มข.คิดค้นปุ๋ยดูดซับและละลายฟอตเฟส
ส่งเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตพืชหลาย ...
ศูนย์ข่าวขอนแก่น – นัก วิจัย มข.คิดค้นปุ๋ยชีวภาพกลุ่มดูดซับและละลายฟอสเฟต ส่งผลดีต่อการเจริญของ ถั่วลิสง อ้อย พริก มะละกอ ประสิทธิภาพใกล้เคียงปุ๋ยเคมี แต่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เล็งพัฒนางานวิจัยต่อเพื่อให้เป็นปุ๋ยชีวภาพ ที่มีคุณภาพสูง โดยเฉพาะกระบวนการผลิตและเก็บรักษาป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ที่อยู่ในปุ๋ยตาย
ผศ.ดร.โสภณ บุญลือ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยถึงผลการ ศึกษาวิจัยผลิตปุ๋ยชีวภาพจากจุลินทรีย์กลุ่มดูดซับและละลายฟอสเฟตว่าในการ ศึกษานักวิจัยได้ค้นพบคุณสมบัติพิเศษของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซ่า ซึ่งเป็นเชื้อราที่พบได้ตามดินทั่วไป ทำให้เกิดความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกับพืชอาศัย
โดยเชื้อรานี้ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช โดยเพิ่มการดูดซับธาตุอาหารในดินให้กับพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น มะละกอ อ้อย พริก และถั่วลิสง
ส่วนแบคทีเรียละลายฟอสเฟต (phosphate solubilizing bacteria, PSB) พบได้ทั่วไป ในดิน เช่นเดียวกัน แต่มีคุณสมบัติในการผลิตกรดอินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายฟอสเฟตที่ถูกตรึงอยู่ ในดิน ในรูปที่ไม่ละลายน้ำ ทำให้ฟอสฟอรัสละลายออกมาสู่ดิน จากนั้นเชื้อราไมคอร์ไรซาจึงช่วยดูดซับฟอสฟอรัสให้กับพืชได้มากขึ้น จึงทำให้พืชมีการเจริญเติบโตที่สูงและให้ผลิตดี
โดยการศึกษาวิจัยได้ศึกษาทดลองด้วยการนำเชื้อจุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ไปใช้ในการปลูกถั่วลิสงในสภาพแปลงปลูกทดลอง เสร็จสมบูรณ์แล้ว และพบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
ในกระบวนการทดลอง ผศ.ดร.โสภณ บุญลือ ระบุว่า โดยปกติแล้ว หากจะทำการทดลองในพืชชนิดใด นั้น ก็จะไปเก็บดินที่อยู่บริเวณรอบๆ รากของพืชนั้นมา จากนั้นก็จะนำมาแยกสปอร์ของเชื้ออาร์บัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซ่า ด้วยวิธีการร่อนแบบเปียก คือ ร่อนผ่านน้ำในตระแกรง ถึง 4 ชั้น รูของตะแกรง มีขนาดเล็กแตกต่างกันในระดับไมโครเมตร นำสปอร์ที่ได้มาตรวจสอบคุณลักษณะ ว่าใช่เชื้อราอาบัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซ่า หรือไม่ โดยส่องผ่านกล้องจุลทรรศ์ แบบสเตอร์ริโอไมรโคร สโคป
พร้อมทั้งคัดเลือกสปอร์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ และนำมาเพิ่มปริมาณโดยใช้พืชอาศัย เช่น ข้าวโพดที่มีระบบรากจำนวนมาก มีวงชีวิตสั้น ใช้เวลาประมาณ 3 เดือนก็สามารถเพิ่มปริมาณสปอร์ของเชื้อได้ดี
สำหรับแบคทีเรียละลายฟอสเฟต นำมาแยกโดยใช้อาหารจำเพาะที่ผสมไตรแคลเซียมฟอสเฟต แล้วเพาะเลี้ยงในอาหารเหลว และผสมกับพาหะซึ่งใช้ผงซีโอไลท์ทำให้แห้งแล้วนำไปใช้ทดลองต่อไป
เมื่อได้เชื้อจุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มในปริมาณที่เพียงพอแล้วแล้วก็จะนำไปทดสอบกับพืชเป้าหมาย ในขั้นแรกจะนำไปทดสอบในระดับกระถางก่อน โดยใช้ถั่วลิสงที่มีสายพันธุ์แตกต่างกัน มาทดสอบกับเชื้ออาบัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซา ร่วมกับแบคทีเรียละลายฟอสเฟต ในแต่ละชนิด ซึ่งพบว่าเชื้ออาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา ชนิดโกมัส คาร์ลัม เป็นเชื้อที่ดีที่สุด สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของถั่วลิสงได้ดีที่สุด ส่วนพันธุ์ของถั่วที่มีให้ผลการเจริญเติบโตที่ดีต่อเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซา ชนิด โกมัส คาร์ลัม นั้น คือพันธุ์ไทยนาน 9 ซึ่งตอนนี้ก็เป็นพันธุ์ถั่วที่เกษตรกรได้รับการส่งเสริมให้ปลูก โดยการคัดสายพันธุ์ถั่ว รวมถึงการทดลองในระดับแปลง ได้รับความร่วมมือจาก รศ.ดร.สนั่น จอกลอย อาจารย์ประจำภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผศ.ดร.โสภณกล่าวอีกว่า สิ่งที่ได้ค้นพบจากการศึกษาวิจัยใน ครั้งนี้พบว่า ต้นถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน 9 ที่ใส่เชื้อราอาบัสคูลาร์ ไมคลอไรซา ชนิด โกมัส คาร์ลัม ร่วมกับแบคทีเรียละลายฟอสเฟตในการปลูกถั่ว ทำให้ถั่วลิสงมีเมล็ดโต น้ำหนักดี เมื่อเปรียบเทียบกับ ถั่วที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยชนิดใดเลย และได้ผลดีเทียบเท่ากับถั่วลิสงที่ใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคลอร์ไรซายังเป็นกลุ่มจุลลินทรีย์ที่สามารถดูดซับ ฟอสฟอรัสให้กับพืชได้ดี ส่วนแบคทีเรียละลายฟอสเฟต ช่วยละลายฟอสเฟตในรูปที่ไม่ละลายน้ำ ให้เชื้อราไมคอร์ไรซานำไปสู่พืช
ดังนั้น การใช้เชื้อจุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มจึงเป็นการเสริมประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของถั่วลิสง เนื่องจากการทำงานของเชื้อร่วมกันนี้ และยังช่วยรักษาสภาพดินให้ร่วนซุยได้ดีอีกด้วย
สำหรับแนวทางในการพัฒนาขั้นต่อไปนั้น ผศ.ดร.โสภณกล่าวว่า ต้องการพัฒนาให้เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอไรซ่า และแบคทีเรียละลายฟอสเฟตให้เป็นปุ๋ยชีวภาพที่มีคุณภาพสูง โดยจะพัฒนาทั้งในเรื่องของกระบวนการผลิต โดยได้ดำเนินการทดลองการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยหมัก ที่ใส่เชื้อราอาร์ บัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซา และแบคทีเรียละลายฟอสเฟต ซึ่งกำลังทดลองใช้กับอ้อย นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาการเก็บรักษาปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยแบคทีเรียละลายฟอสเฟต
เพราะปัญหาที่พบในปุ๋ยชีวภาพในปัจจุบันนี้ คือ ปุ๋ยไม่มีคุณภาพเนื่องจากการเก็บรักษาที่ถูกต้อง ทำให้จุลินทรีย์ที่อยู่ในปุ๋ยตาย จึงเป็นปัญหาของปุ๋ยไม่ได้ผลตามโฆษณาหรือปุ๋ยปลอมนั่นเอง
ที่มา http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9530000122727
www.e-santoday.com/?p=1607
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.