-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 575 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





  มิติใหม่แห่งนาข้าว 

         

หลักการและเหตุผล :
         
ปุ๋ย  คือ  ธาตุอาหารสำหรับพืช  ในการเพาะปลูกเมื่อคิดจะปฏิเสธสารอาหารที่เรียกว่า  “ปุ๋ยเคมี”  ก็ต้องหาสาร
อาหารที่เป็นปุ๋ยอย่างอื่นมาแทน  เพราะพืชมีความจำเป็นต้องได้สารอาหารเพื่อการพัฒนาตัวเอง  ในปุ๋ยเคมีมีสาร
อาหารอะไร  ในปุ๋ยที่จะมาแทนก็จะต้องมีสารอาหารตัวนั้น  ครบถ้วนทุกตัวและในปริมาณที่พอเพียงด้วย ตามหลักวิชาการหรือทฤษฎี  เราสามารถรู้ได้ว่าต้นข้าวตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยว  จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยในปริมาณเท่าใดเพื่อการ
เจริญเติบโต  ด้วยวิธีตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ (LAB) ทางเคมีเท่านั้น  แต่เนื่องจากในทางปฏิบัติจริง  การตรวจ
วิเคราะห์เป็นสิ่งยุ่งยากมากเกินกว่าที่ชาวนาจะเข้าถึงได้  เพราะทุกขั้นตอนต้องพึ่งพาระบบราชการเป็นหลัก
         
ความเป็นจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้  คือ  ในระบบราชการนั้น  “นโยบาย”  กับ  “การปฏิบัติ”  มักจะสวนทางกันอยู่
เสมอ ปุ๋ยเคมีในกระสอบที่เป็นสารอาหารของต้นข้าวมีเพียง  “ธาตุหลัก”  เท่านั้น  ในขณะที่ต้นข้าวยังต้องการ  ธาตุ
รอง.  ธาตุเสริม.  และฮอร์โมน. ซึ่งปุ๋ยเคมีในกระสอบไม่มีธาตุอาหารเหล่านี้  หรือมีแต่ไม่มากเนื่องจากบริษัทผู้ผลิต
ใส่เติมให้แต่ก็ต้องจ่ายเงินซื้อแพงขึ้น  ในต้นพืชในแปลงนา  ได้แก่  ฟาง.  หญ้า.  วัชพืช.  ซึ่งพืชเหล่านี้เคยได้
อาศัยปุ๋ยของต้นข้าวไปพัฒนาตัวเอง  เมื่อไถกลบแล้วเน่าสลายก็จะกลายเป็นปุ๋ย  เรียกว่า  “ปุ๋ยอินทรีย์  หรือ  ปุ๋ย
พืชสด”  ปุ๋ยเหล่านี้ถือเป็นสารอาหารพืชชนิดหนึ่ง  เรียกว่า  “อินทรีย์สาร  หรือ  สารอินทรีย์”   ซึ่งนอกจากใช้เป็น
ปุ๋ยสำหรับต้นข้าวโดยตรงได้แล้ว  ยังช่วยปรับปรุงสภาพโครงสร้างดิน  และจุลินทรีย์  อีกด้วย 

        
นาข้าวเนื้อที่ 1 ไร่  ได้ผลผลิต 100 ถัง  ฟางที่เหลือเมื่อนำมาตรวจวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารแล้วพบว่ามี 
ไนโตรเจน 32 กก.  ฟอสฟอรัส 22 กก.  โปแตสเซียม 8 กก.  แคลเซียม 14 กก.  แม็กเนเซียม 6 กก.  กำมะถัน
2 กก.  ซิลิก้า 13 กก.  ธาตุอาหารต่างๆที่กล่าวรวมกันติดไปกับเมล็ดเพียง 2 กก.เท่านั้น
         (ที่มา :  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 

        

ในปุ๋ยน้ำชีวภาพสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน  มีส่วนผสม 2 ประเภท   ได้แก่   ส่วนผสมที่เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากกระบวร
การย่อยสลาย   “ปลาทะเล.   ไขกระดูก.   เลือด.   มูลค้างคาว.  นม.  น้ำมะพร้าว.  ฮิวมิค แอซิด.  จุลินทรีย์.
อะมิโนโปรตีน.   ฮอร์โมนธรรมชาติ.   สารท็อกซิค.”    กับส่วนผสมที่เป็นสารอาหารจากปุ๋ยเคมีประกอบด้วย “ธาตุ
หลัก.  ธาตุรอง.  ธาตุเสริม.  ฮอร์โมนวิทยาศาสตร์”    ซึ่งได้ใส่เติมเพิ่มลงไปก่อนใช้งาน  เพื่อชดเชยปริมาณสาร
อาหารในสารอินทรีย์ซึ่งอาจจะมีน้อยให้พอเพียงต่อความต้องการที่แท้จริงของต้นข้าว ต้นข้าวก็เหมือนกับพืชอายุสั้น
ฤดูกาลเดียวอื่นๆ  
         
จากประสบการณ์ตรงที่เคยพบว่าพืชประเภทนี้ต้องการสารอาหารกลุ่มปุ๋ยเคมีเพียง 1 ใน 10  ของอัตราที่เกษตรกร
นิยมใช้  ต้นข้าวก็เหมือนกับพืชทั่วๆไปที่รับสารอาหารได้ 2 ทาง คือ  ปากใบและปลายราก   การได้รับสารอาหาร
แบบ  “ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง  สม่ำเสมอ” น่าจะชดเชยปริมาณปุ๋ยเคมีที่ลดลงได้  กอร์ปกับช่วงที่ต้นข้าวกำลัง
เจริญเติบโตในแต่ละระยะนั้น  ลักษณะทางสรีระวิทยาพืช (ต้นข้าว) จะบ่งบอกว่าปริมาณสารอาหารหรือปุ๋ยทางดิน
เพียงพอหรือไม่   หากไม่พอก็สามารถเติมเพิ่มภายหลังได้ นาข้าวแบบนาดำด้วยรถดำนานอกจากจะให้ผลผลิตทั้ง
คุณภาพและปริมาณสูงกว่านาหว่าน (หว่านด้วยมือ หรือหว่านด้วยเครื่องพ่นเมล็ด) แล้ว  การปฏิบัติบำรุงและการ
ป้องกันโรคและแมลงยังง่าย  ประหยัดเวลา และแรงงานอีกด้วย 

           เป้าหมายทำนาข้าว  เพื่อ.... 
       1. ขายพันธุ์ข้าวปลูกให้แก่ชาวนาแปลงใกล้เคียง
       2. สีเป็นข้าวกล้องบรรจุถุง
       3. สีเป็นข้าวกล้องแล้วแปรรูปเป็นน้ำกาบา
       4. ขายให้โรงสีเป็นข้าวอินทรีย์   

         
ภายใต้สภาพโครงสร้างดินดี ตามสเป็คกรมพัฒนาที่ดินกำหนด   จำนวนปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปในดินให้แก่พืชแต่ละครั้งนั้น
ต้นพืชสามารถนำไปใช้ได้จริงเพียง 4 ใน 10 ส่วนเท่านั้น  ซึ่งเท่ากับเหลือตกค้างอยู่ในเนื้อดิน 6 ใน 10 ส่วน  ของ
ทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ยลงไป
         
การใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในเนื้อดินทุกปี  ต่อเนื่องหลายๆปี  จึงเท่ากับได้มีปุ๋ยเคมีส่วนหนึ่งเหลืออยู่ในเนื้อดินแล้ว   ปุ๋ยส่วน
นี้พร้อมให้ต้นข้าวนำไปใช้งานได้อยู่แล้ว  จัดทำปฏิทินการปฏิบัติบำรุงต่อต้นข้าวระยะต่างๆ  แล้วปฏิบัติตามปฏิทิน
อย่างเคร่งครัด เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือในการควบคุมน้ำให้พร้อมใช้อยู่เสมอ จัดทำบัญชีฟาร์ม  ส่วนที่ซื้อ.  ส่วนที่ทำ
เอง (ต้นทุน).  ค่าแรง (จ้าง).  ค่าแรง (ทำเอง).  ฯลฯ 
         
ข้อสังเกต......ผู้จำหน่ายปุ๋ยเคมีมักอ้างว่า   “ปุ๋ยเคมีช่วยเพิ่มผลผลิต”   แต่ในแปลงนาข้าวแห่งหนึ่ง  ใส่ปุ๋ยเคมี 10
กก./ไร่/รุ่น  ได้ผลผลิต 100 ถัง  ในขณะที่แปลงข้างเคียงใส่ปุ๋ย 50 กก./ไร่/รุ่น  ซึ่งใส่มากกว่า 5 เท่า  กลับได้ผล
ผลิตเท่ากัน......ข้อสงสัยก็คือ  ในเมื่อใส่ปุ๋ยเคมีมากกว่า 5 เท่า แล้วทำไมจึงไม่ได้ผลผลิต 500 ถัง.......ในขณะ
เดียวกัน  ผู้จำหน่ายปุ๋ยเคมีมักไม่กล่าวถึง  “หลักธรรมชาติ”  ว่าด้วยเรื่อง  ปุ๋ยเดิมเหลือตกค้างในดิน.   การปรับปรุง
บำรุงดินเพื่อให้ดินตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี.  การเพิ่มธาตุรอง.  ธาตุเสริม.  ฮอร์โมน.  และอื่นๆ เพื่อให้ต้นข้าวได้รับธาตุ
อาหารครบถ้วนที่สุด. 

           สรุป :  
       1. ลดสารอาหารจากปุ๋ยเคมี (ธาตุหลัก) ทางดิน แล้วเพิ่มด้วยสารอาหารจากปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรเลือกสรรวัสดุ
ส่วนผสมพิเศษ 
       2. เพิ่มปุ๋ย (ธาตุหลัก-ธาตุรอง-ธาตุเสริม-ฮอร์โมน) ทางใบ  
       3. ปรับช่วงการให้โดยให้ทางใบ  ทุก 5-7 วัน  











สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (3783 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©