เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
ชื่อไทย : เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichoderma harzianum
วงศ์ : Moniliaceae
อันดับ : Hypocreales
ชื่อสามัญ : Trichoderma harzianum
ความสำคัญ
เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า จัดเป็นเชื้อราชั้นสูงที่เจริญได้ดีในดิน เศษซากพืช ซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ รวมทั้ง
จุลินทรีย์และ วัสดุอินทรีย์ตามธรรมชาติ เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าสายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกและทดสอบ
ประสิทธิภาพในการควบคุมโรคพืชอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว เป็นเชื้อที่เป็นศัตรูต่อเชื้อรา
สาเหตุโรคพืชหลายชนิด โดยมีกลไกการต่อสู้กับเชื้อราเหตุโรคพืช คือ
1. การแข่งขันกับเชื้อราโรคพืช
2. การเป็นปรสิตต่อเชื้อราโรคพืช
3. การสร้างสารยับยั้งหรือทำลายเชื้อราโรคพืช
4. การชักนำให้พืชมีความต้านทานโรคได้
เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าสามารถใช้ควบคุมหรือทำลายเชื้อรา สาเหตุโรคพืชได้หลายชนิด เช่น
1. เชื้อราพิเที่ยม (Pythium spp.) สาเหตุของโรครากเน่า-โคนเน่า โรคต้นเน่า โรคยอดเน่า
ของต้นพืชไร่
2. เชื้อราไฟท๊อบเทอร่า (Phytophthora spp.) สาเหตุของโรครากเน่า-โคนเน่าไม้ผล
3. เชื้อราสเคลอโรเที่ยม(Sclerotium rolfsii)สาเหตุของโรคกล้าไหม้ โคนเน่า โรครา
เมล็ดผักกาด โรคเหี่ยวผัก
4. เชื้อราฟิวซาเรี่ยม สาเหตุโรคเหี่ยวไม้ดอก
5. เชื้อราไรซ๊อคโทเนีย(Rhizoctonia solani) สาเหตุโรคเมล็ดเน่า เน่าคอดิน โรคกล้า
ไหม้ พืชไร่และพืชผัก
เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าที่เจริญบนอาหารวุ้น ลักษณะเส้นใยและสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
พืชที่สามารถนำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าใช้ควบคุมโรคได้
ไม้ผล ได้แก่ ทุเรียน ส้ม มะนาว ฝรั่ง มะละกอ
พืชผัก ได้แก่ มะเขือ พริก โหระพา กะเพรา หน่อไม้ฝรั่ง คื่นฉ่าย พืชตระกูลกะหล่ำ หอม
ใหญ่ ผักชีฝรั่ง พืชตระกูลถั่ว พืชตระกูลแตง กระชาย กระเจี๊ยบเขียว ขิง เผือก ฯลฯ
ไม้ดอกไม้ประดับ ได้แก่ ดาวเรือง เยอบีร่า ชบา เบญจมาศ ตระกูลฟิโลเดนดรอน ตระกูล
ขิง ซ่อนกลิ่น
พืชไร่ ได้แก่ ข้าวบาร์เล่ย์ ทานตะวัน ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ฯลฯ
ข้าว
การผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
การผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าสามารถผลิตขยายได้จากอาหารหลายชนิด เช่น เมล็ดข้าว
ฟ่าง ข้าวสุก หรือบนอาหารวุ้น (PDA) แต่การผลิตขยายบนเมล็ดข้าวฟ่าง และอาหารวุ้นค่อนข้างยุ่ง
ยากไม่สะดวกต่อการส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปผลิตขยายใช้เอง แต่ถ้าผลิตจากข้าวสุกเกษตรกร
สามารถผลิตได้ และไม่ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ราคาแพงแต่ยังคงประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อราสาเหตุ
โรคพืชได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงการผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า โดยใช้ข้าวสุกเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อ
การผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าบนข้าวสุก
วัสดุอุปกรณ์
ขั้นตอนการผลิตขยาย
1. หุงข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าอัตโนมัติ โดย ใช้ปลายข้าว 3 ส่วน + น้ำ 2 ส่วน ถ้าข้าวนิ่มเกิน
ไปให้ใช้ปลายข้าว 2 ส่วน + น้ำ 1 ส่วน เมื่อข้าวสุก ใช้ทัพพีซุยข้าวให้ทั่ว
2. ตักข้าวสุกขณะร้อน ใส่ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8x12นิ้ว(เพื่อป้องกันจุลินทรีย์จากอากาศเข้า
ไปปนเปื้อนในถุงข้าว)
3. ตักข้าวสุกใส่ถุงละ 250 กรัม
4. กดข้าวในถุงเบาๆ ให้แบนเพื่อไล่อากาศออกจากถุง โดยให้ถุงพลาสติกแนบกับข้าวเพื่อลดการเกิด
หยดน้ำ รอจนข้าวอุ่นหรือเกือบเย็น จึงนำไปใส่หัวเชื้อ
5. เลือกบริเวณที่ลมสงบ(เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในอากาศ)แล้วใส่หัวเชื้อลงในถุงข้าว
ถุงละ 1-1.5 กรัม (2-3 เหยาะ)
6. รัดยางตรงปากถุงให้แน่น แล้วเขย่าหรือบีบข้าวเบา ๆ เพื่อให้หัวเชื้อกระจายให้ทั่วถุง
7. รวบถุงให้บริเวณปากถุงพอง แล้วใช้เข็มแทงรอบ ๆ บริเวณที่รัดยาง ประมาณ 20-30 ครั้ง
8. กดข้าวในถุงให้แผ่กระจายไม่ซ้อนทับกัน ดึงบริเวณกลางถุงขึ้น ไม่ให้พลาสติกแนบติดกับข้าว
เพื่อให้มีช่องว่างในถุง
9. วางถุงข้าวเพื่อบ่มเชื้อในห้องที่ปลอดจากมด ไร และสัตว์ต่าง ๆ เป็นเวลา 2 วัน โดยอากาศไม่
ร้อน ไม่ถูกแสงแดดแต่ได้รับแสงสว่าง 6-10 ชั่วโมง/วัน หากแสงไม่พอ ใช้แสงจากหลอดนีออน
ช่วยได้
10. เมื่อครบ 2 วัน บีบขยำก้อนข้าวที่มีเส้นใยเชื้อเจริญอยู่ให้แตก แล้ววางถุงในที่เดิมดึงถุงให้มี
อากาศเข้าอีกครั้งแล้วบ่มในสภาพเดิมต่ออีก 4-5 วัน (อย่าลืมดึงถุงให้โป่ง)
11. เชื้อสดที่ผลิตได้ควรนำไปใช้ทันที หรือเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาไม่เกิน 1 เดือน ก่อนนำไปใช้
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
1.คลุกเมล็ด
อัตราการใช้ เชื้อสด 10 กรัม หรือ 1 ช้อนแกง คลุกกับเมล็ดพันธุ์น้ำหนัก 1 กก.โดยตักเชื้อสด
10 กรัมใส่ในถุงแล้วเติมน้ำสะอาดเล็กน้อยเพื่อให้คลุกง่ายและเชื้อติดเมล็ดดี การคลุกเมล็ดเพื่อ
ป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ และเชื้อโรคที่อาศัยอยู่ในดิน ป้องกันการเกิด
เมล็ดเน่า และโรคเน่าระดับดินได้ นอกจากนี้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (Trichoderma
harzianum)) ที่ติดอยู่กับเมล็ดจะเจริญเข้าสู่ระบบรากพืช ช่วยปกป้องระบบรากพืชไม่ให้เชื้อโรค
เข้าทำลาย การคลุกเมล็ดด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า(Trichoderma harzianum) มีข้อ
จำกัดบางประการ คือ หลังคลุกเมล็ดแล้วต้องนำไปปลูกทันที ไม่สามารถเก็บไว้ได้นานๆ
2. ผสมน้ำฉีดพ่น
อัตราการใช้ เชื้อสด 1 กก. ผสมกับน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นในขณะแดดอ่อน หรือเวลาเย็น โดยรดน้ำ
ให้ดินชื้นก่อนหรือหลังฉีดพ่น อัตราฉีดพ่น 1 ลิตรต่อพื้นที่ 5-10 ตารางเมตร
3. ใส่บนดิน
การใช้เชื้อสดใส่บนดิน โดยหว่านบนแปลงปลูกพืช รองก้นหลุม หว่านรอบทรงพุ่ม หรือนำไปผสมวัสดุ
ปลูกไม้กระถางมี 2 ขั้นตอนดังนี้
3.1 ขั้นตอนที่ 1
ผสมเชื้อสด ตามอัตราส่วน ดังนี้ คือ
1. เชื้อสด 1 กก.
2. รำละเอียด 4 กก.
3. ปุ๋ยหมัก 100 กก.
3.2 ขั้นตอนที่ 2
นำไปใช้ ดังนี้
1. หว่าน ใช้ส่วนผสมอัตรา 50–100 กรัม ต่อ พื้นที่ 1 ตารางเมตร ช่วงการเตรียมดินครั้งสุด
ท้ายก่อนปลูกพืช หรือหว่านลงในแปลงหลังการปลูกพืช
2. รองก้นหลุม ใช้ส่วนผสมเชื้อสด อัตรา 25–50 กรัมต่อหลุม
3. แปลงเพาะกล้า ใช้ส่วนผสม อัตรา 50-100 กรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
4. ถุงเพาะชำ ใช้ส่วนผสม อัตรา 25-50 กรัมต่อ 1 ถุง
5. ไม้ผลไม้ยืนต้น ใช้ส่วนผสม อัตรา 3-5 กก.ต่อ 1 ต้น
6. พืชผัก ใช้ส่วนผสม อัตรา 50-100 กรัมต่อ 1 ต้น
7. ผสมวัสดุปลูก
ใช้ส่วนผสม 1 ส่วน ผสมกับวัสดุปลูก 4 ส่วน โดยผสมและคลุกเคล้าให้เข้ากันดีก่อนบรรจุลงใน
ภาชนะปลูก
แนวทางการควบคุมคุณภาพเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
1. ตรวจสอบคุณภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าให้บริสุทธิ์ปราศจากาการปนเปื้อนจากเชื้อราหรือเชื้อ
แบคทีเรีย หากปนเปื้อนให้คัดแยกออกทันทีทุกครั้งที่ทำการผลิตขยาย
2. ตรวจสอบปริมาณสปอร์ของเชื้อราที่ผลิต
3. จำกัดการขยายต่อเชื้อจากหัวเชื้อขยายต่อได้ไม่เกิน 3 รุ่น
pmc03.doae.go.th/tricoderma.doc -
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา...ป้องกันกำจัดศัตรูพืช
“ไตรโคเดอร์มา” เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในจำพวกของเชื้อราชั้นสูง เส้นใยมีผนังกั้นแบ่ง มี
ประโยชน์สำหรับใช้ควบคุมโรคพืชที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราได้อย่างกว้างขวาง ทั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่
เป็นเชื้อราชั้นสูงและชั้นต่ำ
ในประเทศไทยได้มีการศึกษาค้นคว้าประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะ
เพื่อควบคุมโรคเมล็ดเน่า โรคเน่าระดับดิน โรคกล้าไหม้ โรครากเน่า โรคโคนเน่า บนพืชหลายชนิด
เช่น มะเขือเทศ ถั่วเหลืองฝักสด พริก ฝ้าย ข้าวบาร์เลย์ ส้ม ทุเรียน พบว่ามีประสิทธิภาพสูงในการควบ
คุมโรคต่าง ๆ ดังกล่าวได้ดี
สำหรับรูปแบบหรือวิธีการของเชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมเชื้อราโรคพืช คือ
1. แข่งขันกับเชื้อราโรคพืชในด้านแหล่งของที่อยู่อาศัย อาหาร อากาศ และปัจจัยอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อ
การเจริญเติบโต
2. เส้นใยของไตรโคเดอร์มาจะพันรัดและแทงเข้าไปในเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช
3. เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพสูงมากชนิดหนึ่ง
ก่อนที่จะนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาไปใช้ จำเป็นที่จะต้องนำมาผสมกับรำข้าว (รำใหม่ละเอียด) และปุ๋ย
อินทรีย์เสียก่อน ตามอัตราส่วนโดยน้ำหนัก ดังนี้ หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม : รำข้าว 5
กิโลกรัม : ปุ๋ยอินทรีย์ 25 กิโลกรัม
ปัจจุบันมีชนิดที่จำหน่ายเป็นชุดให้ใช้อัตราตามคำแนะนำของผู้จำหน่ายได้ โดยผสมหัวเชื้อไตรโคเดอร์
มา คลุกเคล้าให้เข้ากับรำข้าวให้ดีเสียก่อน แล้วจึงนำไปผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับปุ๋ยอินทรีย์ ก็จะได้ส่วน
ผสมที่พร้อมจะนำไปใช้โดยแนะให้
1. ใช้รองก้นหลุมก่อนปลูก
2. ใช้โรยรอบโคนต้น
3. ใช้ทั้งรองก้นหลุมและโรยรอบโคนต้น
ข้อจำกัดและข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช มีข้อจำกัดดังต่อไปนี้
1. pH ของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไตรโคเดอร์มา อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 คือเป็น
กรดอ่อน ๆ ซึ่งเป็นช่วง pH ที่พืชปลูกส่วนใหญ่ เจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน จึงจำเป็นต้องมีการวัด pH
ของดิน และปรับให้เหมาะสมก่อน
2. เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราชั้นสูง จึงถูกทำลายได้ด้วยสารเคมีที่ใช้ในการป้องกัน และกำจัด
เชื้อราชั้นสูงโดยเฉพาะสารเคมีในกลุ่มเบนซิมิดาโซล (benzimidazole) ได้แก่ เบนโนมิล
(benomyl) และคาร์เบนดาซิม (carbendazim) ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีชนิดดูดซึม หากจำเป็น
ที่จะต้องใช้สารเคมี ควรจะทิ้งช่วงประมาณ 2 สัปดาห์เป็นอย่างต่ำ
3. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง คือต้นฝน และปลายฝน ห่างกัน 6 เดือน
เพราะถ้าอาหาร สภาพแวดล้อม และปัจจัย อื่น ๆ ในดินไม่เหมาะสม เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะหยุดการ
เจริญเติบโต
ไตรโคเดอร์มาสามารถควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในดิน เช่น เชื้อราพิเทียม (โรคเน่าระดับดิน กล้า
ยุบ กล้าเน่า) เชื้อราไฟทอฟธอรา (โรคโคนเน่า) เชื้อราฟิวซาเรียม (โรคเหี่ยว) เชื้อราสเคลอโร
เทียม (โรคโคนเน่า เหี่ยว)เชื้อราไรซ็อคโทเนีย (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า)
วิธีการนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดไปใช้ให้คลุกเมล็ดพืชผสมปุ๋ยอินทรีย์แล้วหว่านหรือรองก้นหลุม
ผสมกับวัสดุปลูก ผสมน้ำฉีด
เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด คือ เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่กำลังเจริญเติบโตอยู่บนวุ้น สำหรับเลี้ยงเชื้อ
หรือบนอาหารจำพวกเมล็ดพืช โดยอยู่ในรูปสปอร์สีเขียวปกคลุมวัสดุอาหารอย่างทั่วถึง ไม่มีการปน
เปื้อนที่ทำให้เห็นสปอร์เป็นสีอื่นมีเมือกเยิ้ม หรือมีกลิ่นเหม็น ในการผลิตเชื้อรา ไตรโคเดอร์มาชนิดสด
เพื่อใช้ควบคุมโรคพืชนั้น จะมีหัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่มีประสิทธิภาพสูง เลี้ยงบนปลายข้าว หรือข้าว
สุก โดยมีอุปกรณ์ คือ
1. หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา
2. หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
3. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8x12 นิ้ว
4. ปลายข้าว
5. ยางวง
ด้วยวิธีการ เตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ ดังนี้...
1. หุงปลายข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ใช้ข้าว 3 ส่วน ต่อน้ำ 2 ส่วน
2. ตักข้าวสุกที่ยังร้อนอยู่ใส่ถุงพลาสติกทนร้อนที่เตรียมไว้จำนวน 2 ทัพพี (พูน) หรือประมาณ
250 กรัมต่อถุง
3. กดข้าวให้แบน รีดเอาอากาศออกให้ถุงพลาสติกแนบกับข้าวเพื่อลดการเกิดหยดน้ำทิ้งไว้ให้อุ่นหรือเย็น
4. ใส่หัวเชื้อไตรโคเดอร์มาลงในถุงเพียงเล็กน้อย ประมาณ 1-1.5 กรัม ต่อถุง
5. รัดยางปากถุงให้แน่น แล้วเขย่าหรือบีบข้าวเบา ๆ เพื่อให้เชื้อกระจายทั่วถุง
6. รวบถุงให้บริเวณปากถุงพอง แล้วใช้เข็มเย็บผ้าแทงรอบ ๆ ปากถุง 10-15 แผล
7. กดข้าวในถุงให้แผ่กระจายไม่ซ้อนทับกัน ดึงบริเวณกลางถุงขึ้นเพื่อไม่ให้พลาสติกแนบกับข้าวและ
เพื่อให้อากาศเข้าไปในถุงเพียงพอ
8. บ่มเชื้อเป็นเวลา 2 วัน โดยวางถุงเชื้อในห้องที่ปลอดจากมด ไร และสัตว์อื่น ๆ อากาศไม่ร้อน
และไม่ถูกแสงแดด แต่ได้รับแสงวันละ 6-10 ชั่วโมง/วัน หากแสงไม่พอ ใช้แสงจากหลอดนีออน
ช่วยได้
9. เมื่อครบ 2 วัน บีบขยำก้อนข้าวที่มีเส้นใยของเชื้อเจริญอยู่ให้แตกแล้ววางถุงไว้ที่เดิมดึงถุงให้
อากาศเข้าอีกครั้ง บ่มไว้อีก 4-5 วัน
10. เชื้อสดที่ผลิตได้ควรนำไปใช้ทันที เก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ 1 เดือน
การใช้เชื้อไตรโคเดอร์มามีวิธีดังนี้
1. คลุกเมล็ดเชื้อสด 10 กรัม/เมล็ดพันธุ์ 1 กก.
2. ผสมน้ำฉีด ใช้เชื้อสด 1 กก./น้ำ 200 ลิตร
3. ผสมปุ๋ยหมัก ใช้เชื้อสด 1 กก. ผสมรำละเอียด 5-10 กก. ผสมปุ๋ยอินทรีย์ 40 กก.
หากสนใจข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนัก
ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดระยอง โทร. 0-3861-1578 ศูนย์บริหารศัตรูพืช
จังหวัดชลบุรี โทร. 0-3823-1271.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550
http://www.dailynews.co.th/dailynews/pages/front_th/popup_news/Default.aspx?
ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาร้อยเอ็ดป้องกันกำจัดโรคไหม้ข้าว
นายสกล คุณอุดม หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์ และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด เดินทาง
พร้อมด้วยคณะ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร นำเชื้อ “ไตรโคเดอร์มา”แนะนำการขยายเชื้อเพื่อการ
ป้องกันกำจัดโรคไหม้ ข้าวนาปรัง ที่ศาลาวัดบ้านท่าสะแบง ต.มะบ้า อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด มี
เกษตรกรร่วมกิจกรรมกว่า 50 คน โดยการสนับสนุนของนางจิราพร สอนมั่น นายก อบต.มะบ้า เชื้อ
“ไตรโคเดอร์มา”เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในจำพวกของเชื้อราชั้นสูง เส้นใยมีผนังกั้นแบ่ง มี
ประโยชน์สำหรับใช้ควบคุมโรคพืชที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราได้อย่างกว้างขวาง ทั้งเชื้อรา
สาเหตุโรคพืชที่เป็นเชื้อราชั้นสูงและชั้นต่ำ ในประเทศไทยได้มีการศึกษาค้นคว้าประสิทธิภาพของเชื้อ
ราไตรโคเดอร์มาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเพื่อควบคุมโรคเมล็ดเน่า โรคเน่าระดับดิน โรคกล้าไหม้
โรครากเน่า โรคโคนเน่า บนพืชหลายชนิด เช่น ข้าว มะเขือเทศ ถั่วเหลืองฝักสด พริก ฝ้าย ข้าวบาร์เลย์
ส้ม ทุเรียน พบว่ามีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคต่าง ๆ ดังกล่าวได้ดี ข้าวนาปรัง 2553 ได้รับผล
กระทบอย่างมากในพื้นที่ริมฝั่งลำน้ำชี จ.ร้อยเอ็ด
นายสกล คุณอุดม กล่าวว่า สำหรับรูปแบบหรือวิธีการของเชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมเชื้อราโรคพืช คือ
1. แข่งขันกับเชื้อราโรคพืชในด้านแหล่งของที่อยู่อาศัย อาหาร อากาศ และปัจจัยอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อ
การเจริญเติบโต
2. เส้นใยของไตรโคเดอร์มาจะพันรัดและแทงเข้าไปในเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช
3. เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพสูงมากชนิดหนึ่ง ก่อนที่จะนำเชื้อราไตรโคเดอร์
มาไปใช้ จำเป็นที่จะต้องนำมาผสมกับรำข้าว (รำใหม่ละเอียด) และปุ๋ยอินทรีย์เสียก่อน ตามอัตราส่วน
โดยน้ำหนัก ดังนี้ หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม : รำข้าว 5 กิโลกรัม : ปุ๋ยอินทรีย์ 25
กิโลกรัมปัจจุบันมีชนิดที่จำหน่ายเป็นชุดให้ใช้อัตราตามคำแนะนำของผู้จำหน่ายได้ โดยผสมหัวเชื้อไตร
โคเดอร์มา คลุกเคล้าให้เข้ากับรำข้าวให้ดีเสียก่อน แล้วจึงนำไปผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับปุ๋ยอินทรีย์ ก็จะ
ได้ส่วนผสมที่พร้อมจะนำไปใช้โดยแนะให้
1. ใช้รองก้นหลุมก่อนปลูก
2. ใช้โรยรอบโคนต้น
3. ใช้ทั้งรองก้นหลุมและโรยรอบโคนต้น
ข้อจำกัดและข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช มีข้อจำกัดดังต่อไปนี้
1. pH ของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไตรโคเดอร์มา อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 คือเป็น
กรดอ่อน ๆ ซึ่งเป็นช่วง pH ที่พืชปลูกส่วนใหญ่ เจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน จึงจำเป็นต้องมีการวัด pH
ของดิน และปรับให้เหมาะสมก่อน
2. เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราชั้น สูง จึงถูกทำลายได้ด้วยสารเคมีที่ใช้ในการป้องกัน และกำจัด
เชื้อราชั้นสูงโดยเฉพาะสารเคมีในกลุ่มเบนซิมิดาโซล (benzimidazole) ได้แก่ เบนโนมิล
(benomyl) และคาร์เบนดาซิม (carbendazim) ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีชนิดดูดซึม หากจำเป็น
ที่จะต้องใช้สารเคมี ควรจะทิ้งช่วงประมาณ 2 สัปดาห์เป็น อย่างต่ำ
3. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง คือต้นฝน และปลายฝน ห่างกัน 6 เดือน
เพราะถ้าอาหาร สภาพแวดล้อม และปัจจัย อื่น ๆ ในดินไม่เหมาะสม เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะหยุดการ
เจริญเติบโตไตรโคเดอร์มาสามารถควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในดิน เช่น เชื้อราพิเทียม (โรคเน่า
ระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า) เชื้อราไฟทอฟธอรา (โรคโคนเน่า) เชื้อราฟิวซาเรียม (โรคเหี่ยว) เชื้อ
ราสเคลอโรเทียม (โรคโคนเน่า เหี่ยว)เชื้อราไรซ็อค โทเนีย (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า)วิธี
การนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดไปใช้ให้คลุกเมล็ดพืชผสมปุ๋ยอินทรีย์แล้วหว่านหรือรองก้นหลุม
ผสมกับวัสดุปลูก ผสมน้ำฉีด
เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด คือ เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่กำลังเจริญเติบโตอยู่บนวุ้น สำหรับเลี้ยงเชื้อ
หรือบนอาหารจำพวกเมล็ดพืช โดยอยู่ในรูปสปอร์สีเขียวปกคลุมวัสดุอาหารอย่างทั่วถึง ไม่มีการปน
เปื้อนที่ทำให้เห็นสปอร์เป็นสีอื่นมีเมือกเยิ้ม หรือมีกลิ่นเหม็น ในการผลิตเชื้อรา ไตรโคเดอร์มาชนิดสด
เพื่อใช้ควบคุมโรคพืชนั้น จะมีหัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่มีประสิทธิภาพสูง เลี้ยงบนปลายข้าว หรือข้าว
สุก โดยมีอุปกรณ์ คือ
1. หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา
2. หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
3. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8x12 นิ้ว
4. ปลายข้าว
5. ยางวง
จากนั้นสาธิตวิธีการ เตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ ดังนี้...
1. หุงปลายข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ใช้ข้าว 3 ส่วน ต่อน้ำ 2 ส่วน 2. ตักข้าวสุกที่ยังร้อนอยู่ใส่
ถุงพลาสติกทนร้อนที่เตรียมไว้จำนวน
2. ทัพพี (พูน) หรือประมาณ 250 กรัมต่อถุง
3. กดข้าวให้แบน รีดเอาอากาศออกให้ถุงพลาสติกแนบกับข้าวเพื่อลดการเกิดหยดน้ำทิ้งไว้ให้อุ่น
หรือเย็น
4. ใส่หัวเชื้อไตรโคเดอร์มาลงในถุงเพียงเล็กน้อย ประมาณ 1-1.5 กรัม ต่อถุง
5. รัดยางปากถุงให้แน่น แล้วเขย่าหรือบีบข้าวเบา ๆ เพื่อให้เชื้อกระจายทั่วถุง
6. รวบถุงให้บริเวณปากถุงพอง แล้วใช้เข็มเย็บผ้าแทงรอบ ๆ ปากถุง 10-15 แผล
7. กดข้าวในถุงให้แผ่กระจายไม่ซ้อนทับกัน ดึงบริเวณกลางถุงขึ้นเพื่อไม่ให้พลาสติกแนบกับข้าวและ
เพื่อให้อากาศเข้าไปในถุงเพียงพอ
8. บ่มเชื้อเป็นเวลา 2 วัน โดยวางถุงเชื้อในห้องที่ปลอดจากมด ไร และสัตว์อื่น ๆ อากาศไม่ร้อน
และไม่ ถูกแสงแดด แต่ได้รับแสงวันละ 6-10 ชั่วโมง/วัน หากแสงไม่พอ ใช้แสงจากหลอดนีออน
ช่วยได้
9. เมื่อครบ 2 วัน บีบขยำก้อนข้าวที่มีเส้นใยของเชื้อเจริญอยู่ให้แตกแล้ววางถุงไว้ที่เดิมดึงถุงให้
อากาศเข้าอีก ครั้ง บ่มไว้อีก 4-5 วัน
10. เชื้อสดที่ผลิตได้ควรนำไปใช้ทันที เก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ 1 เดือน
การใช้เชื้อไตรโคเดอร์มามีวิธีดังนี้
1. คลุกเมล็ดเชื้อสด 10 กรัม/เมล็ดพันธุ์ 1 กก.
2. ผสมน้ำฉีด ใช้เชื้อสด 1 กก./น้ำ 200 ลิตร
3. ผสมปุ๋ยหมัก ใช้เชื้อสด 1 กก. ผสมรำละเอียด 5-10 กก. ผสมปุ๋ยอินทรีย์ 40 กก.หาก
สนใจข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน
เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด
วัชรินทร์ เขจรวงศ์/รายงาน
โทร.085-7567108
E-mail:singkhon101@gmail.com
Catagory : ภูมิภาค
Tags : เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด/หนูโรคไหม้
URL :
Embed :
ไตรโคเดอร์ม่ารักษาโรคใบจุดสีน้ำตาลในข้าว ที่พัทลุง
โรคใบจุดสีน้ำตาล (Brown Spot Disease) เกิดจาการเข้าทำลายของเชื้อรา
Helminthosporium oryzae สามารถพบอาการได้ตลอดช่วงเจริญเติบโตของข้าวตั้งแต่ระยะ
ข้าวต้นกล้าจนถึงข้าวออกรวง แต่จะแสดงอาการรุนแรงกับต้นข้าวที่มีความแคระแกร็นและขาดธาตุ
อาหารบางชนิด เช่นไนโตรเจน แมกนีเซียม โปแตสเซียม หรือสภาพดินบริเวณนั้นมีแก๊สไฮโดรเจน
ซัลไฟด์ (แก๊สไข่เน่า) เนื่องจากการเตรียมดินไม่ดี
อาการที่พบเห็นทั่วไป :
ใบข้าวจะเป็นจุดสีน้ำตาลกลมหรือรีรูปไข่ล้อมรอบด้วยสีเหลืองหรือสีน้ำตาล เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ
0.5–1 มิลลิเมตร แต่สามารถขยายโตเต็มที่มากกว่า 10 มิลลิเมตร (1 เซนติเมตร) ขนาดของ
แผลจะไม่เป็นวงกลมแต่จะมีรอยเปื้อนสนิมกระจายทั่วทั้งใบและอาจรุนแรงลุกลามไปถึงบนเมล็ดข้าวทำ
ให้สูญเสียน้ำหนัก หากไม่ป้องกัน
สำหรับ คุณลุงจำนง มณีรัตน์ เกษตรกรหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินท่านนี้กล่าวว่า ท่านไม่กลัวเพราะใช้
เชื้อไตรโครเดอร์ม่า 1 กิโลกรัมผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทั่วทั้งแปลงทุกๆ 5 วัน กรณีพบว่าโรค
ระบาดรุนแรง ซึ่งพบว่าหลังจากฉีดพ่น 1–2 ครั้ง อาการระบาดเริ่มลดน้อยลง สังเกตได้จากใบข้าวที่
แตกใหม่จะไม่พบอาการใบจุดให้เห็น วิธีนี้คุณลุงใช้มาประมาณ 2 ปีแล้วพบว่าได้ผลและสามารถลด
ต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะค่ายาปราบศัตรูพืชอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งได้กำไรชีวิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย
เกษตรกรท่านใดสนใจขอหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเพิ่มเติม : สามารถติดต่อ คุณลุงจำนง มณีรัตน์
เลขที่ 163 หมู่ที่ 7 ต.แหลมตะโหนด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 93110 โทร.089 –
8794863 หรือติดต่อผ่านชมรมฯ 02 – 9861680 -2 , 081 – 3983128 (นัก
วิชาการ) หรือ email: thaigreenagro@gmail.com
เอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการ) โทรศัพท์. 081-398-3128
nanasarathai.brinkster.net/260609/tricoderma.htm -