-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 489 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อินทรีย์ชีวภาพ








การผลิตโปรตีนเข้มข้นจากหัวกุ้ง

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับกรมประมงและสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ( AIT ) ดำเนินการโครงการวิจัยศึกษาการนำเศษเหลือทิ้งของกุ้งมาใช้ประโยชน์ โดยฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร วว. รับผิดชอบในการพัฒนากระบวนการผลิตระดับโรงงานนำทางและระดับอุตสาหกรรม ซึ่งขณะนี้ประสบความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสกัดโปรตีนเข้มข้นจากหัวกุ้งแบบครบวงจร เป็นแห่งแรกของประเทศไทย เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถผลิต น้ำโปรตีนเข้มข้นจากหัวกุ้ง ที่มีความเข้มข้นถึง 30-40 % ของวัตถุดิบแห้ง ประสิทธิภาพดีเยี่ยม เหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้เป็นอาหารเลี้ยงกุ้งวัยอ่อน ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ

     
เทคโนโลยีการผลิตโปรตีนเข้มข้นจากหัวกุ้งที่ วว. พัฒนาขึ้นนี้ประกอบด้วย 4 ส่วนด้วยกันคือ เครื่องบด ถังหมัก เครื่องกรองแยกกากและเครื่องระเหย ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากนำหัวกุ้งที่เหลือจากโรงงานแช่เยือกแข็ง โรงงานกุ้งกระป๋องต่างๆ นำมาบดหยาบด้วยเครื่องบดให้ได้ขนาด 1 เซนติเมตร หลังจากนั้นเข้าสู่กระบวนการหมักในถังหมัก แล้วจึงใส่อาหารเลี้ยงเชื้อที่มีจุลินทรีย์ ซึ่งเตรียมได้จากห้องปฏิบัติการของศูนย์จุลินทรีย์ วว. สำหรับในการหมักนี้จะต้องรักษาอุณหภูมิและความเป็นกรด-เบส ( pH ) ให้เหมาะสม จากนั้นนำมากรองแยกกากด้วยเครื่องกรองแยกกาก ซึ่งจะแยกน้ำหมักและกากออกจากกัน โดยกากส่วนนี้คือวัตถุดิที่นำไปทำไคติน ไคโตซานและในส่วนของน้ำหมัก ( Hydrolysate ) ที่แยกได้จะนำเข้าสู่เครื่องระเหยเพื่อฆ่าเชื้อและจะได้น้ำโปรตีนเข้มข้น ปัจจัยที่มีผลต่อการสกัดโปรตีน คือ ความสดของหัวกุ้ง หากนำหัวกุ้งสดมาสกัด ก็จะได้โปรตีนสูง ในขณะที่หัวกุ้งไม่สดจะได้น้อย เนื่องจากโปรตีนจะถูกทำลายหรือหากเป็นกุ้งคนละพันธุ์ก็จะให้ปริมาณโปรตีนที่แตกต่างกัน นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของการหมักด้วย ตลอดจนการควบคุมอุณหภูมิ และการควบคุมค่าความเป็นกรด-เบส โปรตีนเข้มข้นที่ผลิตได้นี้สามารถนำไปผสมเป็นอาหารเลี้ยงกุ้งในสัดส่วนที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของอาหาร เช่น อาหารของกุ้งวัยอ่อน กุ้งอนุบาล โดยสามารถใช้ทดแทนอาหารเลี้ยงกุ้งวัยอ่อน คือ อาทีเมีย (ไรชนิดหนึ่ง ใช้เป็นอาหารเลี้ยงกุ้งวัยอ่อน) ที่มีราคาแพงทั้งยังต้องสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ มูลค่าปีละนับพันล้านบาท โดยน้ำโปรตีนเข้มข้นที่เหลือจากการผสมสามารถเก็บไว้ในห้องเย็นที่มีความเย็นต่ำ เพื่อเป็นวัตถุดิบที่พร้อมนำไปผสมกับอาหารสัตว์ในสูตรต่างๆ ต่อไป โดยปกติจะเก็บได้ประมาณ 1-2 เดือน แต่สำหรับในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมหรือโรงงานจะเก็บไว้ไม่เกิน 1 สัปดาห์เท่านั้น ก็นำผสมเป็นอาหารสัตว์หมด เพราะหากเก็บไว้นานก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้

    
ขณะนี้ วว. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวให้กับภาคเอกชน คือ บริษัท เวท ซุปพีเรีย คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นที่เรียบร้อย และได้ดำเนินการยื่นจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีไว้แล้ว




คุณลักษณะเด่นของการผลิตโปรตีนเข้มข้นจากหัวกุ้ง

  • ทำงานแบบครบวงจร
  • ผลิตน้ำโปรตีนเข้มข้นจากหัวกุ้งที่มีความเข้มข้น 30-40 % ของวัตถุดิบแห้ง
  • เพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรม
  • น้ำโปรตีนเข้มข้นนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อาหารได้หลากหลาย
  • ทดแทนการนำเข้าอาหารลูกกุ้ง , อาทีเมีย

รายละเอียดการผลิตโปรตีนเข้มข้นจากหัวกุ้ง

  • ประกอบด้วย 4 ส่วนสำคัญ คือ เครื่องบด ถังหมัก เครื่องกรองแยกกากและเครื่องระเหย
  • กำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 200 - 300 กิโลกรัมต่อวัน

เครื่องคั่วเม็ดมะม่วงหิมพานต์ | เครื่องตัดขนมทองม้วน | เครื่องม้วนทองม้วน | เครื่องขัดผิวมันฝรั่ง |
เครื่องแยกกากสำหรับผลิตน้ำมะขาม | เครื่องล้างผักเอนกประสงค์ I เครื่องหั่นผักผลไม้ I เครื่องขึ้นรูปขนมกวน l เครื่องล้างผลไม้ l
การผลิตโปรตีนเข้มข้นจากหัวกุ้ง I
เครื่องหั่นแห้ว | เครื่องขึ้นรูปแป้งขนมบัวลอย

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร
35 เทคโนธานี คลองห้า ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 10120
โทร.: (662) 577-9000,577-9133, 577-9155-56
โทรสาร : (662) 577-9128, 577-9009

Thailand Web Stat









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (3346 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©