-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 826 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์








แยกย่อยไขมันด้วยเครื่องกล งานวิจัยเพื่อลดมลพิษทางน้ำ




ปัญหาสำคัญ ของโรงงานอุตสาหกรรม และครัวเรือน คือของเสียเหลือทิ้ง ที่ไม่ได้บำบัด โดยเฉพาะน้ำทิ้ง ที่มีคราบน้ำมัน และไขมันซึ่งเป็นสารอินทรีย์ ที่ย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์ แต่จุลินทรีย์ในธรรมชาติ ก็ย่อยสลายน้ำมัน และไขมันได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับสารอินทรีย์อื่นๆ ทำให้กระบวนการบำบัดน้ำเสีย ได้ผลไม่ดีนัก โรงงานเหล่านี้จึงแก้ปัญหาโดยการดัก หรือแยกนำไปบำบัดต่างหาก ซึ่งก็เป็นเพียงการเปลี่ยนสถานที่ทิ้งเท่านั้น

ใ น ขณะที่ปัญหาน้ำเสียเป็นสิ่งที่ต้องรีบแก้ไข โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม SMEs ที่มีปัญหาค่อนข้างรุนแรง ด้วยเหตุนี้ นายเกียรติณรงค์ ครูบา และ นายเจษฎา เงางามดี จากภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล นักศึกษาที่ได้รับทุนจากโครงการอุตสาหกรรมสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี (Industrial Projects for Undergraduate Students) หรือ IPUS ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้คิดค้น เครื่องต้นแบบแยกและย่อยไขมัน ขึ้น โดยมี ผศ.ดร.สมพร เจนคุณาวัฒน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

นายเกียรติณรงค์ กล่าวว่า เทคโนโลยีเครื่องแยก และย่อยไขมันเป็นแนวทางหนึ่ง ที่จะช่วยแก้ปัญหาน้ำมันและไขมัน ที่ถูกทิ้งออกมาจากภาคครัวเรือน หรือภาคอุตสาหกรรมได้ โดยเครื่องจะทำการดักไขมัน โดยอาศัยการแยกน้ำมัน ที่ลอยอยู่เหนือน้ำไหลล้น ออกสู่รางระบายและระบบแยก ซึ่งนอกจากจะแยกน้ำมันได้ แล้วยังแยกกรวดกับทราย ที่เป็นปัญหาสำคัญ ของปั๊มสูบน้ำออกมาจากเครื่องย่อยได้อีกด้วย เนื่องจากถ้าหลุดเข้าไปจะสร้างความเสียหาย ให้กับปั๊มน้ำที่มีราคาแพง

เ ครื่องต้นแบบนี้สามารถแยกไขมัน และของแข็งในน้ำเสีย ออกจากเครื่องแยกได้ 100% และยังมีข้อดีคือไขมัน ที่ผ่านกระบวนการนี้ จะสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ โดยเครื่องสามารถดักไขมัน และของแข็งเจือปนโดยอาศัยแรงกล และความถ่วงจำเพาะ ของสารแยกส่วนของน้ำ น้ำมัน ของแข็งออกจากกัน แยกส่วนที่เป็นของแข็งออกมา และนำส่วนที่เป็นน้ำมันหรือไขมันไปย่อยสลาย โดยจุลินทรีย์และเอนไซม์ไลเปส น้ำมันและไขมันจะเปลี่ยนเป็นกรดไขมันและกลีเซอไรด์ ซึ่งทำ ให้จุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียทั่วไปสามารถย่อยสลายหรือนำไปใช้ได้ง่ายขึ้ น ช่วยลดมลพิษทางน้ำที่เกิดจากไขมันและน้ำมันลงได้ ผู้วิจัย กล่าว

นายเจษฎา นักศึกษาในโครงการอีกคนกล่าวว่า เครื่องแยกและย่อยไขมันมีหลักการทำงานแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เครื่องแยกจะทำหน้าที่แยกส่วนของน้ำ และน้ำมันออกจากกัน เครื่องย่อยทำหน้าที่ย่อยน้ำมันหรือไขมัน โดยจุลินทรีย์และเอนไซม์ที่ผลิตโดยจุลินทรีย์ หลังจากที่น้ำมันและไขมันผ่านการย่อยแล้ว ก็จะส่งเข้ารวมกับส่วนของน้ำทิ้ง เพื่อเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียได้ต่อไป ซึ่งถ้าเป็นการบำบัดน้ำเสียที่ใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย บางครั้งจุลินทรีย์ไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากพิษในน้ำเสียและจุลินทรีย์อื่นๆมาทำลาย ทำให้จุลินทรีย์ลดลง

เ อนไซม์ ไลเปสจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีการศึกษา เพื่อนำมาใช้ในการย่อยสลายของเสียประเภทไขมัน แต่การใช้เอนไซม์เพียงอย่างเดียวอาจทำให้ค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น การใช้จุลินทรีย์สายพันธุ์ที่คัดเลือกแล้วว่า มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายไขมันได้ดี ประกอบกับการใช้เอนไซม์น่าจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ดีขึ้น เมื่อนำมาใช้ร่วมกับเครื่องแยกและย่อยไขมันจะช่วยสลายไขมันให้มีโมเลกุล เล็กลง เพื่อให้เป็นอาหารแก่จุลินทรีย์อื่นๆ ได้เร็วขึ้น และเป็นมลพิษน้อยลง สามารถส่งต่อไปยังระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพแบบอื่นๆทำงานต่อเนื่องต่อไป และสามารถปล่อยลงแหล่งน้ำสาธารณะได้ในที่สุด.



ดวงแก้ว ผุงเพิ่มตระกูล

onknow.blogspot.com/2005/05/blog-post_3553.html -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2113 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©