....
จุลินทรีย์ที่มีบทบาทในกองปุ๋ยหมัก มีหลายประเภท ประกอบด้วยเชื้อรา แบคทีเรีย และ แอคติโนมัยซิท ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ บทบาทของจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักมีดังนี้
1.) เชื้อรา (Fungi) ในกองปุ๋ยหมักจะพบเชื้อราอยู่เสมอ ชนิดและปริมาณของเชื้อราจะขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ทำปุ๋ยหมัก ความชื้น และอุณหภูมิในกองปุ๋ยหมัก เชื้อราจะเจริญได้ดีในระยะแรกของการหมักปุ๋ย เนื่องจากในระยะแรกของการหมัก กองปุ๋ยหมักจะมีอุณหภูมิที่ไม่สูงมากนัก เพราะถ้ากองปุ๋ยหมักมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นและความชื้นสูง ก็จะเป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญของแบคทีเรียมากกว่าเชื้อรา ดังนั้นจึงมักพบเชื้อราเจริญอยู่บริเวณผิวนอกของกองปุ๋ยหมักซึ่งมีอุณหภูมิและความชื้นต่ำกว่าภายในกองปุ๋ยหมัก แต่เมื่อกองปุ๋ยหมักมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึง 65 องศาเซลเซียส จะไม่พบเชื้อรา แต่ถ้าอยู่ในสภาพแห้งที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส เชื้อรายังสามารถเจริญอยู่ได้
เชื้อรามีบทบาทในการย่อยสลายเศษวัสดุในกองปุ๋ยหมักให้มีขนาดเล็กลงในระยะแรกของการหมักในกองปุ๋ยหมัก ซึ่งอุณหภูมิภายในกองปุ๋ยหมักยังไม่สูงมากนักจะพบเชื้อราพวก Geotrichum candidium และ Aspergillus fumigatus เมื่ออุณหภูมิสูงถึง 45-55 องศาเซลเซียส มักจะตรวจพบเชื้อราพวก Cladosporium sp., Aspergillus sp. และ Mucor sp. เมื่ออุณหภูมิสูงกว่านี้อาจจะพบเชื้อราพวก Penicilium duponti แต่ชนิดของเชื้อราดังกล่าวที่พบนี้อาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและวัสดุที่นำมาใช้ทำปุ๋ยหมัก
2.) แบคทีเรีย (Bacteria) เป็นจุลินทรีย์ที่พบมากที่สุดในกองปุ๋ยหมัก ประมาณ 80-90% ของจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดที่พบในกองปุ๋ยหมัก ประมาณทั้งหมดที่พบในกองปุ๋ยหมักมีค่าประมาณ 2.3x108 เซลล์ต่อกรัม ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ทำปุ๋ยหมัก
แบคทีเรียมีบทบาทสำคัญในกระบวนการย่อยสลายและเกิดความร้อนในกองปุ๋ยหมัก ในระยะแรกของการหมักอุณหภูมิภายในกองปุ๋ยหมักจะไม่สูงมากนัก แบคทีเรียส่วนใหญ่ที่พบมากจะเป็นพวก Bacillus sp., Pseudomonas sp., Cellulomonas sp., Flavobacterium sp., Micrococcus sp. และ Achromobacter sp.ระยะต่อมาของการหมักกองปุ๋ยหมักจะมีอุณหภูมิภายในกองสูงมากขึ้น ในช่วงอุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส แบคทีเรียที่เจริญได้ดีจะเป็นพวก Bacillus subtilis และ Bacillus stearothermophilus ในช่วงที่อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยหมักสูงขึ้น ในบางกรณีอาจสูงถึง 65-70 องศาเซลเซียส แบคทีเรียที่เจริญได้และสามารถทนความร้อนสูงได้แก่ พวก Thermus sp. ที่สามารถเจริญได้ในช่วงอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส และพวก Bacillus sp. ที่สามารถสร้างสปอร์ได้ นอกจากนี้ยังพบแบคทีเรียที่สามารถสร้างสปอร์ด้เช่นกัน แต่เจริญในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน ได้แก่ Clostridium sp.
3.) แอคติโนมัยซิท (Actinomycetes) แอคติโนมัยซิทจะมีอัตราการเจริญเติบโตช้ากว่าเชื้อราและแบคทีเรีย เจริญได้ดีในสภาพที่มีอากาศพอเพียง เป็นจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโต สามารถเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 65-75 องศาเซลเซียส เมื่ออุณหภูมิสูงเกินกว่า 75 องศาเซลเซียส มักจะไม่พบเชื้อแอคติโนมัยซิท ลักษณะของเชื้อที่พบบนกองปุ๋ยหมักจะเจริญเป็นกลุ่ม เห็นเป็นจุดสีขาวคล้ายๆ ผงปูน หลังจากอุณหภูมิสุงขึ้นจนสูงมาก
เชื้อแอคติโนมัยซิท มีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายอินทรียสาร เช่น เซลลูโลส ลิกนิน ไคติน และโปรตีน ที่มีอยู่ในกองปุ๋ยหมักขณะที่อุณหภูมิสูง โดยเชื้อแอคติโนมัยซิทที่มักพบเสมอในกองปุ๋ยหมัก ได้แก่ พวก Thermoactionalmyces sp. และ Thermomonospora sp. ซึ่งเป็นพวกที่สามารถผลิตเอ็นไซม์เซลลูเลสออกมาย่อยเซลลูโลสได้อย่างมีประสิทธิภาพและอาจพบ Streptomyces sp. และ Micropolyspora sp. ในกองปุ๋ยได้เช่นกัน
จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการละลายฟอสเฟต
จุลินทรีย์
|
ชนิดของฟอสเฟต
|
แบคทีเรีย
|
|
Bacillus sp., B.pulvifaciens, B.megaterium
|
Mineral
|
B.circulans, B.subtilis, B.mycoides
|
Tricalcium phosphate
|
B.mesentericus, B.fluorescens
|
Calcium phosphate
|
B.circulans
|
Iron phosphate
|
Pseudomonas sp., Ps.Putida, Ps.liquifaciens
|
Hydroxy apatite
|
Ps.Calcis, Ps.rathoria
|
Flourapatite
|
Escherichia freundii, E.intermedia
|
Rock phosphate
|
Xanthomonas spp.
|
|
Flavobacterium spp.
|
Organic
|
Brevibacterium spp.
|
Calcium phosphate
|
Serretia spp.
|
Calcium glycerophosphate
|
Alcaligenes spp.
|
Phytin
|
Achromobacter spp.
|
Lecithin
|
Aerobacter aerogenes
|
Hexose monophosphatic
|
Erwinia spp.
|
Ester
|
Nitrosomonas spp.
|
Phenyl phosphate
|
Thiobacillus thiooxidans
|
Orther organic phosphate
|
เชื้อรา
Aspergillus sp., A.niger, A.flavus, A.fumigatus, A.terreus, A.awamori, Penicillium sp., P.lilaciunm, P.digitatum, Fusarium sp., F.oxysporum, Curvularia lunata, Humicola sp., Sclerotium rolfsii, Pythium sp., Aerothecium sp., Phoma sp., Mortierella sp., Paecilomyces sp., Cladosporium sp., Rhizoctonia sp., Cunninghamella sp., Rhodotorula sp., Candida sp., Schwanniomyces occidentalis, Oideodendron sp., Pseudonymnoascus sp.
|
แอคติโนมัยซิท
Streptomyces sp., Nocardia sp.
|
ที่มา : แนวคิด หลักการ เทคนิคปฎิบัติในประเทศไทย เกษตรธรรมชาติ ประยุกต์ โดย รศ. ดร.อานัฐ ต้นโช
http://www.maejonaturalfarming.org
http://www.oknation.net/blog/kontan/2008/02/02/entry-1
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.