|
ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่
|
|
|
|
|
|
ขณะนี้มี 510 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม
ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่
|
|
|
|
|
|
|
|
เข้าระบบ
|
|
|
|
|
|
ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง
|
|
|
|
|
|
|
|
product13
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product9
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product10
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product11
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product12
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| |
|
|
|
|
อินทรีย์ชีวภาพ
สมบัติทั่วไปของน้ำหมักชีวภาพ
3. สมบัติทั่วไปของน้ำหมักชีวภาพ
น้ำหมักชีวภาพ จะมีลักษณะเป็นสารละลายสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นของแอลกอฮอล์ผสมกลิ่นเปรี้ยวของกรดอินทรีย์เมื่อชิมดูจะมีรสเปรี้ยว
สมบัติทางเคมี
โดยทั่วๆ ไป มีดังนี้
- มีค่า pH(ความเป็นกรดเป็นด่าง)อยู่ในช่วง 3.5-5.6 ปฏิกิริยาเป็นกรดถึงกรดจัด ซึ่ง pH ที่เหมาะสมกับพืชควรอยู่ในช่วง 6–7
- ความเข้มข้นของสารละลายสูง โดยค่าของการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity , E.C) อยู่ระหว่าง 2-12 desimen/meter(ds/m) ซึ่งค่า E.C. ทีเหมาะสมกับพืชควรจะอยู่ต่ำกว่า 4 ds/m
- ความสมบูรณ์ของการหมัก พิจารณาจากค่า C/N ration มีค่าระหว่าง 1/2-70/1 ซึ่งถ้า C/N ratio สูง เมื่อนำไปฉีดพ่นบนต้นพืชอาจแสดงอาการใบเหลืองเนื่องจากขาดธาตุไนโตรเจนได้
ธาตุอาหาร
ธาตุอาหารหลัก (N,P,K)
- ไนโตรเจน (% Total N) เป็นองค์ประกอบของโปรตีน คลอโรฟิลล์ เอนไซม์และวิตามินหลายชนิด ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช ถ้าใช้พืชหมัก พบไนโตรเจน 0.03-1.66 % แต่ถ้าใช้ปลาและหอยหมักจะพบประมาณ 1.06-1.70 %
- ฟอสฟอรัส (% Total P 2O5 ) เป็นองค์ประกอบกรดนิวคลีอิกฟอสโฟลิปิดหรือ ATP และโคเอนไซม์หลายชนิด ช่วยเร่งการออกดอกและการสร้างเมล็ดในน้ำหมักจากพืชจะมีตั้งแต่ไม่พบเลยจนถึง 0.4 % แต่ในน้ำหมักจากปลาและหอยพบ 0.18-1.14 %
- โพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (% Water Soluble K2O) กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์หลายชนิดที่ทำหน้าที่ในการสร้างแป้ง น้ำตาล และโปรตีน ควบคุมการปิดเปิดของปากใบ ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบสู่ผล ในน้ำหมักพืชพบ 0.05-3.53 % และในน้ำหมักจากปลาและหอยพบ 1.0-2.39 %
ธาตุอาหารรอง (Ca, Mg, S)
- แคลเซียม เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ จำเป็นสำหรับกระบวนการแบ่งเซลล์และดพิ่มขนาดเซลล์กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์บางชนิด ในน้ำหมักจากพืชพบ 0.05-0.49 % และน้ำหมักจากปลาและหอยพบ 0.29 - 1.0%
- แมกนีเซียมและซัลเฟอร์ เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสง ในน้ำหมักจากพืชและปลาพบในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน คือ 0.1- 0.37 %
ธาตุอาหารเสริม
- เหล็ก ในน้ำหมักจากพืชพบ 30-350 ppm. และน้ำหมักจากปลาและหอยพบ 500-1,700 ppm.
- คลอไรด์ น้ำหมักจากพืชและปลามีปริมาณเกลือคลอไรด์สูง 2,000-11,000 ppm.
- ธาตุอาหารเสริมอื่นๆ ได้แก่ แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน และโมลิบดินัม น้ำหมักทั้งจากพืชและปลาพบในปริมาณน้อย มีค่าตั้งแต่ตรวจไม่พบเลยจนถึง 130 ppm
ปริมาณฮอร์โมนพืช
ผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณฮอร์โมนพืช 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มออกซิน (Auxin ; Indole acetic acid : IAA) มีสมบัติควบคุมการขยายตัวของเซลล์ กระตุ้นการแบ่งเซลล์ เร่งการเกิดราก การเจริญของราก ลำต้น ควบคุมการเจริญของใบ ส่งเสริมการออกดอก เปลี่ยนเพศดอก เพิ่มการติดผล ควบคุมการพัฒนาของผล ควบคุมการสุก แก่ และการร่วงหล่นของผล IAA ตรวจพบทั้งในน้ำหมักจากพืชและสัตว์ แต่พบในปริมาณน้อย มีค่าในช่วงตั้งแต่ น้อยมากจนไม่สามารถวัดได้ - 2.37 ppm
กลุ่มจิบเบอเรลลิน (Gibberellins ; Gibberellic acid : GA3) มีสมบัติกระตุ้นการยืดตัวของเซลล์พืชในทางยาว เร่งการเกิดดอก เปลี่ยนเพศดอก เพิ่มการติดผล ยืดช่อดอก กระตุ้นการงอกของเมล็ดและตา GA3 ตรวจพบในน้ำหมักจากพืชบางชนิดในปริมาณ 18 - 140 ppm. ไม่พบ GA3 ในน้ำหมักจากปลา
กลุ่มไซโทไคนิน (Cytokinins ; Zeatin และ Kinetin) กระตุ้นการแบ่งเซลล์การเจริญด้านลำต้นของพืช กระตุ้นการเจริญของตาข้างทำให้ตาข้างเจริญออกเป็นกิ่งได้ ช่วยเคลื่อนย้ายสารอาหารจากรากไปสู่ยอด รักษาระดับการสังเคราะห์โปรตีนให้นานขึ้น ป้องกันคลอโรฟิลล์ให้ถูกทำลายช้าลงทำให้ใบเขียวอยู่นานและร่วงหล่นช้าลง ช่วยทำให้ใบเลี้ยงคลี่ขยาย ช่วยให้เมล็ดงอกได้ในที่มืด Zeatin ตรวจพบในน้ำหมักจากพืชบางตัวอย่างในปริมาณน้อย 1-20 ppm. และพบในน้ำหมักจากปลาที่ใส่น้ำมะพร้าว 2-4 ppm. Kinetin ตรวจพบในน้ำหมักจากพืชบางชนิดในปริมาณ 1-14 ppm. แต่ไม่พบในน้ำหมักจากปลา
จากผลการวิเคราะห์ข้างต้น จะเห็นว่าคุณภาพและประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพ ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้ จุลินทรีย์ที่ทำให้ย่อยสลาย กระบวนการย่อยสลายที่สมบูรณ์ไม่เน่าเสีย ความเข้มข้นของสารละลาย และความเป็นกรดเป็นด่าง
คุณสมบัติของน้ำหมักชีวภาพในด้านการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
การหมักพืช หรือสัตว์ในกระบวนการหมักจะมีแก๊สมีเทน (CH4) เกิดขึ้น ซึ่งจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียจะเปลี่ยนแก๊สมีเทน (CH4) ให้กลายเป็นแอลกอฮอล์ และแอลกอฮอล์เมื่อถูกออกซิเจนในอากาศ ทำให้กลายเป็นเอสเตอร์ของแอลกอฮอล์จะมีกลิ่นหอมหรือเหม็นเฉพาะตัว ถ้ามีกลิ่นหอมก็เป็นสารดึงดูดแมลง ถ้ามีกลิ่นเหม็นก็จะเป็นสารไล่แมลง จากการศึกษาพบว่าสารกลุ่มแอลกอฮอล์ที่พบมากในสัตว์ ผลไม้และผักตามลำดับ โดยเฉพาะการหมักผักหรือผลไม้รวมกับสัตว์จะให้สารกลุ่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่สูง ส่วนกลุ่มเอสเตอร์และฟีนอลพบมากเมื่อใช้ปลาและหอยเป็นวัสดุหลักในการหมัก
จากการศึกษาน้ำหมักชีวภาพที่หมักจากผลไม้ ผักสด หรือจากพืชสมุนไพรจะมีสารพวก polyphenol ได้แก่ 1,2 Benzenediol หรือ 1,3 Benzenediol พวก dimethoxy phenol, benzoic acid derivatives สารเหล่านี้มีคุณสมบัติเป็นกรด เช่น 1,3 Benzenediol(resorcinol) ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและเยื่อบุจมูก ทางสัตวแพทย์เคยใช้เป็น antiseptic ดังนั้น สารพวกนี้อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังของแมลงได้ นอกจากนี้ยังพบสารพวก ethylester ของพวกกรดไขมัน เช่น ethyl palmitate, ethyl linoleate ในสารละลายบางตัวพบ alcohol ได้แก่ bezene ethanol นอกจากนี้น้ำสกัดจากหอย + ไข่ดาว พบสารพวก poly phenol และ ethyl ester ของกรดไขมันเช่นเดียวกัน Ethyl ester เกิดจาก alcohol ชนิด ethyl alcohol ที่สกัดจากการหมักย่อยสารของพืชแล้ว alcohol นั้น ก็ทำปฏิกิริยากับกรดไขมันที่มีในพืชที่เป็น ethyl ester คุณสมบัติของ ester พวกนี้มีคุณสมบัติ เป็นสารไล่แมลงและสารล่อแมลงได้
pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/170
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved. ติดประกาศ: 2010-05-10 (3313 ครั้ง) [ ย้อนกลับ ] |
|
|
|
|
|