-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 820 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์






อิทธิพลของจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายเซลลูโลส ต่อการผลิตปุ๋ยหมักจากฟาง ...


ปุ๋ยหมัก; จุลินทรีย์; ฟางข้าว; เซลลูโลส; การย่อยสลาย; ประสิทธิภาพ; การแยกเชื้อ; โครงสร้างภายนอก
การคัดเลือกเชื้อราและแอคติโนมัยซิสที่มีความสามารถสูงในการผลิตเอนไซม์เซลลูเลสที่ย่อยสลายกระดาษกรอง CMC และ avicel ได้แก่เชื้อรา 4 สายพันธุ์คือ MCM 059, MBK 336, MRY 586 และ MCT 794 และเชื้อแอคติโนมัยซิส 3 สายพันธุ์ คือ ACT 034, ABK 372 และ APK 425 ซึ่งเมื่อนำมาศึกษาอัตราการเจริญที่อุณหภูมิระดับต่างๆ พบว่าเจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 40-45 องศาเซลเซียส และยังคงเจริญได้ที่อุณหภูมิ 30 และ 50 องศาเซลเซียส การศึกษาผลของมูลสัตว์และยูเรียต่อการย่อยสลายฟางข้าวในห้องปฏิบัติการที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส

โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณและอัตราการปลอปล่อยก๊าช CO2 พบว่าการใช้มูลสัตว์หรือยูเรียช่วยส่งเสริมอัตราการย่อยสลาย อัตรามูลสัตว์ที่เหมาะสมคือ 20 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ส่วยยูเรียทำหน้าที่เป็นแหล่งของไนโตรเจน และอัตราที่เหมาะสมคือ 1.0 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก จากการใช้เชื้อราที่คัดเลือก 4 สายพันธุ์พบว่า

เชื้อรา MCT 794 มีความสามารถในการย่อยสลายฟางข้าวดีที่สุด รองลงมาได้แก่ MRY 586, MBK 336 และ MCM 059 ตามลำดับ ส่วนเชื้อแอคติโนมัยซิสที่คัดเลือก 3 สายพันธุ์พบว่าเชื้อแอคติโนมัยซิส ABK 372 มีประสิทธิภาพดีที่สุด รองลงมาได้แก่ APK 425 และ ACT 034 ตามลำดับ

การศึกษาผลการใช้เชื้อจุลินทรีย์ผสม 2 ชนิดที่คัดเลือกต่อการย่อยสลายในกองปุ๋ยหมักจากฟางข้าวในภาคสนาม ร่วมกับการใช้ยูเรียหรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 เป็นแหล่งของไนโตรเจน และร่วมกับการใส่หรือไม่ใส่มูลสัตว์ จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงค่าอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนปริมาณการปลดปล่อยก๊าซ CO2 อุณหภูมิ

ปริมาณเชื้อราและแอคติโนมันซิส การลดลงของน้ำหนักฟางข้าว ปริมาตรของกองปุ๋ยหมัก ความเป็นกรดเป็นด่าง และปริมาณความชื้นในกองปุ๋ยหมัก พบว่าการใช้ยูเรียหรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 1.0 เปอร์เซนต์ไม่มีผลแตกต่างกันมากนัก การใช้มูลสัตว์มีผลช่วยส่งเสริมการย่อยสลายอย่างชัดเจนและช่วยส่งเสริมให้กิจกรรมของเชื้อจุลินทรีย์ผสมทั้ง 2 ชนิดเพิ่มมากขึ้น การใช้เชื้อจุลินทรีย์ผสมชนิดที่ 2 (MCT 794+ABK 372+APK 425) ทำให้การย่อยสลายเกิดขึ้นสูงสุด


pikul.lib.ku.ac.th/cgi.../agdb1.exe?...
-









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2570 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©