-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 455 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





กำลังปรับปรุงครับ


กษ. นครพนม ปลุกเทคโนโลยีขอมพันปี ใช้ "สุริยะปฏิทิน" ปลูกข้าวหอมมะลินาปรัง


          สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครพนม ร่วมกับ บริษัท ซีพี. เปิดโครงการปลูกข้าวหอมมะลิ “นาปรัง” ภายใต้ชื่อ “ยุทธการหว่านวันสั้น” ที่ตำบลท่าค้อ อ.เมืองนครพนม

        
นายสรรค์สนธิ บุณโยทยาน เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครพนม และนายเสถียร พรหมชัยนันท์ ผู้เชี่ยวชาญการปลูกข้าว ของบริษัท ซีพี. ร่วมกันสาธิตการปลูกข้าวหอมมะลินาปรัง และสนับสนุนให้เกษตรกร บ้านท่าค้อ ต.ท่าค้อ อ.เมืองนครพนม ปลูกข้าวหอมมะลิ 600 ไร่ โดยวิธีหว่านน้ำตมในช่วงวันที่ 10-14 ธันวาคม 2546 ข้าวหอมมะลิซึ่งนักเกษตรทั่วไปเชื่อว่าเป็นข้าว “นาปี” ไม่สามารถทำ “นาปรัง” แต่ในความเป็นจริง ข้าวพันธุ์นี้ถูกกระตุ้นให้ตั้งท้องและออกรวงได้โดยแสงอาทิตย์ใน “วันสั้น” 

         
ดังนั้น ช่วงเวลาที่สามารถปลูกข้าวหอมมะลิ จึงกว้างมากครอบคลุมหลายเดือน ทั้งนาปีและนาปรัง 
         
ภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคกลาง
-  นาปี “หว่านวันยาว” 15 มิถุนายน – 31 สิงหาคม     เก็บเกี่ยว 8 พฤศจิกายน – 8 ธันวาคม
- นาปรัง”หว่านวันสั้น” 15 ตุลาคม - 15 มกราคม    เก็บเกี่ยว 7 มกราคม – 15 เมษายน
ภาคใต้ (ฤดูฝนอยู่ในช่วงวันสั้น)
- นาปี “หว่านวันสั้น” 5 – 20 ตุลาคม    เก็บเกี่ยว 8 – 28 มกราคม
- นาปรัง “หว่านวันสั้น” 10-31 ธันวาคม       เก็บเกี่ยว 5-31 มีนาคม 
     
จากบันทึกของ เฉา ตากวน ฑูตพาณิชย์จีน ที่อยู่ ในเมืองหลวงของอาณาจักรขอม ระหว่าง พ.ศ.1839-40 ในช่วงสมัย พระเจ้าอินทรวรมัน ยืนยันว่ามีการ ทำนาหลังจากระดับน้ำ ในทะเลสาบ ลดลงแล้ว แสดงว่า ต้องหว่านในวันสั้น (นาปรัง) ประมาณ เดือนตุลาคม - ธันวาคม และสมัยนั้นพันธุ์ข้าวต้องเป็น พันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสง (พันธุ์พื้นเมือง) เพราะยังไม่มีกรมวิชาการเกษตร และสถาบัน IRRI สร้างพันธ ุ์ข้าวนาปรัง เช่น IR-8กข.7 กข.10 สุพรรณบุรี 60 หรือ ชัยนาท 1 แสดงว่าชาวขอมต้องทำนาปรังด้วย ข้าวพันธุ์พื้นเมือง เมื่อพันปีที่แล้ว โดยใช้ระบบชลประทาน


อะไรคือ วันสั้น….วันยาว ?
        โลกหมุนรอบตัวเองในลักษณะเอียงจากแนวดิ่ง 23.5 องศา และเมื่อโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้มุมตกกระทบของแสงอาทิตย์ต่อพื้นผิวโลกแตกต่างกันไป เป็นเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ 4 ครั้ง กล่าวคือ

1.วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) เป็นตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก ทำให้กลางวันเท่ากับกลางคืน เป็นวันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิตของซีกโลกเหนือ ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม

2.ครีษมายัน (Summer solstice) ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นรุ้ง 23.5 องศาเหนือ หรือ Tropic of cancer กลางวันยาวที่สุด กลางคืนสั้นที่สุด เป็นกึ่งกลางฤดูร้อน (Mid summer) ตรงกับวันที่ 21-22 มิถุนายน

3.ศารทวิษุวัต (Autumnal equinox) ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรอีกครั้งหนึ่ง กลางวันเท่ากับกลางคืน เป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง ตรงกับวันที่ 23 กันยายน

4.เหมายัน (Winter solstice) ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นรุ้ง 23.5 องศาใต้ เป็นกึ่งกลางฤดูหนาว (Mid winter) กลางวันสั้นที่สุด กลางคืนยาวที่สุด ที่จังหวัดนครพนม กลางวัน / กลางคืน เป็น 11/13 ชั่วโมง
วันยาว เป็นช่วงระหว่าง วันที่ 21 มีนาคม ถึง 22 กันยายน
วันสั้น เป็นช่วงระหว่าง วันที่ 24 กันยายน ถึง 20 มีนาคม
จังหวัดในกลุ่ม “สนุก” สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และกาฬสินธุ์ อยู่ระหว่างเส้นรุ้ง (Latitude) ที่ 16 -18 วันยาวที่สุด 13 ชั่วโมง วันสั้นที่สุด 11 ชั่วโมง









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2611 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©