-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 846 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์





จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร


     
บทบาทของจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร

    1. ย่อยสลาย (กิน) อินทรียวัตถุและอนินทรีย์วัตถุแล้วถ่ายมูลออกมาเรียกว่า "กรดอินทรีย์" ส่วนที่เป็นธาตุอาหารพืชซึ่งอยู่ใน "รูป" ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ได้แก่ โพลิตินอล. ควินนอยด์. อโรเมติค. ซิลิลิค. ออแกนิค. ส่วนที่เป็นฮอร์โมนพืช ได้แก่ ออกซิน (ไซโตคินนิน. จิ๊บเบอเรลลิน. เอทธิลิน.  อีเทฟอน. อีเทรล. แอบซิสสิค. เอบีเอ. ไอเอเอ. เอ็นเอเอ.ฯลฯ) และส่วนที่เป็นท็อกซิก. ซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อโรคพืชได้
    2. ปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน ทำให้ดินเป็นกลาง
    3. จับยึดธาตุอาหารพืชจากอากาศไปไว้ในตัวเองแล้วปลดปล่อยให้แก่ต้นพืช
    4. ปลดปล่อยปุ๋ยเคมีที่ถูกดิน (กรดจัด) ตรึงไว้ให้ออกมาเป็นประโยชน์แก่ต้นพืช
    5. ตรึงปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ลงไปไว้แล้วปลดปล่อยให้ออกมาช้าๆ เพื่อให้พืชได้มีเวลาดูดซับไปใช้งานได้ทันทีและสม่ำเสมอ
    6. สลายฤทธิ์สารที่เป็นพิษต่อพืชให้เจือจางลงๆ จนกระทั่งหมดไปในที่สุด
    7. กำจัดจุลินทรีย์ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเป็นโทษ (เชื้อโรค) ต่อต้นพืช
    8. เกิดได้เองตามธรรมชาติภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 


      
ประโยชน์ของฮิวมัส
    1. ป้องกันการชะล้างหน้าดิน
    2. ป้องกันเม็ดดินอัดตัวกันแน่นจนเป็นดินเหนียวจัด
    3. รักษาความชุ่มชื้นของเม็ดดิน (ปุ๋ยอินทรีย์ 10 กก.เก็บน้ำได้ 19.66 ล.)
    4. ลดและสลายสารพิษในดิน
    5. กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
    6. เสริมประสิทธิภาพของธาตุอาหารพืชที่ได้จากการสังเคราะห์แสง 



      

      เกร็ดความรู้เรื่อง
"จุลินทรีย์" เพื่อการเกษตร

    1. จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตแต่ไม่ใช่สัตว์หรือพืช เรียกว่า "สัตว์เซลล์เดียว" อาศัยอยู่ในแหล่งที่มีความชื้นตั้งแต่ระดับความชื้น 1-100 เปอร์เซ็นต์ ........ องค์การนาซาได้รายงานว่าพบจุลินทรีย์ในก้อนเมฆ และรายการ ทีวี.ดิสคัฟเวอรี่ แชลแนล ได้ให้ข้อมูลว่า ดิน 1 ลบ.ซม.มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ถึง 78 ล้านตัว


    2. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร หมายถึง จุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืชและสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรกรรมโดยเฉพาะ


    3. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรเกี่ยวกับพืชโดยมีหน้าที่อนุรักษ์ดิน น้ำ สภาพแวดล้อม ผลิตและจัดการธาตุอาหาร กำจัดจุลินทรีย์เชื้อโรคและอื่นๆ ที่เป็นการส่งเสริมให้พืชเจริญเติบโตดี และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ดีภายใต้ความชื้น 25-50 เปอร์เซ็นต์


    4. จุลินทรีย์ขยายพันธุ์โดยการแบ่งตัวเองแบบทวีคูณ เช่น 1 ตัวเมื่อโตเต็มที่จะแบ่งตัวเองออกเป็น 2 ตัว และ 2 ตัวเมื่อโตเต็มที่ก็จะแบ่งตัวเองออกเป็น 4 ตัว หรือจุลินทรีย์ 1 แสนตัวเมื่อโตเต็มที่ต่างก็แบ่งตัวเองกลายเป็น 2 แสนตัวเป็นต้น


    5. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ แบคทีเรีย. ไวรัส. ยีสต์. และรา. ซึ่งกลุ่มใหญ่ๆ เหล่านี้แยกออกเป็นประเภทต่างๆ อีกหลายประเภท เช่น
       - ประเภทที่มีประโยชน์ (ฝ่ายธรรมะ) มีประสิทธิภาพในการสร้างและส่งเสริมปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร (ดิน-น้ำ-อุณหภูมิ-สายพันธุ์-โรค) ให้พืชเจริญเติบโต
       - ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเชื้อโรค (ฝ่ายอธรรม) มีประสิทธิภาพในการทำลายปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร ทำให้พืชไม่เจริญเติบโตหรือตาย
       - ประเภทไม่ต้องการอากาศ ชอบและอยู่ในดินลึกที่อากาศลงไปถึงได้น้อยหรือไม่มีอากาศเลย แต่ยังเป็นจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืช  มีพลังในการย่อยสลายเหนือกว่าจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ
       - ประเภทต้องการอากาศ ชอบและอยู่บริเวณผิวหน้าดินที่อากาศผ่านหรือถ่ายเทสะดวก
       - ประเภทต้องการความชื้นน้อย เจริญเติบโต ขยายพันธุ์ได้ดีภายใต้สภาพความชื้นน้อยๆ หรือแห้งแล้ง
       - ประเภทต้องการความชื้นมาก เจริญเติบโตได้ภายใต้สภาพความชื้นที่เหมาะสม เช่น ชื้นพอดี ชื้นแฉะ น้ำขังค้าง
       - ประเภทเกิดได้เร็ว เกิดและขยายพันธุ์ได้ในถังหมักหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมภายใน 3-10 วัน
       - ประเภทเกิดได้ช้า เกิดและขยายพันธุ์ได้ในถังหมักหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต้องใช้ระยะเวลานานนับเดือนหรือหลายๆ เดือนทั้งจุลินทรีย์ประเภทเกิดได้เร็วและเกิดได้ช้า ถ้าเป็นจุลินทรีย์ฝ่ายธรรมะย่อมมีประโยชน์ต่อพืชเหมือนๆ กันดังนั้นการใช้จุลินทรีย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงควรใช้ทั้งจุลินทรีย์ประเภทหมักใหม่และหมักนานแล้วร่วมกัน

 
     6. จุลินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์แห้งที่ได้จากการหมักอินทรีย์วัตถุ (ซากพืชและสัตว์) จะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ขยายพันธุ์ และมีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วงที่อินทรีย์วัตถุเริ่มสลายตัวและอุณหภูมิในกองเริ่มเย็นลง


      7. จุลินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ได้จากการหมักอินทรีย์วัตถุ (ซากพืชและสัตว์) จะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ขยายพันธุ์ และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อกระบวนการหมักหมดฟองใหม่ๆ


      8. การใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่เกี่ยวกับพืชให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรใช้ "ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง" หรือ "ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ" ที่หมักนานข้ามปีแล้วกับที่หมักใช้การได้ใหม่ๆ ผสมกัน 1:1 จะได้ทั้งจุลินทรีย์ประเภทเกิดเร็วและประเภทเกิดช้า

 
     9. อาหารที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ คือ "รำละเอียด" และ "สารรสหวาน" เช่น กากน้ำตาล น้ำตาลในครัว น้ำหวานในเครื่องดื่มต่างๆในอัตราที่เหมาะสม  ปริมาณของสารรสหวานมีผลต่อการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ทั้งสองชนิด  กล่าวคือ                
         - สารรสหวานปริมาณมากเกินจะยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ทั้งจุลินทรีย์ดีและจุลินทรีย์โทษ
         -สารรสหวานปริมาณที่น้อยเกินไปจะยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ดีและส่งเสริมการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์โทษ            
         - สารรสหวานปริมาณที่พอดีจะส่งเสริมการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ดี  และยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์โทษ 


     10. จุลินทรีย์ในถังหมักจะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง และขยายพันธุ์ได้ดีมากภายใต้อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส มีอากาศหมุนเวียน มีสารอาหาร และค่ากรด-ด่างที่เหมาะสมสำหรับชนิดของจุลินทรีย์

 
    11. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่ดีที่สุด คือ "จุลินทรีย์ธรรมชาติ" หรือ "จุลินทรีย์ประจำถิ่น" ซึ่งมีอยู่ในแปลงเกษตรนั้นๆ เป็นจุลินทรีย์ที่อยู่มานานแล้วและจะคงอยู่ที่นั่นต่อไปตราบเท่าที่สภาพแวดล้อมต่างๆ เหมาะสม

 
    12. การบำรุงจุลินทรีย์ประจำถิ่นสามารถทำได้โดยการโรยรำละเอียดบางๆ รดด้วยน้ำเจือจางสารรสหวานพอหน้าดินชื้น ใส่หรือคลุมทับด้วยอินทรียวัตถุ แสงแดดส่องถึงได้เล็กน้อย อากาศถ่ายเทสะดวก มีระดับความชื้นพอดี เมื่อจุลินทรีย์ได้รับสารอาหารและสภาพแวดล้อมเหมาะสมก็จะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ขยายพันธุ์และทำหน้าที่ได้ดีเอง

 
    13. จุลินทรีย์ประเภทที่มีประโยชน์ (ฝ่ายธรรมะ) สามารถดำรงชีวิต (เกิด กิน ขับถ่าย ขยายพันธุ์ และตาย) ได้ดีภายใต้สภาพโครงสร้างดินเป็นกลางหรือเป็นกรดอ่อนๆ......ถ้าเป็นกรดจัดหรือด่างจัดจะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้


     14. จุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (ฝ่ายอธรรม) หรือเชื้อโรค สามารถดำรงชีวิต (เกิด กิน ขับถ่าย ขยายพันธุ์ และตาย) ได้ดีภายใต้สภาพโครงสร้างดินที่เป็นกรดจัดหรือด่างจัด....
...ถ้าดินเป็นกรดอ่อนๆ หรือเป็นกลางจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (เชื้อโรคพืช) นี้จะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้หรือตายไปเอง


     15. เนื่องจากพืชกินธาตุอาหารที่เป็นของเหลวด้วยการดูดซึม ไม่สามารถกินอาหารที่เป็นชิ้น แม้ว่าอาหารชิ้นนั้นจะมีขนาดเท่าปลายเข็มก็กินไม่ได้ แต่หากอาหารชิ้นเท่าปลายเข็มนั้นเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวแล้วนั่นแหละพืชจึงจะดูดซึมไปใช้ได้.........จุลินทรีย์ คือ ตัวทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารพืชที่สภาพยังเป็นชิ้นๆ (อินทรีย์วัตถุ) ให้กลายเป็นของเหลวจนพืชสามารถดูดซึมผ่านปลายรากไปใช้ได้ จุลินทรีย์จึงเปรียบเสมือน "แม่ครัว" หรือผู้สร้างอาหารของต้นพืชนั่นเอง


     16. การดูด้วยสายตาให้รู้ว่าบริเวณใดมีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืช หรือมีจุลินทรีย์ประเภทมีโทษต่อพืช ดูได้จากการเจริญเติบโตของพืชที่ขึ้นในบริเวณนั้น ถ้าระบบรากสมบูรณ์ อวบอ้วน มีจำนวนมาก แสดงว่าดินดี หรือสังเกตการณ์ตอบสนองของพืชต่อปุ๋ยทางราก ทั้งๆ ที่ใส่ปุ๋ยเพียงน้อยนิดแต่ต้นพืชยังเจริญเติบโตได้ดี ก็แสดงว่าดินดีอีกเช่นกัน และการที่ดินดีได้ก็เพราะมีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ (ธรรมะ) ทำหน้าที่อนุรักษ์ให้ในทางตรงกันข้าม ถ้าระบบรากไม่ดีหรือต้นพืชไม่เจริญงอกงามทั้งๆ ที่ใส่ปุ๋ยลงไปแล้วก็แสดงว่าดินไม่ดี และดินไม่ดีก็คือดินที่เป็นแหล่งอาศัยของจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (เชื้อโรค/อธรรม) นั่นเอง   

 
    17. แหล่งจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ ได้แก่
         - บาซิลลัส ซับติลิส.   มีอยู่ในตาติดเปลือกสับปะรดสด
         - ฟังก์จัย.   จินเจียงลินซิส.   มีอยู่ในฟางเพาะเห็ด
         - คีโตเมียม.  ไรโซเบียม.  ไมโครไรซา.  มีอยู่ในเปลือกถั่วลิสง
         - แอ็คติโนมัยซิส.  มีอยู่ในเหง้า/รากกล้วย  มูลสัตว์กินหญ้า
         - แล็คโตบาซิลลัส. มีอยู่ในยาคูลท์ โยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว
         - แฟลงเกีย. มีอยู่ในสนทะเล สนประดิพัทธ์
         - แอ็คติโนมัยเกรต.  ซีอะโนแบคทีเรีย.   อัลเกีย.   ฟังก์จัยลิเซ่.    เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นได้เองจากดินที่มีสภาพโครงสร้างเป็นกลางดีอย่างต่อเนื่อง และมีอินทรียวัตถุสะสมมานาน
         - ไบโอโพลิเมอร์.   คลาไมโดโมแนส.   มีอยู่ในสาหร่ายน้ำจืด
         - นอสท็อก. มีอยู่ในรากต้นปรง
         - อะโซโตแบ็คเตอร์.   มีอยู่ในเหง้าหญ้าขน และหญ้าประเภทหน้าแล้งตายหน้าฝนฟื้น 


     18. ทดสอบจุลินทรีย์โดยการใส่จุลินทรีย์น้ำลงไปในขวด ใช้ลูกโป่งไม่มีลมสวมปากขวดรัดให้แน่น ทิ้งไว้ 2-5 วัน ถ้าลูกโป่งค่อยๆ พองโตขึ้นแสดงว่ามีจุลินทรีย์จำนวนมากสมบูรณ์ แข็งแรงดี แต่ถ้าลูกโป่งพองโตช้าหรือไม่พองโตก็แสดงว่ามีจุลินทรีย์น้อยและไม่สมบูรณ์แข็งแรง 

 
    19. ช่วงแรกๆ ลูกโป่งจะพองโตขึ้น แสดงว่ามีจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศเกิดขึ้น แต่ครั้นนานๆ ไปลูกโป่งจะยุบแล้วถูกดูดเข้าไปในขวดทดสอบก็แสดงว่าจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศตายหมดแล้ว แต่มีจุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นมาแทน กรณีนี้ไม่เป็นปัญหาเพราะจุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศก็เป็นจุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่มีประโยชน์ต่อพืชเช่นกัน 

 
    20. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรมีหลายชนิดหรือหลายประเภท แต่ละชนิดหรือแต่ละประเภทที่ผ่านกรรมวิธีในการหมักหรือขยายเชื้อดีแล้วสามารถนำมาใช้รวมกันหรือใส่ลงไปดินพร้อมๆ กันแล้วให้อยู่ร่วมกันได้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์มากกว่าการใช้จุลินทรีย์เพียงอย่างเดียวหรือตัวเดียว


     21. จุลินทรีย์ไม่ใช่ธาตุอาหารหรือฮอร์โมนพืช แต่เป็นผู้สร้างหรือผลิตอาหารหรือฮอร์โมนให้แก่พืช  ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าจุลินทรีย์ คือ "ผู้อารักขาพืช" ก็ได้   เพราะนอกจากผลิตอาหารหรือฮอร์โมนให้แก่แล้วยังปรับปรุงดูแลสภาพแวดล้อม ที่อยู่ที่กินของพืชอีกด้วย           


     22. จุลินทรีย์กลุ่มหนึ่งจะมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เปลี่ยนสภาพเป็นธาตุอาหารพืชตัวหนึ่ง  กล่าวคือ  อินทรีย์วัตถุชิ้นหนึ่ง (ชิ้นเดียวกัน) เมื่อถูกจุลินทรีย์กลุ่มใดเข้าย่อยสลายก็จะได้สารอาหารพืชตัวนั้น  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยจุลินทรีย์หลากหลายกลุ่มเข้าย่อยสลายอินทรีย์วัตถุชิ้นนั้น  จึงจะได้สารอาหารพืชกลากหลายชนิด  เช่น          
 
       - AZOSPIRILLUM  SPP. เป็นจุลินทรีย์กลุ่มที่ทำให้  N. ในบรรยากาศคงที่เพื่อให้พืชได้รับอย่างสม่ำเสมอ  ช่วยให้สีสันของใบพืชเขียวสด  ส่งเสริมกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชดำเนินไปอย่างราบรื่น  ป้องกันและแก้ปัญหาใบเหลืองในพืช           

        - PHOSPHATE  SOLUBILIZING  BACTERIA  ช่วยย่อยสลาย P.  (ในอินทรีย์วัตถุ) ที่ยังอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ไม่ได้ให้เปลี่ยนรูปมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้
 
       - LACTOBACILLUS  มีประสิทธิภาพในการสร้างสารละลาย K. ให้มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้  ช่วยเพิ่มระดับ K.  ให้เพียงพอต่อความต้องการของพืชเพื่อใช้ในการพัฒนาผลผลิต  ช่วยในการสร้างรูปร่างลักษณะและแบบของดอก-ผล  และน้ำหนัก
 
       - LAIN-LAIN  BACTERIA & OTHER BACTERIA มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสารพิษในแอมโมเนีย  ให้เป็น แอมโมเนีย ไนเตรท.  เพื่อเสริมประสิทธิระบบการดูดซึมสารอาหารในลำต้นพืช
 
       - YEAST  GROUP  SERIES มีประสิทธิภาพในการสร้างฮอร์โมนที่จำเป็น  ช่วยย่อยสลายสารอนินทรีย์ให้มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ดี  ช่วยเพิ่มสมรรถภาพและความแข็งแรงในการกำจัดเชื้อโรค
 
       - ACTINOMYCES  SERIES มีประสิทธิภาพในการสร้างสารกำจัดเชื้อโรค  ช่วยเพิ่มความ ต้านทานต่อสภาวะความรุนแรงอันเกิดจากเชื้อโรค               
 
       - GROWTH  FACTOR  PRODUCING  BACTERIA  SERIES มีประสิทธิภาพใน การสร้างฮอร์โมน  เพื่อเสริมสร้างความเจริญทางด้าน  ต้น.  กิ่ง.  ใบ.                


    23. น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง (เน้น..... เลือกวัสดุส่วนผสมเฉพาะตัว และกรรมวิธีในการหมัก) หมักข้ามปี  หลังจากกากส่วนผสมทั้งหมดจมลงนอนก้นถังแล้วไม่มีการคนให้อากาศตลอดระยะเวลาข้ามปี  จะมีจุลินทรีย์กลุ่มบาซิลลัส.ที่ไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นจำนวนมาก  จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะผลิตสาร  "ท็อกซิก"  ซึ่งเป็นสารพิษต่อศัตรูพืช (โรค-แมลง-หนอน) เมื่อใช้ให้ทางใบประจำจะช่วยป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้.......ในถังหมักน้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง  ไม่มีแมลงวันตอม  เป็นสิ่งบอกเหตุว่าในน้ำหมักนั้นมีสารท็อกซิก.
            
 
   24. จุลินทรีย์ดีมีประโยชน์กินกากน้ำตาลหรือสารรสหวานเป็นอาหาร  ในขณะที่จุลินทรีย์โทษ (เชื้อโรค) ไม่กินสารรสหวาน  การมีสารรสหวานในอัตราส่วนที่เหมาะสมจะช่วยให้จุลินทรีย์ดีมีประโยชน์เจริญพัฒนาแล้วกำจัดจุลินทรีย์โทษได้เองตามธรรมชาติวิสัยของจุลินทรีย์               

 
   25. ในถังหมักที่เป็นของเหลวและมีจุลินทรีย์เป็นองค์ประกอบหนึ่งทุกชนิด  ย่อมมีจุลินทรีย์หลากหลายชนิด  ทั้งที่เจาะจงใส่ลงไปและที่เกิดเองตามธรรมชาติ  เมื่อจุลินทรีย์เหล่านี้ตายจะเกิดเป็นฝ้าบนผิวหน้าของๆเหลวที่หมักนั้น  ถ้าเป็นจุลินทรีย์ดีมีประโยชน์ ฝ้านั้นจะไม่มีกลิ่น  ครั้นเมื่อคนให้ฝ้าจมลงจะกลายเป็นอาหารอย่างดีของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตอยู่.........แต่ถ้าเป็นจุลินทรีย์โทษ (เชื้อโรค) จะมีกลิ่นเหม็น แสดงว่าอัตราส่วนวัสดุที่ใช้หมักกับกากน้ำตาลไม่สมดุลกัน  จึงเกิดจุลินทรีย์โทษได้  แก้ไขโดยเติมเพิ่มกากน้ำตาล  คนเคล้าให้เข้ากันดีทั่วถัง จากนั้นจะลินทรีย์ดีจะกินกากน้ำตาลแล้วเจริญพัฒนาขึ้นและกินฝ้าจุลินทรีย์โทษจนจุลินทรีย์โทษจะค่อยๆตายแล้วหมดไปในที่สุดไป  
             
 
    26. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่ขยายเชื้อใน  "น้ำ + สารรสหวาน + อากาศ"  หลังจากผ่านขั้นตอนการขยายเชื้อเรียบร้อยแล้ว  จะต้องนำขึ้นจาก  "น้ำขายเชื้อ"  ออกใช้งานทันที  หรือนำไปฝากหรือส่งไปอยู่ในที่ชื้น เช่น  ปุ๋ยอินทรีย์.  ปุ๋ยคอก.  หรือลงดินไปเลย......การเก็บนานจุลินทรีย์ที่ผ่านการขยายเชื้อแล้วไว้ในน้ำสารรสหวาน จะทำให้จุลินทรีย์ชุดแรกที่ได้ตายแล้วเกิดจุลินทรีย์ชุดใหม่ขึ้นมาแทน  เป็นเหตุให้ไม่ได้จุลินทรีย์ประเภทที่ต้องการ                
         การใช้จุลินทรีย์ชนิดน้ำจากท่องตลาดซึ่งมีสารรสหวาน (น้ำ) เป็นแหล่งอาศัย  จึงเท่ากับได้เพียง  "สารอาหาร"  จุลินทรีย์เท่านั้น  โดยไม่มีตัวจุลินทรีย์แต่อย่างใด  เมื่อไม่มีตัวจุลินทรีย์หรือมีแต่น้ำสารอาหารจุลินทรีย์เปล่าๆ แล้ว  "ใช้ได้ผล"  นั้น  เป็นผลโดยตรงของ  "จุลินทรีย์ประจำถิ่น"  ซึ่งอดีตที่ผ่านมาไม่เคยได้รับสารอาหารใดๆเลย  ครั้นเมื่อได้รับสารอาหารก็ย่อมเจริญพัฒนาเป็นธรรมดา                  
         การเก็บจุลินทรีย์เพื่อใช้งานนานๆ  ต้องเก็บใน  "ความชื้น-อากาศ-อุณหภูมิ.ควบคุม"   เช่น  เก็บในผงคาร์บอนเบา.  แป้งข้าวฟ่าง.  มูลม้า.  รำพวนข้าว. เป็นต้น           

 
    27. เทคนิคการใช้จุลินทรีย์ท้องตลาดให้ได้ผลสูงสุด  ทำดังนี้   เตรียม  "น้ำ (พีเอช 6.0) 10 ล. + น้ำมะพร้าว 1 ล. + กากน้ำตาล 1 ล."  คนเคล้าให้เข้ากันดีแล้วเติม  "จุลินทรีย์ (ผง) 100 กรัม"  คนเคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้ง......เติมอากาศ (ปั๊มออกซิเจน) ตลอดเวลานาน 48 ชม.  ครบกำหนดแล้วให้นำออกใช้ทันที            


     28. ในกากน้ำตาลมีสารพิษต่อ 18 ชนิด  ก่อนใช้งานขยายเชื้อจุลินทรีย์ควรนำขึ้นความร้อน 70 องศาเซลเซียส นาน 30 นาทีก่อน  ความร้อนจะช่วยสลายฤทธิ์ความเป็นพิษในกากน้ำตาลได้            

  
    29. สารรสหวานตามธรรมชาติ  ได้แก่  น้ำผึ้ง.  น้ำอ้อย.  น้ำตาลจากมะพร้าว-ตาล.  น้ำต้มฝักก้ามปูสุก.  เป็นสารรสหวานที่ปราศจากสารเคมีอย่างแท้จริง           

 
    30. การใส่  "อินทรีย์วัตถุ"  ลงไปในดิน พีเอช 6.0  แล้วราดรดด้วย   "สารรสหวาน"  เดี่ยวๆ  คือการให้อาหารแก่จุลินทรีย์ ที่มีอยู่เดิมในอินทรียวัตถุและในดิน  เทคนิคนี้  นอกจากจะได้ประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล เหนือกว่าการใส่จุลินทรีย์จากแหล่งอื่นแล้วยังประหยัดและไม่ต้องเสี่ยงกับจุลินทรีย์โทษที่อาจแฝงปนเปื้อนมาด้วย 


ตรวจสอบจุลินทรีย์น้ำ : (สี.  กลิ่น.  กาก.  ฝ้า.  ฟอง.  รูป.  กรด-ด่าง)

สี...... น้ำตาลอ่อน ถึง น้ำตาลไหม้  แต่ไม่ถึงกับดำ  ขึ้นอยู่กับปริมาณกากน้ำตาล

กลิ่น... หวานอมเปรี้ยว  ออกฉุดนิดๆ  ดมแล้วไม่เวียนหัว  ไม่น่ารำคาญ  ถ้ามีกลิ่นเหม็นเน่า  นั่นคือ จุลินทรีย์กลุ่มแบคทีเรีย (เชื้อโรค)

กาก
... ส่วนที่อ่อนนิ่ม ถึง เละ จะนอนก้น  ส่วนที่แข็งหยาบจะลอยหน้า

ฝ้า
..... สีขาวอมเทา  พวกนี้เป็นจุลินทรีย์กลุ่ม  "รา" ที่ตายแล้ว  เมื่อคนลงไปจะกลายเป็นสารอาหารของพวกที่ยังไม่ตาย

ฟอง
... ปล่อยวางนิ่งๆ จะมีฟองเล็กๆ ละเอียดๆ ผุดขึ้นมาจากด้านล่างของภาชนะหมัก เกิดจากกระบวนการจจุลินทรีย์ (ไม่แน่ใจว่าจุลินทรีย์หายใจหรือเปล่า เพราะจุลินทรีย์ไม่มีปอด) ฟองผุดบ่อยๆ ฟองขนาดใหญ่ แสดงว่าจุลินทรีย์มากและแข็งแรง  ถ้าไมมีฟองก็แสดงว่าไม่มีจุลินทรีย์

รูปลักษณ์
..... ขุ่น  ใส  มีตะกอนละเอียดแขวนลอย 

กรด-ด่าง
......ค่า พีเอช  4.0- 6.0  



ทดสอบ
:

กรอกใส่ขวด  แล้วปิดปากขวดด้วยลูกโป่ง  ทิ้งไว้ในร่ม  อุณหภูมิห้อง  ไม่คนไม่เขย่า  นาน 24 - 48 - 72  ชม.    สังเกตุ..... 

1..... ลูกโป่งพอโต  โตมากแสดงว่ามีจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศจำนวนมาก แข็งแรง  พองน้อยจุลินทรีย์น้อย  ไม่พองเลยก็แสดงว่าไม่มีจุลินทรีย์ 

2.... ช่วงแรกที่ลูกโป่งพอโต ต่อมาลูกโป่งยุบแล้วถูกดูดเข้าไปในขวด  กรณีนี้เกิดจากจุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศ  ก็แสงดงว่าจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศตายหมดแล้ว  จุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นมาแทน 

3.... บรรจุขวดพลาสติกเปล่า  ปิดฝาสนิท  แน่น  วางทิ้งไว้  ถ้าขวดบวมพองออกแสดงว่าเป็นจุลินทรีย์ดี  เป็นจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศ ถ้าขวดไม่บวมพองหรือบวมพองน้อยก็หมายถึงจุลินทรีย์เหมือนกัน  ก็ได้

4.... บรรจุขวดช่วงแรกขวดบวมพอง  ต่อมาขวดยุบบุบบู้บี้  แสดงว่า จุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศตายหมดแล้ว  จุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นมาแทน


หมายเหตุ :
- จุลินทรีย์ คือ สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุด  ได้แก่  รา-แบคทีเรีย-ไวรัส  วงจรชีวิตประกอบด้วย  เกิด-กิน-ถ่าย-ขยายพันธุ์-ตาย.....ประเภทต้องการอากาศ ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีอากาศ  ถ้าไม่มีอากาศจะตาย.....ประเภทไม่ต้องการอากาศ ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่มีอากาศ  ถ้ามีอากาศจะตาย

- การบรรจุในขวดปิดสนิทแน่น  อากาศเข้าไม่ได้  จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศจะใช้อากาศที่พอมีอยู่ในขวดนั้นเพื่อการดำรงชีวิต  ช่วงนี้จุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศจะยังไม่เกิด  ครั้นเมื่ออากาศในขวดหมด  จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ เกิดอาการขาดอากาศจึงตาย  พร้อมกันนั้นจุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศก็เริ่มเกิดแล้วเจริญเติบโต

- จุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศ อาศัยอยู่บริเวณผิวดินที่อากาศผ่านได้  ส่วนจุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศอาศัยอยู่ใต้ดินลึกบริเวณที่อากาศลงไปไม่ถึง.......จุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศมีพลังในการย่อยสลายสูงกว่าจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศ






ตรวจสอบจุลินทรีย์ผง :




ตรวจสอบจุลินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์ :











สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (5373 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©