-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 570 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อินทรีย์ชีวภาพ






เปลี่ยนกากอ้อยเป็นปุ๋ยหมักคุณภาพ  


หลังจากเรียนจบวิศวกรรมศาสตร์ สุริวงศ์ แห้วเพ็ชร ใช้ความรู้ที่เล่าเรียนมาทำงานอยู่ในโรงงานที่กรุงเทพฯ โดยคิดอยู่เสมอว่า วันหนึ่งจะต้องกลับมาทำงานที่บ้านเกิดในต.ทัพหลวงอ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานีสุริวงศ์เล่าว่า "เมื่อโรงงานน้ำตาลตั้งขึ้นที่ต.ทัพหลวงก็ตัดสินใจกลับมาทำงานที่นี่ เพราะอยู่กรุงเทพฯไม่เหมือนอยู่ที่บ้าน ได้อยู่กับครอบครัวและที่บ้านก็มีพื้นที่ทำการเกษตรอยากกลับมาทำการเกษตรด้วย"
         
พื้นที่ทำการเกษตรที่มีอยู่จำนวน20 ไร่ ส่วนใหญ่ทำการเพาะปลูกอ้อยโดยใช้ปุ๋ยเคมีเป็นหลัก สุริวงศ์ บอกว่า"ในสมัยก่อนการทำไร่ส่วนมากจะใช้แต่ปุ๋ยเคมี ซึ่งก็ได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจแต่มาระยะหลังนี้ใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้น แต่ผลผลิตกลับลดลง จึงเริ่มสนใจเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ แต่ยังไม่มีข้อมูลมากนัก"
         
จากการทำงานอยู่ในโรงงานน้ำตาล  ทำให้สุริวงศ์สังเกตว่า กากตะกอนอ้อย หรือที่โรงงานเรียกว่า ฟินเตอร์เค้ก เป็นวัตถุดิบเหลือใช้ที่มีอยู่มากมายจากโรงงานน้ำตาล ซึ่งน่าจะนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้โดยทดลองนำมาใส่ในไร่อ้อย ปรากฏว่าดินดีขึ้น จึงนำมาคิดและวิเคราะห์รวมทั้งปรึกษากับเจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดินอุทัยธานี เพื่อนำมาเป็นวัสดุหลักในการผลิตเป็นปุ๋ยหมัก เมื่อได้ปุ๋ยหมักแล้วนำมาใช้กับแปลงอ้อยก็ได้ผลเกินความคาดหมาย ทำให้สุริวงศ์เริ่มมีความมั่นใจในการใช้ปุ๋ยหมักในการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพดีและเพิ่มผลผลิต
         
เมื่อใช้ได้ผลดี จึงได้แนะนำให้เกษตรกรได้ทดลองใช้ก็ได้รับการยอมรับจึงได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นภายในหมู่บ้าน เมื่อปี2547 มีสมาชิกเริ่มแรกประมาณ 50 คนทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้กันเองในกลุ่มต่อมาทาง จ.อุทัยธานี ได้ให้ความสนใจ จึงให้งบประมาณสนันสนุนในรูปของวัตถุดิบและเครื่องจักร ในการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรเพื่อผลิตปุ๋ยหมักให้กับสมาชิกและเกษตรกรทั่วไปได้ใช้ จนถึงปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน230คน โดยได้จดทะเบียนกลุ่มกับสหกรณ์จังหวัด ชื่อว่า"กลุ่มเกษตรกรทำสวนทัพหลวง" โดยยอดจำหน่ายล่าสุดในปี2550ประมาณ900,000 บาท
         
สำหรับการผลิตปุ๋ยหมักของกลุ่มดังกล่าว มีส่วนผสม ได้แก่ กากตะกอนอ้อย หรือเศษใบอ้อย จำนวน 1,000 กก.
         
มูลสัตว์ จำนวน 200 กก.สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ของกรมพัฒนาที่ดิน 1 ซอง ซึ่งขอรับได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทั่วประเทศ ส่วนวิธีการกองปุ๋ยหมัก ขั้นตอนแรก นำเศษวัสดุที่จะใช้ทำปุ๋ยหมัก (กากตะกอนอ้อย หรือเศษใบอ้อย) มากองเป็นชั้นแรก ขนาดกว้าง 2-3 เมตรสูงประมาณ 30-40 ซม. ย่ำให้แน่นและรดน้ำให้ชุ่ม ขั้นตอนที่ 2 นำมูลสัตว์ประมาณ 50 กก. มาโรยบนชั้นของวัตถุดิบให้ทั่วแล้วรดน้ำให้ชุ่ม ขั้นตอนที่ 3 นำสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ละลายน้ำ รดให้ทั่วกอง ขั้นตอนสุดท้ายนำเศษวัสดุที่ใช้ทำปุ๋ยหมักมากองทับแล้วนำมูลสัตว์โรยทับให้ทั่วทั้งผิวหน้าเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
     
การดูแลกองปุ๋ยหมักควรรดน้ำสม่ำเสมอ ไม่ให้กองปุ๋ยแห้งและแฉะจนเกินไป กลับกองปุ๋ยหมักประมาณ 7-10 วันต่อครั้ง เพื่อเป็นการระบายอากาศ และลดความร้อนภายในกองปุ๋ยทำให้การย่อยสลายเป็นไปด้วยดี ส่วนปุ๋ยหมักที่เสร็จและนำไปใช้ปรับปรุงดินได้ สีของเศษวัสดุจะมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำลักษณะของวัสดุจะอ่อน นุ่มและเปื่อยยุ่ยไม่มีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นฉุนความร้อนภายในกองปุ๋ยจะใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายนอก
         
จากความสำเร็จ ความรู้ความสามารถและการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรในฐานะหมอดินอาสา ทำให้สุริวงศ์ แห้วเพ็ชร คว้ารางวัลหมอดินอาสาดีเด่น สาขาการผลิตและการใช้ปุ๋ยหมัก ประจำปี 2551 สุริวงศ์ ฝากว่า "อยากให้เกษตรกรยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ดำเนินชีวิตการทำเกษตรต้องคิดว่าจะลดต้นทุนอย่างไร ไม่จำเป็นต้องใช้กากตะกอนอ้อย ใบอ้อยที่เราตัดก็นำมาทำปุ๋ยได้วัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรสามารถนำมาทำปุ๋ยได้ การใช้เคมีร่วมกับอินทรีย์จะช่วยลดต้นทุนการผลิต"
         
หากต้องการความรู้เพิ่มเติมหรือทดลองนำปุ๋ยหมักไปใช้ ก็สามารถติดต่อ สุริวงศ์ แห้วเพ็ชร ได้ที่ บ้านเลขที่ 9 ม.12 ต.ทัพหลวง อ.บ้านไร่จ.อุทัยธานี

         
ที่มา: สยามรัฐ









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (3613 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©