-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 601 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





ปลูก 'พืชตระกูลถั่ว' หลังนา

เนื่องจากข้าวมีราคาอยู่ในเกณฑ์ สูง ประกอบกับรัฐบาลได้จัดทำโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ ปลูกข้าว เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาทำนาปรังมากขึ้นในช่วงเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2552/53 นี้ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดการณ์ว่า จะมีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังประมาณ 9.50 ล้านไร่ แยกเป็น ในเขตชลประทาน 7.50 ล้านไร่ และนอกเขตชลประทาน 2 ล้านไร่ ซึ่ง หลายพื้นที่ได้เกิด ปัญหาการแย่งชิงน้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะ การข้าวปลูกหนึ่งรอบการผลิตต้อง ใช้น้ำปริมาณมากทำให้น้ำไม่พอเพียงกับความต้องการ เป็นอีกหนึ่งประเด็นร้อนที่กำลังถูกจับตา...

กระทรวงเกษตรฯ จึงเร่งรณรงค์ให้งดปลูกข้าวนาปรังรอบ 2 และให้ปลูกพืชไร่-ผักที่มีช่องทางการ ตลาดดีทดแทน 
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า หลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังรอบที่ 1 แล้ว เกษตรกรควรพักดินและงดทำนาปรังรอบ 2 และควรปลูกพืชชนิดอื่นที่มีลู่ทางการตลาดดี ทดแทนข้าวนาปรัง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสง ซึ่งมีแนวโน้มราคาอยู่ในเกณฑ์ดี นอกจากเป็น พืชอายุเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อยที่สามารถช่วยประหยัดน้ำ และลด ปัญหาการแย่งชิงน้ำเพื่อการ เกษตรแล้ว ยังช่วยตัดวงจรปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวได้อีกทางหนึ่งด้วย 

เกษตรกรควรจัดระบบการปลูกพืชในนาข้าวใหม่ โดยปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับการทำนาปี-นาปรัง เช่น ปลูกถั่วเหลืองหลังนา สามารถที่จะช่วยปรับโครงสร้างดินให้สมบูรณ์ขึ้น ได้ถ้าไถกลบต้นถั่วเหลืองลงดินจะมีปริมาณธาตุไนโตรเจนที่ได้จากการสลายตัวของถั่วเหลือง 7 กก.ไนโตรเจน/ไร่ คิดเป็นปริมาณไนโตรเจนในปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 15 กก./ไร่ หรือ ไนโตรเจนในปุ๋ยแอมโมเนียมไน เตรท (21- 0-0) 34 กก./ไร่  เมื่อกลับไปปลูกข้าว เกษตรกรไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอีกเลย คาดว่าจะสามารถ ช่วยลดต้น ทุนค่าปุ๋ยไนโตรเจนในนาข้าวทั้งประเทศ ได้ปีละกว่า 4,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังจะมีรายได้ เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลผลิตถั่วเหลือง และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตข้าว คิดเป็นมูลค่า รวม กว่า 12,032 ล้านบาท นอก จากถั่วเหลืองแล้ว อาจปลูกถั่วเขียวหรือถั่วลิสง ซึ่งเกษตรกรจะได้รับ ผลตอบแทนใกล้เคียงกัน และ ที่สำคัญ ยังได้ปรับปรุงโครงสร้างดินในแปลงนาไปในตัวด้วย 

นายเทวา เมาลานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร แนะนำว่า การเพาะปลูก พืชในช่วงฤดู แล้ง เกษตรกรควรคำนึงถึงปริมาณน้ำต้นทุนที่จะหล่อเลี้ยงพื้นที่เพาะปลูกว่ามีเพียงพอหรือไม่ เพราะน้ำถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อระบบการผลิต หากปริมาณน้ำไม่เพียงพอเกษตรกร ไม่ควรทำนาปรังแต่ควรปลูกพืชอายุสั้นและใช้น้ำน้อยแทน โดยเลือกปลูกพืชไร่ที่มีราคา ดี เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และถั่วเขียว ซึ่งจะใช้น้ำประมาณ 400-600 ลบ.ม./ไร่/รอบการผลิต ทั้งยังต้องมองถึงช่องทางตลาดด้วยว่า พืชชนิดใดที่ตลาดมีความต้องการมากเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน  ขณะเดียวกันยังต้องเลือกใช้เมล็ดพันธุ์พืชพันธุ์ดีที่มีคุณภาพ ให้ผลผลิตสูงและเหมาะกับสภาพ พื้นที่ อาทิ ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 เชียงใหม่ 2 เชียงใหม่ 5 นครสวรรค์ 1 พันธุ์ขอนแก่น ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 72 กำแพงแสน 1 กำแพงแสน 2 และพันธุ์ชัยนาท 36 ถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 6  ขอนแก่น 5 พันธุ์กาฬสินธุ์ 1 และกาฬสินธุ์ 2 เป็นต้น 
การให้น้ำเป็นเรื่องสำคัญมาก ในช่วงอุณหภูมิสูงไม่ควรให้ขาดน้ำจนพืชเหี่ยวเฉา เพื่อให้การปลูกถั่ว เหลือง และถั่วเขียวได้ผลผลิตดีควรให้ น้ำทุก 10-14 วัน พยายามอย่าให้ขาดน้ำโดยเฉพาะระยะ ที่พืชออกดอกติดฝักไม่ควรให้ขาดน้ำอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้ดอกร่วงไม่ติดฝัก ส่งผลให้ได้ ผลผลิตลดลงและเสียหายได้ ส่วนถั่วลิสงควรให้น้ำเมื่อความชื้นใน ดินลดลง หรือสังเกตต้นถั่วเมื่อ ใบเริ่มเหี่ยวในตอนกลางวัน การให้น้ำควรมีช่วงห่างระยะ 10-15 วัน ต่อครั้ง ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็น แนวทางช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตพืชฤดูแล้งหลังนาได้ 


ที่มา
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?
page=content&categoryId=344&contentID=52843









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2943 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©