-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 797 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์





การทำเกษตรธรรมชาติฟูกูโอกะ


มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เป็นเจ้าของแนวคิดเกษตรธรรมชาติที่เป็นที่รู้จักในหมู่เกษตรกรและนักวิชาการชาวไทยเป็นอย่างดี ภายหลังจากที่หนังสือ One Rice Straw Revolution หรือในชื่อไทยคือ ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว ได้รับการเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2530 ฟูกูโอกะได้รับรางวัล แมกไซไซ ในปี 2531 จากผลงานเกษตรธรรมชาติซึ่งมีหลักการสี่ประการได้แก่ การไม่ไถพรวน การไม่ใช้ปุ๋ยเคมี การไม่กำจัดวัชพืช และการไม่ใช้สารเคมี ซึ่งหลักการของฟูกูโอกะได้สวนทางกับการเกษตรกรรมแผนปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ฟูกูโอกะเป็นนักโรคพืชวิทยาที่ผันตัวเองไปเป็นเกษตรกรมาไม่ต่ำกว่า 50 ปี โดยพยายามที่จะฟื้นฟูดินและระบบนิเวศในไร่นาให้กลับมามีชีวิตดังเดิม สร้างเสริมความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พรรณไม้และพืชผลในทางคุณภาพและปริมาณอีกด้วย


มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2454 ในหมู่บ้านเล็กๆ บนเกาะซิโกกุทางตอนใต้ของญี่ปุ่น และจบการศึกษาทางจุลชีววิทยาสาขาโรคพืชวิทยา เคยทำงานเป็นนักวิจัยทางการเกษตรของกรมศุลกากรเมืองโยโกฮาม่าในการตรวจสอบพันธุ์พืชที่จะนำเข้าและส่งออก เมื่อเขาอายุได้ 25 ปี ได้ตัดสินใจลาออกจากงานและกลับไปทำเกษตรกรรมที่บ้านในชนบท เขาใช้เวลากว่า 50 ปี ไปกับการพัฒนาวิธีการทำการเกษตรธรรมชาติ


ฟูกูโอกะเป็นผู้นำงานจากห้องทดลองออกมาสู่ไร่นา เขาอธิบายว่า ชาวนาเชื่อว่าทางเดียวที่จะให้อากาศเข้าไปปรับสภาพเนื้อดินได้ดี คือ ต้องใช้จอบ พลั่ว ไถ หรือใช้แทรคเตอร์พรวนดิน แต่ยิ่งไถพรวนมาก ดินก็จะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากขึ้นทำให้อนุภาคของดินแตกกระจายออกจากกันทำให้อนุภาคของดินเหล่านี้เข้าไปอุดอยู่ในช่องว่างในดิน ดินก็จะแข็งขึ้นเกิดชั้นดินดาน ถ้าปล่อยให้วัชพืชทำหน้าที่นี้แทน รากของวัชพืชจะซอนไซลงไปได้ลึกได้ถึง 30-40 ซม. ซึ่งจะช่วยทำให้ทั้งอากาศและน้ำผ่านเข้าไปในเนื้อดินได้ เมื่อรากเหล่านี้ตายก็เป็นอาหารของจุลินทรีย์ทำให้แพร่ขยายจำนวนมากขึ้น ไส้เดือนก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นและตัวตุ่นก็จะมีตามมา ซึ่งจะช่วยขุดดิน เป็นการช่วยพรวนดินตามธรรมชาติ ดินจะร่วนซุย และสมบูรณ์ขึ้นเองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องให้มนุษย์ช่วย เพียงแต่ปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง


ทฤษฎีของฟูกูโอกะนี้เป็นการเดินตามหลักเกณฑ์ของธรรมชาติ และเป็นวิธีบำรุงธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยมุ่งเน้นวิธีการคลุมดิน ไม่มุ่งเน้นในเรื่องการทำปุ๋ยหมัก เพราะการคลุมดินจะช่วยปรับสภาพดินได้เป็นธรรมชาติกว่า




วิธีการทำเกษตรธรรมชาติของฟูกูโอกะ มีดังนี้

1.) ไม่มีการไถพรวนดินด้วยเครื่องจักรกล

2.) ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี แต่จะใช้วิธีการปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน โดยไม่สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก แต่ให้ใช้ฟางข้าวโรยคลุมดินแทน

3.) ไม่มีการกำจัดวัชพืช แต่ใช้หลักการคุมปริมาณวัชพืช โดยใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน หรือใช้ฟางข้าวคลุมดิน

4.) ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง แต่อาศัยการควบคุมโรคและแมลงด้วยกลไก การควบคุมกันเองของ สิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ โดยเชื่อว่าวิธีการควบคุมโรคและแมลงที่ดีที่สุด คือ การปลูกพืชในสภาพแวดล้อมที่มีความสมดุลทางนิเวศวิทยา


ฟูกูโอกะเชื่อในการบำรุงรักษาดิน และการปล่อยให้สภาพแวดล้อมคงอยู่ตามธรรมชาติ ไม่แยกสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันตามธรรมชาติออกจากกัน โดยเขาได้กล่าวไว้ว่า  “ถ้าเราเปลี่ยนแปลงวิธีการเพาะปลูกธัญญาหารของเราเท่ากับเราเปลี่ยนแปลงลักษณะอาหาร เปลี่ยนแปลงลักษณะสังคม และเปลี่ยนวิถีชีวิตค่านิยมของเราไปด้วย”


การทำเกษตรธรรมชาติของฟูกูโอกะไม่ได้ปล่อยให้ธรรมชาติจัดการทุกอย่างเอง โดยที่เกษตรกรนั่งดูอยู่เฉยๆ โดยไม่ลงมือปฏิบัติอะไรเลย แต่ตัวเกษตรกรเองจะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และทำการเกษตรกรรมโดยประสานความร่วมมือกับธรรมชาติ มากกว่าพยายามที่เปลี่ยนแปลงธรรมชาติ และเพื่อลดการใช้ปัจจัยการผลิตที่ไม่จำเป็นลง มีจุดมุ่งหมายของการทำการเกษตรไม่ใช่เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของผลผลิต ฟูกูโอกะได้กล่าวว่า   “การทำเกษตรกรรมด้วยความรู้สึกที่เป็นอิสระในแต่ละวัน คือ วิธีดั้งเดินของเกษตรกรรม ซึ่งมนุษย์เรามิได้มีชีวิตอยู่ด้วยอาหารเพียงอย่างเดียว”




ข้อดีและข้อจำกัดของการทำเกษตรธรรมชาติฟูกูโอกะ


ข้อดี

1.) สมดุลทางธรรมชาติไม่ถูกทำลาย

2.) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อคนและสัตว์

3.) สามารถปรับปรุงการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมให้ดีขึ้น

4.) ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพปราศจากสารพิษ

5.) ลดต้นทุนการผลิต และใช้แรงงานน้อย


ข้อจำกัด

1.) ต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ

2.) เห็นผลช้า ไม่รวดเร็วทันใจ

3.) เกษตรกรต้องมีความพยายามและมีความอดทน

4.) ผลิตผลไม่สวยงามเมื่อเทียบกับการเกษตรสมัยใหม่

5.) ไม่สามาถผลิตเป็นการค้าได้ทีละมากๆ





ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2332 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©