-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 555 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ฮอร์โมน








ที่มา คัดลอกจาก [url]http://plantmedia.weloveshopping.com/shop/show_article.php?shopid=145117&qid=51978[/url]


อิทธิพลและประโยชน์ของฮอร์โมนไซโตไคนินในการเจริญเติบโตของพืช


บทความ:   
อิทธิพล ของไซโทไคนินที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืชที่สำคัญมีดังต่อไปนี้[/color]
1. ไซโทไคนินมีอิทธิพลต่อการแบ่งเซลล์ของพืช ในวงจรการแบ่งเซลล์ระยะ G1 เป็นระยะ การเตรียมการสร้าง DNA และต่อมาก็เป็นระยะการสร้าง DNA ในระยะ S  (S-phase หรือ DNA synthesis phase) จากระยะ S ก็เข้าสู่ระยะ G2 และ เข้าสู่ระยะไมโทซิส ซึ่งในช่วงนี้จะใช้เวลาสั้นลง ทำให้วงจรการแบ่งเซลล์เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีผลทำให้ปริมาณของเซลล์เพิ่มอย่างรวดเร็ว

2. สัดส่วนของไซโทไคนินกับออกซินมีอิทธิพลต่อการ พัฒนาของเซลล์ในอาหารเลี้ยงเชื้อ (auxin/cytokinin ratio regulates morphorgenesis in cultured tissue) การที่เซลล์พืช ในอาหารเลี้ยงเชื้อพัฒนาไปเป็นแคลลัส (callus) และ จากแคลลัสพัฒนาไปเป็นส่วนของรากและยอด  ถ้าหากสัดส่วนของออกซินสูงกว่าไซโทไคนินจะมีผลทำให้แคลลัสพัฒนาการสร้างราก และในทางตรงกันข้าม  ถ้าหากสัดส่วนของไซโทไคนินสูงกว่าออกซิน ก็จะมีผลทำให้แคลลัสสร้างส่วน ของยอดได้ดีกว่าการสร้างราก

3. ไซโทไคนินมีอิทธิพลต่อการชะลอการแก่ชราและส่งเสริมการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารในพืช (cytokinin delay senescences and stimulate nutrient mobilization)   ไซโทไคนินจะ ช่วยชะลอการสลายตัวของคลอโรฟิลล์, RNA, ไลปิด, และโปรตีน ให้เป็นไปอย่างช้า ๆ และนอกเหนือจากนั้น ไซโทไคนินยังส่งเสริมให้มีการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารไปยังบริเวณที่มีไซโทไคนินอยู่ และกระบวนการเมแทบอลิซึม อาจจะถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนพืชซึ่งเป็นสาเหตุให้มีการเคลื่อนย้ายสารอาหารไปยังบริเวณที่มีสารฮอร์โมนไซโทไคนินอยู่



ประโยชน์ของไซโทไคนินที่ใช้ในการผลิตพืช
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการนำไซโทไคนิน มาใช้ประโยชน์ในการเกษตรยังไม่กว้างขวางนัก สารไซโทไคนินที่นำมาใช้ส่วนใหญ่เป็นสารสังเคราะห์ มีราคาค่อนข้างแพง ประโยชน์ที่นำมาใช้มีดังนี้ คือ

1. ใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อใน สูตรอาหารที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมักผสมไซโทไคนินลงไปด้วยซึ่งอาจเป็น BA ไคเนติน หรือซีเอติน นอกจากนี้ยังใช้น้ำมะพร้าวผสมในอาหารบางสูตร ในน้ำมะพร้าวมีสาร diphenylurea และ ribofuranosyl zeatin ซึ่งเป็นไซโทไคนิน และยังมีออกซิน จิบเบอเรลลินผสมอยู่ในน้ำมะพร้าวด้วย ในสูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ นอกจากผสมไซโทไคนิน แล้วต้องผสมออกซินลงไปด้วย สารทั้งสองกลุ่มนี้มีผลส่งเสริมซึ่งกันและกันในเรื่องการแบ่งเซลล์ บทบาทของไซโทไคนิน ต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้แก่ ช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลล์ ส่งเสริมให้แคลลัสพัฒนา เป็นต้น ช่วยการเกิดหน่อ การเจริญ เติบโตของใบ และยับยั้งการเจริญเติบโตของราก

2. กระตุ้นการแตกตาข้าง พืชในธรรมชาติโดย ทั่วไปจะไม่แตกตาข้างหรือแตกตาข้างน้อยถ้าไม่ตัดยอด เพราะตาข้างของพืชถูกข่มโดยอิทธิพลของตายอด เราสามารถกระตุ้นให้ตาข้างเจริญได้โดยใช้ไซโทไคนิน ทำให้ควบคุมทรงพุ่มของต้นพืชให้ได้รูปทรงตามต้องการได้ โดยใช้ไซโทไคนินทาที่ตาข้างที่ต้องการให้เจริญเป็นกิ่ง เกษตรกรนิยมใช้กับไม้ประดับและไม้กระถาง ซึ่งต้องการทรงพุ่มสวยงาม ในการขยายพันธุ์พืชบางชนิด ใช้ไซโทไคนินทาที่ตาเพื่อกระตุ้นให้เกิดเป็นกิ่ง แล้วตอนหรือปักชำกิ่งที่เกิดใหม่ นอกจากนั้นยังใช้ไซโทไคนินทาตาที่ติดบนต้นตอ เพื่อช่วยให้ตาเจริญเป็นกิ่งได้เร็วขึ้น โดยใช้ไซโทไคนินที่ตาซึ่งติดบนต้นตอดีแล้ว ไซโทไคนินจะช่วยกระตุ้นให้ตาเหล่านี้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะเจริญได้ สารที่นิยมใช้กระตุ้นการแตกตา คือ BA โดยผสมลาโนลิน เพื่อให้อยู่ในรูปครีม ซึ่งจะใช้ได้สะดวก จากการทดลองใช้ BA ความเข้มข้น 2,000 ถึง 4,000 ppm ทาที่ตากุหลาบที่ติดบนต้นตอ พบว่า BA สามารถ กระตุ้นให้ตาเจริญได้เร็วและสม่ำเสมอขึ้น และการใช้ BA ความเข้มข้น 4,000 ถึง 8,000 ppm ทาที่ตามะม่วงที่ติดบนต้นตอมะม่วงแก้ว สามารถกระตุ้นให้ตาเจริญได้เร็วขึ้นเช่นกัน นอกจากการใช้สาร BA ทาที่ตาพืช เพื่อกระตุ้นการแตกตาเฉพาะจุดแล้ว ยังมีการใช้สารไซโทไคนินฉีดพ่นทางใบให้แก่พืชบางชนิด เช่น แอปเปิล เพื่อกระตุ้นการแตกกิ่งแขนง ทำให้ทรงพุ่มของต้นดีขึ้นและเพิ่มผลผลิตด้วย เพราะมีกิ่งแขนงมากขึ้น สามารถออกดอกติดผลได้มากขึ้น การใช้ไซโทไคนินพ่นทางใบมักผสมจิบเบอเรลลินลงไปด้วย เพื่อช่วยให้ประสิทธิภาพดีขึ้น ในปัจจุบันมีการใช้สารผสมระหว่างจิบเบอเรลลินและไซโทไคนิน ในรูปสารเคมีเกษตร เพื่อใช้กระตุ้นการแตกกิ่งแขนงของพืช

3. ยืดอายุการปักแจกันไม้ตัดดอก ไซโทไคนินมีคุณสมบัติชะลอการแก่ชราของพืช จึงมีผลช่วยยืดอายุการปักแจกันไม้ตัดดอกได้ด้วย ดอกไม้สดที่ตัดมา จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น มีการใช้อาหารสะสมเพื่อการหายใจ การสลายตัวของโปรตีนและ RNA การยืดอายุปักแจกัน ของไม้ตัดดอกที่ปักในแจกัน โดยใช้ไซโทไคนินผสมในสารละลายที่ใช้ปักแจกัน เพื่อช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงของไม้ตัดดอกให้ช้าลง นอกจากนี้ไซโทไคนินยังช่วยยับยั้งการสร้างและการทำงานของเอทิลีน ซึ่งเป็นสารที่สร้างขึ้นในพืชและกระตุ้นการเสื่อมชราของพืชโดยตรง ดังนั้นสารละลายที่ใช้ปักแจกันไม้ตัดดอก จึงมักมีไซโทไคนินเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย อย่างไรก็ตามไซโทไคนินเพียงอย่างเดียวไม่อาจช่วยยืดอายุดอกไม้ได้นาน เพราะยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมของดอกไม้ เช่น อาหารสะสมภายในก้าน การอุดตันของท่อลำเลียงน้ำ และจุลินทรีย์ในสารละลาย ดังนั้นในสารละลายที่ใช้ปักแจกัน จึงผสมสารอีกหลายอย่าง เช่น น้ำตาล ใช้เป็นอาหารสำหรับดอกไม้ และเติมสารช่วยลดการเจริญของจุลินทรีย์ ลดการอุดตันของท่อลำเลียงน้ำ และยับยั้งการทำงานของเอทิลีน เป็นต้น



ความสัมพันธ์ระหว่างออกซินกับไซโทไคนินที่มีต่อพืช
ในขณะที่พืช เจริญเติบโต จะมีการเจริญทั้งยอดและราก ปริมาณของออกซินและไซโทไคนินจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น ๆ ลง ๆ จากการศึกษาพบว่า ขณะที่พืชเกิดราก จากปริมาณออกซินจะสูงแต่ปริมาณไซโทไคนินจะต่ำ และขณะที่พืชเจริญทางยอด ปริมาณออกซินจะต่ำและไซโทไคนินจะสูง จึงสรุปได้ว่า อัตราส่วนของปริมาณออกซินและไซโทไคนินที่เหมาะสม จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของพืช สำหรับในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช จะมีผลให้การเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อดีกว่าการใช้ออกซินหรือไซโทไคนินเพียง อย่างเดียว บทบาทของสารสองชนิดที่มีผลร่วมกันนี้ เรียกว่า Synergistic effect การเกิดเป็นต้น ราก หรือแคลลัสของพืชแต่ละชนิด ขึ้นกับความสมดุลของปริมาณออกซิน และไซโทไคนินในอาหารที่มีต่อเนื้อเยื่อ ถ้าอัตราส่วนของออกซินต่อไซโทไคนินเหมาะสมเนื้อเยื่อจะเจริญเป็นต้นและราก ที่สมบูรณ์ แต่ถ้าอัตราส่วนออกซินต่อไซโทไคนินไม่เหมาะสมเนื้อเยื่อจะเจริญไปเป็นยอด หรือราก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของออกซินและไซโทไคนินว่าสารกลุ่มใดมีมากกว่ากัน หากมีปริมาณของออกซินมากมีไซโทไคนินน้อย ทำให้อัตราส่วนออกซินต่อไซโทไคนินสูงกว่าอัตราส่วนสมดุล เนื้อเยื่อจะเจริญเป็นก้อนแคลลัสและราก ถ้ามีปริมาณออกซินน้อย แต่มีไซโทไคนินมาก ทำให้อัตราส่วนออกซินต่อไซโทไคนินต่ำกว่าอัตราส่วนสมดุล จะทำให้เนื้อเยื่อเจริญเป็นยอดมาก จึงเห็นได้ว่าความสมดุลของออกซินและไซโทไคนินมีความสำคัญมาก ในการควบคุมการเกิดยอดและรากของเนื้อเยื่อที่เลี้ยง









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (4044 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©