-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 480 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อินทรีย์ชีวภาพ








 

การเตรียมเอ็น-อะซิทิล-ดี-กลูโคซามีน และเอ็น,เอ็น-ไดอะซิทิลไคโทโบโอส
โดย การย่อยไคทินด้วยไคทิเนสดิบ


บทคัดย่อ

.ดร.สัญญา กุดั่น


ได้ทำการเตรียม เอ็น
-อะซิทิล-ดี-กลูโคซามีน

จากการย่อยไคทินด้วยไคทิเนสดิบ จาก Trichoderma
sp. G และเอ็น,เอ็น-ไดอะซิทิลไคโทไบโอส

จากการย่อยไคทิน ด้วยเอนไซม์ จาก Bacillus
sp. W เอนไซม์ดิบจาก Trichoderma sp. G มี pH และอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการ ทำงานที่ pH 4.0 อุณหภูมิ 40°C และเอนไซม์ดิบ

จาก Bacillus
sp. W มี pH และอุณหภูมิที่ เหมาะสมต่อการทำงานที่ pH 4.0 และ pH 9.0 อุณหภูมิ 50°C โดยเอนไซม์จาก Trichoderma sp. G สามารถย่อยไคทินให้ผลิตภัณฑ์น้ำตาลหลักเป็น เอ็น-อะซิทิล-ดี-กลูโคซามีน และเอนไซม์

จาก Bacillus
sp. W สามารถย่อยไคทินให้ผลิตภัณฑ์น้ำตาลหลักเป็นเอ็น,เอ็น-ไดอะซิทิลไค โทไบโอส โดยเอนไซม์ทั้งสองแหล่งสามารถย่อยไคทินได้ดีเมื่ออัตราส่วนของเอนไซม์ต่อไคทิน เป็น 1 mU/mg และที่ความเข้มข้นของไคทินเป็น 30 mg/ml ที่อุณหภูมิ 40°C และ 50°C ตามลำดับ ในระยะเวลา 8 วัน เมื่อทำการย่อยไคทิน 200 mg ในสภาวะที่เหมาะสม เอนไซม์ดิบ

จาก Trichoderma
sp. G สามารถผลิตเอ็น-อะซิทิล-ดี-กลูโคซามีนได้ 36 mg (18%) และ เอนไซม์ดิบ

จาก Bacillus
sp. W สามารถผลิตเอ็น,เอ็น-ไดอะซิทิลไคโทไบโอส 28 mg (14%) ด้วยการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค HPLC

จากการทดลองสามารถแยกผลิตภัณฑ์น้ำตาลทั้งสองชนิด ออกจากของผสมในปฏิกิริยาได้โดยอาศัยการจับกับผงถ่านกัมมันต์ และชะผลิตภัณฑ์น้ำตาล ด้วยเอธานอล โดยที่ 25% เอธานอล สามารถชะเอ็น-อะซิทิล-ดี-กลูโคซามีน และที่ 30% เอธานอลสามารถชะเอ็น,เอ็น-ไดอะซิทิลไคโทไบโอสให้หลุดออกได้

ในการทดลองสามารถ เตรียมเอ็น-อะซิทิล-ดี-กลูโคซามีนได้ถึง 54% เมื่อใช้เทคนิคการผสมเอนไซม์

จากBacillus
sp. W และ Trichoderma sp. G ในอัตราส่วนของเอนไซม์ผสมต่อไคทินที่
2:1


www.rd.ru.ac.th/pdffile/KM/.../



การใช้ประโยชน์มูลสัตว์เป็นปุ๋ยให้กับพืชอย่างมีประสิทธิภาพ

ของเสียที่ได้จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่ ได้แก่ มูลสัตว์ ซึ่งเป็นส่วนที่เป็นของแข็งนั้นประกอบด้วยเศษของพืชและสัตว์ซึ่งเป็นอาหารที่สัตว์กินเข้าไปแล้วไม่สามารถย่อยหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้หมดจึงเหลือเป็นกากที่สัตว์ขับถ่ายออกมา โดยเศษอาหารเหล่านี้ได้ผ่านกระบวนการย่อยสลายไปบางส่วนแล้วในทางเดินอาหาร ดังนั้น ในส่วนที่เป็นมูลสัตว์จึงยังอุดมไปด้วยธาตุอาหารชนิดต่าง ๆ รวมทั้งสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำได้หลายชนิด ซึ่งเมื่อรวมกันเข้าก็จะมีองค์ประกอบที่สามารถใช้เป็นธาตุอาหารที่สมบูรณ์ของพืชได้ ส่วนมูลสัตว์แต่ละชนิดจะมีธาตุอาหารชนิดใดมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่สัตว์ชนิดนั้น ๆ กินเข้าไปเป็นปัจจัยสำคัญ รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ ระบบการย่อยอาหารของสัตว์ วิธีการให้อาหารรวมทั้งการจัดการรวบรวมมูลสุกรและของเสียในฟาร์มด้วย

จากการศึกษาปริมาณธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในมูลสัตว์ชนิดต่าง ๆ พบว่ามูลสัตว์แต่ละชนิดมีปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและจุลธาตุอาหารในปริมาณที่แตกต่างกัน

เมื่อเปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารในมูลสัตว์ชนิดต่าง ๆ จะเห็นว่ามูลสุกรและกากตะกอนของมูลสุกรจากบ่อหมักก๊าซชีวภาพ รวมทั้งมูลของไก่ไข่มีปริมาณธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดง แมงกานีสและสังกะสีมากกว่ามูลโค ขณะที่มูลโคมีปริมาณธาตุโพแทสเซียมและโซเดียมมากกว่ามูลสุกร อย่างไรก็ตามปริมาณธาตุอาหารเหล่านี้อาจมีความผันแปรไปตามชนิดของวัตถุดิบอาหารรวมทั้งแร่ธาตุที่เสริมลงในอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์นั้นด้วย

การทำน้ำสกัดจากมูลสัตว์
น้ำสกัดมูลสัตว์ ได้จากการนำมูลสัตว์แห้ง เช่น มูลสุกร มูลโค บรรจุลงในถุงไนลอน (มุ้งเขียว) แล้วแช่ในน้ำ อัตราส่วนมูลสุกร 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ปิดฝาถังให้สนิท และหมักไว้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วยกถุงที่บรรจุมูลสุกรออกจากถังจะได้น้ำสกัดมูลสัตว์สีน้ำตาลใส ซึ่งควรบรรจุเก็บไว้ในถังหรือภาชนะที่มีฝาปิด น้ำสกัดมูลสัตว์ที่ได้สามารถหมักเก็บไว้ใช้ได้นาน ซึ่งจะทำให้น้ำสกัดใสยิ่งขึ้น และมีธาตุอาหารในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในปริมาณมากยิ่งขึ้น การทำน้ำสกัดมูลสัตว์จะทำให้ประหยัดกว่าการใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยทางดินโดยตรง เนื่องจากมูลสัตว์แห้ง 1 กิโลกรัม ทำน้ำสกัดได้ประมาณ 8 ลิตร นำน้ำสกัดส่วนใสที่ได้มาเจือจางกับน้ำได้ 10 – 20 เท่า เป็น 80 – 160 ลิตร เพื่อใช้เป็นปุ๋ยรดทางดินหรือฉีดพ่นทางใบ ส่วนกากของมูลสัตว์ที่เหลือ สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยทางดินได้เลยโดยไม่ต้องเสียเวลาหมักนานถึง 45 วัน เหมือนปุ๋ยหมักทั่วไป

น้ำสกัดมูลสัตว์มีปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช สามารถใช้เป็นปุ๋ยรดทางดินและฉีดพ่นทางใบเพื่อเร่งการเจริญเติบโต การเพิ่มผลผลิตของพืช อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นปุ๋ยเพื่อแก้ไขอาการขาดธาตุอาหารของพืชได้ น้ำสกัดมูลสุกรมีปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุเกือบทุกธาตุในปริมาณมากกว่าที่พบในน้ำสกัดมูลไก่ไข่และน้ำสกัดมูลโคนม ยกเว้นโพแทสเซียมที่พบในน้ำสกัดมูลไก่ไข่มากกว่าเล็กน้อย และแคลเซียมที่พบในน้ำสกัดมูลโคนมมากกว่า ดังนั้น หากต้องการใช้น้ำสกัดมูลไก่ไข่หรือโคนมเป็นปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ ควรจะใช้ในอัตราส่วนมากกว่าน้ำสกัดมูลสุกร เนื่องจากน้ำสกัดมูลสุกรมีปริมาณธาตุอาหารมากกว่าหรือเข้มข้นกว่าน้ำสกัดมูลโคนม

การใช้ประโยชน์มูลสัตว์ในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการทำนาข้าว
1.1 การหมักตอซังโดยไม่ต้องเผา มีประโยชน์ คือ สิ่งที่มีชีวิตในดินรวมทั้งจุลินทรีย์ดินทำกิจกรรมได้ตามปกติ ทำให้ดินมีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารพืชเพิ่มขึ้น ส่วนของเนื้อดินละเอียดขึ้น เดินแล้วนุ่มเท้า ดินโปร่ง ทำให้รากต้นข้าวแผ่กระจายในดินได้ดีขึ้น ต้นข้าวแข็งแรง ซึ่งการหมักจะทำได้ทันทีหลักการเก็บเกี่ยว โดยเกลี่ยฟางให้กระจายทั่วแปลง และปฏิบัติดังนี้
- หว่านมูลสัตว์แห้ง เช่น มูลสุกร มูลโคอัตรา 250 กก.ต่อไร่ ให้ทั่วแปลง
- ใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 (หมักจากเศษผัก ผลไม้หรือสัตว์) จำนวน 5 ลิตร/ไร่ผสมกับน้ำ 100 ลิตร พร้อมกับสารเร่ง พด.1 แล้วคนให้เข้ากัน นาน 15 นาที จากนั้นค่อย ๆ เทปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ได้นี้ไปพร้อมกับน้ำ ที่ปล่อยเข้าแปลงนา หรือสาดสารละลายปุ๋ยอินทรีย์น้ำให้ทั่วแปลงนา โดยให้ระดับน้ำท่วมต่อซัง แล้วปล่อยให้ย่อยสลายประมาณ 10-15 วัน
- ทำเทือกเพื่อปรับพื้นที่ให้เสมอกัน แล้วหว่านเมล็ดพันธุ์ หรือปักดำครั้งใหม่ต่อไป

1.2 ใช้น้ำสกัดมูลสุกรแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว มีประโยชน์ ช่วยให้เมล็ดข้าวมีธาตุอาหารพืชสะสมในเมล็ดมากขึ้น อีกทั้งน้ำสกัดมูลสุกรมีแคลเซียม ซึ่งช่วยในการงอกของเมล็ด สร้างเซลล์ใหม่ในส่วนของยอดและราก ทำให้ข้าวเจริญเติบโตได้เร็ว นอกจากช่วยเพิ่มการงอกของเมล็ด ทำให้ประหยัดเวลาในการแช่และบ่มข้าวแล้ว ข้าวเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าวัชพืช ประกอบกับการหมักฟางจะทำให้รากหญ้าและเมล็ดวัชพืชที่เหลืออยู่ในดินโดนหมักย่อยไปด้วยทำให้มีวัชพืชในแปลงน้อยลง

วิธีการแช่ข้าว นำน้ำสกัดมูลสุกรอัตราส่วน 1 ลิตร ผสมน้ำให้ได้ 20 ลิตร แช่เมล็ดพันธุ์เป็นเวลา 8–12 ชั่วโมง (ขึ้นกับความหนาของเปลือกเมล็ด) นำข้าวขึ้นจากน้ำเพื่อทำการบ่มเมล็ด ให้นำน้ำสกัดมูลสุกรที่เหลือจากการแช่ข้าวราดลงบนกระสอบที่บรรจุข้าวอยู่ ประมาณ 4–5 ชั่วโมงต่อครั้ง หรือ ไม่ให้ข้าวแห้ง จนกระทั่งเมล็ดข้าวงอกพร้อมที่จะปลูก หรือถ้าไม่สามารถแช่ข้าวจำนวนมากในน้ำสกัดมูลสุกรได้ ให้แช่ตามวิธีการปกติ แต่เมื่อนำกระสอบข้าวขึ้นจากน้ำแล้ว ให้นำน้ำสกัดมูลสุกรอัตราส่วน 1 ลิตร ผสมน้ำให้ได้ 20 ลิตร ราดลงบนกระสอบที่บรรจุข้าว ประมาณ 4–5 ชั่วโมงต่อครั้ง เพื่อไม่ให้ข้าวแห้ง จนกระทั่งเมล็ดข้าวงอกพร้อมที่จะปลูก
1.3 ใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบ มีประโยชน์ ช่วยทำให้พืชได้รับธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหารได้เร็วขึ้นกว่าการให้ปุ๋ยทางดิน พืชได้รับธาตุอาหารครบซึ่งจัดเป็นการป้องกันความขาดธาตุอาหาร และช่วยเสริมธาตุอาหารที่พืชขาดได้ จะช่วยชะลอความเสื่อมของใบไปได้อีกระยะหนึ่ง ทำให้ใบพืชมีสีเขียวเข้ม ตั้งตรงและยังทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง สร้างแป้งต่อไปจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ส่งผลให้เมล็ดข้าวสมบูรณ์ มีเมล็ดข้าวที่ลีบน้อยลง ขั้วเมล็ดข้าวยังสดและเหนียวอยู่ เมล็ดข้าวจึงไม่ค่อยร่วงหลุดในช่วงเก็บเกี่ยว

วิธีการฉีดพ่นทางใบ ทำได้โดย
- ข้าวมีอายุ 1 เดือน นำน้ำสกัดมูลสุกร 1 ลิตร ผสมน้ำให้ครบ 20 ลิตร พร้อมกับสารจับใบ 3–5 ซีซี ฉีดพ่นทางใบ ในช่วงเวลา เช้าหรือเย็น การฉีดพ่นให้ได้ผลดีนั้นละอองปุ๋ยน้ำควรมีขนาดเล็กและสัมผัสกับผิวใบทั่วถึงทั้งด้านบดและด้านล่าง
- ข้าวมีอายุ 1 เดือนขึ้นไป นำน้ำสกัดมูลสุกร 1 ลิตร ผสมน้ำให้ครบ 10 ลิตร พร้อมกับสารจับใบ 3–5 ซีซี ฉีดพ่นทางใบ ในช่วงเวลา เช้าหรือเย็น
- หากพบว่าข้าวในบางบริเวณไม่สม่ำเสมอ ให้ใช้น้ำสกัดมูลสุกร 1 ลิตร ผสมน้ำให้ครบ 10 ลิตร พร้อมกับสารจับใบ 3–5 ซีซี ฉีดพ่นบริเวณดังกล่าวในช่วงเวลาเช้าหรือเย็น ก็จะช่วยให้ข้าวเสมอกันได้

1.4 ใช้น้ำสกัดมูลสุกรรดให้พืชทางดิน มีประโยชน์ ทำให้พืชได้รับธาตุอาหารผ่านทางรากได้ในระหว่างการเจริญเติบโตและเป็นการให้ปุ๋ยที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและให้ผลเร็วกว่าการใช้มูลสุกรแห้งเป็นปุ๋ยทางดินกับพืช

วิธีการให้ปุ๋ย ทำโดยนำน้ำสกัดมูลสุกรเข้มข้นปล่อยลงสู่แปลงข้าว อัตราส่วน 100 ลิตรต่อ 1 ไร่ โดยให้พร้อมกับน้ำที่ปล่อยหรือสูบเข้าแปลง จำนวน 2 ครั้ง เมื่อข้าวอายุ 30 และ 60 วัน

ตารางที่ 4 การให้น้ำสกัดมูลสุกรในนาข้าว

ช่วงอายุ การใช้
15 วัน
- ฉีดน้ำสกัดมูลสุกรทางใบ น้ำสกัด 1 ลิตร เติมน้ำให้ครบ 20 ลิตร

30 วัน
- ฉีดน้ำสกัดมูลสุกรทางใบ น้ำสกัด 1 ลิตร เติมน้ำให้ครบ 20 ลิตร
- ให้น้ำสกัดมูลสุกรทางดิน อัตรา 100 ลิตร/ไร่

45 วัน
- ฉีดน้ำสกัดมูลสุกรทางใบ น้ำสกัด 1 ลิตร เติมน้ำให้ครบ 10 ลิตร

60 วัน
- ฉีดน้ำสกัดมูลสุกรทางใบ น้ำสกัด 1 ลิตร เติมน้ำให้ครบ 10 ลิตร
- ให้น้ำสกัดมูลสุกรทางดิน อัตรา 100 ลิตร/ไร่

75 วัน
- ฉีดน้ำสกัดมูลสุกรทางใบ น้ำสกัด 1 ลิตร เติมน้ำให้ครบ 10 ลิตร
- กรณีที่ข้าวออกรวงไม่สม่ำเสมอให้ฉีดน้ำสกัดมูลสุกรทางใบ
น้ำสกัด 1 ลิตร เติมน้ำให้ครบ 20 ลิตร อีกครั้ง บริเวณที่ข้าวเจริญเติบโตช้า


ข้อดีของการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ในการเพิ่มผลผลิตข้าว
ย่นระยะเวลาในการแช่และบ่มข้าว
เปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดพันธุ์สูง ข้าวที่งอกมีความแข็งแรง
ต้นข้าวเจริญเติบโตได้เร็ว ทำให้หญ้าโตได้ช้ากว่า ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดหญ้าได้
ต้นข้าวมีความแข็งแรง มีความต้านทานต่อโรค และแมลง
จำนวนเมล็ดต่อรวงมากขึ้น เมล็ดข้าวมีความสมบูรณ์ เมล็ดเต่ง ได้น้ำหนัก
ระยะเก็บเกี่ยว ใบธงของข้าวยังเขียวอยู่และข้าวจะมีขั้วเหนียว ทำให้ข้าวไม่ร่วงหล่นในระหว่างการเก็บเกี่ยว
มีความปลอดภัยต่อเกษตรกรในขั้นตอนการผลิตข้าว และข้าวที่ได้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากขึ้น เนื่องจากสามารถลดหรืองดการใช้สารเคมีลงได้
ลดต้นทุนการผลิต ในเรื่องของปุ๋ย สารเคมีกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช
ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น

อ้อย
1. การใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบ ใช้น้ำสกัดมูลสุกรอัตรา 1 ลิตรผสมน้ำ 10 ลิตร ผสมสารจับใบ 3-5 ซีซี ฉีดพ่นทางใบในช่วงที่ต้นอ้อยยังไม่สูงมากนัก
2. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรปล่อยไปตามร่อง พร้อมกับการขึ้นน้ำให้อ้อย ประมาณ 2 เดือนต่อ 1 ครั้ง นอกจากช่วยเร่งให้อ้อยโตเร็วแล้วยังทำให้อ้อยมีความหวานเพิ่มขึ้นด้วย

พืชผัก
1. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรแช่เมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก ซึ่งจะทำให้เมล็ดผักงอกเร็วและเจริญตั้งตัวได้เร็วกว่าเมล็ดที่ไม่ได้แช่

วิธีการ ใช้น้ำสกัดมูลสุกรอัตราส่วน 1 ลิตร เติมน้ำให้ได้ 20 ลิตร แล้วนำเมล็ดพันธุ์พืชที่ปลูกแช่น้ำเป็นเวลา 6-12 ชม. ก่อนหว่าน หรืออาจผึ่งลมให้เมล็ดพันธุ์แห้งก่อน แล้วนำไปปลูก ซึ่งขึ้นกับเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิด

2. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบ คือ ทำให้พืชได้รับธาตุอาหารชนิดต่างๆ เพิ่มมากขึ้น พืชจะมีสีเขียวเข้ม ใบมีขนาดใหญ่ หนา และยาวขึ้น กาบใบหรือก้านใบแข็งและมีลักษณะตั้งขึ้น พืชมีน้ำหนักใบและลำต้นมากขึ้นอย่างชัดเจน
วิธีการ ใช้น้ำสกัดมูลสุกรอัตรา 1 ลิตรผสมน้ำ 10-20 ลิตรผสมสารจับใบ 3-5 ซีซี ฉีดพ่นทางใบช่วงเวลาเช้าหรือเย็น สัปดาห์ละครั้ง

3. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรรดให้พืชทางดิน ก่อนหว่านเมล็ดพันธุ์ หรือในช่วงเร่งการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ โดยใช้น้ำสกัดมูลสุกรอัตรา 1 ลิตรผสมน้ำ 10 ลิตร รดทางดิน


ไม้ผล
1. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบ จะทำให้พืชมีการสร้างใบและทรงพุ่มใหม่ได้เร็ว ทำให้พืชออกดอก ผลได้เร็วขึ้น ให้ผลผลิตมากขึ้นและมีรสชาติดีด้วย โดยใช้น้ำสกัดมูลสุกร 1 ลิตรผสมน้ำ 10-20 ลิตรพร้อมสารจับใบ 3-5 ซีซี ฉีดพ่นทางใบในช่วงเวลาเช้าหรือเย็น เดือนละ 1-2 ครั้ง จนกระทั่งพืชมีการสร้างทรงพุ่มเต็มที่ ให้หยุดฉีด เพื่อให้พืชสร้างดอกและผลต่อไป

2. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรรดทางดิน โดยใช้น้ำสกัดมูลสุกรเจือจางด้วยน้ำ 10 เท่า รดทางดิน ต้นละ 1-2 ลิตรเดือนละ 1-2 ครั้ง ในช่วงเร่งการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ หรือจะใช้น้ำสกัดมูลสุกรเข้มข้น ให้พร้อมกับการให้น้ำแบบระบบน้ำหยด


ไม้ดอก
1. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบ จะทำให้พืชมีการสร้างดอกได้เร็วขึ้น ดอกมีความสมบูรณ์ ขนาดใหญ่ สีเข้มสดใส ก้านดอกแข็ง ยืดอายุการเก็บได้นานขึ้น อีกทั้งต้นที่เก็บเกี่ยวไปแล้วไม่โทรม ยังสามารถให้ดอกได้เร็วขึ้น โดยใช้น้ำสกัดมูลสุกร 1 ลิตร ผสมน้ำ 10-20 ลิตรพร้อมสารจับใบ 3-5 ซีซี ฉีดพ่นทางใบในช่วงเวลาเช้าหรือเย็น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

2. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรรดทางดิน โดยใช้น้ำสกัดมูลสุกรเจือจางด้วยน้ำ 10 เท่า รดทางดิน ต้นละ 1-2 ลิตรสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือจะใช้น้ำสกัดมูลสุกรเข้มข้น ให้พร้อมกับการให้น้ำแบบระบบต่างๆ ในช่วงเร่งการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ

รูปประกอบผลงานวิจัย
http://www.rdi.ku.ac.th/kasetresearch52/08-intregration/Uthai/intregration_00.html

คณะผู้วิจัย :
์อุทัย คันโธ และ สุกัญญา จัตตุพรพงษ์
หน่วยงาน :
ศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาวิชาการอาหารสัตว์
สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม
โทร. 034 – 352035 โทรสาร 034 - 352037

http://www.rdi.ku.ac.th/kasetresearch52/08-intregration/Uthai/intregration_00.html












สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (3818 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©