กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตร
1. จุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน (Nitrogen Fixing Microorganisms) ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มแบคทีเรีย เพราะทำงานเร็วและมีจำนวนอยู่มาก โดยครึ่งหนึ่งของมวลจุลินทรีย์ทั้งหมดในโลกคือ แบคทีเรีย แบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจนได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องอยู่ร่วมกับตัวอื่นถึงจะตรึงไนโตรเจนได้แบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน (Symbiosis) เช่น ไรโซเบียม (Rhizobium sp.) ในปมรากพืชตระกูลถั่ว และอีกกลุ่มหนึ่งที่ตรึงไนโตรเจนได้อย่างอิสระ (Non-Symbiosis)
2. จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ หรือเซลลูโลส (Cellulolytic Microorganisms หรือ Cellulolytic Decomposers) เป็นพวกที่ย่อยสลายเซลลูโลส หรือซากพืช ซากสัตว์ ประกอบไปด้วย แบคทีเรีย รา แอคติโนมัยซิท และโปรโตซัว จุลินทรีย์พวกนี้พบได้ทั่วไประหว่างการสลายตัวของเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่างๆ ซากพืช ซษกสัตว์ ใบไม้ กิ่งไม้ เศษหญ้า และขยะอินทรีย์ชนิดต่างๆ ทำให้เกิดปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ขึ้นมาได้เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น
ในปุ๋ยหมักที่มีกิจกรรมจุลินทรีย์ค่อนข้างดีพบว่าในทุก 1 กรัมของปุ๋ยหมักจะต้องมีแบคทีเรีย 150-300 ไมโครกรัมและมีแบคทีเรียที่มีกิจกรรมสูง (Active) อยู่ 15-30 ไมโครกรัม มีเชื้อรา 150-200 ไมโครกรัมและมีเชื้อราที่มีกิจกรรมสูง 2-10 ไมโครกรัม มีพวกโปรโตซัว ซึ่งจะย่อยสลายเศษชิ้นส่วนขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง ต้องมีถึงประมาณ 10,000 ตัวต่อ 1 กรัมของปุ๋ยหมัก และมีพวกไส้เดือนฝอยชนิดที่เป็นประโยชน์ 50-100 ตัว
3. จุลินทรีย์ที่ละลายฟอสเฟตและธาตุอาหารพืชอื่นๆ (Phosphate and Other Nutrient Elements Solubilizing Microorganisms) จุลินทรีย์พวกนี้สามารถทำให้ธาตุอาหารพืชหลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ทองแดง และแมงกานีส ที่มักอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ ให้ละลายออกมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ช่วยส่งเสริมให้รากพืชดูดกินธาตุอาหารพืชได้ดีขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารบางชนิดได้ หรือดูดกินได้น้อย
จุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการแปรสภาพฟอสฟอรัสจะมีทั้งกลุ่มที่ทำหน้าที่เปลี่ยนอินทรีย์ฟอสฟอรัสและอนินทรีย์ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ในกรณีของสารอินทรีย์ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชจะอยู่ในรูปของไฟทิน และกรดฟอสฟอรัส จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะสร้างเอนไซม์ Phytase, Phosphatase, Nucleotidases และ Glecerophosphatase เพื่อแปรสภาพอินทรีย์ฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปของอนินทรีย์ฟอสฟอรัสที่เรียกว่า ออโธฟอสเฟต (Orthophosphate) ซึ่งเป็นพวกโมโน (Mono) และ ไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (Dihydrogen Phosphate) จุลินทรีย์ดังกล่าวได้แก่ แบคทีเรียในสกุล Bacillus sp. และราในสกุล Aspergillus sp., Thiobacillus, Penicillium sp. และ Rhizopus sp. เป็นต้น นอกจากนี้สารประกอบอนินทรีย์ฟอสฟอรัสบางชนิดในรูปของหินฟอสเฟตซึ่งพืชยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้จุลินทรีย์บางชนิดในสกุล Bacillus sp. และ Aspergillus sp. จะสร้างกรดอินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสออกมาให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ นอกจากนี้เชื้อราไมคอร์ไรซา (Mycorrhizal Fungi) ยังมีบทบาทในการละลายและส่งเสริมการดูดใช้ธาตุฟอสฟอรัส
บทบาทของจุลินทรีย์ในการทำให้เกิดการหมุนเวียนทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา
4. จุลินทรีย์ที่ผลิตสารป้องกันและทำลายโรคพืช จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันและยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียพวกที่ก่อโรคบางชนิด เช่น กลุ่มแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติก (Lactic Acids Bacteria) ได้แก่ Lactobacillus spp. บนใบพืชที่สมบูรณ์และมีสุขภาพดีแจะพบแบคทีเรียกลุ่มผลิตกรดแลคติกมาก จุลินทรีย์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ต้องการออกซิเจน (Anaerobic Microorganisms) และมีประโยชน์อย่างมากในการเกษตร เช่น เปลี่ยนสภาพดินจากดินไม่ดีหรือดินที่สะสมโรคให้กลายเป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชให้มีจำนวนน้อยลง มีประโยชน์ทั้งกับพืชและสัตว์ นอกจากนี้ยังมีจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการสร้างสารปฏิชีวนะออกมาทำลาลเชื้อโรคพืชบางชนิด เช่น เชื้อรา Aspergillus sp., Trichoderma sp. และเชื้อแอคติโนมัยซิทพวก Streptomyces sp.
5. จุลินทรีย์ที่ผลิตฮอร์โมนพืช แบคทีเรียหลายสายพันธุ์ เช่น Bacillus sp. สามารถสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน เป็นต้น ซึ่งสามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช
จุลินทรีย์ย่อยสลายไขมันได้อย่างไร
.กลุ่มจุลินทรีย์สำหรับการย่อยสลาย
.กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria)
.กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก (Lacitic acid bacteria)
.กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน (Nitrogen Fixing bacteria)
.กลุ่มจุลินทรีย์แอคทีโนมัยซีทส์ (Actenomycetes)
.กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์ (Yeasts)
www.vcharkarn.com › ... › วิทยาศาสตร์ › ชีววิทยา -
ย่อยสลายไขมัน
6. ผู้ช่วยย่อยอาหาร
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จำพวก แพะ แกะ ม้า วัว ควาย กินพืชซึ่งมีเซลลูโลสและพอลิแซ็กคาไรด์อื่นๆ โดยที่สัตว์เหล่านี้ไม่มีเอนไซม์ ที่จะใช้ย่อยอาหารดังกล่าวได้ สัตว์เหล่านี้จะมีวิวัฒนาการ เพื่อแก้ปัญหาการนำเซลลูโลสจากพืชมาเป็นอาหาร โดยดำรงชีวิตร่วมกับแบคทีเรีย และโพรโทซัว จุลินทรีย์เหล่านี้จะอาศัยทางเดินอาหารของสัตว์กินพืชเป็นที่อยู่อาศัย และทำหน้าที่ย่อยเซลลูโลสให้เป็นกลูโคสเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ทั้งจุลินทรีย์และสัตว์กินพืช การย่อยสลายกลูโคสของจุลินทรีย์เป็นการหมัก ( fermentation ) ซึ่งไม่ต้องใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์ยังช่วยสังเคราะห์วิตามินบีให้กับสัตว์กินพืชอีกด้วย
สัตว์กีบเป็นพวกที่ประสบผลสำเร็จที่สุดในการมีจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายอาหารที่เป็นเซลลูโลส ดังนั้น วัว ควาย แพะ แกะ ม้า เมื่อกินหญ้าเข้าไปหญ้าจะเข้าไปพักอยู่ชั่วคราวในทางเดินอาหาร หลังจากนั้น สัตว์จะสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวเอื้องให้ละเอียด จึงกลืนกลับเข้าไปใหม่ อาหารจะผ่านเข้าสู่ รูเมน (rumen) ซึ่งเป็นหลอดอาหารส่วนท้ายที่พองโตแล้วเริ่มปฏิกิริยาการหมักโดยอาศัยจุลินทรีย์ จากนั้นอาหารจะผ่านลงกระเพาะอาหารเพื่อเกิดการดูดซึม เข้าสู่เลือด กระเพาะอาหารประกอบด้วย ส่วนที่เป็น เรทิคิวลัม (reticulum) โอมาซัม (omasum) และแอบโอมาซัม (abomasum) นอกจากช่วยย่อยสลายแล้ว จุลินทรีย์ยังช่วยสังเคราะห์โปรตีน จากแอมโมเนียและยูเรียได้ด้วย จุลินทรีย์หากมีมากเกินไปจะถูกย่อยด้วยเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนของตัวให้อาศัย เพื่อเป็นอาหารของตัวให้อาศัยได้อีกด้วย
วัวจะสร้างน้ำลายวันละ 60 ลิตร เพื่อช่วยทำให้ทางเดินอาหารชุ่มชื้นอยู่เสมอวัวสามารถปล่อยแก๊สออกมาในอัตราสูงถึงนาทีละ 2 ลิตร โดยระเหยออกมากับเหงื่อในรูปของแก๊สมีเทน และแก๊สชนิดอื่นๆ
กระต่ายเป็นสัตว์กินหญ้า จะมีลำไส้ใหญ่ซีคัมใหญ่เป็นพิเศษ ภายในมีแบคทีเรียอยู่มากมาย ทำหน้าที่ย่อยเซลลูโลส กระต่ายมีการปรับตัวที่น่าสนใจ คือ ขณะที่อยู่ในโพรงตอนกลางคืน กระต่ายจะถ่ายมูลออกมาจากซีคัม มันจะกินมูลที่เป็นแบคทีเรียทั้งหมดเข้าไปใหม่ เพื่อนำไปใช้ย่อยเซลลูโลส และสร้างวิตามินให้ตัวมันต่อไปอีก
รูปที่ 3.14 ก. ตำแน่งอวัยวะที่ทำหน้าที่หมัก และย่อยอาหารของวัว
ข. อวัยวะที่ทำหน้าที่หมัก และย่อยอาหาร แอบโอมาซัมเท่านั้น
ที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ลูกศรแสดงทิศทางเดินของอาหาร
( ที่มา : วิสุทธิ์ ใบไม้ และคนอื่นๆ. 2530 : 381 )
*****************************************************************
บทสรุป
การย่อยอาหาร เป็นกระบวนการทางกายภาพ และทางเคมีที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้สารที่มีโมเลกุลเล็กพอที่เซลล์จะนำไปใช้ประโยชน์ได้
หน้าที่ของระบบย่อยอาหารในสัตว์มีกระดูกสันหลัง
1. ย่อยอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ ให้มีขนาดเล็กลง
2. ดูดซึมอาหารที่มีโมเลกุลเล็กเข้าสู่เส้นเลือดและท่อน้ำเหลือง
3. ขับกากอาหาร และของเสีย ออกนอกร่างกาย
อวัยวะทางเดินอาหารของมนุษย์
1. ปาก ประกอบด้วย
ริมฝีปากและลิ้น ทำหน้าที่ส่งอาหารให้ฟันบดเคี้ยว นอกจากนี้ลิ้นยังช่วยคลุกเคล้าอาหาร และส่งอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร
ฟัน ฟันน้ำนมจะเริ่มงอกเมื่ออายุได้ 6 เดือน จะงอกเพิ่มขึ้นจนครบ 20 ซี่ฟันแท้ มี 32 ซี่ ฟันช่วยบดเคี้ยวให้อาหารมีขนาดเล็กลง
ต่อมน้ำลาย ขับน้ำลายออกมาคลุกเคล้ากับอาหาร ในน้ำลายมีเอนไซม์อะมิเลส ทำหน้าที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล น้ำลายมีแคลเซียมสูง เพื่อป้องกันมิให้มีการละลายแคลเซียมออกจากฟัน
2. คอหอยและหลอดอาหาร หลอดอาหารเป็นทางผ่านของอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร บริเวณคอหอยมีต่อมทอนซิล ซึ่งมีหน้าที่ทำลายจุลินทรีย์ที่ผ่านเข้ามากับอากาศที่หายใจเข้า
3. กระเพาะอาหาร อยู่ด้านซ้ายของร่างกายใต้กะบังลมมีรูปคล้ายตัว เจ ( J ) กระเพาะจะมีปริมาตร 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร และสามารถขยายตัวได้ 10 – 40 เท่า ในกระเพาะอาหารมีเอนไซม์ที่ช่วยย่อยโปรตีน เอนไซม์นี้ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นกรด กรดที่กระเพาะอาหารสร้าง คือ กรดเกลือ
4. ลำไส้เล็ก เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากกระเพาะอาหาร โดยมีกล้ามเนื้อหูรูดกั้น การย่อย
อาหารที่ลำไส้เล็กนี้ถือว่าสำคัญที่สุด เพราะลำไส้เล็กสามารถย่อยอาหารได้ทุกประเภททั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน นอกจากนี้ อาหารส่วนใหญ่ถูกย่อยระหว่างที่อยู่ในลำไส้เล็ก อาหารที่ถูกย่อยแล้ว จะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กเข้าสู่เส้นเลือด และนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
ลำไส้ใหญ่ มีความยาวประมาณ 1.5 เมตร หน้าที่หลัก คือ การดูดซึมน้ำและเกลือแร่ และสะสมกากอาหารก่อนที่จะกำจัดเป็นอุจจาระ
ผู้ย่อยอาหาร ได้แก่ แบคทีเรีย และโพรโทซัว ที่อาศัยทางเดินอาหารของสัตว์กินพืชเป็นที่อยู่อาศัย และหน้าที่ย่อยเซลลูโลสให้เป็นกลูโคส การย่อยสลายกลูโคสของจุลินทรีย์เป็นการหมัก ซึ่งไม่ต้องใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์ยังช่วยสังเคราะห์วิตามินบีให้กับสัตว์กินพืชอีกด้วย สัตว์กีบประสบผลสำเร็จที่สุดในการมีจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายอาหารที่เป็นเซลลูโลส
www.siamshop.com/tag/ย่อยสลายไขมัน/932/ -
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.