-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 557 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อินทรีย์ชีวภาพ





ใช้ปุ๋ยชีวภาพปรับสมดุล


เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่พืช
โดยทั่วไปแล้วปุ๋ยที่เรารู้จักมีด้วยกัน 3 ชนิด คือ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และ ปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งปัจจุบันปุ๋ยชีวภาพถือว่าเป็นปุ๋ยอีกชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมจากเกษตรกรอยู่ในขณะนี้
   
สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวถึงความหมายของปุ๋ยชีวภาพตามพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ว่า คือปุ๋ยที่นำจุลินทรีย์ที่มี ชีวิตอยู่ และจุลินทรีย์นั้นต้องสามารถสร้างธาตุอาหารให้กับพืชได้ หรือทำให้ธาตุอาหาร ที่มีอยู่ในดินเป็นประโยชน์ต่อพืชมาผลิตเป็นปุ๋ย
   
ส่วน น้ำหมัก ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะหมักจากซากพืช ซากสัตว์ หรือน้ำหมักจากหอยเชอรี่ และมีการเติมจุลินทรีย์เข้าไป ถูกจัดว่าเป็นปุ๋ยอินทรีย์ประเภทหนึ่ง เนื่องจากกิจกรรมที่นำไปใช้นั้นส่วนใหญ่นำน้ำที่ผลิตได้จากจุลินทรีย์ไปใช้ โดยจะแตกต่างจากกรณีของปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเราเอาตัวจุลินทรีย์ในปุ๋ยไปใช้ประโยชน์
   
ส่วนประโยชน์จริง ๆ ของปุ๋ยชีวภาพ ที่เกษตรกรจะได้รับนั้น คือ การนำจุลินทรีย์ หรือสิ่งมีชีวิตไปช่วยสร้างประโยชน์ให้สิ่งมีชีวิตมีชีวิตอยู่อย่างดีขึ้น โดยสร้างธาตุอาหาร หรือทำให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์มากขึ้น ดังนั้นปุ๋ยชีวภาพจะสามารถไปทดแทนปุ๋ยเคมีได้บางส่วน บางพืช และบางพื้นที่ เป็นการเอาธรรมชาติคืนสู่พื้นดิน
   
ศักดิ์เกษม สุนทรภัทร์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านควบคุมพืช และวัสดุการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า เกษตรกรที่ต้องการใช้ปุ๋ยชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับพืชจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยโดยรวมอันประกอบด้วย ชนิดของปุ๋ยชีวภาพที่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของดิน ชนิดของพืชที่ปลูกโดยคุณสมบัติของดินทั้งลักษณะทางกายภาพและชีวภาพ ต่างมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ โดยจุลินทรีย์มักจะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยมากกว่าดินแน่นทึบ ขณะเดียวกันยังต้องคำนึงถึงปริมาณธาตุอาหารในดินบางชนิด กล่าวคือ ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง หรือมีอินทรียวัตถุสูง มักจะมีธาตุไนโตรเจนอยู่ในปริมาณสูงการจะใส่ปุ๋ยชีวภาพที่มีธาตุไนโตรเจนจึงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนั้นผู้ใช้ควรจะต้องปฏิบัติตามฉลาก หรือเอกสารแนะนำการใช้ปุ๋ยชีวภาพอย่างเคร่งครัด เนื่องจากปุ๋ยชีวภาพแต่ละ ชนิดจะมีคุณสมบัติเฉพาะที่แตกต่างกันไป
   
สำหรับปุ๋ยชีวภาพที่ได้มาตรฐานควรจะมีลักษณะตามที่กำหนดภายใต้ พ.ร.บ. ปุ๋ยซึ่งมีการแก้ไขกำกับดูแล โดยปุ๋ยชีวภาพที่วางขายนั้น จะต้องมีการจดทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร ต้องระบุว่าจุลินทรีย์ชื่ออะไร มีปริมาณเท่าไร เอาไปใช้กับพืช อะไรไว้ในฉลาก จุลินทรีย์นั้นสามารถสร้างสารอาหารชนิดใดให้กับพืช ดังนั้นเกษตรกรที่ต้องการซื้อปุ๋ยชีวภาพไปใช้จึงต้องพิจารณาว่าจะซื้อจุลินทรีย์ตัวไหนไปใช้กับพืชอะไรเป็นสำคัญ
       
ส่วนน้ำหมักชีวภาพที่เกษตรกรใช้กันอยู่นั้นไม่ถือว่า เป็นปุ๋ยชีวภาพ เนื่องจากน้ำหมัก ชีวภาพ ที่เกษตรกรทำเองหรือซื้อมาใช้ ไม่ว่าจะทำจากพืชหรือสัตว์แล้วนำมาหมักโดยมีการเติมจุลินทรีย์ลงไปบ้าง สิ่งที่เกิดขึ้นคือผลผลิตจากการย่อยสลายของซากพืชและซากสัตว์ ซึ่งจะมีสารบางตัวเกิดขึ้น โดยสารบางตัวนั้นแม้จะมีประโยชน์ต่อพืช แต่ก็ไม่ใช่ปุ๋ยชีวภาพ
   
...อย่าลืมว่าปุ๋ยชีวภาพเป็นสิ่งมีชีวิต เพราะฉะนั้นการซื้อไปใช้ต้องพึงระวังการจะได้ประโยชน์จากปุ๋ยเต็มที่มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับวิธีการใช้ของเกษตรกร รวม ไปถึงสภาพดินและสภาพแวดล้อมด้วย เนื่องจากสิ่งมีชีวิตสามารถตายได้ง่าย การที่มันจะมีประโยชน์สูงสุดคือต้องลงไป  ในดิน เจริญเติบโตขยายจำนวนและมีกิจกรรม ดังนั้นสมดุลทางธรรมชาติจะต้องเกิดขึ้นก่อนแล้วประสิทธิภาพก็จะดีขึ้นตามมา.

เพิ่มเติมข้อมูลได้ที่
farmdaily@dailynews.co.th









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2775 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©