-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 599 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





ข้าวบาสมาติ

ข้าวหอม (Fragrant rice)

คอลัมน์ คลื่นความคิด  โดย สกล หาญสุทธิวารินทร์ 

เมื่อกล่าวถึงข้าวหอม หลายท่านนึกถึงข้าวหอมไทย แต่ความจริงแล้ว ข้าวหอมมิได้ปลูกเฉพาะเมืองไทยเท่านั้น ยังมีอีกหลายประเทศที่ปลูกข้าวหอม ซึ่งเรียกชื่อต่างๆ กัน ข้าวหอมที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย นอกจากข้าวหอมไทย ก็ยังมีอีกหลายชนิด เช่น ข้าวบาสมาติ (Basmati rice) ข้าวเท็กซ์มาติ (Texmati rice) ข้าวเวฮานิ (Wehani rice) ข้าวไวด์พีแคน (Wild pecan rice)

ข้าวบาสมาติ (Basmati rice) เป็นข้าวขาวเมล็ดยาวที่รู้จักกันอย่างค่อนข้างแพร่หลาย คำว่า บาสมาติ เป็นภาษาฮินดี มีความหมายคือ ราชินีแห่งความหอม

ข้าวเท็กซ์มาติ (Texmati rice) เป็นข้าวหอมที่พันธุ์ผสมระหว่างข้าวอเมริกันเมล็ดยาวกับข้าวบาสมาติ มีรสชาติและกลิ่นหอมดีกว่าข้าวอเมริกันเมล็ดยาวพันธุ์แม่ แต่ด้อยกว่าข้าวบาสมาติ

ข้าวเวฮานิ (Wehani rice) เป็นข้าวหอมชนิดหนึ่งมีกลิ่นคล้ายข้าวโพดคั่ว ข้าวเวฮานิ เป็นข้าวที่พัฒนาพันธุ์มาจากข้าวบาสมาติ เริ่มปลูกในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

ข้าวไวด์พีแคน (Wild pecan rice) เป็นข้าวหอมพันธุ์ผสม เมื่อหุงมีกลิ่นคล้ายข้าวโพดคั่วเช่นเดียวกับข้าวเวฮานิ

นอกจากข้าวหอมดังกล่าวข้างต้นแล้ว ประเทศเพื่อนบ้านของไทยต่างก็มีการปลูกและพัฒนาพันธุ์ข้าวหอม เช่น เขมร ลาว โดยเฉพาะเวียดนาม มีการส่งออกข้าวหอมแล้ว แต่ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่า ข้าวหอมเวียดนามมีชื่อเรียกเฉพาะว่าอะไร แต่วงการข้าวของไทยคาดว่า ข้าวหอมเวียดนามน่าจะเป็นพันธุ์ข้าวจากไทย โดยเฉพาะข้าวปทุมธานี 1

ล่าสุด มีข่าวเกี่ยวกับข้าวหอมที่น่าติดตาม คือ ทางการของประเทศมาเลเซีย กำลังรณรงค์ให้ชาวมาเลเซีย หันมาบริโภคข้าวหอมที่พัฒนาพันธุ์ โดยองค์กรพัฒนาการเกษตรของมาเลเซีย ข้าวหอมดังกล่าวทางมาเลเซียขนานนามว่า "Mar Wangi Malaysia" และอ้างว่ามีคุณภาพดีกว่าข้าวหอมที่นำเข้าจากไทย โดยทางการมาเลเซียตั้งความหวังว่า หากชาวมาเลเซียหันมาบริโภคข้าวหอมที่ปลูกในมาเลเซียจะสามารถลดการนำเข้าข้าวหอมจากไทยได้ร้อยละ 30 และจะช่วยให้ชาวมาเลเซีย มีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย

สำหรับข้าวหอมไทยที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ที่เดิมเรียกว่า Jasmine Rice ต่อมากระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดมาตรฐาน โดยให้ชื่อเฉพาะเรียกขานว่า ข้าวหอมมะลิไทย (Khoa Hom Mali Rice) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายแล้ว ขณะนี้มีปัญหาเรื่องการตรวจสอบแยกแยะ ระหว่างข้าวหอมมะลิไทยกับข้าวปทุมธานี 1 ซึ่งทางการไทย กำลังปรับปรุงกฎเกณฑ์การตรวจสอบ เพื่อให้การตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น ใช้การตรวจสอบ DNA ช่วยอีกวิธีหนึ่ง เป็นต้น

ปัญหาการตรวจสอบแยกแยะคุณภาพข้าว มิใช่เกิดขึ้นกับข้าวหอมมะลิไทยเท่านั้น แต่ก็เกิดขึ้นกับการตรวจสอบข้าวบาสมาติเช่นเดียวกันว่า เป็นบาสมาติหรือไม่ ซึ่งมีการพัฒนาวิธีการตรวจสอบ โดยใช้การตรวจสอบ DNA เช่นเดียวกับที่ไทยกำลังดำเนินการอยู่


http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q4/2006dec05p4.htm
www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q4/2006dec05p4.htm -



คุณภาพเมล็ดข้าวบาสมาติ 370
เมื่อปลูกในดินนาชุดต่างๆ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง (ระยะที่ 1)


สอาง ไชยรินทร์ สุมาลี สุทธายศ จิตกร นวลแก้ว ยลิศร์ อินทรสถิตย์ และ สุพัตรา สุวรรณธาดารายงานผลการวิจัยประจำปี 2535 ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร

บทคัดย่อ

เพื่อศึกษาคุณภาพของเมล็ดข้าวบาสมาติ 370 เมื่อปลูกในดินนาชุดต่าง ๆ โดยนำเมล็ดจากทะเบียนวิจัย ลักษณะดินนาที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวบาสมาติ ในเขตภาคเหนือตอนล่างโดยปลูกในดินนาชุดต่าง ๆ 17 ชุด ทำการวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางเคมี ปริมาณ amylose, Gel consistency, Alkalitest, ความหอม และอัตราการยืดตัวของเมล็ดข้าวเมื่อหุงสุก พบว่าคุณภาพเมล็ดข้าวทางเคมีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ทำการวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดข้าวทางกายภาพ, นน.100 เมล็ดของข้าวเปลือกและข้าวกล้องที่ 14  ขนาดรูปร่างเมล็ด พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ทั้งความกว้าง,ความยาว และความหนา


http://www.phtnet.org/research/view-abstract.asp?research_id=we149
www.phtnet.org ›




การวิจัยคุณภาพของดิน เวอร์ติโซลล์
ที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพของข้าวบาสมาติ


การทดลองโดยใช้ข้าวหอมพันธุ์บาสมาติ มาปลูกในดิน Vertisols ซึ่งได้แก่ชุดดิน ลพบุรี (LB-1) บ้านหมี่ (Bm) และช่องแค (Ck) ปลูกโดยวิธีนาดำในฤดูนาปรังมีการจัดการ 2 ระดับ คือ ไม่ใส่ปุ๋ยตามหลักวิชาการคือใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 20 กก./ไร่ ก่อนบักดำ 1 วัน และครั้งที่สองใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 5-7 กก./ไร่ หว่านช่วงข้าวเริ่มตั้งท้อง วางแผนการทดลองแบบ Split Plot คือ 3 Main Plot และ 2 Subplot (Treatment) 4 Replication เพื่อศึกษาถึงผลผลิต และความหอมของข้าวบาสมาติ ผลการทดลองด้านผลผลิต แปลงที่มีการจัดการอย่างสูง (ใส่ปุ๋ย) พบว่าข้าวบาสมาติที่ปลูกในชุดดินช่องแค (Ck) จะให้ผลผลิตสูงสุดคือ 638 กก./ไร่ ข้าวที่ปลูกในชุดดิน บ้านหมี่ (Bm) และชุดดินลพบุรี(Lb) จะให้ผลผลิตรองลงมา คือ 601 กก./ไร่ และ 461 กก./ไร่ ตามลำดับซึ่งผลผลิตของข้าวบาสมาติที่ปลูกในชุดดินทั้ง 3 นั้น ต่างก็มีความแตกต่างกันในทางสถิติ สำหรับแปลงทดลองที่มีการจัดการอย่างธรรมดา (ไม่ใส่ปุ๋ย) พบว่าข้าวบาสมาติที่ปลูกในชุดดิน ช่องแค (Ck) จะให้ผลผลิตสูงสุด คือ 585 กก./ไร่ รองลงมาได้แก่ผลผลิตข้าวที่ปลูกในชุดดิน บ้านหมี่ (Bm) และชุดดินลพบุรี (Lb) คือ 523 กก./ไร่ และ 451 กก./ไร่ ตามลำดับ ซึ่งผลผลิตที่ได้นี้ต่างก็มีความแตกต่างกันในทางสถิติ ผลต่างจากการจัดการอย่างสูง (ใส่ปุ๋ย) กับการจัดการอย่างธรรมดา (ไม่ใส่ปุ๋ย) ของข้าวบาสมาติว่า ผลผลิตของข้าวที่ปลูกในชุดดิน บ้านหมี่ (Bm) มีผลผลิตสูงขึ้น 78 กก./ไร่ รองลงมา ได้แก่ผลิตในชุดดินช่องแค (Ck) และ ลพบุรี (Lb-1) ตามลำดับ ซึ่งผลผลิตที่สูงขึ้นจากชุดดินทั้ง 3 ชุดนี้ต่างก็ไม่มีการแตกต่างกันในทางสถิติ ผลการทดลองด้านความหอมของข้าว การตรวจความหอมของข้าวบาสมาติ ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป คือ การให้คะแนนความหอมจากการหุงต้มข้าว โดยใช้วิธีดมกลิ่นคือ ให้คะแนน 5-9 คะแนน กล่าวคือ 5 คะแนน ไม่มีกลิ่นเลย จนถึง 9 คะแนน มีกลิ่นหอมมาก จากการนำข้าวไปสีแล้วนำไปหุงต้มพร้อม ๆ กัน โดยใช้คน 10 คน ดมกลิ่นและให้คะแนน ซึ่งสรุปได้ว่า ข้าวบาสมาติ ที่ปลูกในชุดดิน ลพบุรี (Lb-1) 8 คะแนน ข้าวบาสมาติ ที่ปลูกในชุดดินบ้านหมี่ (Bm) 8 คะแนน ข้าวบาสมาติ ที่ปลูกในชุดดิน ช่องแค (Ck)7.5 คะแนน สรุปได้ว่าความหอมของข้าวบาสมาติที่ปลูกในดินทั้ง 3 ชุด อยู่ในเกณฑ์หอมไม่แตกต่างกัน

http://pikul.lib.ku.ac.th/cgi-bin/agdb1.exe?rec_id=045187&database=agdb1&search_type=link&table=mona&back_path=/agdb1/mona&lang=thai&format_name=TFMON
pikul.lib.ku.ac.th/cgi-bin/agdb1.exe?rec_id... -




การปรับปรุงพันธุ์ข้าวบาสมาติ 370 ให้มีลักษณะต้นเตี้ย
ในเขตศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก


การปรับปรุงพันธุ์ข้าวบาสมาติ 370 ให้มีลักษณะต้นเตี้ยใช้วิธีผสมกลับ โดยใช้บาสมาติ 370 เป็น recurrent parrent และ lR58 เป็น doner parrent ทำการผสมกลับไปหาต้นแม่ 3 ครั้ง (BMT370*3/lR58) ปลูกคัดเลือก ศึกษาพันธุ์ขั้นต้น ศึกษาพันธุ์ขั้นสูง เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีในโครงการวิจัยพันธุ์ รับรองพันธุ์และกระจายพันธุ์ได้สายพันธุ์ PSL90004-84-62 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวต้นเตี้ยมีความสูง 116 ซม. อายุ 120 วัน คุณภาพทางกายภาพและทางเคมี มีลักษณะเหมือนข้าวบาสมาติ คือ มีเมล็ดเรียวยาว เมื่อหุงสุกแล้วนุ่ม ยืดตัวดี และมีกลิ่นหอม นอกจากนี้ยังมีท้องไข่น้อยกว่าบาสมาติเอเซีย สายพันธุ์นี้ให้ผลผลิตเฉลี่ยจากแปลงเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี 11 แห่ง จากภาคเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง 442 กก./ไร่ สูงกว่าบาสมาติเอเซีย ที่ให้ผลผลิต 385 กก./ไร่ อยู่ 15 เปอร์เซ็นต์

http://pikul.lib.ku.ac.th/cgi-bin/RICE2.exe?rec_id=004236&database=RICE2&search_type=link&table=mona&back_path=/RICE2/mona&lang=thai&format_name=TFMON

pikul.lib.ku.ac.th/cgi-bin/RICE2.exe?rec_id... -




การหาปริมาณการใช้น้ำของข้าวพันธุ์ บาสมาติ (ฤดูแล้ง)

A Trial on Consumptive Use for Rice Basmati Variety (Dry Season)

ทะเบียนวิจัยเลขที่ 0101 1021 2533 07
ผู้ดำเนินการ  นายยงยศ สุภาศักดิ์
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม โทร 022414524

 การทดลองหาปริมาณการใช้น้ำของข้าวพันธุ์ บาสมาติ ในฤดูแล้งโดยใช้ถัง Lysimeter
ที่สถานีค้นคว้าวิจัยการใช้น้ำชลประทานแม่แตง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ วัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาหาปริมาณน้ำที่ข้าวใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิต ตั้งแต่วันเริ่มปลูกจนถึงวันเก็บเกี่ยว และปริมาณน้ำที่ข้าวใช้ในช่วงการเจริญเติบโตต่าง ๆ ทำการทดลองโดยใช้การปักดำเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2533 รวมอายุ 99 วัน โดยใช้กล้าอายุ 30 วัน

จากผลการทดลองปรากฏว่าข้าวพันธุ์ บาสมาติ ใช้น้ำในการเจริญเติบโต ตลอดอายุตั้งแต่ปักดำถึงเก็บเกี่ยว 646.83 มม.หรือ 1,034.93 ลบ.ม./ไร่ เฉลี่ยวันละ 6.53 มม. หรือ 10.45 ลบ.ม./ไร่ ค่าการใช้น้ำตามช่วงระยะการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันดังนี้ คือ ระยะตั้งตัว 4.91 มม. ระยะแตกกอ 6.34 มม. ระยะตั้งท้อง -ออกดอก 7.20 มม.ระยะสร้างผลผลิต 7.01 มม. และระยะข้าวแก่ 4.75 มม. ค่า Crop Coefficient(K)จากสูตร Modified Penman มีค่าเท่ากับ 1.22

จากสูตร Blaney Criddle มีค่าเท่ากับ 1.60 จากสูตรThornthwait มีค่าเท่ากับ 1.35
จากสูตร E-pan มีค่าเท่ากับ 1.52 จากสูตร Hargreaves มีค่าเท่ากับ 1.10

จากสูตรปริมาณรังสี มีค่าเท่ากับ 1.50 ทั้งนี้ ค่าอัตราส่วนระหว่างปริมาณน้ำที่ข้าวใช้ในการเจริญเติบโตตลอดอายุ กับค่าการระเหยที่วัดได้จากถาดวัดการระเหย (ET/E)มีค่าเท่ากับ 1.29

ประสิทธิภาพการใช้น้ำของข้าวพันธุ์บาสมาติ (Ey)เท่ากับ 0.54 กก./ลบ.ม.ความสูงของต้นข้าวเฉลี่ย 111.25 ซม. จำนวนต้นต่อกอเฉลี่ย 30.75 ต้น จำนวนรวงต่อกอเฉลี่ย 23.20 รวง ความยาวของรวงเฉลี่ย 23.17 ซม. เมล็ดดีต่อรวงเฉลี่ย 56.02 เมล็ด เมล็ดเสียต่อรวงเฉลี่ย
10.30 เมล็ด น้ำหนักผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 563.27 กก./ไร่ 

http://water.rid.go.th/hwm/cropwater/iwmd/rg/AbstractCrops01/0101%20%201021%202533%2007.htm
water.rid.go.th/hwm/.../rg/.../0101%20%201021%202533%2007.htm -




การปลูกข้าวบัสมาติ
คนไทยคุ้นชินกับข้าวหอมมะลิ จนนึกว่าเป็นข้าวหอมพันธุ์เดียวของโลก ทั้งที่ความจริงว่า พันธุ์ข้าวหอมมีหลากหลาย มีปลูกกันในหลายประเทศ และเป็นคู่แข่งหอมมะลิไทยอีกด้วย บัสมาติ เป็นพันธุ์ข้าวหอม เมล็ดยาว ปลูกในอินเดีย ปากีสถาน แตกหน่อเป็นพันธุ์ข้าวหอมอย่างอื่น เช่น เท็กซ์มาติ แวฮานิ ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างบัสมาติกับข้าวพันธุ์อเมริกัน และมีปลูกในอเมริกาด้วยเช่นเดียวกัน


หยิบเรื่องบัสมาติมาเขียน เพราะเห็น ดร.อภิชาต วรรณวิจิตร ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กำลังปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงหรือดีกว่าข้าวหอมบัสมาติ


ทำไมต้องบัสมาติ

ง่ายนิดเดียว ราคาหอมมะลิกิโลกรัมละ 30-40 บาท ในขณะที่ข้าวบัสมาติ กิโลละ 300 บาท ผมเองเคยรับรู้ว่าบัสมาติราคาแพง พอยุ่งอยู่กับแจ๊สแมน Jasmine Rice พันธุ์ข้าวหอมน้องใหม่ของอเมริกาก็ลืมประเด็นราคาของบัสมาติ พอเห็น ดร.อภิชาต พูดถึงเรื่องนี้ก็ต้องขอบคุณ


ไม่เพียงแต่บัสมาติ หากยังมีเรื่องข้าวแจ๊สแมนของอเมริกาพ่วงด้วย โดยดร.อภิชาต จะขอเมล็ดพันธุ์แจ๊สแมนจากอเมริกาทดลองมาปลูกในบ้านเรา เพื่อตรวจสอบค่าความหอม ความทนทานต่อโรค และแมลง โดยได้ผลผลิตที่ว่าสูงถึงไร่ละ 1 ตันขึ้นไป


จริงๆ เรื่องการนำพันธุ์ข้าวจากต่างประเทศมาทดลองปลูกในไทย ไม่ใช่เรื่องใหม่ เราทำมามากมาย รวมทั้งบัสมาติก็เคยทดลองปลูกในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างมาแล้ว ขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างประเทศ และที่สำคัญหน่วยงานเกี่ยวข้องของไทยตระหนักดีหรือไม่ว่า มันสำคัญมากน้อยเพียงใด ผมประหลาดใจและอดรู้สึกขุ่นข้องใจไม่น้อยว่าด้วยเรื่องการปรับปรุงพันธุ์ข้าว เห็นแต่ผลงานของดร.อภิชาตแทบทั้งนั้น ผลงานของหน่วยงานอื่นแทบไม่มีเลย มันเป็นไปได้อย่างไรกัน


หน่วยงานอย่างกรมการข้าวที่ทำเรื่องข้าวเป็นการเฉพาะไปอยู่เสียตรงไหน ท่านอธิบดีประเสริฐ โกศัลวิตร มัวทำอะไรอยู่ละ ถ้าภารกิจครอบคลุมกว้างขวางจะไม่ติดใจนัก แต่นี่กรอบงานของกรมมันก็แคบว่าด้วยเรื่องข้าวอย่างเดียว ไม่ทำเรื่องข้าว แล้วทำอะไรล่ะ ถ้าเป็นอย่างนี้ ให้ดร.อภิชาต มาเป็นอธิบดีกรมการข้าวให้รู้แล้วรู้รอด ดีกว่าไหม?


ตลาดข้าวหอมเป็นตลาดเล็ก แต่มูลค่ามหาศาล เศรษฐีคนมีกะตังค์เท่านั้นถึงมีโอกาสกินข้าวหอม ไม่ว่าคนไทยหรือต่างชาติ หน่วยงานบ้านเราหลงใหลอยู่แต่ความภาคภูมิใจของข้าวหอมมะลิ ในขณะที่ความจริงนั้นกำลังไล่บดขยี้ ไม่เพียงอเมริกาผลิตแจ๊สแมนออกมาขายเป็นล่ำเป็นสัน จีน เวียดนาม ลาว เขมร พม่า กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอม ทั้งเพื่อบริโภคเอง และส่งออกแข่งกับไทย

ในขณะกรมการข้าวมะงุมมะงาหราแทบทุกด้าน ภาคเอกชนอย่างสมาคมผู้ส่งข้าว ออกเสนอให้รัฐบาลปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาด ข้าวหอมมะลิ แทนที่จะมีหอมมะลิ 90% (หมายความว่าผสมข้าวอื่น 10%) เพียงอย่างเดียว ก็ขอให้เพิ่มเป็นหอมมะลิ 80% และ 70 % เหตุผลคือหอมมะลิแพงอยู่แล้ว ยิ่งเงินบาทไทยแข็งค่า ราคาก็แพงยิ่งขึ้น ทำการตลาดได้ยากยิ่งขึ้น

เห็นไหมว่า มัวแต่หลงใหลได้ปลื้มโดยไม่คิดทำอะไร สุดท้ายก็เหนื่อย และอาจถึงขั้นสูญเสียตลาดอย่างน่าเสียดาย


http://www.vwander.com/save/2010/03/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4/

www.vwander.com/save/2010/03/การปลูกข้าวบสมาติ/ - 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (9308 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©