนึ่งก็คือ การปลูกข้าวพันธุ์เดียวกันเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เพลี้ยปรับตัวเข้าทำลายได้

3. การใช้สารเคมีบางชนิดอาจทำให้เกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพิ่มขึ้น เช่น การใช้สารเคมีกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ หรือกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตบางชนิดป้องกันกำจัดแมลงชนิดอื่น เช่น หนอนกอ อาจทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลซึ่งอาจมีอยู่เพียงเล็กน้อยเพิ่มการระบาดมากขึ้นได้ และอาจมีสาเหตุเกิดจากสารบางชนิดไปทำลายตัวห้ำตัวเบียนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล



สาเหตุการใช้สารป้องกันกำจัดไม่ได้ผล ประกอบด้วยหลายปัจจัย คือ

1. การหว่านข้าวที่หนาแน่นเกินไป ทำให้การพ่นสารไม่ทั่วถึง เนื่องจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะอยู่ที่บริเวณโคนต้น ถ้าต้นข้าวแน่นเกินไป จะทำให้สารที่พ่นไปไม่ถูกตัวเพลี้ย โดยเฉพาะการใช้เครื่องยนต์พ่นสารชนิดใช้แรงลมจะมีปัญหามาก เนื่องจากส่วนใหญ่สารจะถูกแรงลมตกลง ส่วนบนต้นข้าวมากกว่าส่วนล่าง ดังนั้น ชาวนาควรเลือกเครื่องพ่นสารที่สามารถกดหัวฉีดให้ละอองสารลงให้ถูกโคนต้นข้าว

2. การใช้ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันสารเคมีแบ่งกลุ่มตามกลไกการออกฤทธิ์ ซึ่งจะมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น สำหรับสารเคมีที่มีประสิทธิภาพในช่วงการระบาดที่ยังไม่รุนแรง ได้แก่ กลุ่มนีโอนิโตนอยด์ เช่น ไดโนทีฟูแรนด์ ไทอะมีโทแซม คลอไทอะนิดิน อิมิดาคลอพริด เป็นต้น กลุ่มฟินิลไพราโซล เช่น อิทิโพร์ล กลุ่มคาร์บาเมท เช่น ฟีโนบูคาร์บ ไอโซโพรคาร์บ คาร์โบซัลแฟน กลุ่มสารยับยั้งการสร้างไคติน หรือยับยั้งการลอกคราบของแมลง เช่น บูโพรเฟซิน (ใช้ได้เฉพาะตัวอ่อน) กลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น อีโทเฟนพร็อก (เป็นสารเพียงชนิดเดียวในกลุ่มไพรีทรอยด์ที่ยังแนะนำให้ใช้ในนาข้าว) และสารผสม 2 กลุ่มกลไกการออกฤทธิ์ เช่น บูโพรเฟซิน+ไอโซโพรคาร์บ

คุณสุเทพ กล่าวอีกด้วยว่า จากข้อมูลหลายๆ ประเทศ พบว่าการปล่อยให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรงเป็นร้อยตัวต่อกอ การใช้สารเคมีจะไม่ได้ผล ดังนั้น หลังจากที่มีการงดปลูกข้าวอย่างน้อย 2 เดือนแล้ว การปลูกข้าวในฤดูกาลหน้า ต้องมีวิธีการจัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยวิธีผสมผสาน ดังนี้

ขั้นแรก เลือกพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และไม่ควรปลูกข้าวพันธุ์เดียวกันเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง เพื่อลดโอกาสที่เพลี้ยจะปรับตัวไม่ง่าย

ขั้นที่สอง ต้องสำรวจแปลงนาทุกสัปดาห์หลังจากข้าวงอก ถ้าพบจำนวนตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่ยังไม่ถึง 10 ตัว ต่อกอ ให้ใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่งในกลุ่มนิโอนิโคตินอยด์ดังกล่าวข้างต้น

ถ้าเริ่มพบมากกว่า 10 ตัว ต่อกอ ให้ใช้สารบูโพรเฟซีน หรือสารชนิดใดชนิดหนึ่งในกลุ่มคาร์บาเมท ดังกล่าวข้างต้น กรณีที่รุนแรงมากขึ้นควรใช้สารบูโพรเฟซีนผสมกับคาบาร์เมทชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยให้ใช้อัตราเดียวกับการพ่นสารเดี่ยว โดยไม่ต้องลดปริมาณ เนื่องจากจะทำให้เพลี้ยรุ่นลูกหลานพัฒนาความต้านทานได้

คุณสุเทพ ย้ำว่า ข้อสำคัญคือ ไม่ควรปล่อยให้การระบาดรุนแรง เพราะการป้องกันกำจัดจะไม่ได้ผล เนื่องจากการระบาดรุนแรงจะทำให้มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทุกระยะในแปลงนาช่วงเวลาเดียวกัน เช่น ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนทุกวัย รวมทั้งระยะตัวเต็มวัย ทำให้การใช้สารควบคุมได้เพียงระยะสั้นๆ หลังจากพ่นสาร 3 หรือ 5 วัน ก็จะพบตัวอ่อนที่เพิ่งฟักออกมาอีก ทำให้ต้องพ่นสารบ่อยครั้ง ซึ่งนอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังเปิดโอกาสให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสร้างความต้านทานต่อสารเคมี ดังเช่นที่พบในปัจจุบัน

สำหรับระยะยาว ชาวนาควรใช้ระบบการปลูกพืชเข้าช่วยด้วย โดยปลูกข้าวไม่เกิน 2 ครั้ง ต่อปี ช่วงเวลาที่เหลืออาจเว้นการปลูกเพื่อพักดิน หรือปลูกพืชตระกูลอื่นสลับ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดหวาน หรือพืชปรับปรุงดิน เช่น ถั่วพร้า หรือปอเทือง เป็นต้น

"แม้ว่าการปลูกพืชอื่นอาจได้รับผลตอบแทนน้อยกว่าการทำนา แต่เป็นการตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล รวมทั้งศัตรูข้าวชนิดอื่นๆ เช่น โรค แมลงชนิดอื่น หรือข้าววัชพืช เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้ในฤดูถัดไป อาจลดต้นทุนในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว และลดต้นทุนค่าปุ๋ยไนโตรเจนได้ ในกรณีการปลูกพืชตระกูลถั่วสลับ ทำให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของการปลูกพืชสลับจะใกล้เคียงกับการทำนาอย่างเดียว นอกจากนี้ ยังเป็นการจัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างยั่งยืนอีกด้วย" คุณสุเทพ กล่าว

ในขณะที่ข้าวราคาตกต่ำ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลกำลังระบาดอย่างไม่หยุดยั้ง เกษตรกรจะฉุกคิดและหันมาใช้วิธีการทำนาแบบสลับกับพืชอื่นที่ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการทำนาในช่วงระยะหนึ่ง ลงทุนน้อย ได้ผลตอบแทนน้อย ก็คงจะดีกว่าลงทุนมาก แต่ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า ลองหันมาใช้วิธีการปลูกพืชสลับนาตามที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำดูบ้างเป็นไร

สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. (02) 579-5583

ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (3238 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©