โพสต์ทูเดย์ -
นายสมจิตร ทาแสง อายุ 64 ปี ชาวนาบ้านเพชรพิจิตร หมู่ 8 ต.หนองโสน อ.สามง่าม จ.พิจิตร กล่าวว่า เดิมเคยทำนา 25 ไร่ ปลูกข้าวหอมมะลิแต่เวลาขายกลับได้เป็นราคาข้าวหอมจังหวัด ซึ่งถูกกว่าข้าวหอมมะลิปกติ ซึ่งถือว่าเป็นการเอาเปรียบชาวนา จึงเกิดแนวคิดอยากเปลี่ยนพันธุ์ข้าวและได้รับคำแนะนำจากสถาบันการเงินชุมชน ต.หนองโสน ว่า ต้องการและรับประกันราคา รับ – ซื้อ ข้าวหอมนิลเมล็ดสีดำ โดยรับซื้อตันละ 12,000 บาท ทั้งนี้ ในปี 2552 จึงทดลองปลูกอยู่ 10 ไร่ ได้ผลผลิต 7 ตัน ขายได้เงิน 84,000 บาท ซึ่งได้ดีกว่าการปลูกข้าวหอมมะลิ
จากนั้นก็ทำเรื่อยมาและปีนี้ก็ได้เพิ่มพื้นที่ปลูกเป็น 25 ไร่ แต่ประสพปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลกัดกินต้นข้าว คาดว่าคงได้ผลผลิตราว 10 ตัน แต่ราคาที่สถาบันการเงินชุมชน ต.หนองโสน ขอรับซื้อตามราคาประกันสูงถึง 14,000 บาท ซึ่งก็คงมีกำไรงบ้าง และต่อไปนี้จะหันมาปลูกรวมทั้งแนะนำเพื่อนบ้านให้หันมาปลูกข้าวหอมนิลเมล็ดสีดำ ซึ่งขณะนี้มีเพื่อนบ้านเกือบร้อยครอบครัว พร้อมทั้งพื้นที่กว่า 2 พันไร่ หันมาปลูกข้าวดังกล่าวแล้ว
นางสุนันท์ จันทร์ทัด เกษตกรผู้ปลูกข้าว กล่าวว่า ตนเองปลูกข้าวหอมนิลเมล็ดสีดำบนพื้นที่นาทั้งหมด 33 ไร่ เป็นปีที่ 2 แล้ว แต่ปีนี้ประสพปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเช่นเดียวกับชาวนาคนอื่นๆ จึงใช้สารส้มควันไม้ และ พืชสมุนไพร สารชีวภาพ ฉีดพ่นจนสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ถึง 20 ตัน ได้เงินมากถึง 280,000 บาท จึงเชื่อว่าน่าจะดีกว่าการปลูกข้าวหอมมะลิ
นายสุคล สุริยวงศ์ ผู้จัดการสถาบันการเงินชุมชน ต.หนองโสน อ.สามง่าม จ.พิจิตร กล่าวว่า ทางสถาบันฯ รับซื้อข้าวเปลือกหอมนิลเมล็ดสีดำจากสมาชิกอย่างไม่มีการกำหนด โดยให้ราคาตันละ 14,000 บาท ในความชื้นเหมารวม จากนั้น ก็นำไปให้โรงสีชุมชนแปรรูปเป็นข้าวสารหอมนิลเมล็ดสีดำ แล้วจะขายได้ในราคา กก.ละ 70 บาท หรือตันละ 7 หมื่นบาท ซึ่งในขณะนี้ประเทศญี่ปุ่นได้มีคำสั่งซื้อ ให้จัดส่งข้าวสารหอมนิลให้ทุกเดือน เดือนละ 8 ตัน เช่นเดียวกับประเทศใต้
หวันก็ให้ส่งข้าวสารหอมนิลให้เดือนละ 6 ตัน ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ก็ยังมีผู้บริโภคภายในประเทศที่เป็นกลุ่มผู้รักสุขภาพที่เป็นลูกค้าประจำสั่งซื้ออีกจำนวนมาก เพราะมีผลการวิจัยทางการแพทย์ว่าการบริโภคข้าวหอมนิลจะมีสารที่ทำให้รักษาโรคเหน็บชาและต้านโรคมะเร็ง จึงทำให้ตลาดสดใส
http://www2.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.-%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B9%8C/%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2/5140/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B3
www2.posttoday.com/.../
ข้าวเจ้าหอมนิล
ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนาจนได้ข้าวที่มีเมล็ดข้าวกล้องเรียวยาว สีม่วงเข้ม ข้าวกล้องเมื่อหุงสุกจะนุ่ม เหนียว หอม ข้าวสารหุงสุกมีสีม่วงอ่อน นุ่ม และมีกลิ่นหอมเช่นกัน คุณสมบัติที่สำคัญของข้าวเจ้าหอมนิลคือ ข้าวกล้องมีโปรตีนสูงถึง 12.5 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 70 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณ amylose 16 เปอร์เซ็นต์ และยังประกอบไปด้วยธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ (ตารางที่ 1) นอกจากนี้ลักษณะดีเด่นของข้าวเจ้าหอมมะลิที่พบนอกจากคุณค่าทางโภชนาการได้แก่ ทรงต้นเตี้ย แตกกอดี เมล็ดมีน้ำหนักดี อายุสั้นเพียง 90 วัน ทำให้สามารถปลูกได้ถึง 3 ครั้งต่อปี ดังนั้นหากได้รับการจัดการที่เหมาะสมในการผลิตต่อปีสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่น ๆ
ตารางที่ 1 คุณค่าทางโภชนาการของข้าวเจ้าหอมนิลเทียบกับข้าวขาวดอกมะลิ 105
คุณค่าทางโภชนาการข้าวเจ้าหอมนิลข้าวขาวดอกมะลิ 105
โปรตีน (เปอร์เซ็นต์) |
12.56 |
6.0 |
คาร์โบไฮเดรต (เปอร์เซ็นต์) |
70.0 |
80.0 |
ธาตุเหล็ก (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) |
3.26 |
- |
สังกะสี (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) |
2.9 |
- |
แคลเซียม (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) |
4.2 |
- |
โพแทสเซียม (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) |
339.4 |
- |
ทองแดง (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) |
0.1 |
- |
ตารางที่ 2 ปริมาณวิตามินบางชนิดในข้าวและข้าวสาลี |
วิตามินข้าวกล้องข้าวขัดขาวข้าวสาลี
B1 (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) |
0.34 |
0.07 |
0.57 |
B2 (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) |
0.05 |
0.03 |
0.12 |
B3 (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) |
4.7 |
1.6 |
7.4 |
B6 (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) |
0.62 |
0.04 |
0.36 |
Folic acid (ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม) |
20 |
16 |
78 |
ที่มา : Chrispeels, M.L. and E.S. David, 1994. Plants, Genes and Agriculture. Jones and Bartlett
Publishers. London. England. 478 p. |
ลักษณะประจำพันธุ์
ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวนาสวน ไม่ไวแสง สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี อายุเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 95 วันหลังหว่าน ลำต้นสูงประมาณ 50 เซนติเมตร การแตกกอดี ใบและลำต้นมีสีเขียวเข้มปนสีม่วง เปลือกหุ้มเมล็ดข้าวมีสีม่วงเข้ม เมล็ดข้าวกล้องยาวประมาณ 6.5 มิลลิเมตร ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และแมลงโดยทั่ว ๆ ไป
การผลิตและการตลาดข้าวเจ้าหอมนิล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัทเกษตรรุ่งเรืองมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการผลิตข้าวเจ้าหอมนิลออกสู่ตลาดผู้บริโภค เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2543 ที่ผ่านมา โดยในข้อตกลงดังกล่าวนี้ พันธุ์ข้าวเจ้าหอมนิลยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นเจ้าของสิทธิบัตร หากมีการจดสิทธิบัตรในต่างประเทศทั่วโลก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้ดำเนินการผลิตข้าวเปลือกที่มีคุณภาพส่งให้กับบริษัทฯ ในราคาประกัน โดยบริษัทคิดราคาให้ในราคาสูงสุดของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ณ โรงสี ตามประกาศของกรมการค้าภายใน ในวันที่ส่งข้าวแต่ละครั้ง แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 7,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก ทั้งนี้บริษัทฯ ยังได้สนับสนุนเงินทุนส่วนหนึ่งกลับคืนมาจากมูลค่าของข้าวเปลือกที่ส่งให้กับบริษัทฯ เพื่อเป็นการสนับสนุนและพัฒนางานวิจัของมหาวิทยาลัย และยังจะได้ค่าตอบแทนสิทธิ์ในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าข้าวเปลือกที่ส่งให้กับบริษัทฯ เป็นเวลา 10 ปีด้วย
ส่วนบริษัทเกษตรรุ่งเรืองมาร์เก็ตติ้ง จำกัด เป็นผู้รับซื้อข้าวเปลือกจากมหาวิทยาลัย แปรรูป และจำหน่ายข้าวเจ้าหอมนิลในรูปของผลิตภัณฑ์ ข้าวเจ้าหอมนิล เพื่อนไทย และข้าวหอมไตรรงค์ เพื่อนไทย ขณะนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตของโลตัส จัสโก้ และท๊อป เนื่องจากข้าวเจ้าหอมนิลเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในโครงการต่อไป บริษัทเอกชนรายอื่น ๆ ที่มีศักยภาพและความสนใจข้าวเจ้าหอมนิลจะได้นำข้าวไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีก เช่น น้ำนมข้าว breakfast cereal เป็นต้น
|
http://www.ku.ac.th/e-magazine/april44/agri/rice1.html
www.ku.ac.th/e-magazine/april44/agri/rice1.html -
มารู้จักข้าวหอมนิลกันครับ
ข้าวเจ้าหอมนิล เป็นข้าวเจ้าสีดำ เมล็ดใส ที่ได้จากการคัดพันธ์กลายของข้าวเหนียวดำต้นเตี้ยจากจีน ข้าวเจ้าหอมนิลสูงประมาณ 60-75 เซนติเมตร มีอายุวันเก็บเกี่ยว 95-105 วัน มีการแตกกอดี ใบและลำต้นสีเขียวปนม่วง มีหูใบ โคนต้น ดอก และเมล็ดมีสีม่วงเข้ม ผลผลิตประมาณ 400-700 กิโลกรัม/ไร่ จากการศึกษาเอกลักษณ์พันธุกรรม โดยใช้ microsatellite จำนวน 48 ตำแหน่ง ชี้ให้เห็นว่า ข้าวเจ้าหอมนิลมีความแตกต่างข้าว Hei Bao และ Xua Bue Huq จากจีน ซึ่งมีปริมาณโปรตีนและธาตุเหล็กสูง แสดงให้เห็นว่า ข้าวทั้ง 3 ไม่ได้เป็นข้าวพันธุ์เดียวกัน
ข้าวเจ้าหอมนิลนับเป็นข้าวที่มีโภชนาการสูง เหนียวนุ่ม เมล็ดยาว และมีกลิ่นหอม ข้าวเจ้าหอมนิลมีโปรตีนอยู่ในช่วงประมาณ 10-12.5 % มีแคลเซียม 4.2 มิลลิกรัม/100 กรัม ธาตุเหล็กแปรปรวนระหว่าง 2.25-3.25 มิลิกรัม/ 100 กรัม และธาตุสังกะสีประมาณ 2.9 มิลลิกรัม
ข้าวเจ้าหอมนิลมีปริมาณแป้ง amylose ประมาณ 12-13 % ข้าวกล้องของข้าวเจ้าหอมนิลหุงสุก นุ่มมีกลิ่นหอมแบบข้าวเหนียวดำและข้าวหอม มีปริมาณสาร 2-acety-1-pyrroline ปานกลาง ร่วมกับสารหอมระเหยจำเพาะ เช่น Cyclohexanone ในปริมาณมาก
ข้าวเจ้าหอมนิลมีปริมาณ antioxidation สูงประมาณ 293 ไมโครโมล/กรัม มีน้ำมันรำข้าว 18 % ซึ่ง 80 % เป็นชนิด C18 : C18:2 และพบว่ามี omega-3 ประมาณ1-2 % รำข้าวเจ้าหอมนิล มีปริมาณ digestible fiber ถึง 10 % จากข้อมูลคุณภาพแป้ง และโภชนาการนับได้ว่าข้าวเจ้าหอมนิล เป็นข้าวที่มีศักยภาพในการแปรรูปทางอุตสาหกรรมอาหารสูง ในการทำ cracker หรือ cooky
นอกจากนี้ ข้าวเจ้าหอมนิลยังมีความสามารถในการต้านทานโรคไหม้ และไหม้คอรวงระดับสูง ทนน้ำท่วมและทนแล้งระดับปานกลาง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าหอมนิลระยะต่อมา ได้เข้าคู่ผสมกับข้าวหอมมะลิ 105 และได้ทำการเพาะเลี้ยงอับเรณู (anther culture) จากรุ่น F3 ควบคู่กับการทำ pedigree จนในที่สุดได้ลูกที่เป็น double haploid ที่มีเมล็ดสีม่วงหนึ่งสายพันธุ์คือ ข้าวเจ้าหอมนิล DH และลูกที่ได้จากากรคัดเลือก pedigree พันธุ์ใหม่คือ ข้าวเจ้าหอมนิล # 1 ซึ่งให้ผลผลิตสูงกว่า เมล็ดเรียวยาว และให้สีเมล็ดเข้มสม่ำเสมอตลอดปี ในคู่ผสมอื่น ๆ ก็ได้เน้นการปรับปรุงต้านทานแมลง เพิ่มผลผลิต และคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีข้าวที่มีโภชนาการเทียบเท่าข้าวเจ้าหอมนิลออกสู่ ผู้บริโภคต่อไป
http://forums.212cafe.com/khothai15/board-3/topic-2.html
forums.212cafe.com/khothai15/board-3/topic-2.html -