-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 590 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อินทรีย์ชีวภาพ






น้ำสกัดชีวภาพ


น้ำสกัดชีวภาพ เป็นน้ำสกัดที่ได้จากการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้จากส่วนต่าง ๆ ของพืชหรือสัตว์ โดยผ่านการบวนการหมักในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน (anaerobic condition) มีจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายเศษซากพืชและซากสัตว์เหล่านั้นให้กลายเป็นสารละลาย รวมถึงการใช้เอนไซด์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมีการเติมเอนไซด์เพื่อเร่งการย่อยสลายได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น


จุลินทรีย์ที่พบในน้ำสกัดชีวภาพ มีทั้งที่ต้องการออกซิเจนและไม่ต้องการออกซิเจน มักเป็นกลุ่มแบคทีเรีย Bacillus sp., Lactobacillus sp., Streptococcus sp. นอกจากนี้ยังอาจพบเชื้อรา ได้แก่ Aspergillus niger, Pennicillium, Rhizopus และยีสต์ ได้แก่ Canida sp., Sacarsmycetes (สุริยา, 2542)


น้ำสกัดชีวภาพที่ได้มาจากการหมักเศษพืชหรือสัตว์นั้น ถึงแม้ไม่ได้ใส่กากน้ำตาล พืชและสัตว์ ซึ่งเป็นอินทรีย์วัตถุก็จะถูกย่อยสลาย โดยกระบวนการทางธรรมชาติอยู่แล้ว แต่การที่ใส่กากน้ำตาลลงไปเพื่อให้เป็นแหล่งพลังงานหรืออาหารของจุลินทรีย์ จึงทำให้เกิดการย่อยสลายเร็วขึ้นกว่าการย่อยสลายตามสภาพธรรมชาติทั่วไป กระบวนการย่อยสลายอินทรีย์สารนั้นมีจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องหลายกลุ่มและหลังขบวนการเสร็จสิ้นก็ยังคงมีจุลินทรีย์อยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมว่าเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดใด แต่จากการที่ตรวจสอบตัวอย่างที่ส่งมาให้กับ กลุ่มงานจุลินทรีย์ดิน กรมวิชาการเกษตร นั้นไม่พบจุลินทรีย์ที่ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ ดังนั้นจึงไม่ถือว่าน้ำสกัดชีวภาพนี้เป็นปุ๋ยชีวภาพ ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากน้ำสกัดชีวภาพนี้ควรต่างไปจากประโยชน์จากปุ๋ยชีวภาพ การใช้ประโยชน์ว่ามีน้อยมาก เพราะปริมาณของธาตุอาหารหลักมีน้อยและการใช้จะต้องเจือจางตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป ซึ่งมีผลทำให้ความเข้มข้นของธาตุอาหารซึ่งมีอยู่น้อยยิ่งน้อยลงไปอีก และจุลินทรีย์ในน้ำสกัดนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นชนิดใด เพราะจุลินทรีย์ในธรรมชาติมีหลายล้านชนิด การย่อยสลายจึงอาจเกิดจากจุลินทรีย์จากจุลินทรีย์ได้หลายพวกในระหว่างขบวนการย่อยสลายนั้นจะเกิดฮอร์โมน กลุ่มอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืชปะปนกันอยู่ในรูปน้ำจึงสูญสลายง่ายทำให้ต้องใช้บ่อย ๆ และประโยชน์ในการปรับปรุงสภาพดินไม่เด่นชัดเหมือนปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ซึ่งอยู่ในรูปของแข็งจึงช่วยทำให้โครงสร้างของดินร่วนซุยขึ้น ส่วนประโยชน์ในการป้องกันโรคนั้นมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก เพราะอย่างที่กล่าวว่าสารที่ได้มีปริมาณน้อย (ภาวนา, 2542) ยงยุทธ โอสถสภา (2542) ได้ให้ทัศนะถึงน้ำสกัดชีวภาพดังนี้ “สารสกัดจากพืชหรือสัตว์” จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบในเซลพืชหรือสัตว์อยู่มากเมื่อนำมาหมักร่วมกับน้ำตาลที่ละลายในน้ำเป็นลักษณะน้ำเชื่อม หรืออาจใช้โมลาส ซึ่งเป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงกว่าน้ำภายในเซลล์ของพืชหรือสัตว์ ทำให้ผนังเซลล์สูญเสียสภาพหรือที่เรียกว่าเซลล์แตก อินทรีย์สารที่อยู่ในเซลล์จึงละลายรวมอยู่ในน้ำเชื่อมเหล่านั้น ขณะเดียวกัน จุลินทรีย์ที่มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติจะเข้ามาช่วยสลายเศษซากพืชหรือสัตว์ด้วย ดังนั้นอินทรีย์สารที่ได้จากการย่อยสลาย จึงมีทั้งจากของเดิมที่ได้จากพืชและของใหม่ที่ได้จากการสังเคราะห์ โดยจุลินทรีย์ ขณะที่เกิดกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์สารที่ถูกย่อยสลายจะมีโมเลกุลขนาดเล็กทำให้พืชดูดซึมได้ง่าย แต่สารต่าง ๆ ที่ได้จะมีปริมาณเล็กน้อย เพราะวัสดุที่ใช้ยังสดอยู่จึงมีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่มาก ขณะที่อินทรีย์สารที่มีอยู่น้อยกว่า

วัสดุแห้งเมื่อเปรียบเทียบที่น้ำหนักเท่ากัน นอกจากนี้ผลผลิตทีได้แต่ละครั้งจะมีความแตกตางกันเนื่องจากวัตถุดิบคือซากพืชซากสัตว์ สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการโดยเฉพาะอุณหภูมิที่มีการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้คุณภาพในแต่ละครั้งไม่สม่ำเสมอ


ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้จึงมีความไม่แน่นอน เพราะพื้นที่ที่ผลิตพืชแต่ละแห่งมีปัจจัยในเรื่องของสภาพแวดล้อมแตกต่างกันทั้งเรื่องของดิน สภาพความเป็นกรด–ด่าง ดังนั้นจึงอาจพบว่าบางส่วนได้ผลดี แต่บางแห่งอาจไม่ได้ผล และดร. ยงยุทธ โอสถสภา ได้สรุปไว้ว่าเมื่อศึกษาจากขบวนการผลิตแล้วน้ำสกัดจากพืชหรือสัตว์ มีขบวนการแตกต่างจากปุ๋ยชีวภาพน้ำสกัดจึงไม่ใช้ปุ๋ยชีวภาพแต่เป็นสารสกัดจากสิ่งมีชีวิตที่มี จุลินทรีย์เข้าไปเกี่ยวข้องในการย่อยสลายเท่านั้น ประโยชน์ที่ได้จากการใช้สารสกัดจึงอยู่ในรูปของสารหลากหลายชนิดที่มีพืชสามารถดูดซึมได้ง่ายแต่อย่างไรก็ตามการใช้สารสกัดเพียงอย่างเดียวจะไม่เป็นผลให้พืชเพิ่มผลผลิตได้จึงควรมีการผสมผสานวิธีการจัดการหลายวิธีมากกว่าที่จะมุ่งมาใช้สารสกัดชีวภาพเพียงอย่างเดียว


วรรลดา สุนันทพงศ์ศักดิ์ (2543)
นักวิชาการจากกลุ่มอินทรีย์วัตถุและวัสดุเหลือใช้ กองอนุรักษ์ดินและน้ำ กรมพัฒนาที่ดิน ได้วิจัยและศึกษาเรื่องน้ำสกัดชีวภาพ และให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับน้ำสกัดชีวภาพดังนี้ “น้ำสกัดชีวภาพเป็นสิ่งที่ได้จากการหมักเศษพืชหรือสัตว์” และนำมาใช้ในรูปของน้ำโดยการใช้พ่นที่ใบหรือดินบริเวณรอบ ๆ รากพืช ในกระบวนการหมักที่เกิดขึ้นจะมีจุลินทรีย์เข้ามาร่วมกิจกรรมตามกลไกของธรรมชาติ วัสดุธรรมชาติที่นำมาใช้หมักจะเป็นส่วนที่ทำให้ธาตุอาหารที่ได้มีความแตกต่างกัน สำหรับพืชแต่ละชนิดจะให้ปริมาณธาตุอาหารไม่แตกต่างกันมากนักและส่วนใหญ่จะไม่ถึง 1% แต่ถ้าใช้วัสดุจากสัตว์จะมีธาตุอาหารแตกต่างไปจากพืชบ้าเช่น ปลาทะเลจะมีปริมาณแคลเซียมมากและมีค่าความเค็ม (EC) สูง ในน้ำสกัดชีวภาพมีจุลินทรีย์หลายกลุ่มที่จะช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ในธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้เกิดสารอนินทรีย์ขึ้นด้วย สารเหล่านี้จะมีผลส่งเสริมการเจริญเติบโตให้แก่พืชและถ้าราดน้ำสกัดชีวภาพลงดิน จุลินทรีย์จะเข้าไปอยู่ในบริเวณรากพืชและทำการย่อยสารอินทรีย์ในบริเวณนั้นช่วยให้พืชได้รับประโยชน์จากธาตุอาหารได้ นอกจากนี้ในระหว่างเกิดกระบวนการย่อยสลายนั้นอาจจะมีสารประเภทฮอร์โมนหรือเอ็นไซม์เกิดขึ้นและเป็นประโยชน์กับพืช


จากทัศนะของนักวิชาการต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่าน้ำสกัดชีวภาพไม่ใช่ปุ๋ยชีวภาพ ธาตุอาหารหลักที่พบในน้ำสกัดชีวภาพมีปริมาณน้อยมาก นอกจากธาตุอาหารที่พบในน้ำสกัดแล้ว ยังพบฮอร์โมน กรดอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืชปะปนอยู่แต่เพียงปริมาณเล็กน้อยเช่นกัน เนื่องจากจุลินทรีย์หลายกลุ่มในน้ำสกัดชีวภาพจะช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ไม่มีในธรรมชาติทำให้พืชได้รับประโยชน์จากธาตุอาหาร การจะนำมาใช้เป็นรูปปุ๋ยโดยตรงยังไม่สามารถสรุปยืนยันได้ว่าจะทำให้เพิ่มการเจริญเติบโตของพืชหรือเพิ่มผลผลิตได้หรือไม่มากน้อยเพียงใด เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนยืนยันออกมาอย่างเด่นชัด ดังนั้นประโยชน์ของการผลิตน้ำสกัดชีวภาพนอกจากจะเป็นการช่วยลดปัญหาขยะเต็มเมืองแล้ว ผลได้ที่เกิดขึ้นคือการนำมาช่วยในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินทำให้พืชได้รับประโยชน์จากธาตุอาหารพืช และฮอร์โมน หรือเอ็นไซด์ อาจมีผลทำให้เกษตรกรลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลง


การปลูกพืชเพื่อให้เพิ่มผลผลิตสูงคงไม่สามารถใช้น้ำสกัดชีวภาพในรูปปุ๋ยโดยตรงได้ หรือใช้เพียงอย่างเดียว ควรผสมผสานกับวิธีการอื่น ๆ การใช้น้ำสกัดชีวภาพจึงควรตะหนักในแง่การนำจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นไปใช้ในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุเพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ การใช้น้ำสกัดชีวภาพจะเหมาะสมอย่างเดียวกับการผลิตพืชโดยวิธีเกษตรอินทรีย์ หรือวิธีเกษตรธรรมชาติ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ในแง่ปุ๋ยจะต้องใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ


ในปัจจุบันพบว่ามีการผลิตน้ำสกัดชีวภาพออกจำหน่ายในชอของน้ำสกัดชีวภาพ หรือปุ๋ยน้ำชีวภาพ หรืออาหารเสริมชีวภาพในราคาสูงตั้งแต่ลิตรละ 250 – 1,000 บาท โดยไม่ระบุส่วนประกอบหรือปริมาณธาตุอาหาร ระบุแต่สรรพคุณและวิธีการใช้เท่านั้น ดังนั้นการที่เกษตรกรจะซื้อเพื่อนำไปใช้ขอให้ใช้วิจารณญาณให้รอบคอบเสียก่อน



ประเภทน้ำสกัดชีวภาพ

น้ำสกัดชีวภาพสามารถแบ่งออกตามประเภทของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตแบ่งได้เป็น 2 ประเภท

1. น้ำสกัดชีวภาพที่ ผลิตจากพืช

2. น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากสัตว์





1. น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากพืช


1.1 น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจาก ผัก ผลไม้ (ชมรมเกษตรธรรมชาติ, 2542)


วิธีการ

1. นำพืช ผัก ผลไม้ ลงผสมกับน้ำตาลในภาชนะที่เตรียมไว้ในอัตราน้ำตาล 1 ส่วนต่อพืช ผัก ผลไม้ 3 ส่วน คลุกให้เข้ากัน หรือถ้ามีปริมาณมากจะโรยทับสลับกันเป็นชั้น ๆ ก็ได้

2. ใช้ของหนักวางทับบนพืชผักที่หมัก เพื่อกดไล่อากาศที่อยู่ระหว่างพืชผัก ของหนักที่ใช้ทับควรมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน 3 ของน้ำหนักพืชผัก วางทับไว้ 1 คืน ก็เอาออกได้

3. ปิดฝาภาชนะที่หมักให้สนิท ถ้าเป็นถุงพลาสติกก็มัดปากถุงพลาสติกให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปได้เป็นการสร้างสภาพที่เหมาะสมให้แก่จุลินทรีย์หมักดองลงไปทำงาน

4. หมักทิ้ง ไว้ 3-5 วัน จะเริ่มมีของเหลวสีน้ำตาลอ่อนถึงแก่เกิดขึ้น จากการละลายตัวของน้ำตาลและน้ำเลี้ยงจากเซลล์ของพืชผัก น้ำตาลและน้ำเลี้ยงเป็นอาหารของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์หมักดองก็จะเพิ่มปริมาณมากมาย พร้อมกับผลิตสารอินทรีย์หลากหลายชนิด ดังกล่าวข้างต้น ของเหลวที่ได้เรียกว่า “น้ำสกัดชีวภาพ”

5. เมื่อน้ำสกัดชีวภาพมีปริมาณมากพอประมาณ 10-14 วัน ก็ถ่ายน้ำสกัดชีวภาพออกบรรจุลงในภาชนะพลาสติก อย่ารีบถ่ายน้ำสกัดชีวภาพออกเร็วเกินไป เพราะเราต้องการให้มีปริมาณจุลินทรีย์มาก ๆ เพื่อเร่งกระบวนการหมักน้ำสกัดชีวภาพที่ถ่ายออกมาใหม่ ๆ กระบวนการหมักยังไม่สมบูรณ์จะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น ต้องคอยเปิดฝาภาชนะบรรจุทุกวันจนกว่าจะหมดก๊าซ

6. ควรเก็บถังหมักและน้ำสกัดชีวภาพไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกฝนและแสงแดดจัด ๆ น้ำสกัดชีวภาพที่ผ่านการหมัดสมบูรณ์แล้ว ถ้าปิดฝาสนิทสามารถเก็บไว้ได้หลาย ๆ เดือน

7. กากที่เหลือจากการหมัก สามารถนำไปฝังเป็นปุ๋ยบริเวณทรงพุ่มของต้นได้หรือจะคลุกกับดินหมักเอาไว้ใช้เป็นดินปลูกต้นไม้ก็ได้


น้ำสกัดชีวภาพที่มีคุณภาพดีจะมีกลิ่นหมักดอง และมีกลิ่นแอลกอฮอล์บ้าง มากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาล และปริมาณผลไม้ที่หมัก ถ้าชิมดูน้ำสกัดชีวภาพจะมีรสเปรี้ยว


วิธีใช้

1. ผสมน้ำสกัดชีวภาพ กับน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 500,1,000 ส่วน รดต้นไม้หรือฉีดพ่นบนใบ

2. เริ่มฉีดพ่นเมื่อพืชเริ่มงอกก่อนเป็นโรคและแมลงจะมารบกวน และควรทำในตอนเช้าหรือหลังจากฝนตกหนัก

3. ควรให้อย่างสม่ำเสมอ และในดินต้องมีอินทรีย์วัตถุอย่างเพียงพอ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หญ้าแห้ง ใบไม้แห้งและฟาง เป็นต้น

4. ใช้กับพืชทุกชนิด

5. น้ำสกัดชีวภาพเจือจางใช้แช่เมล็ดพืชก่อนนำไปเพาะ จะช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น และจะได้ต้นกล้าที่แข็งแรงและสมบูรณ์



1.2 น้ำสกัดชีวภาพเพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืช (ชมรมเกษตรธรรมชาติ, 2542)

วิธีการ

1. นำผลไม้ซึ่งใช้ได้ทั้งผลไม้ดิบ สุก เปลือกผลไม้ ถ้าเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์ทางยาสมุนไพร เช่น ผลมะม่วงหิมพานต์จะยิ่งดี หมักผสมกับน้ำตาลหมักในภาชนะที่เตรียมไว้ในอัตราส่วนน้ำตาล 1 ส่วน ต่อผลไม้ 3 ส่วน คลุกให้เข้ากัน หรือถ้ามีปริมาณมากจะโรยทับกันเป็นชั้น ๆ ก็ได้

2. ปิดฝาภาชนะที่หมักให้สนิท เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปได้ หมักทิ้งไว้ 3-5 วัน จะเริ่มมีของเหลวสีน้ำตาลอ่อนถึงแก่เกิดขึ้น

3. เมื่อน้ำสกัดชีวภาพมีปริมาณมากพอ ประมาณ 10-14 วัน ก็ถ่ายน้ำสกัดชีวภาพออกบรรจุลงในภาชนะพลาสติก อย่ารีบถ่ายน้ำสกัดชีวภาพออกเร็วเกินไป เพราะเราต้องการให้มีจุลินทรีย์มาก ๆ เพื่อเร่งขบวนการหมักน้ำสกัดที่ถ่ายออกมาใหม่ กระบวนการหมักยังไม่สมบูรณ์ จะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น ต้องคอยเปิดฝาภาชนะบรรจุทุกวันจนกว่าจะหมดก๊าซ

4. นำสมุนไพรร่วมกับน้ำสกัดชีวภาพ ได้แก่ ใบสะเดา ตะไคร้หอม ฟ้าทลายโจร กระเทียม พริกขี้หนู ว่านหางจระเข้ ขิงข่า และยาสูบ เป็นต้น นำมาทุบหรือตำให้แตก ใส่น้ำให้ท่วม หมักไว้ 1 คืน เพื่อสกัดเอาน้ำสมุนไพร นำไปกรองเอาแต่น้ำ


วิธีใช้

1. ผสมน้ำสกัดชีวภาพกับน้ำสมุนไพรและน้ำในอัตราส่วนน้ำสกัด 1 ส่วน น้ำสมุนไพร 1 ส่วน และน้ำ 200 – 500 ส่วน

2. ฉีดพ่นต้นพืชให้เปียกทั่ว ควรเริ่มใช้หลังต้นพืชเริ่มงอก ก่อนที่โรคและแมลงจะมารบกวน

3. ควรใช้ในตอนเช้าหรือหลังฝนตก และใช้อย่างสม่ำเสมอ

1.3 น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากขยะเปียก (บุญเทียม, 2538)


วิธีการ

1. นำขยะเปียก ได้แก่ เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ จำนวน 1 กิโลกรัม

2. นำมาใส่ถั่งหมัก แล้วเอาปุ๋ยจุลินทรีย์โรยลงไป 1 กำมือ หรือประมาณเศษ 1 ส่วน 20 ของปริมาตร ของขยะ

3. ปิดฝาให้เรียบร้อย หมักไว้ 10-14 วันจะเกิดการย่อยสลายของขยะเปียกบางส่วนกลายเป็นน้ำ

4. กรณีที่ขยะหอมคล้ายกับกลิ่นหมักเหล้าไวน์ วิธีการดังกล่าวจุลินทรีย์จะสามารถย่อยสลายขยะเปียกได้ประมาณ 30-40 % ส่วนที่เหลือประมาณ 60-70 % จะกลายเป็นกากซึ่งก็คือปุ๋ยหมักสามารถนำไปใช้ในการเกษตรได้





2. น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากสัตว์


2.1 น้ำสกัดชีวภาพจากปลา

อัตราส่วน /1 ถัง 200 ลิตร
ปลาสด 40 กก.

กากน้ำตาล 20 กก.

สารเร่งผลิตปุ๋ยหมัก 200 กก. (1 ซอง)


วิธีการ

1. เตรียมสารเร่งผลิตปุ๋ยหมัก 1 ซอง ละลายน้ำอุ่นประมาณ 20 ลิตร คนให้เข้ากันประมาณ 15 – 30 นาที (อย่าให้น้ำนิ่ง)

2. นำปลาสดและกากน้ำตาล ที่เตรียมไว้ใส่ถัง 200 ลิตร และนำสารเร่งทำปุ๋ยหมักที่เตรียมเสร็จแล้วใส่ในถังรวมกับปลาสด และกากน้ำตาล

3. ใส่น้ำพอท่วมตัวปลา ( ½ ถัง ) แล้วคนให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิปกติ ( 30 – 35 องศา ) ไม่ปิดฝา ควรก่อนวันละ 4 – 5 ครั้ง ตลอดระยะเวลาในการหมัก



4. ระยะเวลาในการหมักประมาณ 20 – 30 วัน ปลาจะย่อยสลายหมด เติมน้ำให้เต็มถัง และคนให้เข้ากันก่อนที่จะนำไปใช้ จะได้ปุ๋ยชีวภาพ 200 ลิตร

อัตราการใช้

ปุ๋ยชีวภาพ

น้ำ

ฉีดพ่นทางใบ

1 ลิตร

200 ลิตร

ราดโคน

1 ลิตร

200 ลิตร





ที่มา  :  รศ.ดร.ยงยุทธ โอสถสภา









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (3418 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©