การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว กข 6 สำหรับนาปรัง
ประเทศไทยส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกมากว่า 20 ปี ในปี พ.ศ. 2550 ส่งออกข้าวได้ 9.20 ล้านตันคิดเป็นมูลค่า 119,304 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 32 ในปีเพาะปลูก 2549/50 มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 57.54 ล้านไร่ ได้ผลผลิตข้าวเปลือก 22.84 ล้านตัน มีพื้นที่ ปลูกข้าวนาปรัง 10.07 ล้านไร่ ได้ผลผลิตข้าวเปลือก 6.80 ล้านตัน โดยผลิตข้าวหอมมะลิ ข้าว เจ้า อื่นๆ และข้าวเหนียวคิดเป็นร้อยละ 28, 45 และ 27 ของผลผลิตทั้งหมดตามลำดับ จากพื้นที่ ปลูกข้าวเหนียวทั้งหมด 18.2 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 ซึ่งเป็นข้าวนาปีถึง 15 ล้านไร่ คิดเป็นพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 ร้อยละ 83 ของพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวทั้งหมด และ คิดเป็นร้อยละ 26 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดของประเทศ ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกมากเป็นอันดับสองรองจากข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 สาเหตุที่เกษตรกรนิยมปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่ข้าวสุกอ่อนนุ่มและมี กลิ่นหอม แต่ปัญหาของการปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 คือ เป็นข้าวนาปีซึ่งไวต่อช่วงแสงจึงปลูกได้เฉพาะฤดูนาปีเท่านั้นไม่สามารถปลูกในฤดูนาปรังได้
คำว่า “ข้าวนาปี หรือ ข้าวไวต่อแสง” เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกได้เฉพาะในฤดูฝน ออกดอกตรงตามฤดูกาลเพราะต้องการช่วงแสงจำเพาะเพื่อการออกดอก (ไวต่อช่วงแสง) ไม่ว่าจะปลูกข้าว พันธุ์นั้นเมื่อ ใด เช่น การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในภาคอีสาน ไม่ว่าจะปลูกข้าวพันธุ์นี้เมื่อใด จะออกดอก ในช่วงเดือนตุลาคม เท่านั้น ส่วนคำว่า “ข้าวนาปรัง หรือพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง” เป็นพันธุ์ข้าวที่ มีอายุการเก็บเกี่ยวค่อนข้างแน่นอน เมื่อมีอายุครบถึงระยะเวลาออกดอก จะออกดอกโดยไม่ต้อง อาศัยช่วงแสงเป็นตัวกำหนด จึงปลูกข้าวชนิดนี้ได้ตลอดทั้งปี แต่เกษตรกรมักจะเรียกว่า ข้าวนาปรัง แม้ว่าจะปลูกได้ตลอดปีทั้งในฤดูนาปีที่อาศัยน้ำฝน และในช่วงฤดูแล้งที่ต้องใช้น้ำชลประทาน เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว กข 6 ให้ปลูกได้ทั้ง ฤดูนาปีและนาปรัง ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยา ลัยแม่โจ้ และศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ กรมการ ข้าว ทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข 6 ให้ไม่ไวต่อช่วงแสง และมีคุณภาพการหุงต้มและลักษณะอื่นๆ เหมือนกับพันธุ์ กข6 โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมายในการคัดเลือกร่วมกับวิธีการปรับปรุงพันธุ์แบบดั้งเดิม (conventional breeding)
ปัจจุบันได้สายพันธุ์ข้าวเหนียวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง และเมื่อทดลองปลูกข้าวเหนียว กข 6 ที่ได้จาก การปรับปรุงพันธุ์เปรียบเทียบกับข้าวเหนียว กข 6 พันธุ์เดิมที่ไวต่อแสงในเรือนทดลองโดยให้ต้นข้าวทั้งสองพันธุ์ได้รับแสง 14 ชั่วโมง/วัน ซึ่งเป็นสภาพวันยาว ต้นข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 เดิมไม่ออกดอก แสดงว่าเป็นข้าวไวต่อช่วงแสงที่ปลูกได้เฉพาะนาปีเท่านั้น ส่วนต้นข้าวเหนียวสายพันธุ์ กข 6 ที่ได้จากปรับปรุงพันธุ์ออกดอกได้ จึงใช้ปลูกได้ทั้งในฤดูนาปีและนาปรังการทดสอบผล ผลิตเบื้องต้นในฤดูนาปี 2550 ที่นาทดลองของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผลผลิต องค์ประกอบของผลผลิต คุณสมบัติทางกายภาพของเมล็ดข้าวเปลือก และข้าวสารของสายพันธุ์ข้าว กข 6 ไม่ไวต่อช่วงแสงที่ได้จากการ ปรับปรุงพันธุ์ ไม่แตกต่างกับข้าวพันธุ์ กข 6 เดิม เมื่อนำข้าวสารของสายพันธุ์ข้าวเหนียว กข 6 ไม่ไวต่อช่วงแสงไปหาปริมาณสารหอมในข้าว พบว่ามีสารหอมเช่นเดียวกับข้าวพันธุ์ กข 6 เดิม ในขั้นต่อไป คณะนักวิจัยต้องนำสายพันธุ์ข้าวเหนียว กข 6 ไม่ไวต่อช่วงแสงนี้ ไปปลูกทดสอบร่วมกับข้าวพันธุ์ กข 6 กข 10 และสันป่าตอง 1 ในหลายพื้นที่ และหลายฤดูอย่างน้อย 2-3 ปี เพื่อศึกษาศักยภาพในการให้ผลผลิต ลักษณะทางการเกษตรอื่นๆ รวมทั้งลักษณะกายภาพและคุณภาพในการหุงต้ม ตามขั้นตอนของกรมการข้าว ก่อนเผยแพร่ให้
เกษตรกรนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อไป ซึ่งคาดการณ์ว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เกษตรกรไทยจะปลูกข้าวเหนียวพันธุ์กข 6 ได้ตลอดปีทั้งในฤดูนาปีและนาปรัง ข้าวสายพันธุ์ กข 6 ไม่ไวต่อช่วงแสงใน แปลงทดสอบผลผลิตเบื้องต้น ในฤดูนาปี 2550 ที่นาทดลอง ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะเมล็ดข้าวเปลือกและข้าวสาร ของข้าวสายพันธุ์ กข 6 ไม่ไวต่อช่วงแสง เปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์ กข 6 เดิม
ผลงานเด่นไบโอเทค :
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.