-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 540 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ฮอร์โมน








คุณค่า 'ฮอร์โมนไข่' เร่งพืชออกดอก หนึ่งทางเลือกลดปัญหาใช้สารเคมี



เมื่อเอ่ยถึงคุณค่าของ “ไข่” นอกจากจะเป็นอาหารโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของมนุษย์แล้ว  ไข่ยังมีประโยชน์ต่อการปลูกพืชอีกด้วย  โดยเฉพาะการผลิตพืชผักและไม้ผลนอกฤดู  ซึ่งเกษตรกรสามารถใช้ไข่เป็นตัวช่วยในระบบการผลิตได้ โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5(สวพ.5)กรมวิชาการเกษตรได้พัฒนาและคิดค้นสูตร “ฮอร์โมนไข่” ขึ้นมาเพื่อใช้เร่งการออกดอกของพืชนับเป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรที่สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้ค่อนข้างมาก  อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาสารเคมีตกค้างในสินค้าเกษตรด้านพืชและไม่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมด้วย




นายอัครินทร์ ท้วมขำ  นักวิชาการเกษตร 8 ว.  สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จ.ชัยนาท กล่าวว่า  การปลูกพืชแล้วพืชไม่ออกดอกหรือออกดอกน้อยถือเป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกร  เพราะถ้าพืชออกดอกน้อย  ผลผลิตก็จะน้อยตามไปด้วย  โดยเฉพาะช่วงต้นฤดูฝน  ไม้ผลส่วนใหญ่มักแตกใบอ่อนแต่ไม่ค่อยจะติดดอกออกผลให้เกษตรกร 

ทั้งนี้เนื่องจากน้ำฝนนำธาตุไนโตรเจนในรูปของกรดไนตริก กรดไนไตร อันเกิดจากฟ้าแลบบนท้องฟ้ามาสู่พื้นโลกอย่างน้อย 10 ล้านตันต่อปี  และน้ำฝนยังทำให้ดินชุ่มชื้นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ช่วยตรึงก๊าชไนโตรเจนเพิ่มเติมให้แก่ดินอีกประมาณ 90 ล้านตันต่อปี 

นอกจากนี้ท้องฟ้าในช่วงฤดูฝนจะมีแสงสว่างน้อย  ทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงของพืชลดลง  ยิ่งทำให้คาร์โบไฮเดรตที่สะสมอยู่ในเนื้อเยื่อของพืชมีปริมาณลดลง  เมื่อเทียบกับธาตุไนโตรเจนซึ่งรับเพิ่มเติมเข้ามาเรื่อยๆ  อัตราระหว่างคาร์โบไฮเดรต/ไนโตรเจนหรือซีเอ็นเรโช(C/N Ratio)มีค่าต่ำ หรือแคบ  เนื้อเยื่อพืชก็จะพัฒนาไปเป็นใบและก้านกิ่ง  ส่งผลให้ต้นไม้แตกใบอ่อนค่อนข้างมากในฤดูฝน

ปัจจุบันผู้ผลิตผลไม้นอกฤดู เช่น  ทุเรียน  และมะม่วง  นิยมใช้สารเคมี คือ  สารพาโคลบริวทราโซล  ช่วยเร่งการออกดอกและติดผลของพืช  บังคับให้มะม่วงหรือทุเรียนออกดอกนอกฤดูกาล นอกจากนั้นชาวสวนลำไยยังมีการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต  ในการกระตุ้นและเร่งการออกดอกด้วย 

มาถึงตอนนี้เกษตรกรไม่ต้องราดสารเร่งให้ต้นมะม่วงหรือทุเรียนก็ออกดอกได้โดยหันมาใช้  “ฮอร์โมนไข่”  เร่งการออกดอกแทน


สูตรฮอร์โมนไข่เร่งการออกดอกของพืชมีดังนี้ คือ

1.ไข่ไก่สดทั้งเปลือกหรือไข่เป็ดไข่นกกระทาหรือไข่หอยเชอรี่จำนวน 5 กิโลกรัม
2.กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 5 กิโลกรัม
3.ลูกแป้งข้าวหมาก 1 ก้อน
4.นมเปรี้ยว 1 ขวด(กล่อง)หรือใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ผลิตจากเปลือกสับปะรด 200 ซีซี .

การทำฮอร์โมนไข่ทำได้ง่ายๆ โดยนำไข่ไก่ทั้งฟองมาปั่นให้ละเอียดด้วยเครื่องปั่น  ถ้าไม่มีเครื่องปั่นให้ตอกไข่ขาวไข่แดงออกจากเปลือก  ใส่ภาชนะแล้วใช้ไม้ตีไข่ขาวไข่แดงให้เข้ากัน  นำเปลือกไข่ใส่ครกตำให้ละเอียด  จากนั้นตักใส่ลงไปในภาชนะที่มีไข่ขาวไข่แดงปนกันอยู่เพื่อเพิ่มธาตุแคลเซียม(Ca)จากเปลือกไข่  แล้วนำกากน้ำตาลมาผสมนำผงแป้งข้าวหมากโปรยลงไป และใช้นมเปรี้ยวหรือหัวเชื้อจุลินทรีย์ หรือกระเพาะหมู  ซึ่งจะมีจุลินทรีย์มหัศจรรย์ที่ชื่อว่า  Lactobacillussp.ผสมใส่ลงไป  แล้วคนคลุกให้เข้ากัน  นำไปบรรจุในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด เช่น  ถังพลาสติกโดยให้มีช่องว่างอากาศประมาณ 10% ของภาชนะ  เพื่อให้จุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจนเจริญเติบโตไปด้วย  ทิ้งไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี  อย่าให้ถูกแสงแดดประมาณ 7 วัน  ก็สามารถนำไปใช้ได้ซึ่งมีต้นทุนการผลิตเพียงลิตรละ 25-30 บาท เท่านั้น

สำหรับการใช้ฮอร์โมนไข่เร่งการออกดอกของพืช  ให้ใช้ในอัตราส่วน 2-3 ช้อนกาแฟ(5-10 ซีซี)/น้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น 7-10 วัน/ครั้ง

กรณีที่ใช้ในไม้ผลไม่ว่าจะเป็นการผลิตในฤดูกาลหรือนอกฤดูกาล  เกษตรกรต้องบำรุงต้นพืชให้สมบูรณ์ที่สุดก่อน  แล้วค่อยเร่งการออกดอกด้วยฮอร์โมนไข่  โดยเริ่มฉีดพ่นตั้งแต่ติดใบอ่อนรุ่นที่ 3

ประมาณ 30-45 วัน ไม้ผลจะติดดอก 50-80% ของทรงพุ่ม  ต้องหยุดฉีดพ่นฮอร์โมนไข่ทันที
ถ้าพ่นต่อไปจะทำให้ดอกร่วง  เนื่องจากฮอร์โมนไข่สูตรนี้มีความเข้มข้นและความเค็มสูง 

หากต้องการให้ดอกออกนอกฤดู  ต้องให้มีช่วงฝนทิ้งช่วงหรือทิ้งช่วงการให้น้ำ 14-21 วัน/ครั้ง แล้วฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนไข่ 7-10 วัน/ครั้ง  ไม้ผลก็จะออกดอก  จากนั้นฉีดพ่นด้วยน้ำหมักชีวภาพสูตรฮอร์โมนผลไม้ต่อไปอีก 7-10 วัน/ครั้ง  เพื่อบำรุงผลผลิตให้สมบูรณ์

ส่วนการใช้ในข้าว พืชไร่ พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ  ควรฉีดพ่นตั้งแต่พืชตั้งตัวได้  จนถึงออกดอกเกิน 50% จึงหยุดพ่น  และที่สำคัญไม่ควรใช้ฮอร์โมนไข่เร่งดอกในพืชผักกินใบ เช่น คะน้า  ผักกาดขาว  ผักกาดหอม  เพราะพืชผักเหล่านี้จะออกดอกทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ และขายไม่ได้ราคา 

สุดท้ายคุณอัครินทร์ยังการันตีว่าฮอร์โมนไข่สูตรนี้ไม่เชื่ออย่าลบหลู่เชียวนะ





หากเกษตรกรสนใจสูตรและการใช้ฮอร์โมนไข่เร่งการออกดอกของพืช  สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จ.ชัยนาท  โทรศัพท์ 0-5641-3044,  0-5641,5458  ทุกวันในเวลาราชการ.


ที่มา   หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


http://www.agric-prod.mju.ac.th/web-veg/article/new124.htm
www.agric-prod.mju.ac.th/web-veg/article/new124.htm -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (5589 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©