ความเป็นมาของกิจกรรม
Probiotics เป็นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์บางชนิดที่แยกจากธรรมชาติ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับและนำมาใช้
ในวงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในระบบการเลี้ยงแบบพัฒนาเพื่อลดความเสี่ยงในการ
เกิดโรคและลดการใช้ยาปฎิชีวนะ โดยกรมประมงมีแนวคิดที่จะใช้จุลินทรีย์เพื่อสร้างสมดุลของจุลินทรีย์
ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวกุ้งและในระบบทางเดินอาหารของกุ้ง โดยมีกลไกในการช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์
ในน้ำและลดปริมาณเชื้อก่อโรคในสิ่งแวดล้อมและในระบบทางเดินอาหารของกุ้ง จุลินทรีย์สายพันธุ์
Bacillus spp. เป็นจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกโดยนักวิชาการของกรมประมงและนักวิชาการของ
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี-แห่งประเทศไทย โดยจุลินทรีย์ดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูง
ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ตกค้างสะสมในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
คุณสมบัติของจุลินทรีย์ (ปม.1)
เป็นจุลินทรีย์สายพันธุ์น้ำกร่อยและน้ำเค็มชนิด Bacillus spp. มีปริมาณ 106 cfu/กรัม เจริญเติบโตได้ดีใน
ช่วงความเค็มของน้ำ 5-32 ส่วนในพัน ส่วนความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 7.0-8.5
อัตราการใช้ 1 ซอง (200 กรัม) ต่อพื้นที่บ่อ 5 ไร่
วิธีใช้
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมจุลินทรีย์ขยาย
นำหัวเชื้อจุลินทรีย์จำนวน 1 ซอง (200 กรัม) มาผสมกับน้ำสะอาด (น้ำจืดหรือน้ำกร่อยที่สะอาด)
จำนวน 500 ลิตร อาหารกุ้งทะเลจำนวน 1 กิโลกรัม และกากน้ำตาล 1 ลิตร ทำการคนให้หัวเชื้อจุลินทรีย์
อาหารกุ้งทะเลและกากน้ำตาลผสมให้เข้ากัน ทำการปิดฝาถัง จากนั้นเป่าอากาศเบาๆ ติดต่อกัน
เป็นเวลา 36 ชั่วโมง จะได้จุลินทรีย์ขยายที่จะนำไปบำบัดสารอินทรีย์ในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ขั้นตอนที่ 2 การใช้จุลินทรีย์ขยายในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
นำจุลินทรีย์ขยายที่ได้ในอัตรา 100 ลิตร/ไร่ ฉีดพ่นหรือราดพื้นบ่อที่ตากแห้ง จากนั้นไถพรวนเพื่อ
กลบหน้าดิน แล้วราดจุลินทรีย์ขยายซ้ำอีกครั้งในอัตรา 100 ลิตร/ไร่ ตากแดดให้แห้งแล้วไถพรวน
จนอินทรีย์ถูกย่อยสลายเรียบร้อยดีแล้วจากนั้นจึงเตรียมการในขั้นตอนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไป
ในกรณีที่ดินมีสารอินทรีย์ตกค้างเป็นจำนวนมาก หลังจากราดจุลินทรีย์ขยายแล้วให้ทำการชะล้าง
สารตกค้างด้วยน้ำจืดหรือน้ำกล่อยสะอาดจำนวน 1-2 ครั้ง นอกจากนี้ในกรณีดินเป็นกรดจัด
ควรปรับปรุงดินด้วยวัสดุปูนจากนั้นจึงนำจุลินทรีย์ขยายอัตรา 100 ลิตร/ไร่ ฉีดพ่นหรือราดพื้นบ่อ
ที่ตากแห้ง ไถพรวนเพื่อกลับหน้าดินแล้วราดจุลินทรีย์ซ้ำอีดครั้งในอัตรา 100 ลิตร/ไร่ กรณีดินเป็นกรด
ควรใส่วัสดุปูน หรือชะล้างความเป็นกรดด้วยน้ำจืด หรือน้ำกร่อยที่สะอาดหลายๆครั้ง จนมีความ
เป็นกรดลดลง จากนั้นจึงเตรียมการในขั้นตอนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไป
การเก็บรักษา
เก็บหัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1) ไว้ในตู้เย็นหรือเก็บไว้ในที่ร่ม โดยมีอายุการเก็บรักษาตามที่ปรากฏอยู่บนซอง
www.fisheries.go.th/cf-samutsa/Pages/institute/Bio.html -
|