-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 627 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อินทรีย์ชีวภาพ







 

น้ำตาลถือว่าเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต มีหน้าที่สำคัญในการให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยกระตุ้นการหลั่งของสารเคมีบางชนิดในสมอง ทำให้รู้สึกสดชื่น อารมณ์ดี และช่วยให้วงจรต่างๆในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


หวาน หวาน น้ำตาลธรรมชาติ
          
น้ำตาลถือว่าเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่นเดียวกับที่มีอยู่ในข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง เผือก มัน เป็นต้น มีหน้าที่สำคัญในการให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยกระตุ้นการหลั่งของสารเคมีบางชนิดในสมอง ทำให้รู้สึกสดชื่น อารมณ์ดี และช่วยให้วงจรต่างๆในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เราสามารถแบ่งประเภทของน้ำตาลตามคุณสมบัติทางโครงสร้างได้ดังนี้


น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 
คือน้ำตาลที่มีโมเลกุลของคาร์โบไฮเดรตที่เล็กสุด เมื่อรับประทานเข้าไปกระเพาะ และลำไส้เล็กสามารถดูดซึมได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อย มีรสหวาน สามารถละลายน้ำได้ ได้แก่  - กลูโคส คือน้ำตาลที่เป็นผลสุดท้ายของการย่อยคาร์โบไฮเดรตก่อนถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ในภาวะปกติร่างกายจะมีกลูโคสอยู่ประมาณ 60 -120 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร พบในผัก และผลไม้ทั่วไป- ฟรักโทส พบในผัก ผลไม้ที่มีรสหวานทั่วๆ ไป และในน้ำผึ้ง- กาแลกโทส  คือน้ำตาลที่ได้จากการสลายตัวของแลกโทสในน้ำนม (เป็นส่วนผสมระหว่างกลูโคสกับแล็กโทส) พบในน้ำนม


น้ำตาลโมเลกุลคู่ 
เป็นคาร์โบไฮเดรตที่เกิดจากการรวมตัวกันของน้ำตาลเชิงเดี่ยวสองโมเลกุล มีรสหวาน ละลายน้ำได้ เมื่อรับประทานเข้าไป น้ำตาลประเภทนี้ ไม่สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ทันที จะต้องผ่านกระบวนการย่อยให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อน จึงจะสามารถนำไปใช้งานได้ คือ
- ซูโครส ได้จากน้ำตาลทราย น้ำตาลอ้อย น้ำตาลโตนด น้ำตาลมะพร้าว และน้ำตาลจากหัวผักกาดหวาน และในผลไม้สุกเกือบทุกประเภท น้ำตาลซูโครส ประกอบด้วยกลูโคสและฟรุกโทสอย่างละ1 โมเลกุล เมื่อผ่านการย่อย จะได้กลูโคส และฟรักโทส
- มอลโทส เป็นน้ำตาลที่มีอยู่ในเมล็ดพืชที่กำลังงอก เช่น น้ำตาลมอลต์ที่ได้จากข้าวมอลต์ หรือข้าวบาร์เลย์ที่กำลังงอก เกิดจากการรวมตัวกันของกลูโคสกับกลูโคส เมื่อผ่านการย่อยสลายของร่างกายจะได้น้ำตาลกลูโคส 2 โมเลกุล
- แล็กโทส เกิดจากการรวมตัวกันของกลูโคสกับกาแลกโทส อย่างละ 1 โมเลกุล พบในน้ำนม มีรสหวานน้อย เมื่อผ่านการย่อยเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวจะได้กลูโคส และกาแลกโทสอย่างละ 1 โมเลกุลน้ำตาล แหล่งพลังงานที่สำคัญ            

เมื่อเรากินน้ำตาลเข้าไป ร่างกายจะนำไปย่อยโดยผ่านกระบวนการเมตาบอลิซึม เพื่อให้โมเลกุลของน้ำตาลแตกตัวจนเหลือเป็นหน่วยเล็กที่สุดคือ “กลูโคส”จากนั้นจะดูดซึมเข้าสู่ผนังกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนกลาง ก่อนจะส่งไปยังกระแสเลือด เพื่อนำไปใช้เป็นต่อไป 
         
หน้าที่หลักของน้ำตาลกลูโคส (คาร์โบไฮเดรต) คือเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย ช่วยให้กล้ามเนื้อมีการยืดและหดตัว ควบคุมการเต้นของหัวใจ ช่วยในการไหลเวียนของระบบเลือด ระบบประสาท และช่วยให้ระบบเนื้อเยื่อทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้การส่งข้อมูลต่างๆของระบบประสาทต่างๆไปยังสมองมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้นอีกด้วยทั้งนี้ยังพบว่า กลูโคสเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของสมองอีกด้วย กล่าวคือ เมื่อเราได้รับน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่พอดี ตับอ่อนจะปล่อยอินซูลิน เข้าสู่กระแสเลือดในทันที ซึ่งส่งผลให้สมองสร้างสารซีโรโตนิน (Serotonin) (ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแสดงออกทางความรู้สึกและควบคุมการนอนหลับ) ออกมา ซึ่งทำให้เราลดความวิตกกังวล และความเครียดต่างๆได้ เราจึงพบว่า หลังรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต (ข้าว ขนมปัง น้ำตาล ฯลฯ) ไปแล้ว อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง มักจะรู้สึกผ่อนคลายและสงบ 
         
“ความจริงแล้ว ถ้าเอาชนิดของน้ำตาลเป็นตัวตั้งจะพบว่าในน้ำตาลหนึ่งประเภท เช่นน้ำตาลโตนด ไม่ได้มีเฉพาะซูโครสอย่างเดียว แต่ยังมีกลูโคส และฟรักโตสอยู่ด้วย นั่นหมายความว่าเวลาที่เรากินผักหรือผลไม้เข้าไป ร่างกายจะได้รับน้ำตาลมากกว่าหนึ่งประเภทเสมอ ในส่วนของการดูดซึม ร่างกายจะดูดซึมโดยเรียงลำดับตามชนิดของโมเลกุล คือ เราจึงไม่สามารถบอกได้ว่า ร่างกายใช้เวลาในการย่อยน้ำตาลแต่ละประเภทนานเท่าไร เพราะเวลาที่กินน้ำตาล เราไม่ได้กินน้ำตาลอย่างเดียวแต่ปะปนอยู่ในอาหาร ในน้ำ ถึงแม้จะเป็นน้ำตาลประเภทเดียวกัน แต่ถ้าอยู่ในอาหารที่แตกต่างกัน อัตราการดูดซึมก็จะไม่เท่ากัน เช่น หากกินอาหารที่มีเส้นใยเยอะๆ การดูดซึมของน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดจะช้าลง เพราะขณะร่างกายกำลังย่อย อาหารเส้นใยจะลักษณะเหนียวหนืด เป็นต้น”
สารพัดน้ำตาลจากธรรมชาติ


น้ำตาลโตนด 
เกิดจากการนำน้ำหวานที่ไหลซึมออกมาจากช่อดอก (ปลายงวง) ของต้นตาลมาเคี่ยวจนงวด ก่อนจะกวนและตีเพื่อให้น้ำตาลขึ้นตัว จากนั้นจึงหยอดลงเบ้าหรือพิมพ์ ซึ่งเรามักจะเห็นกันในรูปของครึ่งวงกลมคล้ายถ้วย ชาวบ้านจะเรียกน้ำตาลรูปแบบนี้ว่า น้ำตาลปึก แต่หากใส่ในภาชนะต่างๆก็จะเรียกตามภาชนะที่ใส่ เช่น น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลหม้อ เป็นต้น


น้ำตาลมะพร้าว 
น้ำหวานที่ได้จากจั่นมะพร้าว จะมีลักษณะคล้ายกับน้ำหวานจากตาลโตนด จะต่างตรงที่กลิ่นของน้ำตาลมะพร้าวจะไม่หอมเท่า และมีรสชาติที่หวานแหลมกว่า ทั้งนี้ วิธีการทำน้ำตาลมะพร้าวจะเหมือนกับน้ำตาลโตนด จึงเรียกว่าน้ำตาลปึก น้ำตาลปี๊บเหมือนกัน และสามารถนำมาประกอบอาหารได้เหมือนกัน


น้ำตาลอ้อย 
การทำน้ำตาลอ้อยเริ่มจากเอาลำอ้อยมาหีบเอาน้ำอ้อย แล้วนำมาเคี่ยวในกระทะใบบัวรอจนกว่าน้ำอ้อยจะเหนียวได้ที่ และมีสีน้ำตาลเข้มจัด จึงหยอดลงพิมพ์ที่เตรียมไว้ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ทั้งแผ่นกลม ทรงกระบอกคล้ายอ้อยควั่น นอกจากใช้ทำขนมแล้ว ยังมีอาหารอีกหลายอย่างที่ต้องใช้รสหวานและกลิ่นหอม จากน้ำตาลอ้อยเท่านั้น เช่น ปลาตะเพียนต้มเค็ม น้ำปลาหวานสะเดา ต้มฟักหวาน เป็นต้น ทั้งนี้กลิ่นหอมของน้ำตาลอ้อยที่หอมเหมือนน้ำตาลไหม้ จะช่วยดับกลิ่นเครื่องเทศในอาหารให้หอมอร่อยยิ่งขึ้น


น้ำตาลทรายแดง 
จัดเป็นน้ำตาลเพื่อสุขภาพอีกชนิดหนึ่ง ที่ได้จากการนำน้ำอ้อยมาเคี่ยว โดยหมั่นตักเอาสิ่งสกปรกออกจนน้ำเชื่อมใส ใส่ปูนขาวลงไปเล็กน้อย เพื่อให้น้ำตาลตกเป็นเม็ด จากนั้นเคี่ยวต่อไปเรื่อยๆจนแห้ง ออกมาเป็นเม็ดทรายบ้าง จับตัวเป็นก้อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง สีออกน้ำตาลแดง จึงเรียกว่าน้ำตาลทรายแดงนั่นเอง


น้ำตาลทรายดิบ หรือน้ำตาลสีรำ 
ทำมาจากอ้อย เพียงแต่ไม่ผ่านกระบวนการฟอกขาวให้ได้น้ำตาลที่มีผลึกขาวใสเหมือนน้ำตาลขัดขาว เหตุที่เรียกน้ำตาลทรายสีรำ เพราะผลึกของน้ำตาลจะมีสีเหลืองออกเข้มคล้ายสีของรำข้าว น้ำตาลชนิดนี้ ดีต่อสุขภาพในแง่ที่ทำให้เราสามารถหลีกเลี่ยงสารฟอกขาวที่อยู่ในน้ำตาลทรายขาวได้ ให้ความหวานพอๆกับน้ำตาลทรายขัดขาว



น้ำผึ้ง

ความหวานนี้ได้จากของเหลวในเกสรดอกไม้ที่มีแมลงตัวเล็กๆอย่างผึ้งงานเป็นผู้นำมารวบรวมไว้ด้วยกัน น้ำผึ้งอาจมีสีต่างกันบ้าง เช่น สีเหลืองอ่อน เหลืองเข้มออกเขียว สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลไหม้  ขึ้นอยู่กับชนิดของเกสรดอกไม้ในบริเวรที่ผึ้งอาศัยอยู่ ว่ากันว่าน้ำผึ้งที่ดีของไทยต้องเป็นน้ำผึ้งเดือนห้า จึงจะถือว่ามีความบริสุทธิ์ และเข้มข้นมาก เพราะช่วงที่ผึ้งเก็บเกี่ยวน้ำหวานไว้จนเต็มที่นั้นตรงกับช่วงหน้าแล้ง น้ำหวานจากเกสรดอกไม้จะไม่ค่อยมีน้ำเจือปนอยู่มาก


น้ำตาลจากผลไม้
 
ได้แก่ น้ำตาลกลูโคส ฟรักโทส และซูโครส มีอยู่ในผลไม้ที่มีรสหวานต่างๆ ซึ่งเมื่อเทียบกับน้ำตาลชนิดอื่นในปริมาณที่เท่ากันแล้วจะพบว่า น้ำตาลฟรักโทสซึ่งมีอยู่มากในผัก ผลไม้ และในน้ำผึ้ง จะมีความหวานมากที่สุด รองลงมาคือน้ำตาลกลูโคส  ตามมาด้วยน้ำตาลมอนโทส และสุดท้ายที่มีความหวานน้อยที่สุดคือ น้ำตาลแล็กโทส 

          
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดปริมาณน้ำตาลที่ควรกินไม่ว่า ไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของปริมาณพลังงานที่เราได้รับใน 1 วัน สำหรับคนไทย มีการกำหนดปริมาณการกินน้ำตาลไว้ว่า ไม่ควรเกิน 4-8 ช้อนชา สำหรับผู้ต้องการพลังงาน 1, 600-2,400 กิโลแคลอรี โดยส่วนที่เหลือได้เผื่อไว้สำหรับน้ำตาลที่ได้รับจากอาหารอื่นที่ไม่ทราบปริมาณ 

 


(ปรับปรุงจาก : นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 230
http://www.cheewajit.com/articleView.aspx?cateId=1&articleId=174)






กากน้ำตาล (Molasse)





คุณสมบัติ 

  เป็นของเหลวสีดำที่เหนียวข้น ซึ่งไม่สามารถจะตกผลึกน้ำตาลได้อีก  เป็นเนื้อของสิ่งที่ไม่ใช่น้ำตาลที่ละลายปนอยู่ในน้ำอ้อย ซึ่งประกอบไปด้วยน้ำตาลซูโครส น้ำตาลอินเวอร์ท (invert sugar) และสารเคมี เช่น ปูนขาว ซึ่งใช้ในการตกตะกอนให้น้ำอ้อยใส ส่วนประกอบของกากน้ำตาลจะปรวนแปรไม่แน่นอน แล้วแต่ว่าได้มาจากอ้อยพันธุ์ไหนและผ่านกรรมวิธีอย่างไร แต่มักจะหนีไม่พ้นน้ำตาลซูโครส น้ำตาลอินเวอร์ทกับน้ำ ปัจจุบันนี้ โรงงานน้ำตาลทันสมัย มีความสามารถในการสกัดน้ำตาลออกจากกากน้ำตาลได้มากขึ้นแต่ก็ไม่หมดเสียทีเดียว เพราะถ้าสกัดให้ออกหมดจริงจะสิ้นค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นจึงมีน้ำตาลซูโครสบางส่วนที่สูญเสียไปกับกากน้ำตาล ซึ่งมักจะสูญเสียไปมากกว่าสูญเสียไปทางอื่น โดยทั่วๆไปจะมีซูโครสปนอยู่ในกากน้ำตาลเฉลี่ย 7.5 เปอร์เซ็นต์



การใช้ประโยชน์           
อุตสาหกรรมการผลิตเหล้าและแอลกอฮอล์ เป็นแหล่งใหญ่ที่ต้องการกากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรม ผลผลิตที่ได้จากการหมักกากน้ำตาล ได้แก่ เอทิลแอลกอฮอล์ บิวธิลแอลกอฮอล์ อาซีโตน กรดซิตริก กลีเซอรอล (glycerol) และยีสต์  เอทิลแอลกอฮอล์ใช้ทำกรดอาซีติค เอธีลอีเธอร์ ฯลฯ สารประกอบอื่นที่ได้จากการหมักกากน้ำตาล ได้แก่ เอธิลอาซีเตท บิวธิลอา-ซีเตท อามีลอาซีเตท น้ำส้มสายชู และคาร์บอนไดออกไซด์แข็ง นอกจากนั้นถ้านำกากน้ำตาลที่ทำให้บริสุทธิ์ไปหมักและกลั่นจะได้ เหล้ายิน (gin) ส่าเหล้าหรือยีสต์ที่ตายแล้ว เป็นผลพลอยได้ซึ่งนำไปทำอาหารสัตว์ นอกจากนี้กากน้ำตาลยังใช้ทำยีสต์สำหรับทำขนมปังและเหล้าได้ด้วย  ยีสต์บางชนิดที่ให้โปรตีนสูงคือ Torulopsis utilis ก็สามารถเลี้ยงขึ้นมาได้จากกากน้ำตาล กากน้ำตาลสามารถนำมาทำกรดเป็นแลคติคได้ แม้ว่าจะทำได้น้อยมาก ในอดีตชาวปศุสัตว์ใช้กากน้ำตาลผสมลงในอาหารสัตว์ แต่ก็มีขีดจำกัด กล่าวคือ วัวตัวหนึ่งไม่ควรรับกากน้ำตาล เข้าไปเกิน 1.5 ปอนด์ สัตว์ชอบกินกากน้ำตาลคลุกกับหญ้าเพราะช่วยทำให้รสชาติดี รวมทั้งการใส่กากน้ำตาลในไซเลจ (silage)อีกด้วย มีผู้วิจัยทดลองใส่แอมโมเนียลงในกากน้ำตาล พบว่า สามารถผลิตโปรตีนได้และสัตว์สามารถกินกากน้ำตาลนี้เข้าไปและทำให้สร้างโปรตีนขึ้นในร่างกายสัตว์ได้ จึงเป็นสิ่งที่ประหลาดที่กากน้ำตาลเป็นสารคาร์โบไฮเดรต สามารถถูกสัตว์เปลี่ยนไปเป็นโปรตีนได้ผลดี ส่วนประกอบสำคัญของน้ำอ้อยอีกชนิดหนึ่งก็คือ กรดอโคนิติค ซึ่งจะผสมรวมอยู่ในกากน้ำตาล ซึ่งเราสามารถแยกได้โดยการตกตะกอนด้วยเกลือแคลเซียม กรดอโคนิติคนี้มีความสำคัญในการผลิตยางสังเคราะห์ พลาสติก เรซิน และสาร ชักเงา ประโยชน์สุดท้ายของกากน้ำตาลก็คือ การใช้ทำปุ๋ยหรือปรับคุณภาพดิน กากน้ำตาลมีส่วนประกอบของโพแทสเซียม อินทรีย์วัตถุ และธาตุรองอื่นๆ อีกมาก นอกจากนั้นยังเหมาะสำหรับปรับสภาพดินทราย หรือดินเลวที่ไม่มีการเกาะตัว เนื่องจากขาดอินทรีย์วัตถุอีกด้วย ประโยชน์สุดท้ายใช้ผสมกับชานอ้อยสำหรับทำถ่านใช้ในครัวเรือน

(ปรับปรุงจาก :
http://www.sugarzone.in.th)



ส่วนประกอบของกากน้ำตาลหรือโมลาส
น้ำ................ 20.65             
ซูโครส.............. 36.66
ริดิวซิงซูการ์........... 13.00              
น้ำตาลที่ใช้หมักเชื้อ....... 50.10
เถ้าซัลเฟต............ 15.10              
ยางและแป้ง........... 3.43
ขี้ผึ้ง................ 0.38               
ไนโตรเจน............. 0.95
ซิลิกาในรูป SiO2........ 0.46               
ฟอสเฟต P205.......... 0.12
โปแตสเซี่ยม K20......... 4.19               
แคลเซี่ยม CaO........... 1.35
แมกนีเซี่ยม MgO.......... 1.12  



ปัญหาของกากน้ำตาล เกิดจากการนำไปหมักกับพืชผักผลไม้ใช้ระยะเวลาสั้น ๆ อาจจะเป็น 7 วัน 15 วัน แล้วนำไปใช้ ก็จะทำให้เกิดปัญหา กับดิน หรือเกษตรกรบางท่านผสมกากน้ำตาลกับน้ำหมักชีวภาพแล้วฉีดพ่น หรือรดพืชผักผลไม้เลย ก็จะทำให้เกิดปัญหาแก่ดินอีกเช่นกัน



หากต้องการใช้กากน้ำตาล ในการหมักน้ำเอนไซม์สำหรับพืชก็ต้องนำน้ำเอนไซม์ มาหมักกับกากน้ำตาลในอัตรส่วน
เอนไซม์ 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำมะพร้าว 1 ส่วน + เปลือกสับปะรด 1 ส่วนเป็นเวลา 3-6 เดือน


เพื่อสลายปูนขาวที่ติดมากับกากน้ำตาล ซึ่งเป็นตัวทำให้ดินแข็งกระด้าง เกิดการอุดตันของชั้นดิน และชั้นน้ำใต้ดิน ทำให้เกิดเชื้อราดำที่รากของพืช เกิดรากเน่า


กากน้ำตาลจะสลายได้เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่ที่ความเปรี้ยวของการหมัก การที่เราใส่น้ำมะพร้าวลงไป เพราะเป็นน้ำตาลกลูโคส และฟรุกโตส เป็น อาหารของยีสต์  ส่วนเปลือกสับปะรด จะมีจุลินทรีย์ที่ตาสับปะรดจำนวนมากกว่าผลไม้อื่น เมื่อนำมาใช้ในการหมักจะทำให้เกิดน้ำส้มสายชูได้เร็ว จึงช่วยใน การสลายกากน้ำตาลได้เร็วยิ่งขึ้น



การขยายเอนไซม์ที่หมักจากกากน้ำตาล
นำเอนไซม์ 2 ปี 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำ 10 ส่วน


ขยายต่อได้ทุก 2 เดือน จะได้น้ำเอนไซม์สำหรับฉีดไล่แมลงศัตรูพืช และโรคพืช โดยนำน้ำเอนไซม์ 1 ส่วน ต่อน้ำ 100 ส่วน ผสมกันแล้วฉีดพ่น ใช้บำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำสะอาดได้อีกด้วยเอนไซม์ที่หมักจากกากน้ำตาลขยายทุก 2 เดือนให้ได้ถึง 6 ปี หรือยิ่งนานยิ่งดี ยิ่งจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น


ตัวอย่างของเกษตรกรสวนส้ม คือ คุณกำพล ธัญญธาร เป็นเจ้าของสวนส้ม 100 ไร่มีส้ม 5,000 ต้น จังหวัดปทุมธานี โทร.(02)901045, 9059081, (01)8011644 คุณกำพล และกลุ่มเพื่อน ๆ ได้ไปอบรมเกี่ยวกับเกษตร อินทรีย์ แล้วนำกลับมาใช้ที่สวนส้มของตนเองโดยใช้น้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำ 100 ส่วน ฉีดพ่นใบ ดอก ผลของส้ม โดยหวังว่าคงจะเร่งใบ เร่งดอก เร่งผลผลิต แต่กลับกลายมีเพลี้ยขึ้นต้นส้มเต็มไปหมด แล้วมดก็ตามมามากมาย  ดอกส้มที่คิดว่าจะติดผลมาก แรกก็ดูจะคิดดี แต่พอทิ้งไว้สัก 2-3 วัน ดอกก็ร่วง นำไปรดโคนต้น ก็เกิดดินแข็งกระด้างเป็นดาน รดน้ำไม่ลง จึงต้องรีบหยุดใช้ รวมทั้งสมาชิกเพื่อน ๆ ของ คุณกำพลด้วย  ตอนนี้ คุณกำพลมีน้ำหมักหัวปลา ที่หมักไว้กับกากน้ำตาล ก็นำมาหมักใหม่ โดยใช้อัตราส่วน


น้ำหมักหัวปลา 6 กก. + น้ำเอนไซม์ 6 กก. + น้ำ 60 ลิตร

หมักทิ้งไว้ 3 เดือน  จึงจะนำมาใช้ได้ สังเกตดูว่ามีกลิ่นเปรี้ยว หรือความหนืดของกากน้ำตาหายไป จึงนำมาใช้ได้


ยังมีสวนส้ม ที่จังหวัดเชียงใหม่ พระอธิการนพดุล โทร.(01)4859595 สวนส้มจังหวัดระยอง โทร.(01)3400269 ก็ได้ผลกระทบจากการใช้ น้ำหนัก ที่ไม่สลายกากน้ำตาลให้สิ้นสุดขบวนการก่อนนำไปใช้




http://www.oknation.net/blog/janyatrue1/2011/04/18/entry-1









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (4670 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©