-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 598 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อินทรีย์ชีวภาพ








การผลิตปุ๋ยหมักฟางข้าวและตอซัง
ด้วยน้ำหมักชีวภาพในนาเกษตรกร



                
ฟางข้าว
เป็นอินทรียวัตถุที่มีประโยชน์สูงควรถนอมไว้ในนาข้าวของเกษตรกรทุกคนและทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะนาเขตชลประทาน ซึ่งมีพฤติกรรมการทำนา 2-3 ครั้งต่อปี แต่จำนวนฟางข้าวอาจถูกนำออกจากนาหรือเผาทิ้ง โดยไม่มีการเพิ่มอินทรียวัตถุกลับคืนให้กับดินนาเช่นนี้ ดินย่อมเสื่อมคุณภาพขาดความอุดมสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะมีการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินโดยการใส่ปุ๋ยเคมีทดแทนก็ตาม แต่มีผลกระทบต่อดินนา คือ ปุ๋ยเคมีจะไปช่วยเร่งให้จุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรียวัตถุให้หมดไปโดยเร็วสภาพดังกล่าวอาจทำให้ดินนาเสื่อมสภาพทางฟิสิกส์ทำให้ดินแข็งตัวมากขึ้นและมีแนวโน้มว่าดินจะมีสภาพเป็นกรดมากขึ้นด้วย ดังนั้นฟางข้าวจึงเป็นอินทรียวัตถุที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงบำรุงดิน เกษตรกรไม่ควรนำออกจากแปลงนาหรือไม่ควรเผาทิ้งเป็นอย่างยิ่ง
                
สถานการณ์และสภาวะปัจจุบัน
ซึ่งเป็นยุคของเกษตรเทคโนโลยีการทำนาของเกษตรกร ในเขตชลประทานภาคกลางที่มีปัจจัยการผลิตขั้นพื้นฐานค่อนข้างสมบูรณ์ เกษตรกรทำนาต่อเนื่อง 2-3 ครั้งต่อปี โดยวิธีการหว่านน้ำตมทำให้มีรอบการผลิตค่อนข้างรวดเร็ว (ประมาณ 12-21 วัน) เพื่อให้ทันต่อฤดูกาลผลิต ทำให้เกษตรกรเกือบทุกรายเผาฟางก่อนฤดูทำนา ด้วยวิธีการเตรียมดินแบบหยาบๆ และรีบเร่ง โดยไถกลบเศษฟางที่เหลือจากการเผากับตอซังลงไปในดินที่มีการระบายอากาศไม่ดีขาดออกซิเจน ทำให้เกิดมี Intermidiate Product สะสมมาก เช่นก๊าซมีเทน (CH4) เป็นต้น ปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีผลเสียต่อสภาวะแวดล้อมของโลก ทำให้จุลินทรีย์ดินพวก Heterothropic ที่มีบทบาทการย่อยสลายฟางข้าวและตอซังมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ มีการย่อยสลายเป็นไปอย่างช้าๆ ทำให้เกิดกระบวนการ Immobilization เกิดขึ้นรุนแรง ทำให้ข้าวที่ปลูกใหม่ แสดงอาการขาดไนโตรเจนชั่วคราว ที่เกษตรกรนิยมเรียกว่า “โรคเมาหัวซัง” วิธีแก้ไขมีหลายวิธี ที่ดีและรวดเร็วคือ ทำให้ฟางข้าวหรือตอซังย่อยสลายให้รวดเร็วที่สุดโดยการเพิ่มหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้าช่วยให้เกิดกิจกรรมย่อยสลายจากจุลินทรีย์หลายกลุ่มที่มีปฏิกริยาต่อเนื่องสนับสนุนกันเป็นลูกโซ่ ระหว่างมีกิจกรรมจุลินทรีย์จะช่วยใช้ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดิน ขณะเดียวกันก็จะทำให้เกิดขบวนการทำให้ธาตุอาหารเปลี่ยนรูปที่เป็นประโยชน์เมื่อจุลินทรีย์เหล่านั้นตายไป ก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืชใช้ได้ และยังก่อให้เกิดสารประกอบอินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่มีผลดีต่อพืช เช่น ฮอร์โมน สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและรากพืช ดังนั้นหลังเก็บเกี่ยวแล้วเกษตรกรไม่ควรเผาฟางข้าวเพราะจะทำให้สูญเสียคาร์บอนที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์ดินที่จะนำไปก่อให้เกิดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช

     
ผลงานวิจัยการใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวปรับปรุงดินนา
ประเสริฐและคณะ (2531) รายงานว่าผลการทดลองใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวปรับปรุงดินนาในท้องที่ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้เวลาติดต่อกันถึง 12 ปี (2519-2530) พบว่า ถ้าใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวในอัตรา 2 ตัน/ไร่ ผลผลิตข้าว กข.7 ในปีแรกของการทดลองได้ผลผลิตเพียง 265 กก./ไร่ และเพิ่มขึ้นเป็น 621 กก./ไร่ ในปี 2530 หรือเพิ่มขึ้นถึง 356 กก. คิดเป็นการเพิ่มถึงร้อยละ 134 และถ้าหากเปรียบเทียบกับนาที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวซึ่งในปี 2530 ให้ผลผลิตเพียง 358 กก./ไร่ ซึ่งต่ำกว่าผลผลิตของแปลงที่ใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวถึงไร่ละ 263 กก./ไร่ หรือต่ำกว่าร้อยละ 73 และเมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-4-4 กก./ไร่ ของ N,P2O5 และ K2O อย่างเดียว ให้ผลผลิตในปีที่ 12 (2530) 507 กก./ไร่ ขณะที่ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราเดียวกันร่วมกับปุ๋ยหมักฟางข้าวในอัตรา 2 ตัน/ไร่ จะให้ผลผลิตสูงถึง 793 กก./ไร่ สูงกว่าถึง 286 กก./ไร่ หรือร้อยละ 56 จากแปลงที่ใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวและยังพบอีกว่าแปลงที่ใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2 ตัน/ไร่ ติดต่อกันให้ผลผลิตสูงกว่าแปลงที่ใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวติดต่อกัน

     
ประโยชน์ของฟางข้าวเมื่อไม่เผาทิ้ง
1. ฟางข้าวช่วยทำให้ดินมีปริมาณของอินทรียวัตถุในดินมากขึ้น
2. ฟางข้าวช่วยทำให้พื้นที่นาที่ถูกคลุมด้วยฟางข้าวมีสภาพจุลนิเวศ (Microclimate) เหนือผิวดินเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และ ไส้เดือน เป็นต้น
3. ฟางข้าวช่วยคลุมวัชพืช โดยการบังแสงแดด ไม่ให้วัชพืชเติบโตได้
4. ฟางข้าวช่วยบังแสงแดด ทำให้ดินมีความชื้นอยู่ได้นาน เป็นประโยชน์แก่พืชที่ปลูกทำให้ผลผลิตสูงกว่าดินที่ไม่มีฟางข้าวปกคลุม
5. ฟางข้าวเมื่อเน่าสลายจะให้ธาตุอาหารแก่พืชเมื่อฟางข้าวย่อยสลายแล้วจะได้ธาตุไนโตรเจน (N) ธาตุฟอสฟอรัส (P) ธาตุโพแทสเซียม (K) และ แคลเซียม (Ca ) แมกนีเซียม (Mg)  ที่สำคัญมีธาตุซิลิก้า (SiO2) ด้วย
6. ฟางข้าวนำไปเป็นอาหารโค กระบือ ได้
7. ฟางข้าวสามารถนำไปทำวัสดุเพาะเห็ดฟางได้
8. ฟางข้าวเป็นวัสดุที่อยู่ในนาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาไปขนมาใส่ในนา ก่อนที่จะหมักฟางข้าว ต้องเกลี่ยฟางให้กระจายทั่วทั้งแปลง

     

วิธีการทำปุ๋ยหมักฟางข้าวและตอซังด้วยน้ำหมักชีวภาพในพื้นที่แปลงนาเกษตรกร
ฟางข้าวจำนวน 1 ตัน เมื่อหมักแล้วจะได้ธาตุอาหารทั้งธาตุหลักและธาตุรอง ดังนี้คือ ไนโตรเจน (N) 6 กิโลกรัม ธาตุฟอสฟอรัส (P2O5) 1.4 กิโลกรัม ธาตุโพแทสเซียม (K2O) 17 กิโลกรัม แคลเซียม (Ca) 1.2 กิโลกรัม แมกนีเซียม (Mg) 1.3 กิโลกรัม และที่สำคัญคือ ได้ธาตุซิลิก้า (SiO2) จำนวน 50 กิโลกรัม (จิราภา,2544) ปกติในนาเกษตรกรในภาคกลางและภาคตะวันตกมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวส่วนใหญ่มีฟางข้าวเหลือ 800 - 1,000 กิโลกรัม/ไร่ รวมทั้งตอซังอีก 1,200 – 1,500 กิโลกรัม/ไร่ คือ เฉลี่ยทั้งตอซังและฟางข้าวประมาณ 2 ตัน/ไร่ ส่วนในดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนทรายจะมีฟางข้าวเหลือต่ำกว่า คือ 500-800 กิโลกรัม/ไร่

     

ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักฟางข้าวและตอซังโดยไม่มีการเผาฟางข้าว
1. หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วให้เกษตรกรเกลี่ยฟางข้าวให้กระจายคลุมทั่วทั้งแปลงนาด้วย แรงคนหรือ เครื่องเกลี่ยฟางข้าวติดท้ายแทรกเตอร์มีค่าใช้จ่าย 50 บาท/ไร่ หรือใช้ภูมิปัญญาเกษตรกร อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้ลำไม้ไผ่ชนิดที่มีกิ่งมีหนามจำนวน 2 ลำ ผูกติดท้ายแทรกเตอร์ลาก 2-3 รอบสามารถเกลี่ยฟางข้าวกระจายทั่วทั้งแปลงนา เมื่อคิดต้นทุนเพียง 15 บาท/ไร่ (ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง)

2. ทดน้ำเข้าแปลงนา ใช้อีคลุบติดท้ายแทรกเตอร์ย่ำให้ฟางข้าวและตอซังจมน้ำระดับ 3-5 ซม.

3. ใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรไหนก็ได้ที่คิดว่าต้นทุนถูกที่สุดและจุลินทรีย์ยังมีชีวิตอัตรา 5-10 ลิตร/ไร่( ฟางข้าว 500-800 กก. ใช้น้ำหมักชีวภาพ 5 ลิตร/ไร่ และฟางข้าว 800-1,000 กก. ใช้น้ำหมักชีวภาพ 10 ลิตร/ไร่) ใส่แกลลอนเจาะรูให้น้ำหมักชีวภาพไหลได้ นำไปติดท้ายแทรกเตอร์ โดยใช้อีคลุบย้ำตอซังและฟางข้าวทำให้น้ำหมักกระจายไปทั่วแปลงนาเป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ย่อยสลาย
                
4. ใช้เวลาหมักประมาณ 10 วัน ตอซังและฟางข้าวเริ่มอ่อนตัวและเริ่มย่อยสลาย สามารถไถพรวนเตรียมดินได้ไม่ติดเครื่องมือไถพรวน

     




เอกสารประกอบการเขียน

           
จิราภา เมืองคล้าย. 2542. การใช้ปุ๋ยในนาข้าว. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 กรมวิชาการเกษตร. 32 หน้า.
            
ชนวน รัตนวราหะ. 2544. เกษตรอินทรีย์. เอกสารเผยแพร่ กพพ.1/2544 , กองสหกรณ์การเกษตร กลุ่มพัฒนาระบบการจัดการสหกรณ์ด้านพืชผักผลไม้ กรมส่งเสริมสหกรณ์.152 หน้า.
            
ประเสริฐ สองเมือง และวิทยา ศรีทานันท์. (2531). การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปรับปรุงดินนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานสัมมนาวิชาการเรื่อง  การปลูกพืชในดินนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 23-27 พฤษภาคม 2541. สำนักงานปลัดกระทรวง , กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
            
สุรพล จัตุพร. 2544. ฟางข้าว. อาหารของจุลินทรีย์ดินในการทำนายุคเกษตรกรเทคโนโลยี. โรเนียว 3 แผ่น.





อัครินทร์ ท้วมขำ นักวิชาการเกษตร 8ว
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 กรมวิชาการเกษตร
23 กรกฎาคม 2547


 
 
   
   




เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800x600 Text Size Medium
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 ต.บางหลวง อ.สรรพยา จังหวัดชัยนาท 17150 โทร. 0-5641-3044-5
E-mail : oard5@yahoo.com ; gapchainat@yahoo.co.th






เทคนิคการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิกนาโน 
ในการเลี้ยงปลาในนาข้าว
วันที่ลง : 10/09/2553         
แหล่งที่มา : สมาคมเกษตรอินทรีย์จังหวัดอำนาจเจริญ

เทคนิคการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิกนาโน ในการเลี้ยงปลาในนาข้าว

1) ใช้ท่อระบายน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100- 120 ซม. จำนวน 3 ท่อ วางเรียงต่อกัน ฉาบด้วยปูนบริเวณท่อมิให้น้ำซึมออกได้

2) เทพื้นคอนกรีตวางด้วยท่อท่อ พี.วี.ซี. ขนาด 1-2 นิ้ว เจาะรูให้น้ำไหลผ่านได้ และมีวาร์วปิดเปิดได้

3) ใช้ท่อ พี.วี.ซี. ขนาด 1-2 นิ้ว เจาะรูภายในวางตรงขอบท่อ เพื่อทำท่อหายใจ เว้นระยะปากท่อให้สามารถใช้ยางรัดพลาสติกดำที่ปิดปากท่อเอาไว้


ขั้นตอนในการหมัก
1) ใช้เศษหญ้า หรือฟางข้าว หากเป็นไปได้ ควรใช้ใบไม้ของพืชตระกูลถั่วทุกชนิดจะได้ผลดีมาก เพราะมีค่าโปรตีนสูงหรือใช้หญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ เช่น รูซี่ และอื่นๆ วางกองทับถมกันตามความสูงพอเหมาะ

2) โรยด้วยมูลสัตว์หนาประมาณ 1 ฝ่ามือ วางลูกอะโนบอล 3 ลูก โรยทับด้วยรำข้าวประมาณครึ่งฝ่ามือ

3) วางทับด้วยเศษวัสดุตามข้อ 1 กะพอประมาณให้ได้ถึงริมขอบท่อที่ 1 หากจะให้ย่อยเร็วควรทำเป็นชั้นที่ไม่หนาเกินไป หมายถึงวางด้วยเศษหญ้าหรือใบไม้ที่มีอยู่โดยด้วยมูลสัตว์และรำอ่อนเป็นชั้นๆ แต่ให้วางลูกอะโนบอลล์ไว้ตรงกลางท่อ เพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์ขยายออกจากบริเวณกลางท่อ เมื่อวางเต็มท่อแล้วให้นำนมเปรียง 5 ลิตร กากน้ำตาล 5 กก. มาผสมกันเติมสารแอนตี้ 1 ฝา ละลายน้ำพอประมาณราดลงบนวัสดุภายในท่อให้ชุ่มหมาดๆ ทำระบบเดียวกัน 3 ท่อ แล้วปิดปากท่อด้วยถุงพลาสติกหนาสีดำ หมักไว้ 14 วัน ปุ๋ยอินทรีย์จะมีกลิ่นหอมแล้วนำมาใช้ได้ หว่านลงไปในนาจะเกิดแพลนตอนที่เป็นอาหารปลา ปลากินปุ๋ยหมักถ่ายออกมาเป็นปุ๋ยชั้นดี ปลาเจริญเติบโตโดยไม่ต้องให้อาหารเสริมแต่อย่างใด

4) เมื่อหมักได้ 14 วัน จะได้น้ำหมักชีวภาพอะตอมมิกนาโน ปล่อยลงแปลงนาก็จะได้ปุ๋ยชั้นดี หรือนำมาบรรจุในถังพลาสติกที่มีฝาปิด เติมอาหารรำอ่อน นมเปรียง กากน้ำตาล หรือน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง เติมสารแอนตี้สัก 2-3 ฝา/ถัง 200ลิตร และเติมน้ำธรรมชาติก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดน้ำอะตอมมิกนาโน

5) น้ำหมักชีวภาพมิกนาโน เมื่อนำไปละลายอัตราส่วน 1/50 - 100 ใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์จะทำให้สัตว์เจริญเติบโตมีภูมิคุ้มกันดี

6) ในการหมักเพื่อทำอาหารปลา ควรเลือกวัสดุที่ให้ค่าโปรตีนสูง เช่น พืชตระกูลถั่วทุกชนิด และหญ้าเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกรนิยมปลูก จะเป็นปุ๋ยและอาหารปลาชั้นดี ประหยัดและ ได้ความสมดุลทางธรรมชาติ
http://www.moac-info.net/modules/news/news_view.php?News_id=125933&action=edit&joomla=1









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (3477 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©