หน้า: 1/2
สารออกซิน
สารออกซินที่สำคัญบางชนิด
สารออกซินที่พบในพืช
หลังจาก F.Wentได้รายงานการค้นพบสารออกซินที่ยอดโคลีออพไทด์ของข้าวโอ๊ต เมื่อปี ค.ศ.1926 จนกระทั่งปัจจุบันมีรายงานการค้นพบสารออกซินในพืชเพิ่มขึ้นอีก 3 ชนิดรวมกับ IAA เป็น 4 ชนิด ดังนี้
1)PAA (Phenylacetic Acid)พบได้ในพืชทั่วๆ ไป และพบ PAA ในปริมาณที่มากกว่า IAA แต่ผลของ PAA ต่อพืชมีน้อยกว่า IAA(Wightman and Lighty, 1982; Leuba and LeToumeau, 1990)
2)4-Chloro-IAA (4-Chloroindole-3-Acetic Acid)พบโดยทั่วไปในเมล็ดอ่อนของพืชตระกูลถั่วหลายชนิด (Engvid, 1986)
3)IBA(Indole-3-Butyric Acid)ในอดีต IBA เป็นสารสังเคราะห์เท่านั้น แต่ปีค.ศ.1989 Epstein และคณะได้รายงานการค้นพบสาร IBA ในพืชพวกใบเลี้ยงเดี่ยวหลายชนิด เช่น ในเมล็ดและใบของข้าวโพด (Epsteinetal., 1989)
4)IAA(Indole-3-Acetic Acid)ได้รายงานการค้นพบครั้งแรก โดย F.Went เมื่อปี ค.ศ.1926 ในยอดของโคลีออพไทด์ของข้าวโอ๊ต
ออกซินสังเคราะห์
ออกซินที่เป็นสารสังเคราะห์ที่มี อยู่ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้
4.8 ..... IBA(Indole-3-Butyric Acid)
4.9 ..... 2,4-D(2,4-dichlorophenoxyacetic acid)
4.10 .... -NAA(-napthalene acetic acid)
4.11 ... dicamba(2-methoxy-3,6-dichrobenzoic acid)
4.12 ... todon หรือ picloram(4-amino-3, 5, 6-trichloropicolinic acid)
4.13 ... 2,4,5-T(2,4,5-trichlorophenoxyacetic acid)
4.14 ... (2,3,6-trichlorobenzoic acid)
4.15 ... N,N-dimethylethylthiocarbamate
อิทธิพลของสารออกซิน
อิทธิพลของสารออกซินที่มีผลต่อการ เจริญเติบโตของพืช ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและลักษณะต่างๆ โดยออกซินมีอิทธิพล เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการยืดตัวของเซลล์ การแบ่งเซลล์ การยับยั้งการเกิดตาข้าง การพัฒนาของผล ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ออกซินมีอิทธิพลต่อการยืดตัวของเซลล์ของโคลีออพไทลและลำต้น (Auxin induce cell elongation in stem and coleoptile)ความเข้มข้นที่เหมาะสมในการส่งเสริมอยู่ระหว่าง 10-5 ถึง 10-6 โมล แต่ถ้าหากความเข้มข้นสูงกว่านี้ก็จะยับยั้งการเจริญเติบโต
2. ออกซินมีอิทธิพลต่อการส่ง เสริมการขยายขนาดของเซลล์วอลล์ (Auxin increases the extensibility of the cell wall)โดยออกซินส่งเสริม การขยายขนาดของเซลล์วอลล์ของโคลีออพไทล์ และลำต้นของต้นอ่อนที่กำลัง พัฒนา การขยายขนาดเกิดจากบริเวณเซลล์วอลล์ได้รับไฮโดรเจนไอออน (H+)จากไซโทโซลโดยกระบวนการปั๊มไฮโดรเจนไอออนร่วมกับเอนไซม์ ATPase โดยใช้พลังงาน ATP ทำให้ความเป็นกรด-ด่างของเซลล์วอลล์ลดลงเป็น 5.5 เป็นสาเหตุทำให้โพลีเมอร์ของเซลล์วอลล์ (Cell Wall Polymer)เกาะกันอย่างหลวมๆ จึงทำให้เซลล์วอลล์ขยายขนาดได้ง่ายและเป็นไปอย่างรวดเร็ว
3. ออกซินส่งเสริม การเจริญเติบโตของรากและใบ(Auxin regulate growth in root and leaves)โดยปกติเซลล์วอลล์จะรักษาความเป็นกรดเป็นด่างไว้ที่ 5.5 ซึ่งมีผลทำให้เซลล์ของรากและใบขยายขนาด และมีผลต่อการเจริญเติบโตของรากและใบ โดยออกซินที่สร้างที่บริเวณ ยอดจะขนส่งไปยังราก และที่บริเวณที่รากเองก็มีการสร้างออกซินเช่นเดียวกัน แต่ในปริมาณความเข้มข้นน้อยกว่าที่ยอด จึงมีผลส่งเสริมการเจริญเติบโต โดยปกติความเข้มข้นของออกซินที่บริเวณ รากมีประมาณ 10-10 ถึง 10-9 โมล ซึ่งจะมีผลส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก แต่ถ้าหากความเข้มข้นสูงถึง 10-6 โมล จะมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของราก ส่วนใบอ่อนของพืชมีปริมาณของออกซินอยู่สูง จึงทำให้มีการขยายขนาดของเส้นใบและพื้นที่ใบ โดยกระบวนการส่งเสริมการเจริญเติบโตดังกล่าวอาจเนื่องมาจากการปั๊มไฮโดรเจน ไอออนเข้าสู่บริเวณเซลล์วอลล์
4. ออกซินกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตไปในทิศทางต่างๆ (Tropism are growth response to direction stimuli)โดยปกติรากแก้วจะเจริญเติบโตไปในทิศทางตามแรงดึงดูดของโลก แต่การเจริญเติบโตของลำต้นเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม การเจริญเติบโตของอวัยวะของพืชไปในทิศทางต่างกัน ซึ่งมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนด เรียกว่าทรอปิซึม เรสปอนส์ (Tropism Responses)ถ้าหากการเจริญเติบโตที่ตอบสนองต่อทิศทางของแสงเรียกว่า โฟโตทรอปิซึม(Phototropism)และหากการเจริญเติบโตตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของโลก เรียกว่า กราวิทรอปิซึม (Gravitropism) เมื่อยอดโคลีออพไทล์หรือใบเบนเข้าหาแสง เรียกว่า โปสสิทีฟ โฟโตทรอปิซึม (Positive Phototropism)และการเจริญเติบโตเบนหนีแสง เรียกว่า เนกกะทีฟ โฟโตทรอปิซึม (Negative Phototropism)และการเจริญเติบโตของรากไปตามแรงโน้มถ่วงของโลก เรียกว่า โปสสิทีฟ กราวิทรอปิซึม(Positive Gravitropism)ส่วนการเจริญเติบโตของยอดที่หนี แรงโน้มถ่วงของโลก เรียกว่า เนกกะทีฟ กราวิทรอปิซึม (Negative Gravitropism)สิ่งที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตไปในทิศทางต่างๆ นั้นเกิดจากกลไกการทำงานของออกซินเป็นสิ่งเร้า เช่น การเบนเข้าหาแสงนั้นเกิดจากการกระจายของออกซินไปตามด้าน ข้างของยอดไม่เท่ากัน โดยความเข้มข้นของ ออกซินด้านที่ไม่ ได้รับแสงมีมากกว่าด้านที่ได้รับแสง ทำให้เซลล์บริเวณด้านที่ไม่ได้รับแสงเจริญ เติบโตมากกว่า จึงทำให้ยอดเบนเข้าหาแสง (รูปที่ 5.1)ส่วนการเบนของรากเกิดจากออกซินที่สังเคราะห์ที่บริเวณยอด ถูกส่งไปยังรากในลักษณะที่เรียก อะโครเพทอล (Acropetal) โดยผ่านไปตามท่ออาหาร และ ในกรณีที่รากเจริญเติบโตไปตาม แรงโน้มถ่วงของโลก เกิดจากสตาโทลิท (Statoliths)ที่บริเวณหมวกรากเคลื่อนที่ไป อยู่ปลายสุดของหมวกราก ทำให้ IAA ที่สังเคราะห์ที่ปลายรากเคลื่อนย้าย ไปยังโคนรากในลักษณะที่เรียกว่า เบสิเพทอล (Basipetal)โดยผ่านทางเนื้อเยื่อคอร์เทกซ์ (Cortex)ทำให้รากเจริญเติบโตเป็นแนวดิ่งลงไปในดิน ในกรณีที่รากเจริญไปในแนวนอน
เนื่องจากสตาโทลิ ทไปกระจายอยู่ด้านข้างของหมวกราก ทำให้การเคลื่อนย้ายของออกซินและแคลเซียมไอออน ผ่านไปทางคอร์เทกซ์ไม่เท่ากัน โดยออกซินผ่านไปทางด้านล่างมากกว่าด้านบน ทำให้ความเข้มข้นของออกซินด้าน ล่างมีมากกว่า จึงมีผลยับยั้งการเจริญเติบโต ส่วนด้านบนซึ่งเป็นด้านตรงข้ามความเข้มข้นของออกซินเหมาะสมในการเจริญเติบโตของมีการ เจริญเติบโตมากกว่า จึงทำให้รากเจริญเติบโตไปในแนวนอนได้
5. ออกซินที่บริเวณ ยอดมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้าง (Auxin from the apical bud inhibits the growth of lateral bud)ในพืชชั้นสูงโดยทั่วไปการเจริญของยอด (Apical bud)มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของตา (Lateral Bud)เรียกลักษณะเช่นนี้ว่าเอปิคัลดอมิแนนซ์ (Apical Dominance)เราสามารถจะสังเกตเห็นได้จากเมื่อเด็ดยอดแล้วทำให้พืชแตกตาข้าง เนื่องจากที่บริเวณ ตายอดมีปริมาณของออกซินมากกว่าที่บริเวณ ตายอดมีผลดึงดูดเอาธาตุอาหารและฮอร์โมนไซโทไคนินมายังบริเวณยอด ทำให้ตายอดมีการแบ่งเซลล์และเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และปริมาณสารยับยั้ง การเจริญเติบโต โดยเฉพาะสาร ABA ในบริเวณตาข้างมีมากกว่าที่ตายอด ถ้าเด็ดยอดออกพบ ว่าปริมาณของ ABAที่บริเวณตาข้างลดลง
6. ออกซินส่งเสริม การเกิดรากแขนง (Auxin promotes the formation of lateral roots)รากแขนงจะเกิดบริเวณที่เหนือขนราก (Root Hair) โดยมีต้นกำเนิดมาจากเซลล์ในชั้นเพริไซเคิล (Pericycle)เจริญเติบโตผ่านชั้นคอร์เทกซ์และอีพีสเดอมิส โดยออกซินเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดการแบ่ง เซลล์ในชั้นเพริไซเคิล
7. ออกซินส่งเสริม การพัฒนาของผล(Auxin regulates fruit develo
ment)ออกซินจะสังเคราะห์ที่พอลเลน(Pollen)เอนโดสเปิร์ม(Endosperm) และในเอมบริโอ(Embryo)ของเมล็ดที่กำลังพัฒนา การพัฒนาของผลจะเริ่มต้นจากการถ่ายละอองเกสร(Pollination)เมื่อสิ้นสุดการถ่ายละอองเกสรก็เริ่มต้นการเจริญเติบโตของรังไข่(Ovule)เป็นจุดเริ่มต้นของการติดผล(Fruit Set)และการพัฒนาของผลก็ขึ้นอยู่กับออกซินที่ผลิต จากเอนโดสเปิร์ม และต่อจากนั้นออกซินที่ผลิตในเอมบริโอจะเป็นแหล่งออกซินที่ช่วยในการส่งเสริมการพัฒนา ของผล
2.ออกซิน (Auxins)
ออกซิน หมายถึง กลุ่มของสารที่สามารถชักนำให้เกิดการยืดตัวของลำต้นได้ สารเหล่านี้อาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรืออาจเกิดจากการสังเคราะห์ก็ได้ นอกจากนี้แล้วสารที่เป็นออกซินจะต้องมีคุณสมบัติทางสรีรวิทยาเหมือนกับของ indole-3-acetic acid (IAA) ออกซินเป็นสารที่มีคุณสมบัติทางเคมีเป็นกรด โครงสร้างมีนิวเคลียสเป็น unsaturated ring สารเคมีบางชนิดสามารถต่อต้านหรือยับยั้งการทำงานของออกซินได้ ซึ่งเรียกสารเหล่านี้ว่าสารต่อต้านออกซิน (antiauxin)
***ออกซินมีทั้งที่พืชสร้างขึ้นได้เองตามธรรมชาติและสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชในหลายด้านด้วยกัน เช่น ควบคุมการขยายขนาดของเซลล์ การยืดตัวของเซลล์ กระตุ้นการแบ่งเซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ระหว่างท่อน้ำและท่ออาหาร กระตุ้นการเกิดราก การเจริญของราก การเจริญในส่วนต่างๆ ของพืช มีอิทธิพลต่อการเจริญของตาข้าง ควบคุมการเจริญและชะลอการหลุดร่วงของใบ ส่งเสริมการออกดอก เปลี่ยนเพศดอก เพิ่มการติดผล ควบคุมการพัฒนาของผล ควบคุมการสุก แก่ และการ่วงหล่นของผล จะเห็นได้ว่ากระบวนการต่างๆ ในพืชนั้นออกซินมีส่วนในการควบคุมกระบวนการนั้น ๆ ด้วยออกซินในปริมาณเพียงเล็กน้อยจะช่วยในการเจริญเติบโต แต่ถ้าความเข้มข้นสูงเกินไปจะยับยั้งการเจริญเติบโต การทำงานของออกซินจะขึ้นกับสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น แสง อุณหภูมิ แรงดึงดูดของโลก และอื่นๆ
*** สำหรับการเคลื่อนย้ายของออกซินในหลักการแล้วจะเคลื่อนย้ายในทิศทางจากส่วนยอดลงสู่ส่วนโคน สำหรับแหล่งสร้างออกซินธรรมชาติในพืชจะอยู่ในเนื้อเยื่อเจริญ เช่น บริเวณตายอด ยอดอ่อน ปลายราก ตา ผลอ่อน แคมเบียม รังไข่ ปมราก เป็นต้น ออกซินจะผลิตขึ้นได้มากในส่วนปลายก้านหรือส่วนที่กำลังเจริญ เมื่อผลิตได้แล้วก็จะเคลื่อนย้ายผ่านทางท่อน้ำและท่ออาหารทำให้เกิดมีการเจริญเติบโตทางส่วนยอดของพืช ตาข้างจะไม่แตกออกมาเพราะว่าปริมาณออกซินที่อยู่เหนือตาข้างจะยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้าง แต่ถ้ายับยั้งออกซินที่เคลื่อนที่ลงมาจากยอดได้หรือตัดยอดออกก็จะทำให้ออกซินที่อยู่เหนือตาข้างมีปริมาณเพียงเล็กน้อย และจะทำให้ตาข้างเจริญเติบโตขึ้นได้ ปรากฏการณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลที่ว่าทำไมเมื่อเอายอดพืชออกจึงมีกิ่งข้างแตกขึ้น
ประเภทของออกซิน
***ออกซินมีอยู่ 2 ประเภทคือ ออกซินที่ผลิตขึ้นภายในพืชหรือออกซิน ธรรมชาติ และออกซินที่ได้จากการสังเคราะห์โดยกรรมวิธีทางเคมีหรือออกซินสังเคราะห์
1. ออกซินธรรมชาติ มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ที่พบมากคือ กรดอินโดล-3 อะซิติก(Indole-3-acetic acid(IAA))ซึ่งเป็นออกซินที่พืชสร้างได้เองตามธรรมชาติจากกรดอะมิโนทริบโทเฟน (Tryptophan)ปริมาณ IAA ที่พบในพืชอยู่ระหว่าง 1-100 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักสด และ IAA ในพืชส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปที่ร่วมกับสารอื่นหรือเปลี่ยนอนุพันธ์ต่างๆ เมื่อพืชต้องการใช้สารเหล่านี้จะปลดปล่อยไอเอเอแก่พืชช้าๆ
2. ออกซินสังเคราะห์ ออกซินที่นำมาใช้ประโยชน์ในทางการเกษตรในปัจจุบันเป็นออกซินสังเคราะห์ทั้งสิ้น ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น NAA, IBA, 2,4-D, 4-CPA, NAA mide ฯลฯ แต่ออกซิน สังเคราะห์ที่รู้จักกันดีและนิยมนำมาใช้มีดังนี้
2.1 เอ็นเอเอ (NAA:1-naphthyl acetic acid)เป็นสารที่ใช้กันค่อนข้างกว้างขวาง นิยมใช้กันมากในการขยายพันธุ์ไม้ผล เช่น การตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกไม้ผลที่ออกรากยาก เช่น ทุเรียน มังคุด ละมุด เป็นต้น จะยิ่งจำเป็นต้องใช้สารตัวนี้ช่วยเสมอและยังใช้ในการติดตาและการทาบกิ่งด้วย หรือใช้เร่งตาที่ติดดีแล้วให้แตกเป็นกิ่งเร็วขึ้น เป็นต้น นอกจากนำมาใช้ในด้านการขยายพันธุ์แล้ว สาร NAA ยังใช้ปัองกันการร่วงของผลในพืชหลายชนิดและยังใช้กันมากอีกลักษณะหนึ่งคือการใช้สาร NAA เปลี่ยนเพศดอกของเงาะ
สาร NAA เป็นสารที่มีราคาค่อนข้างต่ำ ถ้าเป็นสารบริสุทธิ์จะเป็นผลึกสีขาว ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ แต่ละลายได้น้อยมากในน้ำหรืออาจเรียกได้ว่าไม่ละลายน้ำ สารเอ็นเอเอที่นำมาใช้ทางการเกษตรมักจะอยู่ในรูปเกลือโซเดียมซึ่งสามารถละลายน้ำได้ดี
2.2 ไอบีเอ (IBA:4-(indol-3-yl)butryric acid) เป็นสารที่เหมาะสมที่สุดในการเร่งรากพืช แต่ไอบีเอเป็นพิษต่อใบพืช ดังนั้นจึงไม่อาจใช้ประโยชน์จาก IBA ในแง่อื่นได้นอกจากการเร่งรากกิ่งปักชำหรือกิ่งตอนเท่านั้น ซึ่งจะได้รากจำนวนมากและรากแข็งแรงสมบูรณ์กว่าการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้สาร ลักษณะของ IBA ถ้าเป็นสารบริสุทธิ์จะเป็นผลึกสีขาว ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์แต่ไม่ละลายน้ำ เมื่อ IBA อยู่ในรูปสารละลายจะมีการสลายตัวได้เร็วมาก ดังนั้นสารที่ผลิตขึ้นเป็นการค้าจึงมักผสมให้อยู่ในรูปผง
2.3 ทู,โฟ-ดี (2,4-D:2,4-dichlorophenoxy acetic acid) ส่วนใหญ่นำมาใช้ในรูปของสารกำจัดวัชพืช เนื่องจากสารนี้แสดงฤทธิ์ของออกซินสูงมาก |
ชาวสวนมักตัดต้นตัวผู้ทิ้งเนื่องจากไม่ให้ผลผลิต จึงเหลือแต่ต้นตัวเมียซึ่งไม่มีเกสรตัวผู้มาผสมทำให้ไม่สามารถพัฒนาไปเป็นผลได้ การใช้สาร NAA พ่นที่ช่อดอกบางส่วนของต้นตัวเมียในระยะดอกตูมมีผลทำให้ดอกเงาะที่ได้รับสารกลายเป็นดอกตัวผู้ได้ และปลดปล่อยละอองเกสรตัวผู้มาผสมกับดอกตัวเมียที่อยู่ข้างเคียงทำให้ติดผลได้
6. การผลิตผลไม้ไม่มีเมล็ด พืชบางชนิดสามารถที่จะผลิตผลไม้ที่ไม่มีเมล็ดได้เองตามธรรมชาติ เช่น สับปะรด กล้วย มะเขือเทศ การเกิดผลไม้ไม่มีเมล็ดนั้นอาจจะเนื่องจากไม่มีการถ่ายละอองเกสรหรือมีการถ่ายละอองเกสรแต่ไม่มีการปฏิสนธิ หรืออาจมีการปฏิสนธิแต่เอมบริโอแท้งไปก่อนที่ผลจะเจริญเต็มที่ ส่วนใหญ่แล้วพันธุ์พืชที่สามารถผลิตผลไม้ไม่มีเมล็ดนั้นรังไข่มักจะมีออกซินปริมาณมากกว่าพันธุ์ที่มีเมล็ด ดังนั้นการให้ออกซินแก่ดอกที่ไม่ได้รับการถ่ายละอองจึงสามารถผลิตผลไม้ไม่มีเมล็ดได้ แต่การให้ออกซินเพียงไม่กี่ครั้งอาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ผลเจริญเติบโตเต็มที่เหมือนกับผลที่เกิดจากการถ่ายละอองและ/หรือปฏิสนธิ เพราะรังไข่ได้รับออกซินไม่ต่อเนื่อง
7. เพิ่มการติดผล ออกซินสามารถช่วยให้พืชบางชนิดติดผลได้ดีขึ้น เช่น การใช้ NAA กับพริก การใช้ 4-CPA กับมะเขือเทศ เป็นต้น แต่ออกซินไม่สามารถช่วยเพิ่มการติดผลในพืชอีกหลายชนิด เช่น มะม่วง เป็นต้น และเป็นที่น่าสังเกตว่าสารออกซินสามารถเพิ่มการติดผลได้เฉพาะในพืชที่มีเมล็ดมากเท่านั้น แต่พืชที่มีเมล็ดเดียวหรือพืชอื่นๆ ส่วนมากมักจะไม่ตอบสนองต่อออกซินในแง่การติดผล
8. ควบคุมการร่วงของใบ ดอก และผล เมื่อพืชมีอายุมากขึ้น ใบ ดอกและผลที่แก่เต็มที่จะเกิดการร่วงขึ้นการร่วงนี้จะเกี่ยวข้องกับออกซิน และการเกิดชั้นแอบซิสชั่น (Abscission layer) ก่อนที่ใบดอกและผลจะร่วงนั้น ตรงบริเวณใกล้ๆ กับโคนก้านอวัยวะเหล่านี้จะมีการแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็วทำให้เกิดชั้นพิเศษขึ้นหลายชั้น เรียกว่าชั้นแอบซิสชั่น ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเซลล์พาเรงคิมาที่เกาะกันอย่างหลวมๆ ทำให้บริเวณดังกล่าวไม่แข็งแรง หลุดแยกง่าย ออกซินที่ถูกสร้างขึ้นจากปลายยอดหรือปลายกิ่งจะเคลื่อนที่ลงมายังส่วนต่อระหว่างใบ ดอก และผลกับลำต้น แล้วยับยั้งการสร้างชั้นแอบซิสชั่นในบริเวณส่วนต่อดังกล่าว เป็นผลทำให้ใบดอกและผลไม่ร่วง ในขณะเดียวกันถ้าออกซินที่เคลื่อนย้ายลงมายังส่วนต่อดังกล่าวมีปริมาณเพียงเล็กน้อย จะมีผลไปกระตุ้นให้มีการสร้างชั้นแอบซิสชั่นขึ้น ทำให้ใบดอกและผลร่วงจากต้นได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ในปัจจุบันเกษตรกรนิยมใช้ NAA หรือ 2,4-D กับไม้ผลบางชนิด เช่น มะม่วง ส้ม องุ่น ลางสาด เพื่อป้องกันผลร่วงก่อนการเก็บเกี่ยว
9. เป็นสารกำจัดวัชพืช สารเคมีกำจัดวัชพืชที่สำคัญหลายชนิดมีคุณสมบัติเป็นฮอร์โมน สำหรับฮอร์โมนที่สามารถใช้ทำลายวัชพืชได้นั้นเป็นสารในกลุ่มออกซินสังเคราะห์ เพราะออกซินทุกชนิดถ้าใช้ความเข้มข้นสูงจะมีผลไปยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชทำให้พืชตายได้ จึงมีการนำสารออกซินสังเคราะห์มาใช้เป็นยากำจัดวัชพืชกันอย่างกว้างขวาง สารที่นิยมใช้คือ 2,4-D และ 4-CPA |
โดย: ฒ.ผู้เฒ่า [9 ก.พ. 53 12:50] ( IP A:117.47.238.149 X: )
http://www.pantown.com/board.php?id=30284&area=3&name=board10&topic=13&action=view
www.pantown.com/board.php?id=30284&area... - |