1. มีสีน้ำตาลเข้ม รสเปรี้ยว มีความเป็นกรด-ด่างที่ระดับ pH = 4.7
2. มีสารอาหารในรูปของกลุ่มกรดอะมิโน ซึ่งพืชสามารถดูดซึมได้เร็ว
3. มีปริมาณโอโซนอย่างน้อย 0.01 ppm ซึ่งทำให้มีปริมาณออกซิเจนมากพอต่อการป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช
4. มีการแลกเปลี่ยนสารอาหารในดิน คือ ไนโตรเจน (Nitrogen2N) เป็นสารอาหารสร้างความเจริญเติบโตโครงสร้างลำต้นพืช,ฟอสฟอรัส
(Phosphorus/P) เป็นสารอาหารสร้างความเจริญเติบโตของโครงสร้างราก การออกดอก และการติดผล , สำหรับโพแทสเซียม
(Potassium/Kalium(K)) เป็นสารอาหารสร้างความเจริญเติบโตต่อโครงสร้างของเซลล์พืชและให้ผลตลอดจนความหวาน
ของผลไม้ทำให้โครงสร้างของต้นพืชมีความแข็งแรง ให้ผลผลิตสูงและทำให้ต้นไม้มีภูมิคุ้มกันต่อการถูกทำลายของเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืช
ขั้นตอนการผลิตเอนไซม์สำหรับคน
ขั้นตอนในการหมักเอนไซม์สำหรับคนนั้น เราจะใช้ผลไม้ที่มีอยู่มากมายในประเทศซึ่งมีตลอดทั้งปี เราจะปฏิบัติดังนี้
1. จัดเตรียมอุปกรณ์ ซึ่งประกอบไปด้วย น้ำผึ้ง, ผลไม้ที่ต้องการ, น้ำสะอาด, ถ้วยตวง และภาชนะที่มีฝาปิดสนิท
2. นำผลไม้มาทำความสะอาด แล้วนำใส่ภาชนะในอัตราส่วนผลไม้ 3 ส่วน , ตามด้วยน้ำผึ้ง 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน
โดยเหลือพื้นที่ของขวดหนึ่งในห้าส่วน เพื่อให้มีพื้นที่ในการหมุนเวียนอากาศในขวด
3. ปิดฝาแล้วทำประวัติติดข้างภาชนะดังนี้
- ชนิดของผลไม้
- วัน / เดือน / ปี ที่ผลิต
แล้วนำเก็บในห้องที่มีอากาศถ่ายเทและมีแสงแดดส่องน้อยที่สุด เก็บนาน 3 เดือนหมั่นเปิดจุกคลายอากาศออกแล้วปิดทันที
ในช่วงอาทิตย์แรก
4. เมื่อได้ระยะเวลา 3 เดือนแล้วเกิดน้ำใสลอยตัว ให้ดูดออกด้วยสายยาง แล้วนำมาขยายต่ออีกทุกๆ 3 เดือน เป็นเวลา 3 ปีในอัตราส่วน
น้ำใส 1 ส่วน ต่อน้ำผึ้ง 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน
ขั้นตอนการขยายหัวเชื้อเอนไซม์สำหรับคน
ในการขยายหัวเชื้อเอนไซม์สำหรับคนนั้น เอนไซม์ที่ใช้ควรมีอายุการหมักที่นานๆ ประมาณ 1 ปีขึ้นไป เมื่อขยายแล้ว
ประสิทธิภาพของเอนไซม์จะไม่ลดลง แต่จะเป็นการขยายปริมาณให้มากขึ้นและประหยัดเวลาในการหมักมากขึ้น มีขั้นตอนดังนี้
1. นำหัวเชื้อเอนไซม์สำหรับคน 1 ส่วน ต่อน้ำผึ้ง 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน นำมาผสมใส่ในภาชนะ (ถ้าใช้น้ำผึ้งที่มีความชื้น 20% สามารถทานได้
แต่ถ้าเราใช้น้ำผึ้งธรรมดาจะต้องหมักไว้ 3 เดือน จึงจะนำมาทานได้)
2. ถ้าเราไม่ทาน ถ้าครบ 3 เดือน เราสามารถนำมาขยายในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกได้ คือ ปริมาณของเอนไซม์ก็จะเพิ่มขึ้น
ทำให้ประหยัดเวลาในการหมัก
ขั้นตอนการขยายเอนไซม์สำหรับพืชและสัตว์
การใช้เอนไซม์สำหรับเกษตรนั้นต้องใช้ในปริมาณจำนวนมากและค่อนข้างบ่อย การขยายปริมาณเอนไซม์จะทำให้
ปริมาณในการใช้เพียงพอกับความต้องการ อีกทั้งจะประหยัดเวลา อุปกรณ์และพื้นที่ในการหมัก ขั้นตอนก็ไม่ยุ่งยาก มีดังนี้
1. นำหัวเชื้อเอนไซม์อายุ 1 ปี อัตราส่วน 1 ส่วน ต่อน้ำตาลแดงหรือกากน้ำตาล 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน บรรจุลงในภาชนะ
แล้วทำให้เข้ากันโดยการเขย่าหรือคน
2. ถ้าหัวเชื้อที่มีอายุนานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เมื่อเรานำมาขยาย สามารถนำมาใช้ได้เลย แต่ถ้าต้องการเก็บไว้ให้นานขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็ได้
ขั้นตอนการสลายพิษกากน้ำตาล
การสลายพิษกากน้ำตาลหรือโมลาส เป็นการสลายคุณสมบัติส่วนประกอบบางตัวของกากน้ำตาล ซึ่งจะทำให้ดินเกิดการจับตัวแข็ง
จนน้ำไม่สามารถซึมผ่านลงดินได้ และทำให้พืชไม่สามารถดูดซึมน้ำ อาหารและดินไม่สามารถคายความชื้น ทำให้พืชขาดน้ำหรือเป็น
โรครากเน่า โรคโคนเน่า ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาดังกล่าว
ส่วนผสม
- กากน้ำตาลหรือโมลาส 1 กิโลกรัม
- เอนไซม์สำหรับพืช ถ้าหมักด้วยผลไม้รสเปรี้ยวจะดี เช่น มะนาว , สับปะรด ที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป 1 ลิตร
- น้ำ 1 ลิตร
วิธีผสม
- นำกากน้ำตาล เอนไซม์ และน้ำในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 ผสมในภาชนะให้เข้ากัน
- นำส่วนผสมที่ได้ใส่ภาชนะปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ประมาณ 3 เดือน ขึ้นไป ยิ่งอายุการหมักนานยิ่งดี จนน้ำที่ได้มีลักษณะใสไม่ข้นเหมือนตอนแรก
วิธีใช้
- น้ำที่ได้ในขั้นตอนนี้เรียกว่า "ซูโครส" ใช้ผสมกับอินทรียวัตถุและน้ำแทนการใช้น้ำตาลแดงได้ ช่วยลดต้นทุนในการผลิตเอนไซม์ ในอัตราส่วน อินทรียวัตถุ 3 ส่วน ซูโครส 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน
- นำมาขยายเอนไซม์ ในอัตราส่วนน้ำเอนไซม์ 1 ส่วน ซูโครส 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน การสลายพิษกากน้ำตาลหรือโมลาส
มีความสำคัญต่อการใช้ทำเอนไซม์สำหรับการเกษตร ซึ่งผลของกากน้ำตาลจะเกิดขึ้นในช่วงระยะ 2-3 ปี หลังการใช้กากน้ำตาล
ในระยะแรกต้นไม้จะเริ่มใบเล็กลง แก่น ผลของผลผลิตลดลงและมีขนาดเล็กลง ต้นไม้มีลักษณะคล้ายขาดน้ำ ไม่ว่าจะรดน้ำเพิ่มขึ้นก็ตาม
ระยะต่อมาใบเหลืองและร่วง ต่อมาก็ยืนต้นตาย
การใช้เอนไซม์ตามลักษณะงานทางการเกษตร
การนำเอนไซม์ไปใช้ในการเกษตร
ขณะนี้เกษตรกรของไทยเราเสียเปรียบเกษตรกรประเทศคู่แข่งด้านต้นทุนการผลิต เพราะผลิตผลของเราต่ำมาก และสาเหตุ
ที่ผลผลิตต่ำเนื่องจากดินหมดปุ๋ยการขาดแคลนน้ำซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีในการเกษตรล้นเกิน จนมีการตกค้างอยู่ในดินและน้ำและ
หากว่าการเผยแพร่วิชาการด้านการเพาะปลูก การป้องกัน และการขจัดปัญหาศัตรูพืชแบบธรรมชาติ โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ
ให้กับเกษตรกรได้ ทำให้ช่วยลดการสูญเสียให้กับเกษตรกรเรียนรู้ และนำไปปฏิบัติได้ ป็นการพึ่งพาตนเอง
และสามารถพัฒนาตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพามาตรการของรัฐอย่างเดียว
การนำน้ำเอนไซม์พืชไปใช้ประโยชน์
ทำปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง)
การเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์
- เตรียมพื้นที่ผสมปุ๋ย โดยใช้พื้นเรียบๆ (พื้นซีเมนต์จะดี)
- ผ้ายางสำหรับปูพื้นกันปุ๋ยซึมลงดิน ในกรณีที่ไม่ได้ผสมบนพื้นปูนซีเมนต์
- กระสอบป่านเก่าๆ สำหรับคลุมปุ๋ยที่ผสมแล้ว
- ถังฝักบัวรดน้ำ
- พลั่ว จอบ
ส่วนผสม
- เศษวัสดุจากพืช เช่น เปลือกมัน ฟาง เปลือกถั่ว แกลบเผา ผักตบ 10 ปี๊บ (อาจใช้อย่างเดียวหรือหลายอย่างผสมกัน
โดยรวมแล้วให้ได้ปริมาณเท่ากับอัตราส่วนผสมที่กำหนด)
- แกลบ 10 ปี๊บ
- มูลสัตว์ 10 ปี๊บ
- น้ำหมักพืช และน้ำตาลแดง อย่างละ 2-3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ถังฝักบัว
วิธีผสม
- นำส่วนผสมแห้งทั้งหมดคลุกให้เข้ากันแล้วนำน้ำที่ผสมน้ำหมักพืชและน้ำตาลแดงหรือซูโครสให้ทั่วๆ
- เพิ่มน้ำรดส่วนผสมปุ๋ยไปเรื่อยๆ (โยผสมน้ำหมักพืช และน้ำตาลแดงหรือซูโครส ตามสัดส่วนที่กำหนดในแต่ละถัง)
พร้อมกับคลุกเพื่อให้น้ำซึมหมาดไปทั่วทั้งกองปุ๋ย
- ตรวจสอบความชื้นของปุ๋ย โดยทดลองกำไว้ในมือ เมื่อปล่อยมือออก จะจับเป็นก้อนหลวมๆ พอแตะก้อนแล้วแตกเป็นใช้ได้
- เกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกัน ให้สูงจากพื้นพอประมาณ คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด
- ถ้าผสมปุ๋ยในช่วงเช้า ตอนเย็นให้ทดสอบดู โดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก และ
- ในวันรุ่งขึ้นจะเริ่มมีเส้นใยขาวๆ ปรากฏบนผิวกองปุ๋ย แสดงว่าจุลินทรีย์เริ่มทำงาน
- ทิ้งไว้ 3 วัน แล้วเปิดกระสอบป่านออก คลุกกับปุ๋ยให้ทั่วอีกครั้งหนึ่ง แล้วปิดกระสอบไว้ตามเดิม
- อีก 3-4 วันต่อมา ให้ทดสอบดูอีก ถ้าปุ๋ยมีความเย็น ถือว่าใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อไปอีกจนกว่าจะเย็น จึงสามารถนำไปใช้ได้
ทำปุ๋ยคอกหมัก ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ ถ้านำไปใช้โดยตรงจะเกิดโรคและแมลงต่อพืชจึงควรหมักเสียก่อน
ส่วนผสม
- มูลสัตว์ 1 ส่วน
- แกลบเผา 1 ส่วน
- น้ำเอนไซม์สำหรับพืชและน้ำเอนไซม์สำหรับคน อย่างละ 5-10 ช้อนโต๊ะ
- น้ำ 10 ลิตร
วิธีผสม
- ผสมมูลสัตว์ แกลบเผา เข้าด้วยกัน
- นำน้ำเอนไซม์และน้ำตาลแดงหรือซูโครสผสมในน้ำ รดกองปุ๋ยที่คลุกแล้วให้ทั่ว ให้มีความชื้นระดับเดียวกับการทำปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง)
- เกลี่ยกองปุ๋ยบนพื้นให้หนาพอประมาณ คลุมด้วยกระสอบป่าน ทิ้งไว้ 3-5 วัน โดยไม่ต้องกลับ เมื่อปุ๋ยเย็นลงนำไปใช้ได้
ทำยาขับไล่แมลง
สูตรนี้จะช่วยป้องกันและขับไล่แมลงศัตรูพืช พร้อมทั้งเสริมสร้างความต้านทาน เพื่อป้องกันและกำจัดโรคพืชบางชนิดด้วย
ส่วนผสม
- น้ำเอนไซม์สำหรับคน 1 ขวด
- น้ำเอนไซม์สำหรับพืช 1 ขวด
- น้ำสะอาด 10 ขวด
วิธีผสม
- นำเอนไซม์สำหรับคนที่อายุมากกว่า 3 เดือน ผสมน้ำ 1 : 10 หรือ 1 : 100
- ใส่น้ำหมักพืชลงไป คนให้เข้ากันดี
- ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 90 วัน (ควรหมักในถังพลาสติกที่มีฝาปิดมิดชิด)
- ระหว่างการหมัก (ช่วง 90 วันแรก) ให้เปิดฝาคนทุกวันเช้า-เย็น เพื่อไม่ให้เป็นตะกอนนอนก้น และเพื่อระบายก๊าซออก
- ครบกำหนดให้นำไปใช้ได้ หัวเชื้อนี้สามารถเก็บได้นาน 3 เดือนขึ้นไป โดยต้องเปิดฝาระบายก๊าซออกเป็นครั้งคราว
วิธีใช้
- นำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงนี้ไปผสมกับน้ำ ในอัตราส่วน 5 ช้อนแกง กากน้ำตาล 5 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 10 ลิตร
การทำฮอร์โมนพืช
ส่วนผสม
- กล้วยน้ำว้าสุก ฟักทองแก่จัด มะละกอสุก อย่างละ 1 กิโลกรัม
- น้ำหมักพืช และกากน้ำตาล (สลายพิษแล้ว) อย่างละ 1 ช้อนแกง
- น้ำสะอาด 5 ลิตร
วิธีผสม
1. สับกล้วย ฟักทองและมะละกอ (ทั้งเปลือกและเมล็ด) ให้สะอาด
2. ผสมน้ำหมักพืช กากน้ำตาล (สลายพิษแล้ว) และน้ำสะอาดให้เข้ากัน
3. นำส่วนผสม ข้อ 1. และข้อ 2. คลุกเข้ากันให้ดี
4. บรรจุลงในถังปุ๋ย หมักไว้ในถังพลาสติก ปิดฝาหมักไว้ 3 เดือนขึ้นไป
วิธีใช้
- นำส่วนที่เป็นน้ำจากการหมัก ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ลิตร ต่อ 100 ลิตร ฉีดพ่น
- ใช้ฉีดพ่นหรือรดต้นไม้ในช่วงติดดอก จะทำให้ติดผลดี
- ส่วนที่เป็นไขมันเหลืองๆ ในถุงปุ๋ย ใช้ทากิ่งตอน กิ่งปักชำ กิ่งทาบ ฯลฯ ช่วยให้แตกรากดี
เร่งดอก เร่งราก
วิธีผสม
- ใช้หินฝุ่นคลุกใส่ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อปุ๋ยชีวภาพและขี้เถ้าแกลบ 1 กก. ใช้เร่งดอก เร่งราก
การประยุกต์ใช้ในการเกษตร
นาข้าว
ในพื้นที่ 1 ไร่ ใส่ปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง) 200 กิโลกรัม โดยแบ่งใส่เป็นระยะดังนี้
1. ไถพรวน
- หว่านปุ๋ยชีวภาพ 100 กก. (ต่อ 1 ไร่) ให้ทั่ว
- ผสมน้ำหมักพืช 2 ลิตร ซูโครส 2 ลิตร ในน้ำ 200 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ไร่
- ฉีดพ่นให้ทั่วไถพรวน ทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ในน้ำเอนไซม์พืชย่อยสลายวัชพืชและเร่งการงอกของเมล็ดข้าว
- นำส่วนผสมไปฉีดพ่นต้นไม้ สัปดาห์ 1-2 ครั้ง หรือตามความจำเป็น (ใช้บ่อยๆ ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อพืชและคน)
โดยฉีดพ่นในช่วงเย็น
- พืชที่กำลังแตกใบอ่อน ให้ใช้อัตราส่วนที่เจือจาง
- หัวเชื้อที่ผสมน้ำแล้ว หากใช้ร่วมกับพืชสมุนไพรต่างๆ เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม ยาสูบ โดยนำน้ำแช่สมุนไพร
ใส่เพิ่มลงไปอีก 5 ช้อนแกง (ต่อน้ำ 10 ลิตร) จะทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ยาขับไล่แมลงสูตรเข้มข้น
วิธีผสม
ใช้ส่วนผสมและวิธีทำเหมือนสูตรธรรมดา แต่เพิ่มปริมาณน้ำเอนไซม์และควรมีอายุของเอนไซม์มากกว่า 1 ปี
วิธีใช้
- ใช้ฉีดพ่นปราบหนอนและแมลงศัตรูพืชที่ปราบยาก เช่น หนอนหลอดหอม หนอนชอนใบ ฯลฯ โดยใช้สัดส่วน หัวเชื้อสูตรเข้มข้น 1 แก้ว
ต่อน้ำ 200 ลิตร (หรือมากน้อยกว่านี้แล้วแต่ความเหมาะสม)
- ใช้กำจัดเห็บ หมัด ในสัตว์เลี้ยง
- ใช้กำจัดเหา ดดยเอาน้ำราดผมให้เปียก แล้วชโลมด้วยหัวเชื้อสูตรเข้มข้นผสมน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 50 หมักทิ้งไว้ 30 นาที
แล้วล้างออกให้สะอาด
- หลังจากไถพรวนแล้ว 15 วัน ให้ฉีดพ่นน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืชและซูโครส ในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง แล้วไถกลบ
เพื่อทำลายวัชพืชให้เป็นปุ๋ยพืชสด
- ทิ้งไว้อีก 15 วัน แล้วจึงไถและคราด เพื่อดำนาต่อไป
2. ไถคราด
- พ่นน้ำเอนไซม์พืชผสมซูโครส และน้ำในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง
- ไถคราดให้ทั่ว เพื่อเตรียมปักดำ
3. หลังปักดำ 7-15 วัน
- หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 กก. ต่อ ไร่
- ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช ในอัตราส่วนน้ำ 200 ลิตร ต่อน้ำเอนไซม์พืช และซูโครสอย่างละ 2 ลิตร
4. ข้าวอายุ 1 เดือน
- หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 กก. ต่อ ไร่
- ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช ในอัตราส่วนน้ำ 200 ลิตร ต่อน้ำเอนไซม์พืชและน้ำตาลแดงหรือซูโครส อย่างละ 2 ลิตร
5. ก่อนข้าวตั้งท้องเล็กน้อย
- หว่านปุ๋ยชีวภาพ 40 กก. ต่อ ไร่
- ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช ในอัตราส่วน น้ำ 200 ลิตร ต่อน้ำเอนไซม์พืช และน้ำตาลแดงหรือซูโครสอย่างละ 2 ลิตร
6. การป้องกันศัตรูพืช
- ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลงผสมกับน้ำฉีดพ่นทุก 15 วัน โดยฉีดพ่นในช่วงเช้ามืด หรือช่วงเย็น
หมายเหตุ ต่อพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ปุ๋ยชีวภาพเฉลี่ย 200 กิโลกรัม ในปีแรกที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพอาจต้องใช้ปุ๋ยปริมาณมาก แต่เมื่อ
ดินคืนสภาพสู่ความอุดทสมบูรณ์ดีแล้ว ปีต่อๆไปจะสามารถใช้ปุ๋ยในปริมาณน้อยลงเรื่อยๆ ส่วนปริมาณผลผลิตในปีแรก
อาจจะไม่เพิ่มกว่าปกติ แต่ในช่วงปีต่อๆไปปริมาณผลผลิตจะเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งการลดต้นทุนค่าปุ๋ย
และการเพิ่มปริมาณผลผลิต
ผักสวนครัว
- โรยปุ๋ยชีวภาพ 1 กก. ต่อพื้นที่ 1ตารางเมตร เอาหญ้าหรือฟางแห้งคลุมทับ
- รดด้วยน้ำผสมกับน้ำเอนไซม์พืช ต้องอายุมากกว่า 3 เดือน อัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 10 ลิตร ลงมือปลูก
- โรยปุ๋ยชีวภาพซ้ำรอบๆทรงพุ่ม (อย่าให้โดนใบหรือโคนต้น) เดือนละ 1-2 ครั้ง
- รดน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช อัตราส่วน 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ถังฝักบัว สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
- ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลง ผสมน้ำฉีดพ่นเมื่อมีแมลงศัตรูพืชระบาด
ไม้ผลและไม้ยืนต้น
- ใช้ปุ๋ยชีวภาพรองก้นหลุม โดยใช้ปุ๋ย 2 กำมือ คลุกกับดินก้นหลุมให้เข้ากัน รดด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช
(น้ำเอนไซม์พืช 1 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร) เมื่อลงมือปลูก คลุมโคนต้นด้วยเศษใบไม้แห้ง
- เมื่อต้นไม้ตั้งตัวได้แล้ว ให้พรวนดินและโรยปุ๋ยซ้ำรอบทรงพุ่มต้นละ 2 กก. ต่อปี โดยใส่ครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ก็ได้
พร้อมกับรดด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืชเป็นระยะๆ
การแก้ปัญหาวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี สำหรับการทำนาข้าว และพืชไร่ หลังจากใช้น้ำเอนไซม์พืชและปุ๋ยชีวภาพแล้ว
จะทำให้เมล็ดหญ้าที่พักตัวอยู่ เร่งงอกขึ้นมาทั้งหมด ทำให้เราสามารถกำจัดวัชพืชได้ทั้งหมดด้วยการไถพรวน เป็นการ
ตัดวงจรชีวิตของวัชพืชไม่ให้งอกขึ้นมาอีกต่อไป
วิธีทำลายวัชพืช
- ตัดหรือล้มวัชพืชต่างๆให้เกิดรอยช้ำ แล้วโรยปุ๋ยชีวภาพทับลงไป
- ฉีดพ่นซ้ำ ด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชปริมาณเข้มข้น (น้ำ 1 ส่วนต่อน้ำเอนไซม์พืช 1 ส่วน)
- ใช้วิธีนี้ก่อนการไถพื้นที่ เพื่อทำนาหรือทำไร่ ล่วงหน้าประมาณ 1 เดือน และหลังเก็บเกี่ยว ไม่นานักปัญหาวัชพืชจะหมดไป
หมายเหตุ น้ำเอนไซม์พืชที่ใช้ในกิจกรรมทางการเกษตรทุกประเภทจะต้องหมักเกิน 3 เดือนขึ้นไป
ดินร่วนซุย และปลูกได้โดยไม่ต้องไถพรวน ตามปกติดินจะจับแน่นเป็นก้อนแข็ง ทำให้ระบายน้ำไม่ดี น้ำจะไหลผ่านบนผิวหน้าดินส่วนการใช้ปุ๋ย
เคมีจะยิ่งทำให้ดินจับตัวแข็งยิ่งขึ้น ส่วนการใช้ปุ๋ยคอกจากสัตว์ เป็นเพียงการทำให้ดินมีปุ๋ยมากขึ้น แต่ไม่ได้ปรับสภาพของโครงสร้างดิน
ให้เหมาะสมสำหรับการเกษตร จากการทดลองในพื้นที่นาข้าวที่ใช้ปุ๋ยมูลไก่ติดต่อกันซ้ำถึง 5 ปี พบว่าข้าวจะออกใบมาก ส่วนรวงข้าว
มีปริมาณเมล็ดข้าวน้อยลงและมีเมล็ดลีบมากกว่าเดิมแต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยชีวภาพและน้ำเอนไซม์พืช เอนไซม์และส่วนผสมในปุ๋ย
(โดยเฉพาะแกลบ) จะทำให้โครงสร้างดินเริ่มปรับตัวเกิดเป็นโพรงและมีช่องอากาศมากขึ้น ดินจึงร่วนซุยและอุ้มน้ำได้ดีขึ้น
เมื่อใช้ไปนานๆดินจะค่อยๆคืนสภาพสู่ความ อุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ในการทดลองบางพื้นที่ พบว่าเมื่อใช้ปุ๋ยชีวภาพ และน้ำหมักพืชติดต่อกัน 3 ปี
สภาพดินจะยิ่งร่วนซุยจนไม่จำเป็นต้องไถพรวนอีกต่อไป
น้ำเอนไซม์พืชกับการปศุสัตว์
การเลี้ยงสุกร ผสมน้ำเอนไซม์พืช 1 ลิตร (ควรมีอายุการหมักมากกว่า 1 ปี) น้ำตาลแดงหรือซูโครส 1 ลิตร น้ำสะอาด 100 ลิตร
ในภาชนะแล้วปิดฝาให้สนิท
วิธีใช้ทำ
1. ทำความสะอาด
- นำไปฉีดล้างให้ทั่วคอก จะกำจัดกลิ่นมูลเก่าและก๊าซแอมโมเนียได้ภายใน 24 ชม.
- ทำซ้ำทุกสัปดาห์ น้ำล้างคอกนี้จะช่วยบำบัดน้ำเสียตามท่าและบ่อพักให้สะอาดขึ้นด้วย
- ผสมน้ำเอนไซม์พื 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 100 ลิตร ฉีดพ่นตามบ่อน้ำ เพื่อกำจัดหนอนแมลงวัน จะเห็นผลใน 1-2 สัปดาห์
2. ผสมอาหาร
- ผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 500-1,000 ลิตร (โดยประมาณ) ให้สุกรกินทุกวัน จะช่วยให้แข็งแรง
มีความต้านทานโรค และป้องกันกลิ่นก๊าซแอมโมเนียจากมูลสุกรที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย
- ลูกสุกรที่มีอาการท้องเสีย ใช้น้ำเอนไซม์พืช (หัวเชื้อ) 5 ซีซี หยอดเข้าทางปาก จะรักษาอาการได้
หมายเหตุ กรณีเลี้ยงวัว ควาย ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ โดยผสมน้ำเอนไซม์พืช น้ำตาลแดงหรือซูโครสกับน้ำ
แล้วรดฟางหรือหัวอาหารให้กิน รวมทั้งใช้ผสมในน้ำให้กินทุกวัน
การเลี้ยงไก่ และสัตว์ปีกอื่นๆ
- ใช้น้ำเอนไซม์พืชผสมน้ำสะอาดให้กินทุกวัน จะช่วยให้สัตว์แข็งแรง ไข่ดกและคลอเลตเตอรอล น้ำหนักดี อัตราการตายต่ำ
มูลสัตว์ไม่มีกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์และกลิ่นแอมโมเนีย
- ใช้น้ำเอนไซม์พืชผสมน้ำ ฉีด พ่น ตามพื้น เพื่อกำจัดกลิ่นก๊าซแอมโมเนียและกลิ่นเหม็นจากมูล ทุกๆ 4 วัน
และยังช่วยกำจัดการขยายพันธุ์ของแมลงวันทางอ้อมได้ด้วย
จากสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน ความอยู่รอดของประเทศไทยในสังคมโลก หมายถึงความสามารถของประเทศที่จะต้องเลี้ยงตนเองได้
ช่วยตนเองได้ในด้านปัจจัยหลัก คือ อาหาร , ที่อยู่อาศัย , เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค
[--PAGEBREAK--]