-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 818 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์





บาซิลลัส ซับติลิส





      
1. แบคทีเรีย Bacillus  ตรวจพบได้ทั้งในดิน น้ำ และเนื้อกุ้งกุลาดำในบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำของจังหวัดตราด  สอดคล้องตามการรายงานของ Ruangpan et al.(1997) พบว่า Bacillus เป็นแบคทีเรียที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักตรวจพบในดินก้นบ่อเลี้ยงกุ้งโดยปะปนอยู่กับแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ ได้แก่ Escherichia coli, Salmonella, Flavobacterium, Acinetobacter และกลุ่ม Enterobacteriaceae อีกหลายชนิด ซึ่ง Bacillus อาจติดเข้าไปในลำไส้ของกุ้งได้  ในขณะที่กุ้งกินอาหารด้วยการหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นบ่อ  Ruangpan et al.(1994)  รายงานการตรวจพบ  Bacillus  ในลำไส้กุ้งมีจำนวนน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับแบคทีเรียกลุ่มอื่น ๆ   

สอดคล้องกับสุมณฑา (2545) ได้กล่าวว่า Bacillus สามารถพบการกระจายทั่วไปในธรรมชาติ และแยกได้จากดิน และน้ำ 
      
แบคทีเรียบาซิลลัสมีทั้งประโยชน์และโทษ ซึ่งประโยชน์ที่มีต่อการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ตามที่ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่ใช้ในการผลิตเป็น probiotic supplement  อาทิเช่น  Bacillus S11 สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคกับคน และกุ้งได้ โดยผสมในอาหาร (Phianphak, 1999)   แบคทีเรียบาซิลลัสสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Vibrio spp. ที่ก่อให้เกิดโรคในโรงเพาะฟักลูกกุ้งได้  ตามที่มีรายงานการทดลองของ Karunasagar and Iddya (2006)  เนื่องจาก Karunasagar and Iddya ได้เห็นว่าแบคทีเรีย Vibrio spp. มีความต้านทานต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและสารเคมีหลายชนิด  โดยผลการทดลองพบว่า Bacillus หลายชนิดมีความสามารถในการยับยั้งเชื้อ Vibrio spp. ที่แตกต่างกัน 

มุกดา (2543) กล่าวว่า ในดินที่อุดมสมบูรณ์ เมื่อนำมาตรวจนับจะพบว่ามีจุลินทรีย์มากมายหลายตระล  และสายพันธุ์  Bacillus spp. เป็นกลุ่มที่ย่อยสลายอินทรียสาร (Organic matters) จากโครงสร้าง
ขนาดใหญ่ให้เล็กลงเป็นปุ๋ย หรือดินฮิวมัส (humus) และย่อยสลายธาตุฟอสฟอรัสจากหินฟอสเฟต ให้อยู่ในรูปธาตุฟอสฟอรัสที่พืชจะนำไปใช้ได้ (available phosphorous)

Dick (1993) รายงานว่า Bacillus เป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถสร้างสารปฏิชีวนะแบคเทอริโอซิน (Bacteriocin)  มีชื่อว่า Subtilin และ Bacitracin  ซึ่งมีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก (Gram’s positive bacteria)

มณจันทร์ (2540) รายงานว่า แบคทีเรียในสกุล Bacillus subtilis มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสารต่าง ๆ โดยการผลิตน้ำย่อยออกมาย่อยสลายสารอินทรีย์ภายนอกเซลล์ได้ แบคทีเรียชนิดนี้สามารถทำให้เกิดการย่อยกากอาหารที่ตกค้างได้ดีมาก แต่ไม่สามารถดำรงสภาพการมีจำนวนมากที่สุดอยู่ได้นาน โดยจะลดจำนวนลงในขณะที่เชื้อที่ย่อยไม่เก่งมีจำนวนมากขึ้นแทน ถึงกระนั้น B.subtilis ก็ไม่ได้สูญไป เพียงแต่เหลือน้อย ทำงานไม่ได้เต็มที่ หากต้องการให้ย่อยเศษอาหารในบ่อกุ้งเป็นไปได้อย่างดีแบบต่อเนื่อง ก็อาจต้องใส่เชื้อนี้ลงในบ่อเลี้ยงกุ้งทุก 7–10 วัน เชื้อ B.subtilis ทั้งที่เป็นตัวและเป็นสปอร์ เมื่อใส่ลงไปในบ่อกุ้ง จะเจริญโดยเพิ่มจำนวนขึ้นมากมาย ซึ่งเชื้อนี้ต้องการออกซิเจนมาก  จึงต้องตีน้ำให้อากาศตลอดเวลา  โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต รวมทั้งสารอินทรีย์จะถูกย่อยจนได้แอมโมเนีย ทำให้สารอินทรีย์ในน้ำลดลง  การทำงานของเชื้อจะดีมากใน 3–4 วันแรก  จากนั้นจะลดประสิทธิภาพลง  พอถึงช่วง 7–10 วัน ก็ใส่เชื้อใหม่

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (2544)รายงานว่า การตีน้ำเต็มที่ทำโดยเพิ่มใบพัด เพิ่มแขน กดใบพัดให้ลึกขึ้น ตีทั้งกลางวันกลางคืนตลอดเวลา หยุดเฉพาะเวลาให้อาหารครั้งละ 1 ชม. ทำให้อากาศพอทั้งกุ้ง จุลินทรีย์ และเศษอาหารพร้อมกับขี้กุ้งที่สลายตัวไปหมด การใช้อากาศเต็มที่ และน้ำไหลตลอดเวลาช่วยเร่งให้ บาซิลลัส ซับติลิส สุริยาโน่ ย่อยสลายอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จนไม่สะสมมากพอที่จะทำให้น้ำเน่า เมื่อปล่อยน้ำไปภายนอก
ดีพร้อม (2549)กล่าวว่า การใช้บาซิลลัส ซับติลิส สุริยาโน่ 1 กก. ต่อพื้นที่ต่อไร่ ละลายน้ำสาดด้านหน้าเครื่องตีทุกสัปดาห์ เปิดเครื่องตีน้ำตลอดเวลา เพื่อใช้จับไนไตรท์และแอมโมเนียได้

B.subtilis สามารถผลิต polypeptide antibiotics ได้แก่ bacitracin  (Kenneth Todar University, 2006b ; 2006c) เชื้อชนิดนี้มีความสัมพันธ์กับกุ้งแบบ symbiotic ผลิตเอ็นไซม์ได้หลายชนิด ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่คล้ายกับเอ็นไซม์ protease, amylase และ lipase ช่วยในการลอกของชั้นเมือก (slime layer) นอกจากนี้ ยังช่วยย่อยสลายของเสียที่เป็นสารอินทรีย์ที่มีมากเกินไป  ยับยั้งการเจริญของจุลชีพที่ไม่เป็นที่ต้องการ และเปลี่ยนไนเตรทไปเป็นไนโตรเจนและออกซิเจนโดยกระบวนการ nitrification  (Zymonutrients Private Limited, 2006)

B.cereus พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ ในดิน ฝุ่นละออง ผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น ข้าว ธัญพืช แป้ง ผลิตภัณฑ์จากแป้ง เครื่องเทศ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์และเครื่องปรุงแต่งรสต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบในอุจจาระของคนที่มีสุขภาพปกติได้ประมาณ 15 % B.cereus เป็นแบคทีเรียที่สร้างสารพิษ การเกิดพิษมี 2 ลักษณะอาการคือ ทำให้อาเจียน (Emetic illness) และทำให้ท้องเสีย (Diarrhea illness)  อาการอาเจียนมักเกิดจากการได้รับสารพิษชนิดที่มีความคงทน สามารถมีชีวิตรอดได้ในอุณหภูมิสูง และค่าความเป็นกรด-ด่างสูง โดยผู้ป่วยจะเกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน ภายหลังจากการบริโภคอาหารที่มีสารพิษเข้าไป 11–15 ชั่วโมง แต่โดยทั่วไปมักปรากฏอาการภายหลังจากการบริโภคอาหารที่มีสารพิษเข้าไป 30 นาที ถึง 6 ชั่วโมง  ส่วนอาการท้องเสียมักเกิดจากสารพิษชนิดที่ไม่ทนความร้อนและกรด ตามปกติใช้เวลาฟักตัวประมาณ 6–12 ชั่วโมง  หลังจากบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนสารพิษของเชื้อ อาการประกอบด้วยการปวดท้องและถ่ายอุจจาระเหลวเนื่องจากมีน้ำมาก โดยทั่วไปอาการจะทรงอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมงแล้วจะทุเลาลง (Kenneth Todar  University, 2006a)
สุมณฑา (2545)รายงานว่า B.cereus  เป็นแบคทีเรียสร้างสปอร์ จึงทนต่อสภาวะต่าง ๆ ได้ดี  สปอร์กระจายไปในอากาศ ฝุ่นละออง และสิ่งแวดล้อม จึงพบแบคทีเรียนี้บ่อยในอาหารต่าง ๆ แม้แต่อาหารแห้งที่มี aw ต่ำ เช่น แป้ง และธัญพืช ซึ่งแบคทีเรียส่วนมากไม่เจริญ ก็อาจพบ B.cereus ได้บางสายพันธุ์ ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ แต่ปริมาณของ B.cereus ที่จะทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้นั้น ต้องอยู่ในระดับที่สูงพอสมควร  B. cereus ชนิดที่ทำให้อาเจียน ตามปกติเกิดจากอาหารจำพวกแป้ง เช่น ข้าว และพาสต้า B.cereus สร้างเอนเทอโรทอกซินและเอนไซม์หลายชนิด ได้แก่ เอนไซม์เลคซิติเนส (lecithinase)  โปรติเอส (protease) เบตา-แลคตาเมส (ß-lactamase)  สปิงโกมัยยิลิเนส (spingomyelinase)  ซิริโอไลซิน (cereoltsin) และฮีโมไลซิน บี แอล (hemolysin B L)
B.cereus สามารถผลิต polypeptide antibiotics ได้แก่ zwittermicin (Kenneth Todar University, 2006b ; 2006c)  Chang (2003) รายงานว่า B.cereus YQ308  เป็นสายพันธุ์ที่แยกได้จากตัวอย่างดิน สามารถหลั่งเอ็นไซม์ไคติเนส (chitinase) เมื่อเลี้ยงเชื้อด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อที่ประกอบด้วย 2 % (wt/vol) shrimp and crab shell powder ซึ่งเป็นแหล่งคาร์บอนหลัก  ไคติเนสบริสุทธิ์ 2 mg/ml มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด hypha ของเชื้อรา Fusarium oxysporum และ Pythium ultimum 
      
B.polymyxa มีการรายงานของ Ardales(1983) ว่าเชื้อชนิดนี้เป็นแบคทีเรียรูปแท่ง แกรมบวก ชอบในที่ไม่มีอากาศแต่ที่มีอากาศก็อยู่ได้ (facultative anaerobe) สร้างสปอร์ได้  ซึ่งแยกชนิดได้จากดิน  Ardales ได้ทำการทดลองการสร้างสารปฏิชีวนะ polymyxin จากเชื้อชนิดนี้ เพื่อใช้เป็นยารักษาการติดเชื้อ

จากแบคทีเรียแกรมลบ ซึ่งพบว่าเชื้อชนิดนี้สามารถสร้างสาร polymyxin A, B, C, D และ E ต่อต้านกับเชื้อ Pseudomonas aeroginosa , Aerobacter aerogenes , Escherichia coli และ Eberthella typhosa  Kenneth Todar University (2006b ; 2006c) รายงานว่าเชื้อ B. polymyxa สามารถผลิต polypeptide antibiotics ได้แก่ polymyxin นอกจากนี้ Zymonutrients Private Limited (2006) รายงานว่า B. polymyxa ผลิตเอ็นไซม์ที่สามารถช่วยย่อยสลายโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตในบ่อ และสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค 
      
B.coagulans เป็นแบคทีเรียที่สามารถสร้างกรดแลคติก และผลิตสปอร์ได้ซึ่งเรียกว่า เอ็นโดสปอร์ (endospores) สามารถต้านทานต่ออุณหภูมิสูงและความเป็นกรด เจริญได้ดีในลำไส้เล็ก และมีการผลิตเอ็นไซม์และ L(+)lactic acid โดยทำให้ร่างกายมี metabolic rate ในอัตราสูงในระบบย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี ซึ่ง lactic acid bacteria ชนิดอื่นจะผลิตกรดในรูป DL หรือ D(-) lactic acid ซึ่งให้ metabolic rate ต่ำกว่า เมื่อสปอร์ของแบคทีเรียชนิดนี้ผ่านเข้าไปในตัวสัตว์โดยการกินหรือทางน้ำดื่ม  จะสามารถเปลี่ยนรูปไปเป็น active cellsเพื่อดำรงชีวิตอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น  อุณหภูมิร่างกาย  สภาพความเป็นกรดด่าง และสารหลั่งอื่น ๆ ของทางเดินอาหารส่วนต้นของสัตว์  นอกจากนี้ B. coagulans  ยังสนับสนุนการเจริญของ Lactobacillus acidophilus ในกระเพาะของสัตว์
B.coagulans  สามารถผลิต antibiotic substance คือ Bacteriocins  และผลิต synthesizing digestive enzymes ได้แก่ amylase, protease และ lipase  มีผลทำให้ส่งเสริมการเจริญเติบโตของสัตว์ (growth promotion) เช่น สัตว์ปีก ไก่ ฯลฯ  อีกทั้งยังทำให้ความสามารถในการย่อยอาหารเพิ่มขึ้นและการป้องกันโรคที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ microbial flora, E. coli และ Staphylococci ในลำไส้เล็ก (Moorthy, 2006)

นอกจากนี้ B.coagulans ยังสามารถย่อยสลายไนไตรท์ ไนเตรท ไนตริกออกไซด์  และไนตรัสออกไซด์ ให้กลายเป็นไนโตรเจนและออกซิเจน (Zymonutrients Private Limited, 2006)
B.circulans WL-12 เป็นแบคทีเรียแกรมบวกที่พบในดินมีความสามารถในการทำให้ผนังเซลล์ (cell wall) ของยีสต์และราแตกได้ เชื้อชนิดนี้ผลิตเอ็นไซม์ไคติเนส (chitinase) มากกว่า 10 ชนิด เช่น Exo-chitinase Chi A1 ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโน 699 ชนิด เป็นต้น (Hardt, 2002)

B.licheniformis สามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ในของเสีย  สารประกอบไคติน และตะกอนต่าง ๆ  (Zymonutrients Private Limited, 2006)
      
2. แบคทีเรีย Lactobacillus  ตรวจพบเฉพาะในน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้ง บ่อพักน้ำ และในคลองธรรมชาติ แต่มีปริมาณค่อนข้างน้อย  อย่างไรก็ตาม เกรียงศักดิ์ (2549) รายงานว่า น.สพ. สุรศักดิ์ ดิลกเกียรติ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ผลเสียจากการใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ในการผลิตกุ้งในกลุ่มที่ใช้ควบคุมและบำบัดน้ำเสีย มีอยู่ 3 กรณี คือ
- ในบ่อเลี้ยงที่มีการตกค้างของอินทรีย์สารมาก และมีการให้อาหารเกิน เมื่อมีการเติมจุลินทรีย์ลงไปในปริมาณที่มาก จุลินทรีย์จะแบ่งตัวทวีจำนวนมากมาย และไปแย่งใช้ออกซิเจน โดยเฉพาะในเวลากลางคืนเมื่อออกซิเจนไม่พอ กุ้งจะเครียด ว่ายน้ำเข้ามาเกาะขอบบ่อ หากแก้ไขไม่ทันจะพบว่ามีกุ้งตายได้  

- ในกรณีที่อากาศร้อน หมายถึงอุณหภูมิของน้ำในบ่อสูงมากกว่า 28 องศาเซลเซียส จุลินทรีย์จะเจริญเติบโตและแบ่งตัวได้ดียิ่งในกรณีที่ให้อาหารเกิน ก็จะประสบปัญหาการขาดออกซิเจนในบ่อได้เช่นเดียวกัน
- เมื่อจุลินทรีย์ไปขจัดของเสียในบ่อเลี้ยง โดยเฉพาะบริเวณรวมเลนกลางบ่อ กุ้งจะไปรวมกันกลางบ่อเมื่อหว่านอาหาร กุ้งกลางบ่อจะไม่ได้รับอาหาร จะพบว่ามีการแกร็นหรือแตกไซซ์ เกษตรกรต้องสังเกตและเปลี่ยนพฤติกรรมการให้อาหาร

Dick (1993)รายงานว่า Lactobacillus เป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถสร้างสารปฏิชีวนะแบคเทอริโอซิน (Bacteriocin)  มีชื่อว่า Nisin, Lacticin 48, Sakacin-A และ Mesenterocin-A  ซึ่งมีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก (Gram’s positive bacteria) และเชื้อ Clostridia
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) และกรมประมง ได้ร่วมกันศึกษาการนำเศษเหลือทิ้งของกุ้งมาใช้ประโยชน์โดยนำเอาแบคทีเรียกรด แล็คติก ชนิด Lactobacillus plantarum สายพันธุ์ 541 มาใช้หมักเพื่อสกัดโปรตีนจากหัวกุ้ง โปรตีนที่สกัดได้มี 2 ลักษณะคือโปรตีนผงและโปรตีนน้ำเข้มข้น สามารถนำมาใช้เสริมคุณค่าของอาหารโดยการนำไปใช้ผสมในอาหารหรือขนม ส่วนเปลือกกุ้งหลังจากแยกเอาโปรตีนออกแล้ว สามารถนำมาใช้ในการสกัดเอาสารไคตินและไคโตซาน
   
ซึ่งมีลักษณะพิเศษในการนำมาใช้ดูดซับ และจับตะกอนต่าง ๆ ในสารละลาย  โดยมีประสิทธิภาพของการเกิดปฏิกิริยาเคมีกับสารที่มีประจุลบ และสามารถเกิดการดูดซับอิออนของโลหะหนักด้วยกรรมวิธีเชิงซ้อน สารไคตินและไคโตซานสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ  เช่น ด้านการเกษตร

โดยมีบทบาทในด้านปุ๋ยชีวภาพและสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ด้านอาหาร โดยใช้เป็นสารกันบูด สารปรุงแต่ง สารเคลือบอาหาร และผักผลไม้ ทางด้านการแพทย์และเภสัชกรรมมีบทบาทในอาหารเสริมที่ใช้ลดไขมัน ใช้เป็นผิวหนังเทียม รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้รักษาเหงือกและฟัน ด้านเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ใช้เป็นสารเติมแต่งของเครื่องสำอาง ตลอดจนเคลือบ และบำรุงผิวของเส้นผม นอกจากนี้ยังสามารถนำสารไคตินและไคโตซาน ไปใช้ในด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและกระดาษ และด้านเทคโนโลยีชีวภาพอีกด้วย  (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2543)

L.plantarum มีรายงานการทดลองของ Anatasil(2002) ซึ่งทดลองนำลูกกุ้งกุลาดำระยะ Postlarva มาแช่ด้วยเชื้อชนิดนี้เป็นระยะเวลา 1, 2 และ 4 ชั่วโมง  เปรียบเทียบกับการนำ Artemia มาแช่ด้วย L. plantarum  ก่อนที่จะนำ Artemia ไปให้ลูกกุ้งกินเป็นระยะเวลา 3, 5 และ 7 วัน แล้วนำมาศึกษาความต้านทานโรคต่อการติดเชื้อ Vibrio parahaemolyticus โดยการแช่         

ผลปรากฏว่าการแช่ Artemia ด้วย L.plantarum แล้วให้ลูกกุ้งกินเป็นเวลา 7 วัน  มีผลต้านทานต่อเชื้อ V.parahaemolyticus  ได้อย่างมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05)

สุมณฑา (2545) รายงานว่า L. plantarum เป็นแบคทีเรียที่ไม่ต้องการในอาหารหมักของชาวเกาหลีที่เรียกว่า กิมจิ  เนื่องจากการหมักที่ใช้เวลานานเกินไป  ทำให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะเนื้อสัมผัสนิ่ม และมีรสเปรี้ยวมาก ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

L.plantarum ทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารของคน ซึ่งสามารถใช้ขมิ้นในการลดกรดในกระเพาะอาหารได้ (สำนักงานข้อมูลสมุนไพร. 2549)

L.plantarum มีความสามารถในระบบทางเดินอาหารอย่างดี โดยเฉพาะการย่อยสลายสารอินทรีย์จำพวกโปรตีนจากลำไส้ก่อนที่โปรตีนจะเข้าสู่กระแสโลหิต  สามารถผลิตกรดแลคติกและสารปฏิชีวนะทางธรรมชาติ (natural antibiotic) ที่เรียกว่า acidophilin

Nwanna (2003)  ได้ทดลองนำ L. plantarum 50 ml/kg กับกากน้ำตาล 150 g/kg ไปหมักกากเหลือทิ้งของส่วนหัวกุ้ง เรียกว่า Fermented shrimp head waste meal (FSHM) เพื่อนำมาทดแทนปลาป่นซึ่งใช้ผสมในอาหารปลา American catfish Clarius gariepinus พบว่า FSHM สามารถใช้ทดแทนปลาป่นได้โดยให้ผลกำไรดีที่สุดโดยการใช้ FSHM 30 % ผสมในอาหารปลา

ดังนั้น  ในการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ จุลินทรีย์มีบทบาทตั้งแต่การเป็นปฐมของห่วงโซ่อาหาร (primary food chain) จนถึงการใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำ  การเลือกใช้จุลินทรีย์ชนิดใดก็ตาม ควรคำนึงถึงประโยชน์และโทษของจุลินทรีย์นั้น ๆ ด้วย

www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic=5686...









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (5163 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©