ข้าวเหนียว
ข้าวเหนียว (อังกฤษ: Glutinous rice; ชื่อวิทยาศาสตร์: Oryza sativa var. glutinosa) เป็นข้าวที่มีลักษณะเด่นคือการติดกันเหมือนกาวของเมล็ดข้าวที่สุกแล้ว ปลูกมากทางภาคอีสานของประเทศไทยและ ประเทศลาว
ข้าวเหนียวเป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวางในประเทศ และเป็นอาหารหลักของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ นอกจากการบริโภคโดยตรงแล้วยังมีการนำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราพื้นเมือง การผลิตแป้งข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมอาหารและขนมขบเคี้ยว
ข้าวเหนียวมี 2 สี คือ สีขาวและสีดำ แต่ข้าวเหนียวดำจะมีสารอาหาร ที่เป็นประโยชน์มากกว่าข้าวเหนียวขาว สารอาหารที่ว่า คือ “โอพีซี” มีสรรพคุณช่วยชะลอการแก่ก่อนวัย และความเสื่อม ถอยของร่างกาย โดยสารโอพีซีที่พบในข้าวเหนียวดำ เป็นสารชนิดเดียวกับสารสกัดที่ได้ จากองุ่นดำองุ่นแดง เปลือกสน
การค้นพบ
อาจารย์ สุรัตน์ จงดา สันนิฐานว่า ข้าวยุคแรกที่มนุษย์กิน คือพันธุ์ข้าวเหนียว หลักฐานที่เราค้นพบ เมล็ดข้าวหรือข้าวเปลือก ที่ถ้ำปงคง จ. แม่ฮ่องสอน 5500 ปี และที่บ้านเชียง การค้นพบเมล็ดข้าวที่บ้านเชียง 3000-4000 ปี เป็นข้าวเมล็ดปล้อง สันนิฐานว่าอยู่ในตระกูลข้าวเหนียว
พันธุ์และลักษณะเด่น
- พันธุ์สันป่าตอง 1 ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้งดี ให้ผลผลิตสูง สามารถปลูกได้ทั้งปี
- พันธุ์สกลนคร เป็นข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง ปรับตัวได้หลายสภาพ นาดอน นาชลประทาน และสภาพไร่นา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- พันธุ์หางยี 71 ทนแล้งปลูกเป็นข้าวไร่ได้ อายุเบา ต้านทานโรคไหม้และโรคใบจุดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรค ขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว
- พันธุ์กข 2 ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียวปานกลาง ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว
- พันธุ์กข 4 ปลูกได้ทุกฤดูกาล ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล แมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว ไม่ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง
- พันธุ์กข 6 ทนแล้ง ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว
- พันธุ์กข 8 ทนแล้ง ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว
สรรพคุณ
- เป็นอาหารร่าเริง ทำให้สมองสงบ คลายเครียด กินแล้วจะรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้อิ่มท้องนาน
- เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของกระเพาะอาหาร
- ชะลอการแก่ก่อนวัย และความเสื่อม ถอยของร่างกาย
- ช่วยขับลมในร่างกาย
- สร้างเม็ดเลือด ทำให้เม็ดเลือดสมบูรณ์
- ป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ
- ป้องกันปัญหาวุ้นนัยน์ตาเสื่อม
สารสำคัญ
ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก และวิตามินอี
วิธีนึ่ง
- นำข้าวสารเหนียวมาแช่น้ำ (แถวบ้านเรียกว่า หม่าข้าว) เพื่อให้ข้าวอิ่มน้ำใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมงมิเช่นนั้นหากข้าวไม่อิ่มน้ำเวลานึ่งข้าวจะไม่สุก หากเป็นข้าวสารใหม่จะใช้เวลาแช่น้ำ น้อยกว่า
- จากนั้นนำมาซาวเอาแต่ข้าว เทน้ำซาวข้าว (น้ำข้าวหม่า) เก็บไว้ใช้ล้างจาน หรือสระผม นำข้าวสารใส่ในหวด ที่วางบนหม้อนึ่ง แล้วนำขึ้นตั้งไฟแรง ปิดฝารอจนไอน้ำผ่านข้าวเหนียวจนเกือบสุก เปิดฝาหม้อแล้วใช้ไม้พายพลิกข้าวส่วนที่ยังไม่สุกกลับลงไปด้านล่างแทนส่วน ที่สุกแล้ว
- จากนั้นนำข้าวลงมาเทบนโบม (ภาชนะสำหรับพักและคนข้าวให้ไอน้ำระเหยออกไปเพื่อให้ข้าวเย็นและไม่เปียก ชื้นจากไอน้ำ เพื่อเก็บไว้รับประทานทั้งวันได้ในก่องข้าว หรือกระติ๊บข้าว) นำไม้พายเกลี่ยข้าว พลิกไปมาให้ไอน้ำที่ร้อนระเหยออกไปให้ทั่วถึง พอได้ที่ก็ม้วนข้าวเก็บเอาไว้ในกระติ๊บข้าวเหนียว
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7
th.wikipedia.org/wiki/ข้าวเหนียว -
ข้าวเหนียวแพร่ 1
ข้าวเหนียวแพร่ 1 ได้มาจากการผสมเดี่ยวระหว่างข้าวสายพันธุ์ IR 2061-214-3-14-8 กับพันธุ์ กข 4 พร้อมทั้งปลูก คัดเลือกลูกผสมชั่วที่ 1 ที่สถานีทดลองข้าวขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2518 แล้วนำไปปลูกคัดเลือกข้าวลูกผสมชั่วที่ 2-7 แบบ สืบตระกูล ที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ เมื่อ พ.ศ. 2519-2525 จากนั้นนำไปปลูกศึกษาพันธุ์เมื่อพ.ศ.2526-2529 และ นำเข้า แปลงทดลองเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี พ.ศ.2530 หลังจากนั้นจึงปลูกทดสอบเปรียบเทียบ ผลผลิตระหว่างสถานี เครือข่าย ศูนย์วิจัยข้าวแพร่และศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ.2531 -2535 นอกจากนี้ได้นำไปปลูกทดสอบเปรียบ เทียบผลผลิตในนาเกษตรกรเมื่อ พ.ศ.2534- 2535 และ ได้รับการ พิจารณาเป็นสายพันธุ์ ดีเดีน พร้อมทั้งเสนอปลูกเป็น พันธุ์ดัก เมื่อพ.ศ.2536 ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชให้เป้นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2537 และให้ชื่อว่า " ข้าวเหนียวแพร่ 1 "
ข้าวเหนียวแพร่ 1 เป็นข้าวเหนียวนาสวนไม่ไวต่อช่วงแสง ดันสูงประมาณ 120 เซนติเมตร ทรงกอตั้งต้นแข็งใบสีเขียวมีขน การแก่ของใบค่อนข้างช้ากาบใบและ ปล้องสีเขียว ใบธงตั้งคอรวงยาวรวงยาว และ แน่นระแง้ค่อนข้างถี่ ข้าวเปลือกเรียว ยาวสีน้ำตาลยอดเมล็ดสีฟางขนาดยาว10.50 มิลลิเมตร กว้าง 3 มิลลิเมตร และหนา 2.20 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาวขนาดยาว 7.43 มิลลิเมตร กว้าง 2.40 มิลลิเมตรและ หนา 1.86 มิลลิเมตร มีอายุเก็บเกี่ยว 120-130 วัน และให้ผลผลิตประมาณ 600-700 กิโลกรัมต่อไร่ระยะพักตัวของเมล็ด 6 สัปดาห์
- แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือในแหล่ง ที่ปลูกข้าวพันธุ์ กข 10
- ในแหล่งที่มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโรคไหม้และโรคใบหงิกระบาด ควรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง ร่วมด้วยตามคำแนะนำ เพื่อป้องกันความเสียหาย
- ค่อนข้างไม่ต้านทานต่อแมลงบั่ว
- ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยดี ให้ผลผลิตสูงที่ระดับปุ๋ย 15 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่
ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ |
อ.เมือง จ.แพร่ |
54000 |
โทร. (054) 521726 , 522198 FAX : (054) 522198 |
- |
สถานีทดลองข้าวพาน |
อ.พาน จ.เชียงราย |
57120 |
โทร. (053) 721578 FAX : (053) 721578 |
- |
สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง |
อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ |
50120 |
โทร. (053) 311335 FAX : (053) 311334 |
- |
สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง |
อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ |
50250 |
โทร. (053) 487016 FAX : (053) 487016 |
- |
สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวปางมะผ้า |
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ |
58180 |
โทร. (053) 611711 ต่อ 179 |
http://www.doae.go.th/library/html/detail/pae/MENU.htm
www.doae.go.th/library/html/detail/pae/index.html -
นึ่งข้าวเหนียวให้นุ่มนิ่ม
หลายคนอาจชอบกินข้าวเหนียวนะครับ ผมก็คนนึงล่ะ ลองนึกถึงภาพ ข้าวเหนียวนุ่มนิ่มร้อนๆ กินกับส้มตำรสแซ่บ ไก่ย่างรสเด็ด เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอมครับ วันนี้ผมมีเคล็ดลับก้นครัว ที่จะนึ่งข้าวเหนียวให้นุ่มนิ่ม หอม น่ากินมาฝากกันครับ ในระหว่างที่เพื่อนๆ ซาวข้าวเหนียวนั้น ให้นำสารส้มลงไปขัดเมล็ดข้าวเหนียวด้วย เมื่อซาวข้าวเสร็จก็นำข้าวเหนียวไปแช่น้ำ แล้วนำไปแช่ตู้เย็นประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นจึงน้ำข้าวเหนียวไปนึ่งตามปกติ เพียงเท่านี้ เพื่อนๆ ก็จะได้ข้าวเหนียวนุ่มนิ่มสมใจอยากแล้วล่ะครับ
http://www.hilunch.com/soft-sticky-rice
www.hilunch.com/soft-sticky-rice -
วิธีทำ ข้าวเหนียว ให้นิ่ม
ง่ายนิดเดียวค่ะ คุณก็เอาข้าวเหนียวนี้ซาวน้ำล้างก่อนสัก 1 รอบเพื่อล้างเศษฝุ่นหรือสิ่งสกปรกต่างๆออกให้หมด จากนั้นนำข้าวเหนียวแช่น้ำทั้งคืน แล้วนำมานึ้งใส่ฮวดกับหม้อนึ่งข้าวแต่เช้า ถ้าเราใช้เตาแก๊ส จะทำให้ข้าวเหนียวแข็งหน่อยค่ะ ทานไม่ค่อยอร่อย ถึงแม้ว่าจะใช้ไฟปานกลางก็ตาม ถ้าจะให้นึ่งข้าวเหนียวอร่อยต้องเตาถ่านค่ะ ไฟแดงจัดแค่ไหนก็จะทำให้ข้าวเหนียวหอมกรุ่นน่าทาน นุ่มนิ่มด้วย ถ้าตอนร้อนมันเย็น ก็นำไปอุ่นใหม่ มันเป็นเรื่องปกติค่ะ อย่าไปซีเรียส ไม่ยังงั้นคุณต้องเอาผ้าขาวบางรองกระติบข้าวหรือ ถังน้ำแข็งก่อนแล้วค่อยเอาข้าวเหนียวใส่ปิดฝาจะอยู่ได้นาน เพราะเก็บความร้อนได้ดี nutty.got@hotmail.com
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=09e3e57cb50d8a45
guru.google.co.th/guru/thread?tid=09e3e57cb50d8a45 -
ข้าวเหนียวพันธุ์ลืมผัว
ข้าวพันธุ์ “ลืมผัว” เดิมเป็นข้าวเหนียวนาปีของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง บ้านรวมไทยพัฒนาที่3 ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ปลูกในสภาพไร่ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 650 เมตร ต่อมานายพนัส สุวรรณธาดา ตำแหน่งในขณะนั้น คือ เจ้าพนักงานการเกษตร 5 ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร (ปัจจุบัน เกษียณอายุราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานการเกษตร 6 ศูนย์วิจัยข้าวนครราชสีมา สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว) ได้พบและสนใจข้าวพันธุ์นี้ และคัดเลือกพันธุ์ให้บริสุทธิ์ ระหว่างปี 2534-38 ณ ส่วนแยกของสถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก เพื่อใช้ในโครงการตามพระราชเสาวนีย์ของพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อคัดเลือกจนได้พันธุ์บริสุทธิ์แล้วได้มอบเมล็ดพันธุ์ให้นายไชยวัฒน์ วัฒนไชย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร ในขณะนั้น (ปัจจุบันเกษียณอายุราชการในตำแหน่ง รองอธิบดีกรมการข้าว ขณะนี้ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากรมการข้าว) เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่เสด็จมาเยี่ยมชมโครงการฯ จากนั้นนายพนัสจึงได้ทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ในปี 2539 แล้วนำเมล็ดพันธุ์ที่ได้ไปให้ชาวไทยภูเขาเผ่าม้งที่ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซึ่งเป็นแหล่งปลูกดั้งเดิม ไว้ปลูกขยายพันธุ์เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป แต่เมื่อเวลาผ่านไป ด้วยวิธีการปลูกแบบชาวเขาที่มักปลูกข้าวหลายพันธุ์ใกล้กัน หรือปลูกด้วยกัน จึงทำให้ข้าวลืมผัวมีเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์อื่นปน และไม่เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก โดยนายอภิชาติ เนินพลับ นางอัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ นายพงศา สุขเสริม และศูนย์วิจัยข้าวแพร่โดย นายพจน์ วัจนะภูมิ จึงได้เริ่มทำการคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์อีกครั้งในปี 2550 เริ่มจากการคัดเลือกแบบหมู่ (mass selection) และโดยการเลือกรวงในปี 2551 เพื่อนำมาปลูกแบบรวงต่อแถวเป็นพันธุ์คัดต่อไป
ข้าวพันธุ์นี้ เป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วงดำ หรือที่เรียกกันว่า “ข้าวเหนียวดำ” เป็นข้าวเหนียวที่มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย เมื่อเคี้ยวจะรู้สึกมันและนุ่มแบบหนุบๆ เนื่องจากเป็นข้าวกล้องที่ยังไม่ได้ผ่านการขัดสี ด้วยรสชาติที่อร่อย ผลผลิตสูงสุดเมื่อปลูกในสภาพไร่และฟ้าอากาศ ที่เหมาะสม ได้ 490 กก./ไร่ เมื่อนำมาปลูกในพื้นราบ ผลผลิตที่ได้อยู่ระหว่าง 200-350 กก./ไร่ ดร.อัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก กล่าวว่า หลังจากการค้นพบข้าวเหนียวลืมผัว ในพื้นที่ จ.ตาก นั้น ทำให้ทางศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ได้นำเมล็ดพันธุ์มาทำการขยาย เพื่อให้เกษตรกรได้สามารถนำไปปลูกบริโภคกันอย่างทั่วถึง เนื่องจากประโยชน์ของข้าวเหนียวลืมผัวมีมากมาย อาทิ โอเมก้า 3 ,6 ,9 วิตามินบี 3 วิตามินอี เกลือของกรดไฟทิก ธาตุเหล็ก ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจ การลดการแข็งตัวของเลือด ลดการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยบำรุงตับ ป้องกันโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ ลดไขมันในเส้นเลือด โรคเบาหวาน รวมไปถึงโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในชายและหญิง เป็นต้น สำหรับรสชาตินั้นมีประชาชนจำนวนมากต่างชื่นชอบข้าวเหนียวลืมผัว เป็นอย่างมาก ทำให้ทางศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ได้มีการนำมาแปรรูปเป็นอาหารต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวไก่ถัง ขนมปัง ซูชิ สาโท เป็นต้น
http://www.brrd.in.th/main/rice-interested-story/45-varieties-recommentation.html
www.brrd.in.th/main/rice-interested.../45-varieties-recommentation.html -
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.