กลูโคส
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลูโคส
|
|
ชื่อตาม IUPAC |
6- (hydroxymethyl) oxane
-2,3,4,5-tetrol OR (2R,3R,4S,5R,6R) -6 - (hydroxymethyl) tetrahydro -2H-pyran-2,3,4,5-tetraol |
ชื่ออื่น |
Dextrose |
ตัวระบุ
ตัวย่อ |
Glc |
เลขทะเบียน CAS |
[50-99-7 (D-glucose)
921-60-8 (L-glucose)] |
PubChem |
5793 |
SMILES |
[ซ่อน]
C (C1C (C (C (C (O1) O) O) O) O) O
|
ChemSpider ID |
71358 |
คุณสมบัติ
สูตรเคมี |
C6H12O6 |
มวลต่อหนึ่งโมล |
180.156 g mol−1 |
ความหนาแน่น |
1.54 g cm−3 |
จุดหลอมเหลว |
α-D-glucose: 146 °C
β-D-glucose: 150 °C
|
|
กลูโคส (อังกฤษ: Glucose ; ย่อ: Glc) เป็นน้ำตาลประเภทโมโนแซคคาไรด์ (monosaccharide) มีความสำคัญที่สุดในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตด้วยกัน เซลล์ของสิ่งมีชีวิติทุกชนิดใช้กลูโคสเป็นแหล่งพลังงาน และสารเผาผลาญขั้นกลาง (metabolic intermediate) กลูโคสเป็นหนึ่งในผลผลิตหลักของการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) และเป็นแหล่งพลังงานสำหรับการหายใจของเซลล์ (cellular respiration) โครงสร้างโมเลกุลตามธรรมชาติของมัน (D-glucose) จะอยู่ในรูปที่เรียกว่า เดกซ์โตรส (dextrose) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร
- ในพืชและสิ่งมีชีวิตจำพวกโพรแคริโอต จากการสังเคราะห์แสง
ในสัตว์และเชื้อรา จากการแยกสลายไกลโคเจน โดยกระบวนการที่รู้จักกันในชื่อ การสลายไกลโคเจน (Glycogenolysis) ในพืชจะเป็นการแยกสลาย ซับสเตรต คือ แป้ง
- ในสัตว์ กลูโคสจะถูกสังเคราะห์ในตับและไต จากสารขั้นกลาง (intermediates) ที่ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรต (non-carbohydrate) เช่น ไพรูเวต (pyruvate) และ กลีเซอรอล (glycerol) โดยกระบวนการที่เรียกว่า กลูโคนีโอเจนีสิส (gluconeogenesis)
ผลิตเพื่อการค้า
กลูโคสสามารถผลิตเป็นการค้าไดโดยการ ไฮโดรไลซิสแป้ง ที่มี เอ็นไซม์ ช่วยเร่งปฏิกิริยา พืชผักมากมายสามารถใช้เป็นแหล่งของแป้งได้เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี มันเทศ มันสำปะหลัง (cassava) ต้นไม้เท้ายายม่อม (arrowroot) และ สาคู การใช้แป้งจากพืชจะแตกต่างกันไปตามส่วนต่างๆของโลก ในสหรัฐอเมริกาแป้งส่วนใหญ่จะเป็นแป้งข้าวโพด (จากต้นข้าวโพด) ในประเทศแถบเอเชียอย่างประเทศไทย จะใช้ข้าวทำแป้งเช่น แป้งข้าวจ้าวและแป้งข้าวเหนียว
กระบวนการที่ใช้เอนไซม์ช่วยจะมี 2 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนแรกใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง อุณหภูมิประมาณ 100 °C เอนไซม์เหล่านี้จะ ไฮโดรไลซ์แป้งให้กลายเป็นคาร์โบไฮเดรตที่เล็กลง โดยจะมีโมเลกุลของกลูโคส 5-10 หน่วย ความผิดเพี้ยนของกระบวนการจะอยู่ที่การต้มส่วนผสมของแป้งที่อุณหภูมิ 130 °C หรือร้อนกว่านี้ หนึ่งครั้งหรือมากกว่า การใช้ความร้อนระดับนี้เพื่อช่วยการละลายของแป้งในน้ำแต่มันก็จะทำลายฤทธิ์เอนไซม์ ซึ่งจะต้องเติมเอนไซม์เข้าไปใหม่ในการต้มแต่ละครั้ง
ขั้นตอนที่สองเรียกว่า แซคคาริฟิเคชัน (saccharification) ขั้นตอนนี้จะไฮโดรไลซ์แป้งบางส่วนและไฮโดรไลซ์กลูโคสอย่างสมบูรณ์โดยใช้เอนไซม์ กลูโคอะไมเลส (glucoamylase) จาก เชื้อราแอสเปอร์จิลลัสไนเกอร์ (Aspergillus niger) สภาวะของปฏิกิริยาจะต้องควบคุมให้อยู่ที่ pH 4.0-4.5, 60 °C, และความเข้มข้นของคาร์โบไฮเดรตจะต้องอยู่ที่ 30-35% โดยน้ำหนัก ภายใต้สภาวะการณ์เหล่านี้แป้งจะถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคสประมาณ 96% หลังจากใช้เวลา 1-4 วัน ถ้าจะให้ผลผลิตสูงกว่านี้สามารถทำได้โดยการทำให้สารละลายจางลง แต่จะต้องใช้หม้อต้มที่ใหญ่กว่าและต้องการน้ำมากกว่าซึ่งสรุปแล้วไม่ประหยัดกว่า สารละลายกลูโคสที่ได้จะถูกทำให้บริสุทธ์โดย การกรอง และเคี้ยวให้งวดใน เครื่องระเหยเอนกประสงค์ (multiple-effect evaporator) ดี-กลูโคสที่เป็นของแข็งจะทำได้โดย การตกผลึก (crystallization)
กลูโคสธรรมชาติ
หลักการและเหตุผล :
กลูโคสเป็นสารรสหวาน มีค่าความหวานไม่น้อยกว่า 55 องศาบริกซ์ ซึ่งกลูโคสในท้องตลาดที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเป็นกลูโคสสังเคราะห์ที่ได้มากจากพืช เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพดหวาน ข้าวฟ่างหวาน และอื่นๆ เป็นน้ำตาลโมเลกุลเชิงเดี่ยว เมื่อนำมาใช้ทางการเกษตรโดยการฉีดพ่นทางใบ น้ำตาลกลูโคสนี้สามารถผ่านปากใบพืชเข้าสู่ต้นได้ทันที ทำให้สารอาหารนั้นกลายสภาพเป็น "ทางด่วน" โดยปริยายนั่นเอง
ถึงแม้ว่ากลูโคสสังเคราะห์จะมีความหวานจัดถึง 55 องศาบริกซ์ แต่การให้แก่ต้นพืชก็ไม่ได้ใช้ความหวานจัดขนาดนั้น เช่น ใช้กลูโคสน้ำเพียง 100 ซีซี./น้ำ 100 ล. ซึ่งเท่ากับค่าความหวานได้หายไปกับน้ำ 100 ล.นั้นแล้ว แต่กระนั้นพืชก็ยังได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ จากอัตราใช้เพียงน้อยนิดเช่นนี้ ทำให้รู้ว่าว่าพืชใดที่มีความหวานเพียงคนรู้สึกสัมผัสได้นั้น นับว่าพอเพียงต่อความต้องการของพืชแล้ว
แหล่งกลูโคสธรรมชาติ :
จากหลักการและถเหตุผลที่ว่า กลูโคส คือ สารรสหวานที่ได้จากการสังเคราะห์ เมื่อวืเคราะห์เพื่อค้นสารรสหวานที่มีในธรรมชาติจึงพบว่า น้ำอ้อยสดคั้น. น้ำตาลสดจากงวงมะพร้าว. น้ำตาลสดจากงวงตาล. น้ำมะพร้าว. น้ำคั้นต้นข้าวฟ่างหวาน. ผลไม้รสหวาน. น้ำหวานในดอกไม้. น้ำผึ้ง. ฯลฯ
สารรสหวานจากพืชทั้งหลายย่อมต้องมีสภาพเป็นน้ำตาลโมเลกุลเชิงเดี่ยวตามธรรมชาติ เป็นน้ำตาลที่เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลโดยกระบวนการเปลี่ยนธาตุอารเพื่อใช้พัฒนาตัวเองของพืชนั่นเอง
วิธีทำ วิธีใช้ และอัตราใช้ :
น้ำสารรสหวานจากพืช สภาพสดใหม่ จากต้นที่สมบูรณ์ ให้ผลผลิตสม่ำเสมอตรงตามฤดูกาล ไม่มีโรคและแมลงรบกวน อัตรา 1-2 ล. ผสมน้ำ (พีเอช 6.0) 100 ล. ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น ช่วงเช้าแดดจัด
พืชเป้าหมาย :
- ไม้ผลทุกชนิดระยะสะสมตาดอก (ภาษาวิชาการพูดว่า "สะสมแป้งและน้ำตาล)
- ไม้ดอก และ พืชสวนครัวกินดอก-ผล ให้เมื่อต้นโตถึงระยะให้ผลผลิตได้แล้ว
มะพร้าว กลูโคสธรรมชาติ
เมื่อพูดถึงมะพร้าว เราต้องนึกถึงมะพร้าวอ่อนน้ำหวาน ๆ น้ำมะพร้าวอ่อนนั้นเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับดื่มแก้ร้อนกระหายน้ำได้ดี ในหน้าร้อน นอกจากนี้น้ำมะพร้าวอ่อนยังมีกลูโคสและฟรักโทส (fructose) ในปริมาณมาก ถ้าดื่มแล้วจะทำให้สดชื่น กระชุ่มกระชวยอีกด้วย และเนื้อมะพร้าวยังสามารถนำไปปรุงอาหาร ขนมได้อีกมากมาย
มะพร้าว เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำรายได้เข้าประเทศในแถบนี้เป็นจำนวนมาก นอกจากมะพร้าวจะมีความสำคัญในด้านเศรษฐกิจแล้ว มะพร้าวยังเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศในแถบนี้อีก ดังจะเห็นได้จากภาพวาดทิวทัศน์ต่างๆของจิตรกรในภูมิภาคนี้ มักจะต้องมีมะพร้าวอยู่ด้วยเสมอ
ผลการศึกษาพบว่า ในมะพร้าวมีโปแตสเซียมสูง 38.2-53.7 มิลลิกรัม/ลิตร และมีโซเดียม คลอรีน และ Po4 ปริมาณน้อย ในมะพร้าวอ่อน น้ำมะพร้าวมีกลูโคสและฟรักโทส (fructose) เป็นสำคัญ แต่ในมะพร้าวแก่กลับมีซูโครส (sucrose) มาก ในเนื้อมะพร้าวอ่อนมีไขมันน้อย ใน 100 มิลลิลิตรมี 0.084 กรัม แต่ในเนื้อมะพร้าวแก่จะมีไขมันมาก
สรรพคุณ
- เปลือกมะพร้าวมีรสขม คุณสมบัติเป็นกลาง มีสรรพคุณห้ามเลือด แก้ปวด
- น้ำมันมะพร้าว แก้กลากเกลื้อน
- น้ำมะพร้าว รสหวาน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ลดอาการบวม
- เนื้อมะพร้าว มีรสหวาน คุณสมบัติเป็นกลาง มีสรรพคุณขับพยาธิตัวตืด
ตำรับยา
1. ขับพยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ในลำไส้ (Fasciolopsis buski) ให้กินมะพร้าว 1 ลูก หรือครึ่งลูก ทุกเช้า ตอนท้องว่าง โดยให้กินน้ำมะพร้าวก่อนแล้วค่อยกินเนื้อ หลังจากนั้น 3 ชั่วโมงค่อยกินอาหาร
2. เลือดกำเดาออก ใช้เปลือกต้นมะพร้าวจำนวนพอควรต้มกินน้ำ
3. กลาก ใช้น้ำมันมะพร้าวเคี่ยวให้ร้อน ทิ้งไว้ให้พออุ่น (ไม่ร้อนจนลวกผิวหนัง) ทาบริเวณที่เป็นวันละหลายๆครั้ง
สารเคมีที่พบ
เนื้อมะพร้าว มีน้ำมัน 35-45% คาร์โบไฮเดรต 15% โปรตีนไม่ถึง 5% (มี Albumin Globulin Prolamin) วิตามินบี 1 173 มก. วิตามินบี 5 103 มก. วิตามินบี 2 มีน้อยมาก – Tocopherol 700 มก.% - Tocopherol 250 มก.% วิตามินซี จะมีมากในมะพร้าวอ่อน นอกจากนี้ยังมี Stachyose, Sucrose, Glucose จาวมะพร้าวมี Mannan
ผลทางเภสัชวิทยา
น้ำต้มจากใบและก้านมะพร้าว และสารที่ได้จากการแช่ด้วยน้ำ (เติมแอลกอฮอล์และเอาตะกอนออก) มีฤทธิ์กระตุ้น ileum ของหนูถีบจักรที่อยู่นอกร่างกาย แต่ไม่มีฤทธิ์ที่ชัดเจนต่อมดลูกของหนูขาว ที่อยู่นอกร่างกาย เมื่อฉีดเข้าไปในหลอดเลือดดำของสุนัขที่ดมยาสลบ มีฤทธิ์ทำให้ความดันโลหิตลดลง ถ้าฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร ในปริมาณ 0.1 กรัม ยาสด/ตัว หนูทดลอง 2 ฉีดที่ถูกฉีดจะตายใน 24 ชั่วโมง น้ำที่ได้จากการสกัดซึ่งมีพิษน้อยกว่า เมื่อฉีดเข้าช่องท้องของหนูในปริมาณ 1 กรัมยาสด/ตัวจะมีพิษเช่นเดียวกัน
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.