หน้า: 1/2
ปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยธรรมชาติ ชนิดหนึ่งที่ได้มาจากการนำเอาเศษซากพืช เช่น ฟางข้า ซังข้าวโพด ต้นถั่วต่าง ๆ หญ้าแห้ง ผักตบชวา ของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนขยะมูลฝอยตามบ้านเรือนมาหมักร่วมกับมูลสัตว์ ปุ๋ยเคมีหรือสารเร่งจุลินทรีย์เมื่อหมักโดยใช้ระยะเวลาหนึ่งแล้ว เศษพืชจะเปลี่ยนสภาพจากของเดิมเป็นผงเปื่อยยุ่ยสีน้ำตาลปนดำนำไปใส่ในไร่นาหรือพืชสวน เช่น ไม้ผล พืชผัก หรือไม้ดอกไม้ประดับได้
ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก
1. ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
2. ช่วยเปลี่ยนสภาพของดินจากดินเหนียวหรือดินทรายให้เป็นดินร่วนทำให้สะดวกในการไถพรวน
3. ช่วยสงวนรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ดีขึ้น
4. ทำให้การถ่ายเทอากาศในดินได้ดี
5. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยเคมีและสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้
6. ช่วยกระตุ้นให้ธาตุอาหารพืชบางอย่างในดินที่ละลายน้ำยากให้ละลายน้ำง่ายเป็นอาหารแก่พืชได้ดีขึ้น
7. ไม่เป็นอันตรายต่อดินแม้จะใช้ในปริมาณมาก ๆ ติดต่อกันนาน ๆ
8. ช่วยปรับสภาพแวดล้อม เช่น กำจัดขยะมูลฝอยและวัชพืชน้ำทั้งหลายให้หมดไป
วิธีการทำปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยหมักโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ ปุ๋ยหมักในไร่นา ปุ๋ยหมักเทศบาลและปุ๋ยหมักอุตสาหกรรม ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะปุ๋ยหมักในไร่นา
สำหรับปุ๋ยหมักในไร่นานี้มีแบบวิธีการทำ 5 แบบ ซึ่งสามารถเลือกทำแบบใดแบบหนึ่งก็ได้ หรืออาจจะทำหลาย ๆ แบบก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ทำ
แบบที่ 1 ปุ๋ยหมักค้างปี ใช้เศษพืชเพียงอย่างเดียวนำมาหมักทิ้งไว้ค้างปีก็สามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมักได้
แบบนี้ไม่ต้องดูแลรักษา จึงต้องใช้ระยะเวลาในการหมักนาน เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลา
แบบที่ 2 ปุ๋ยหมักธรรมดาใช้มูลสัตว์ แบบนี้ใช้เศษพืชและมูลสัตว์ในอัตรา 100:10 ถ้าเป็นเศษพืช
ชิ้นส่วนเล็กนำมาคลุกผสมได้เลย แต่ถ้าเป็นเศษพืชชิ้นส่วนใหญ่นำมากองเป็นชั้น ๆ (แต่ละกองจะทำประมาณ 3 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเศษพืชที่ย่ำและรดน้ำ สูงประมาณ 30-40 ซม. แล้วโรยทับด้วยมูลสัตว์) แบบนี้จะใช้ระยะเวลาหมักน้อยกว่าแบบที่ 1 เช่น ถ้าใช้ฟางข้าวจะใช้ระยะเวลาประมาณ 6-8 เดือน ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา
แบบที่ 3 ปุ๋ยหมักธรรมดาใช้ปุ๋ยเคมี แบบนี้ใช้เศษพืช มูลสัตว์ และปุ๋ยเคมีในอัตรา 100:10:1
ถ้าเป็นชิ้นส่วนเล็กนำมาคลุกผสมได้เลย ถ้าเป็นชิ้นส่วนใหญ่นำมากองเป็นชั้นเหมือนแบบที่ 2 เพียงแต่ในแต่ละชั้นจะเพิ่มปุ๋ยเคมีขึ้นมา โดยโรยทับมูลสัตว์ แบบนี้ใช้ระยะเวลาในการหมักเร็วกว่าแบบที่ 2 กล่าวคือถ้าเป็นฟางข้าวจะใช้เวลาประมาณ4-6 เดือน
แบบที่ 4 ปุ๋ยหมักแผนใหม่ การทำปุ๋ยหมักแบบที่ 1-3 นั้นใช้เวลาค่อนข้างมากต่อมากรมพัฒนาที่ดิน
ได้ศึกษาค้นคว้าพบว่าการทำปุ๋ยหมักโดยใช้เวลาสั้นทำได้โดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายของเศษพืช ทำให้ได้ปุ๋ยหมักเร็วขึ้น นำไปใช้ได้ทันฤดูกาลสามารถใช้ระยะเวลาหมักเพียง 30-60 วัน ใช้สูตรดังนี้
เศษพืช............... 1,000 กก.
มูลสัตว์............... 100-200 กก.
ปุ๋ยเคมี ............... 1-2 กก.
เชื้อจุลินทรีย์ตัวเร่ง ........ 1 ชุด
(เชื้อจุลินทรีย์ตัวเร่งในปี 2526-2527 ใช้เชื้อ บี 2 ชุดหนึ่ง ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์บี 2 จำนวน 2300 กรัม และอาหารเสริม 1 กก.) ถ้าเป็นเศษพืชชิ้นส่วนเล็กก็นำเศษพืช มูลสัตว์ และปุ๋ยเคมีมาคลุกผสมเข้ากัน แล้วเจาะหลุมหยอดเชื้อจุลินทรีย์ตัวเร่งซึ่งเตรียมไว้ก่อนโดยนำมาผสมน้ำ ใช้น้ำประมาณ 40 ลิตร กวนให้เข้ากันอย่างดี แต่ถ้าเป็นเศษพืชชิ้นส่วนใหญ่ก็นำมากองเป็นชั้นเหมือนแบบที่ 3 แต่ละชั้นประกอบด้วยเศษพืชที่ย่ำและรดน้ำ สูง30-40 ซม.มูลสัตว์โรยทับเศษพืช ปุ๋ยเคมีโรยทับมูลสัตว์ แล้วราดเชื้อจุลินทรีย์ตัวเร่ง
แบบที่ 5 ปุ๋ยหมักต่อเชื้อ ในการทำปุ๋ยหมักแบบที่ 4 นั้น จำเป็นต้องซื้อสารตัวเร่งเชื้อจุลินทรีย์ 1 ชุด
ทุกครั้งที่ทำปุ๋ยหมัก 1 ตัน ทำให้มีแนวความคิดว่าหากสามารถนำ มาต่อเชื้อได้ก็จะเป็นการประหยัดและเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรและผู้ทำปุ๋ยหมักทั่วไป กรมพัฒนาที่ดินจึงได้ทำการทดลองและพบว่า สามารถต่อเชื้อได้ โดยใช้ปุ๋ยหมักที่ทำในแบบที่ 4 กล่าวคือ หลังจากได้ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้แล้วในแบบที่ 4 ให้เก็บไว้ 50-100 กก. การเก็บต้องเก็บไว้ในโรงเรือนที่ไม่ถูกแดดและฝน ปุ๋ยหมักที่เก็บไว้ 50-100 กก. สามารถนำไปต่อเชื้อทำปุ๋ยหมักได้อีก 1 ตัน การต่อเชื้อนี้สามารถทำการต่อได้เพียง 3 ครั้ง
การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก
หลังจากกองปุ๋ยหมักเสร็จแล้วจะต้องหมั่นตรวจดูแลกองปุ๋ยหมักอยู่เสมอโดยปฏิบัติดังนี้
1. จะต้องป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปทำลาย หรือคุ้ยเขี่ยกองปุ๋ยหมัก ถ้ากองแบบในคอกก็ไม่มีปัญหา
แต่ถ้ากองบนพื้นดินหรือในหลุมควรหาทางมะพร้าวหรือกิ่งไม้วางทับกองปุ๋ยหมักไว้กันสัตว์คุ้ยเขี่ย
2. ทำการให้น้ำกองปุ๋ยหมักให้มีความชื้นพอเหมาะอยู่เสมอ คือ ไม่ให้แห้งหรือแฉะเกินไป
มีวิธีการตรวจอย่างง่ายๆ คือ เอามือสอดเข้าไปในกองปุ๋ยหมักให้ลึกๆ แล้วหยิบเอาชิ้นส่วนภายในกองปุ๋ยหมักมาบีบดู ถ้าปรากฏว่ามีน้ำติดฝ่ามือแสดงว่าความชื้นพอเหมาะไม่ต้องให้น้ำ ถ้าไม่มีน้ำติดฝ่ามือแสดงว่ากองปุ๋ยหมักแห้งเกินไปต้องให้น้ำในระยะนี้ ถ้าบีบดูมีน้ำทะลักออกมาตามง่ามนิ้วมือ แสดงว่าแฉะเกินไปไม่ต้องให้น้ำ
3. การกลับกองปุ๋ย นับเป็นหัวใจสำคัญในการทำปุ๋ยหมักจะละเลยมิได้ เพราะเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ
ก็ย่อมต้องการอากาศหายใจเหมือนมนุษย์ ดังนั้นการกลับกองปุ๋ยหมักนอกจากจะช่วยให้ออกซิเจนแก่จุลินทรีย์แล้ว ยังเป็นการระบายความร้อนออกจากกองปุ๋ยอีกด้วย ยิ่งขยันกลับกองปุ๋ยหมักมากเท่าไรก็จะทำให้ได้ปุ๋ยหมักใช้เร็วมากขึ้นเท่านั้น เพราะทำให้เศษพืชย่อยสลายทั่วทั้งกอง และได้ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพดีอีกด้วย ตามปกติควรกลับกองปุ๋ยหมักอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
หลักในการพิจารณาว่ากองปุ๋ยหมักนั้นใช้ได้หรือยัง
เมื่อกองปุ๋ยหมักเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีทั้งที่มองเห็นได้และที่มองเห็นไม่ได้ ที่มองเห็นได้ก็คือ ชิ้นส่วนของพืชจะมีขนาดเล็กลงและยุบตัวลงกว่าเมื่อเริ่มกอง สีของเศษพืชก็จะเปลี่ยนไป ส่วนที่มองเห็นไม่ได้ก็คือปริมาณของจุลินทรีย์ ทีนี้จะสังเกตว่าปุ๋ยหมักสามารถนำมาใช้ได้หรือไม่มีข้อสังเกตง่ายๆ ดังนี้
1. สีของกองปุ๋ยหมักจะเข้มขึ้นกว่าเมื่อเริ่มกอง อาจมีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ
2. อุณหภูมิภายในของปุ๋ยหมักและอุณหภูมิภายนอกใกล้เคียงกันหรือแตกต่างกันน้อยมาก
3. ใช้นิ้วมือบี้ตัวอย่างปุ๋ยหมักดูเศษพืชจะยุ่ยและขาดออกจากกันได้ง่าย ไม่แข็งกระด้าง
4. พบต้นพืชที่มีระบบรากลึกขึ้นบนกองปุ๋ยหมัก แสดงว่าปุ๋ยหมักสลายตัวดีแล้ว
5. สังเกตกลิ่นของปุ๋ยหมัก ถ้าเป็นปุ๋ยหมักที่ใช้ได้ ปุ๋ยหมักจะมีกลิ่นคล้ายกลิ่นธรรมชาติ
ถ้ามีกลิ่นฉุนหรือมีกลิ่นฟางแสดงว่าปุ๋ยหมักยังใช้ไม่ได้ เนื่องจากขบวนการย่อยสลายยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ
6. วิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการดูธาตุคาร์บอน และไนโตรเจน ถ้ามีอัตราส่วนเท่ากันหรือต่ำกว่า 20 : 1
ก็พิจารณาเป็นปุ๋ยหมักได้แล้ว
ข้อควรคำนึงในการกองปุ๋ยหมัก
1. อย่ากองปุ๋ยหมักให้มีขนาดใหญ่เกินไป เพราะจะทำให้เกิดความร้อนระอุเกิน 70 องศาเซลเซียส
ซึ่งจะเป็นผลทำให้เชื้อจุลินทรีย์ตายได้ ขนาดกองปุ๋ยหมักที่เหมาะสมคือ ความกว้างไม่ควรเกิน 2-3 เมตร ความยาวไม่จำกัด สูงประมาณ 1-1.50 เมตร
2. ถ้ากองปุ๋ยหมักมีขนาดเล็กเกินไป จะทำให้เก็บรักษาความร้อนและความชื้นไว้ได้น้อย
ทำให้เศษพืชสลายตัวเป็นปุ๋ยหมักได้ช้า
3. อย่ารดน้ำโชกจนเกินไป จะทำให้การระบายอากาศในกองปุ๋ยไม่ดีอาจทำให้เกิดกรดอินทรีย์บางอย่าง
เป็นเหตุให้มีกลิ่นเหม็นอับได้ง่าย
4. ถ้าเกิดความร้อนในกองปุ๋ยหมักมาก ต้องเพิ่มน้ำให้กองปุ๋ย มิฉะนั้นจุลินทรีย์ที่ย่อยซากพืชจะตายได้
5. ถ้าจะมีการใช้ปูนขาว อย่าใช้ปุ๋ยเคมีพร้อมกับการใส่ปูนขาวเพราะจะทำให้ธาตุไนโตรเจนสลายตัวไป
กรณีใช้ฟางข้าวในการกองปุ๋ยหมักไม่จำเป็นต้องใช้ปูนขาว
6. เศษวัสดุที่ใช้ในการกองปุ๋ยหมักมีทั้งประเภทที่สลายตัวเร็ว เช่น ฟางข้าว ผักตบชวา เปลือกถั่ว
และต้นถั่วเศษวัชพืชต่าง ๆ และประเภทที่สลายตัวยาก เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ขี้ลีบข้าว กากอ้อย ขุยมะพร้าว ซังข้าวโพด ดังนั้นในการกองปุ๋ยหมักไม่ควรเอาเศษวัสดุที่สลายตัวเร็วและสลายตัวยากกองปนกัน เพราะจะทำให้ได้ปุ๋ยหมักที่ไม่สม่ำเสมอกันเนื่องจากเศษพืชบางส่วนยังสลายตัวไม่หมด
คุณค่าทางอาหารพืชของปุ๋ยหมัก
แสดงคุณค่าทางอาหารพืชที่ได้จากปุ๋ยหมักบางชนิด
ชนิดของปุ๋ยหมัก
% ธาตุอาหารของพืช............... N ........... P2O5 ........... K2O
ปุ๋ยหมักจากขยะเทศบาล............ 1.52 ......... 0.22 ........... 0.18
ปุ๋ยหมักจากหญ้าแห้ง.............. 1.23 ......... 1.26 ........... 0.76
หญ้าหมัก+กระดูกป่น+มูลกระบือ .......0.82 ......... 1.43 ........... 0.59
หญ้าหมัก+กระดูกป่น+มูลโค .........2.33 .......... 1.78 ........... 0.46
หญ้าหมัก+กระดูกป่น+มูลแพะ........ 1.11 .......... 4.04 ........... 0.48
หญ้าหมัก+กระดูกป่น+มูลม้า .........0.82 .......... 2.83 ........... 0.33
ปุ๋ยหมักจากใบจามจุรี ..............1.45 .......... 0.19 ........... 0.49
ปุ๋ยหมักจากฟางข้าว............... 0.85 .......... 0.11 ........... 0.76
ปุ๋ยหมักฟางข้าว+มูลไก่ ............ 1.07 .......... 0.46 ........... 0.94
ปุ๋ยหมักฟางข้าว+มูลโค ............ 1.51 .......... 0.26 ........... 0.98
ปุ๋ยหมักฟางข้าว+มูลเป็ด ........... 0.91 .......... 1.30 ........... 0.79
ปุ๋ยหมักจากผักตบชวา ............. 1.43 .......... 0.48 ........... 0.47
ปุ๋ยหมักผักตบชวา+มูลสุกร .......... 1.85 .......... 4.81 ........... 0.79
ปุ๋ยอินทรีย์(เทศบาล)ชนิดอ่อน ....... 0.95 .......... 3.19 ........... 0.91
ปุ๋ยอินทรีย์(เทศบาล)ชนิดปานกลาง .... 1.34 .......... 2.44 ........... 1.12
ปุ๋ยอินทรีย์(เทศบาล)ชนิดแรง ........ 1.48 .......... 2.96 ........... 1.15
การใช้ประโยชน์กับพืชต่าง ๆ
วิธีการใช้ปุ๋ยหมักมีวิธีการดังนี้ (พิทยากร และคณะ, 2531: 8-11) ได้รายงานว่า สำหรับวิธีการใส่ปุ๋ยหมักสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 วิธี ตามชนิดของพืชที่ปลูกโดยมีจุดประสงค์เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติ และเพื่อให้ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักเป็นประโยชน์ต่อพืชมากที่สุดและเกิดการสูญเสียน้อย เนื่องจากปุ๋ยหมักที่ใช้มีปริมาณมากยากต่อการขนส่งและเคลื่อนย้าย วิธีการใส่ปุ๋ยหมักมีดังนี้คือ
1. ใส่แบบหว่านทั่วแปลง การใส่ปุ๋ยหมักแบบนี้เป็นวิธีการที่ดีต่อการปรับปรุงบำรุงดินเนื่องจากปุ๋ยหมัก
จะกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลงปลูกพืชที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ส่วนมากจะใช้กับการปลูกข้าวหรือพืชไร่ หรือพืชผัก แต่อาจมีปัญหาในด้านจะต้องใช้แรงงานในการใส่ปุ๋ยหมัก อัตราของปุ๋ยหมักที่ใช้ประมาณ 2 ตัน ต่อไร่ต่อปี โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำอาจจะใช้สูตร16-16-8 ในอัตรา 15-30 กก. ต่อไร่
2. ใส่แบบเป็นแถว การใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นแถวตามแนวปลูกพืชมักใช้กับการ ปลูกพืชไร่
วิธีการใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นแถวนี้เหมาะสมที่จะใช้ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีแบบโรยเป็นแถวสำหรับการปลูกพืชไร่ทั่วไป เนื่องจากปุ๋ยหมักจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีที่ใส่ให้เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช อัตราปุ๋ยหมักที่ใช้ประมาณ 3 ตัน ต่อไร่ต่อปี โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0, 18-22-0 ในอัตรา 25-50 กก. ต่อไร่ สำหรับในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ สูตรปุ๋ยอาจต้องใส่โพแทสเซียมเพิ่มขึ้นด้วย
3.ใส่แบบเป็นหลุม การใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นหลุมมักจะใช้กับการปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น โดยสามารถ
ใส่ปุ๋ยหมักได้สองระยะคือ ในช่วงแรกของการเตรียมหลุมเพื่อปลูกพืช นำดินด้านบนของหลุมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมักแล้วใส่รองก้นหลุม หรืออาจจะใส่ปุ๋ยเคมีร่วมด้วย อีกระยะหนึ่งอาจจะใส่ปุ๋ยหมักในช่วงที่พืชเจริญแล้ว โดยการขุดเป็นร่องรอบ ๆ ต้นตามแนวทรงพุ่มของต้นพืช แล้วใส่ปุ๋ยหมักลงในร่องแล้วกลบด้วยดิน หรืออาจจะใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยหมักในช่วงนี้ได้เช่นกัน อัตราการใช้ปุ๋ยหมักประมาณ 20-50 กก. ต่อหลุม ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15, 14-14-14, 12-12-7 ในอัตรา 100-200 กรัม ต่อหลุมในกรณีที่ใส่ปุ๋ยหมักกับไม้ผลที่เจริญแล้ว อัตราการใช้อาจจะเพิ่มขึ้นตามส่วน และมักจะใส่ปุ๋ยหมักปีเว้นปี
มาตรฐานของปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพดี ได้มาตรฐานให้พิจารณาดังนี้
1. มีเกรดปุ๋ยไม่ต่ำกว่า 1:1:0.5 (ไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โพแทสเซียม)
2. มีความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้ไม่มากกว่าร้อยละ 35-40 โดยน้ำหนัก
3. ความชื้นเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0-7.5
4. ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้แล้วจะต้องไม่มีความร้อนหลงเหลืออยู่
5. ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้แล้วไม่ควรมีวัสดุเจือปนอื่น ๆ
6. จะต้องมีปริมาณอินทรีย์วัตถุอยู่ระหว่าง 25-50 %
7. จะต้องมีอัตราส่วนระหว่างธาตุคาร์บอนต่อไนโตรเจนไม่มากกว่า 20 ต่อ 1
ปัจจุบันการเกษตรของโลก เพื่อผลิตอาหารให้แก่มนุษย์โดยตรง หรือเพื่อผลิตเป้นอาหารของสัตว์ แล้วเปลี่ยนเป็นอาหารของมนุษย์ต่อไ��� เป็นสิ่งที่เจริญก้าวหน้าไปมาก การปลูกพืชซึ่งเป็นอาหารหลักทั้งขอ���มนุษย์และสัตว์ในขณะนี้ใช้เทคโนโล���ีที่ทันสมัย ใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด โดยอาจลืมปัจจัยหรือผลกระทบอื่นที่���ีต่อดินและสิ่งแวดล้อมตามมา ในอดีตการปลูกพืชต่าง ๆ เพื่อบริโภคมักใช้วิธีการทางธรรมชา���ิเข้ามาพิจารณา การใส่ปุ๋ยเคมี การใช้สารเร่งการเจริญเติบโตของพืช เช่น ฮอร์โมนต่าง ๆ ดูเหมือนจะไม่ค่อยได้รับความสนใจเท���าที่ควร ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก ยังไม่ได้มีการศึกษากันอย่างจริงจั���
ระยะนี้ปุ๋ยอินทรีย์ต่าง ๆ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพบางชนิด เช่น การใช้เชื้อไรโซเบียม กับการปลูกถั่วเพื่อเพิ่มไนโตรเจนให้แก่ถั่วและดิน ได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว การนำเอาน้ำปุ๋ยหมัก หรือน้ำที่ได้จากการหมักปุ๋ยอินทรีย์ เช่น จากปุ๋ยคอกใส่ให้แก่ดิน และพืช เช่น ผักต่าง ๆ ได้รับความนิยมจากชาวสวนผักโดยทั่วไป โดยที่ในขณะนั้น เกษตรกรอาจยังไม่ทราบว่าในน้ำปุ๋ยหมักที่ใช้นั้นมีสิ่งใดเป็นองค์ประก���บบ้าง เพียงแค่ถือปฏิบัติต่อ ๆ กันมา และสังเกตเห็นว่าเมื่อใช้แล้วทำให้พืชชงอกงามดี แข็งแรง
เมื่อการปฏิวัติเขียวได้ขยายอิทธิพลสู่ประเทศไทย การเพิ่มปริมาณผลผลิตเพื่อเลี้ยงประชากรของโลกและประเทศที่ด้อยพัฒนา ได้นำแนวปฏิบัติมาใช้กันมากขึ้น การใช้พันธุ์พืชใหม่ ๆ ที่ให้ผลผลิตสูง ซึ่งต้องกินปุ่ย ธาตุอาหาร และสารอาหารต่าง ๆ มากขึ้น เทคโนโลยีการผลิตพืชในระยะ 40-50 ปี มานี้ จึงมีการใช้ปุ๋ยเคมี ฮอร์โมนพืช และสารอาหารเสริมต่าง ๆ ซึ่งหาซื้อได้ง่าย มีผลทำให้ธุรกิจเคมีเกษตร เพื่อกระตุ้นให้การเกษตรของทั้งโลก และของประเทศไทยเองได้เจริญขึ้นมาก
ขณะเดียวกันเกษตรกรส่วนหนึ่งของไทย ก็ยังขาดเทคโนโลยีทางด้านนี้ ทำให้การใช้ไม่ถูกต้อง ผิดหลักการ บางโอกาสทำลายสิ่งแวดล้อมให้เสียหายไปด้วย ประกอบกับส่วนใหญ่ของสารเคมีต่าง ๆ ที่มีจำหน่ายในตลาดนั้น ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และมีราคาแพง ทำให้ต้นทุนสูง ประกอบกับเศรษฐกิจของไทย และเกษตรกรไทยก็ใช่ว่าจะสู้ดีนัก และถ้าพิจารณาให้ลึกแล้ว สารอินทรีย์ต่าง ๆ หลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อดินและพืชที่ปลูก ก็ได้จากกระบวนการหมักสารอินทรีย์ โดยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งอาจพอเพียงต่อการเร่งการเติบโตในธรรมชาติ แต่อาจไม่ทันใจผู้ผลิตหลายราย ประเทศของเรามีเศษเหลือของสารอินทรีย์สด ๆ อยู่มากมาย เช่น เศษพืชผัก ผลไม้ และเศษปลาต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้หากผ่านกระบวนการหมักอย่าางถูกวิธีแล้ว สามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงดิน และฉีดพ่นให้แก่พืชโดยตรงได้ วิธีการเหล่านี้นอกจากจะเป็นการนำของเหลือใช้มาใช้ประโยชน์แล้ว ยังเป็นการทำการเกษตรแบบทางเลือกทีมีต้นทุนการผลิตต่ำด้วย
ปุ๋ยน้ำหมัก
ปุ๋ยน้ำหมัก หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการนำเอาสารอินนทรีย์ไปหมักในน้ำ ในระยะเวลาหนึ่ง จนสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่มีอยู่ถูกดึงออกมาจากเซลล์ สารเหล่านี้ประกอบไปด้วยธาตุอาหารพืช กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ และฮอร์โมน พืชต่าง ๆ ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด มีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน ปุ๋ยน้ำหมักจากเศษพืช จึงแตกต่างจากผลไม้ แตกต่างจากเศษสัตว์ได้
การสกัดส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งเป็นของเหลวออกจากเซลล์ของพืชและสัตว์ อาจทำได้หลายประการ ในทางชีวภาพนี้มี 2 วิธีการใหญ่ ๆ ที่ใช้สกัดส่วนประกอบที่เป็นของเหละภายในเซลล์ออกมาคือ
1. การใช้จุลินทรีย์เข้าย่อยสลาย มีจุลินทรีย์หลายชนิดในธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายเซลล์พืช สัตว์ แล้วปลดปล่อยสารต่าง ๆ ออกมา
2. การทำให้สารละลายภายนอกเซลล์เข้มข้นมาก (hypertonic concentration) กรณีเช่นนี้จะเป็นการดึงเอาของเหลวภายในเซลล์ออกสู่ภายนอกเซลล์ และพาเอาสารประกอบออกมาด้วย (plasmolysis) ต้องใช้ความเข้มข้นที่พอเหมาะ เพราะถ้าเข้มข้นมากไป ส่วนประกอบของเซลล์อื่น ทั้งภายนอกและภายในเซลล์จะไม่ถูกย่อยสลาย เนื่องจากจุลินทรีย์ไม่สามารถเจริญเติบโต การย่อยสลายผนังเซลล์ เซลลูโลส โปรตีน และอื่น ๆ จึงเกิดขึ้นช้า สารอาหารที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชจึงเกิดขึ้นน้อย
ประโยชน์ของปุ๋ยน้ำหมัก
ปัจจุบันนี้ ปุ๋ยน้ำหมักอาจผลิตออกมาหลายรูปแบบ อาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามก���ะแสนิยม เช่น สารสกัดอินทรีย์ ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ สารสกัดชีวภาพ ปุ๋ยปลาหมัก น้ำสกัดชีวภาพ น้ำจากผลไม้หมัก (fermented fruit juice) น้ำหวานจากพืชหมัก (fermented plant juice) เป็นต้น
ในที่นี้จะขอเรียกชื่อรวม ๆ ว่า ปุ๋ยน้ำหมัก ส่วนประกอบภายในก็อาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการหมัก ระยะเวลาในการหมัก จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้อง และวัสดุที่ใช้หมัก แต่โดยภาพรวมแล้ว ในปุ๋ยน้ำหมักที่ผลิตขึ้นมาจะมีส่ว���ประกอบที่สำคัญดังนี้
1. ธาตุอาหารพืช (plant minerals) เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เป็นต้น ชนิดและปริมาณของธาตุอาหารในปุ๋ยน้ำหมักจะแตกต่างกันออกไป ตามชนิดของวัสดุที่ใช้หมัก ถ้าเป็นเศษพืช หรือผลไม้ จะมีธาตุอาหารน้อยมาก ประโยชน์ที่พืชได้รับจึงอาจไม่ใช่กรณีนี้ การเติมปุ๋ยเล็กน้อยลงไปจะช่วยให้มีการย่อยสลายเร็วขึ้น และมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น
2. กรดอะมิโน (amino acids) ปริมาณและชนิดของกรดอะมิโนในปุ๋ยน้ำหมักแตกต่างกันออกไป กรดอะมิโนเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อพืช กล่าวคือ พืชสามารถดูดซับและนำไปใช้ได้โดยตรงเป็นส่วนใหญ่ บางส่วนเป็นประโยชน์ต่อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน ทำให้ดินมีชีวิตมากขึ้น
3. กรดอินทรีย์ (organic acids) ปริมาณและชนิดของกรดอินทรีย์ในปุ๋ยน้ำ้ำหมักจะแตกต่างกันไป พบทั้งกรดอินทรีย์ที่มีโมเลกุลใหญ่ เช่น กรดเบนซินอะซิติก (benzene acetic acid) กรดฮิวมิค กรดฟูลวิค และกรดอินทรีย์ที่มีโมเลกุลเล็ก ๆ เช่น กรดอะซิติก (acetic acid) และกรดฟอร์มิก (formic acid) เป็นต้น
นอกจากนี้แล้วในปุ๋ยน้ำหมักยังมีสรอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ อยู่อีกหลายชนิด เช่น แอลกอฮอล์และฟีนอล ซึ่งมีขนาดของโมเลกุลตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ มีฮอร์โมนพืชอีกหลายชนิด เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไคเนติน ในปริมาณที่แตกต่างกัน สารเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อพืชทั้งสิ้น
หากกล่าวโดยรวมแล้วปุ๋ยน้ำหมักมีปร���โยชน์หลายประการดังนี้
1. เป็นการนำของเหลือทิ้งทางการเกษตรใ���้กลับคืนความเป็นประโยชน์ในการเกษ���ร สารอินทรีย์เหลือทิ้ง เช่น เศษปลา เศษผัก เศษผลไม้ หากปล่อยทิ้งไว้จะเน่าเสีย และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ
2. เป็นการช่วยกำจัดศัตรูพืชบางชนิดได��� เช่น การกำจัดหอยเชอรี่ โดยการนำมาหมักเป็นปุ่ยน้ำ
3. เป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ที่เป็���ประโยชน์ในดิน ปุ๋ยน้ำหมักดังกล่าว เมื่อตกลงสู่ดิน สารอินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำปุ๋ยจ���ถูกจุลินทรีย์กลุ่มเฮทเทอโรโทรพใช���ในการเจริญเติบโต เช่น Pseudomonas, Bacillus, Azotobacter เป็นต้น ทำให้มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อความอุดมสมบูรณ์���องดิน เช่น การย่อยสลายสารอินทรีย์ การปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และการตรึงไนโตรเจน เป็นต้น
4. ให้ธาตุอาหารในรูปอนินทรีย์แก่จุลิ���ทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อความอุดมส���บูรณ์ของดิน
5. ให้ธาตุอาหารอนินทรีย์แก่พืชทางใบ ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยน้ำหมักแม้มี���ริมาณไม่มากนัก แต่สามารถถูกดูดซึมผ่านผิวใบพืชเข้���สู่ระบบท่อลำเลียง ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ได้รวดเร็ว ในปุ๋ยน้ำหมักนี้มีธาตุอาหารพืชครบ���ุกธาตุ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักของพืช และยังมีธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน และธาตุอาหารเสริมจำนวนหนึ่ง ได้แก่ เหล็ก ทองแดง สังกะสี แมงกานีส โบรอน โมลิบดีนัม คลอรีน และนิกเกิลจำนวนหนึ่ง ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่ท่อลำเลียง���องพืช และเป็นประโยชน์ต่อพืชได้อย่างรวดเ���็ว
6. ส่งเสริมการเจริญเติบโตและการชอนไช���องรากพืช การส่งเสริมการเจริญเติบโตของเฮทเท���โรโทรพในดิน ส่งผลให้ดินโปร่ง มีการถ่ายเทอากาศดี เหมาะแก่การเจริญเติบโตของราก อีกทั้งส่วนของน้ำปุ๋ยที่ตกลงสู่ดิ��� บางส่วนมีสารอินทรีย์บางชนิดกระตุ้���การเจริญเติบโตของราก เช่น กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ วิตามิน และจิบเบอเรลลิน เป็นต้น
7. สารอินทรีย์บางชนิดที่มีขนาดของโมเ���กุลไม่ใหญ่นัก เช่น กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ และแอลกอฮอล์บางชนิด พืชสามารถดูดกินเมื่อสัมผัสกับใบ และสามารถซึมผ่านเข้าสู่ใบได้ นอกจากนี้แล้วกลุ่มวิตามินและฮอร์โ���นพืชบางชนิดที่ละลายอยู่ในน้ำปุ๋ย ในระดับที่มีเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเป็นประโยชน์ และส่งเสริมการเจริญเติบโตให้แก่พื���ที่ปลูกได้
จะเห็นได้ว่า ปุ๋ยน้ำหมักจะมีประโยชน์ต่อทั้งการ���รับปรุงสภาพทางเคมี กายภาพ และชีวภาพของดิน ซึ่งจะส่งเสริมการเจริญเติบโตต่อพื��� ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ขณะเดียวกันพืชก็สามารถใช้สารอินทร���ย์และอนินทรีย์จากสารละลายปุ๋ยน้ำ���มักได้โดยตรงด้วย
ที่มา : ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครสวรรค์
หน้าถัดไป (2/2)