|
ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่
|
|
|
|
|
|
ขณะนี้มี 821 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม
ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่
|
|
|
|
|
|
|
|
เข้าระบบ
|
|
|
|
|
|
ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง
|
|
|
|
|
|
|
|
product13
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product9
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product10
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product11
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product12
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| |
|
|
|
|
จุลินทรีย์
น้ำสกัดชีวภาพ...ในความเห็นนักวิชาการ
|
น้ำสกัดชีวภาพ เป็นน้ำสกัดที่ได้จากการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้จากส่วนต่าง ๆ ของพืชหรือสัตว์ โดยผ่านการบวน
การหมักในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน (anaerobic condition) มีจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายเศษซากพืชและซากสัตว์
เหล่านั้นให้กลายเป็นสารละลาย รวมถึงการใช้เอนไซด์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมีการเติมเอนไซด์เพื่อเร่งการ
ย่อยสลายได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
จุลินทรีย์ที่พบในน้ำสกัดชีวภาพ มีทั้งที่ต้องการออกซิเจนและไม่ต้องการออกซิเจน มักเป็นกลุ่มแบคทีเรีย Bacillus
sp., Lactobacillus sp., Streptococcus sp. นอกจากนี้ยังอาจพบเชื้อรา ได้แก่ Aspergillus niger, Pennicillium, Rhizopus และยีสต์ ได้แก่ Canida sp., Sacarsmycetes (สุริยา, 2542)
น้ำสกัดชีวภาพที่ได้มาจากการหมักเศษพืชหรือสัตว์นั้น ถึงแม้ไม่ได้ใส่กากน้ำตาล พืชและสัตว์ ซึ่งเป็นอินทรีย์วัตถุก็จะ
ถูกย่อยสลาย โดยกระบวนการทางธรรมชาติอยู่แล้ว แต่การที่ใส่กากน้ำตาลลงไปเพื่อให้เป็นแหล่งพลังงานหรืออาหาร
ของจุลินทรีย์ จึงทำให้เกิดการย่อยสลายเร็วขึ้นกว่าการย่อยสลายตามสภาพธรรมชาติทั่วไป กระบวนการย่อยสลาย
อินทรีย์สารนั้นมีจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องหลายกลุ่มและหลังขบวนการเสร็จสิ้นก็ยังคงมีจุลินทรีย์อยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพ
แวดล้อมว่าเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดใด แต่จากการที่ตรวจสอบตัวอย่างที่ส่งมาให้กับ กลุ่มงาน
จุลินทรีย์ดิน กรมวิชาการเกษตร นั้นไม่พบจุลินทรีย์ที่ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ ดังนั้นจึงไม่ถือว่าน้ำสกัดชีวภาพนี้เป็นปุ๋ย
ชีวภาพ ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากน้ำสกัดชีวภาพนี้ควรต่างไปจากประโยชน์จากปุ๋ยชีวภาพ การใช้ประโยชน์ว่ามี
น้อยมาก เพราะปริมาณของธาตุอาหารหลักมีน้อยและการใช้จะต้องเจือจางตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป ซึ่งมีผลทำให้ความ
เข้มข้นของธาตุอาหารซึ่งมีอยู่น้อยยิ่งน้อยลงไปอีก และจุลินทรีย์ในน้ำสกัดนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นชนิดใด เพราะ
จุลินทรีย์ในธรรมชาติมีหลายล้านชนิด การย่อยสลายจึงอาจเกิดจากจุลินทรีย์จากจุลินทรีย์ได้หลายพวกในระหว่าง
ขบวนการย่อยสลายนั้นจะเกิดฮอร์โมน กลุ่มอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืชปะปนกันอยู่ในรูปน้ำจึงสูญสลายง่ายทำให้ต้อง
ใช้บ่อย ๆ และประโยชน์ในการปรับปรุงสภาพดินไม่เด่นชัดเหมือนปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ซึ่งอยู่ในรูปของแข็งจึงช่วยทำให้
โครงสร้างของดินร่วนซุยขึ้น ส่วนประโยชน์ในการป้องกันโรคนั้นมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก เพราะอย่างที่กล่าวว่าสาร
ที่ได้มีปริมาณน้อย (ภาวนา, 2542)
ยงยุทธ โอสถสภา (2542) ได้ให้ทัศนะถึงน้ำสกัดชีวภาพดังนี้ “สารสกัดจากพืชหรือสัตว์” จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบในเซลพืชหรือสัตว์อยู่มากเมื่อนำมาหมักร่วมกับน้ำตาลที่ละลายในน้ำเป็นลักษณะน้ำเชื่อม หรืออาจใช้โมลาสซึ่งเป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงกว่าน้ำภายในเซลล์ของพืชหรือสัตว์ ทำให้ผนังเซลล์สูญเสียสภาพหรือที่เรียกว่าเซลล์แตก อินทรีย์สารที่อยู่ในเซลล์จึงละลายรวมอยู่ในน้ำเชื่อมเหล่านั้น ขณะเดียวกันจุลิทรย์ที่มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติจะเข้ามาช่วยสลายเศษซากพืชหรือสัตว์ด้วย ดังนั้นอินทรีย์สารที่ได้จากการย่อยสลาย จึงมีทั้งจากของเดิมที่ได้จากพืชและของใหม่ที่ได้จากการสังเคราะห์ โดยจุลินทรีย์ ขณะที่เกิดกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์สารที่ถูกย่อยสลายจะมีโมเลกุลขนาดเล็กทำให้พืชดูดซึมได้ง่าย แต่สารต่าง ๆ ที่ได้จะมีปริมาณเล็กน้อย เพราะวัสดุที่ใช้ยังสดอยู่จึงมีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่มาก ขณะที่อินทรีย์สารที่มีอยู่น้อยกว่าวัสดุแห้งเมื่อเปรียบเทียบที่น้ำหนักเท่ากัน นอกจากนี้ผลผลิตทีได้แต่ละครั้งจะมีความแตกตางกันเนื่องจากวัตถุดิบคือซากพืชซากสัตว์ สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการโดยเฉพาะอุณหภูมิที่มีการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้คุณภาพในแต่ละครั้งไม่สม่ำเสมอ
ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้จึงมีความไม่แน่นอน เพราะพื้นที่ที่ผลิตพืชแต่ละแห่งมีปัจจัยในเรื่องของสภาพแวดล้อมแตกต่างกันทั้งเรื่องของดิน สภาพความเป็นกรด–ด่าง ดังนั้นจึงอาจพบว่าบางส่วนได้ผลดี แต่บางแห่งอาจไม่ได้ผล และดร. ยงยุทธ โอสถสภา ได้สรุปไว้ว่าเมื่อศึกษาจากขบวนการผลิตแล้วน้ำสกัดจากพืชหรือสัตว์ มีขบวนการแตกต่างจากปุ๋ยชีวภาพน้ำสกัดจึงไม่ใช้ปุ๋ยชีวภาพแต่เป็นสารสกัดจากสิ่งมีชีวิตที่มี
จุลินทรีย์เข้าไปเกี่ยวข้องในการย่อยสลายเท่านั้น ประโยชน์ที่ได้จากการใช้สารสกัดจึงอยู่ในรูปของสารหลากหลายชนิดที่มีพืชสามารถดูดซึมได้ง่ายแต่อย่างไรก็ตามการใช้สารสกัดเพียงอย่างเดียวจะไม่เป็นผลให้พืชเพิ่มผลผลิตได้จึงควรมีการผสมผสานวิธีการจัดการหลายวิธีมากกว่าที่จะมุ่งมาใช้สารสกัดชีวภาพเพียงอย่างเดียว
วรรลดา สุนันทพงศ์ศักดิ์ (2543) นักวิชาการจากกลุ่มอินทรีย์วัตถุและวัสดุเหลือใช้ กองอนุรักษ์ดินและน้ำ กรมพัฒนาที่ดิน ได้วิจัยและศึกษาเรื่องน้ำสกัดชีวภาพ และให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับน้ำสกัดชีวภาพดังนี้ “น้ำสกัดชีวภาพเป็นสิ่งที่ได้จากการหมักเศษพืชหรือสัตว์” และนำมาใช้ในรูปของน้ำโดยการใช้พ่นที่ใบหรือดินบริเวณรอบ ๆ รากพืช ในกระบวนการหมักที่เกิดขึ้นจะมีจุลินทรีย์เข้ามาร่วมกิจกรรมตามกลไกของธรรมชาติ วัสดุธรรมชาติที่นำมาใช้หมักจะเป็นส่วนที่ทำให้ธาตุอาหารที่ได้มีความแตกต่างกัน สำหรับพืชแต่ละชนิดจะให้ปริมาณธาตุอาหารไม่แตกต่างกันมากนักและส่วนใหญ่จะไม่ถึง 1% แต่ถ้าใช้วัสดุจากสัตว์จะมีธาตุอาหารแตกต่างไปจากพืชบ้าง เช่น ปลาทะเลจะมีปริมาณแคลเซียมมากและมีค่าความเค็ม (EC) สูง ในน้ำสกัดชีวภาพมีจุลินทรีย์หลายกลุ่มที่จะช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ในธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้เกิดสารอนินทรีย์ขึ้นด้วย สารเหล่านี้จะมีผลส่งเสริมการเจริญเติบโตให้แก่พืชและถ้าราดน้ำสกัดชีวภาพลงดิน จุลินทรีย์จะเข้าไปอยู่ในบริเวณรากพืชและทำการย่อยสารอินทรีย์ในบริเวณนั้นช่วยให้พืชได้รับประโยชน์จากธาตุอาหารได้ นอกจากนี้ในระหว่างเกิดกระบวนการย่อยสลายนั้นอาจจะมีสารประเภทฮอร์โมนหรือเอ็นไซม์เกิดขึ้นและเป็นประโยชน์กับพืช
จากทัศนะของนักวิชาการต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่าน้ำสกัดชีวภาพไม่ใช่ปุ๋ยชีวภาพ ธาตุอาหารหลักที่พบในน้ำสกัดชีวภาพมีปริมาณน้อยมาก นอกจากธาตุอาหารที่พบในน้ำสกัดแล้ว ยังพบฮอร์โมน กรดอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืชปะปนอยู่แต่เพียงปริมาณเล็กน้อยเช่นกัน เนื่องจากจุลินทรีย์หลายกลุ่มในน้ำสกัดชีวภาพจะช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ไม่มีในธรรมชาติทำให้พืชได้รับประโยชน์จากธาตุอาหาร การจะนำมาใช้เป็นรูปปุ๋ยโดยตรงยังไม่สามารถสรุปยืนยันได้ว่าจะทำให้เพิ่มการเจริญเติบโตของพืชหรือเพิ่มผลผลิตได้หรือไม่มากน้อยเพียงใด เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนยืนยันออกมาอย่างเด่นชัด ดังนั้นประโยชน์ของการผลิตน้ำสกัดชีวภาพนอกจากจะเป็นการช่วยลดปัญหาขยะเต็มเมืองแล้ว ผลได้ที่เกิดขึ้นคือการนำมาช่วยในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินทำให้พืชได้รับประโยชน์จากธาตุอาหารพืช และฮอร์โมน หรือเอ็นไซด์ อาจมีผลทำให้เกษตรกรลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลง
การปลูกพืชเพื่อให้เพิ่มผลผลิตสูงคงไม่สามารถใช้น้ำสกัดชีวภาพในรูปปุ๋ยโดยตรงได้ หรือใช้เพียงอย่างเดียว ควรผสมผสานกับวิธีการอื่น ๆ การใช้น้ำสกัดชีวภาพจึงควรตะหนักในแง่การนำจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นไปใช้ในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุเพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ การใช้น้ำสกัดชีวภาพจะเหมาะสมอย่างเดียวกับการผลิตพืชโดยวิธีเกษตรอินทรีย์ หรือวิธีเกษตรธรรมชาติ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ในแง่ปุ๋ยจะต้องใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ
ในปัจจุบันพบว่ามีการผลิตน้ำสกัดชีวภาพออกจำหน่ายในชื่อของน้ำสกัดชีวภาพ หรือปุ๋ยน้ำชีวภาพ หรืออาหารเสริมชีวภาพในราคาสูงตั้งแต่ลิตรละ 250 – 1,000 บาท โดยไม่ระบุส่วนประกอบหรือปริมาณธาตุอาหาร ระบุแต่สรรพคุณและวิธีการใช้เท่านั้น ดังนั้นการที่เกษตรกรจะซื้อเพื่อนำไปใช้ขอให้ใช้วิจารณญานให้รอบคอบ |
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved. ติดประกาศ: 2010-05-10 (2655 ครั้ง) [ ย้อนกลับ ] |
|
|
|
|
|