-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 854 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์








Probiotic  Pr  ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในรายงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของ Lilly และ Stillwell ในปี ค.ศ. 1965 เพื่อกล่าวถึงสารที่จุลินทรีย์ชนิดหนึ่งขับออกมา และช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นการทำงานที่ตรงข้ามกับการทำงานของยาปฏิชีวนะ (antibiotic) ที่จะทำลายจุลินทรีย์เกือบทุกชนิด ในปี ค.ศ.1974 Parker ได้ให้คำจำกัดความ Probiotic คือสิ่งมีชีวิตและสารเคมีที่มีผลต่อสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1989 Fuller อธิบายคำว่า Probiotic คืออาหารเสริมซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิต สามารถก่อประโยชน์ต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่ โดยการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย จนในที่สุดปี ค.ศ. 1992 Havenaar และ Veid ได้ขยายคำจำกัดความของ Probiotic ว่า จะต้องประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งอาจมีเพียงชนิดเดียวหรือเป็นส่วนผสมของจุลินทรีย์หลายชนิด ที่สามารถไปปรับปรุงคุณสมบัติของจุลินทรีย์ดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของสัตว์นั้น โดยจุลินทรีย์เหล่านี้อาจอยู่ในรูปของเซลล์แห้งจากขบวนการระเหิดแห้ง (freeze-dried cells) หรืออยู่ในรูปผลิตภัณฑ์หมัก ซึ่งนอกจากไปส่งเสริมการเจริญเติบโตแล้ว ยังทำให้คนและสัตว์มีสุขภาพดีขึ้นด้วย และ Probiotic ไม่ได้จำกัดการใช้เฉพาะในทางเดินอาหารเท่านั้น ยังอาจไปมีผลต่อระบบอื่น ๆ เช่น ทางเดินหายใจส่วนต้น หรือระบบปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์ สรุปคำว่า Probiotic หมายถึง เชื้อเริ่มต้นของจุลินทรีย์เชื้อเป็น ไม่ว่าจะเป็นสายเดี่ยวหรือผสม ซึ่งเมื่อสัตว์ได้รับแล้วจะมีการปรับปรุงคุณสมบัติและสมดุลจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อสัตว์เพิ่มมากขึ้น หรืออาจจะหมายถึง เชื้อเริ่มต้นของจุลินทรีย์เชื้อเป็นที่เมื่อสัตว์กินเข้าไปแล้วจะมีผลในการลดจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ พร้อม ๆ กับเพิ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในท่อทางเดินอาหารทำให้สัตว์เจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีขึ้น คุณสมบัติของเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถเป็น Probiotic ได้คือ

- ระบุปริมาณแบคทีเรียจำเพาะขั้นต่ำ (เช่น cfu/กรัม) ที่จะทำให้จุลินทรีย์เป็นประโยชน์ในท่อทางเดินอาหาร สามารถตั้งถิ่นฐานได้อย่างถาวรได้ (permanent colonization หรือ establishment)
- เชื้อเริ่มต้นจะต้องแห้ง
- เชื้อเริ่มต้นจะต้องตอบสนองต่ออุณหภูมิที่ผันแปรได้
- เชื้อเริ่มต้นต้องกระตุ้นในสัตว์ตอบสนองในระดับที่เหมาะสมกับปริมาณที่ได้รับ

แนวคิดในการใช้ Probiotic (Concept of probiotic) ในทางเดินอาหารสัตว์ โดยเฉพาะในลำไส้เล็ก ไส้ติ่ง และลำไส้ใหญ่ มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่หลายชนิด จุลินทรีย์แต่ละชนิดก็ต่างดำเนินกิจกรรมเพื่อการเจริญเติบโตและขยายจำนวน โดยใช้โภชนะจากอาหารที่สัตว์กินและสร้างผลผลิตจำเพาะของ species ออกมา สัดส่วนของชนิดจุลินทรีย์และผลผลิตที่แต่ละชนิดสร้างขึ้นมาจะส่งผลกระทบต่อความคงอยู่ของจุลินทรีย์ชนิดอื่นและสุขภาพของสัตว์ (host) ซึ่งมีทั้งประโยชน์และโทษ ในสภาพการเลี้ยงสัตว์ทั่วไป มักจะทำให้สัตว์เกิดความเครียด ไม่ว่าจากดินฟ้าอากาศ การเลี้ยงรวมกันอย่างหนาแน่น การใช้ยาวัคซีน การเปลี่ยนอาหาร การขนย้าย หรือความเครียดอื่น ๆ ล้วนส่งผลให้จุลินทรีย์ในท่อทางเดินอาหารเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เพิ่มปริมาณของเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นโทษพร้อม ๆ กับการลดปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ลง ผลก็คือ สัตว์จะโตช้า กินอาหารลดลง ท้องร่วง หรือภูมิต้านทานลดลง การเติม probiotic ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลกติค (lactic acids forming bacteria หรือ LAB) ลงในอาหารในปริมาณที่มากพอ จะทำให้เกิด
ผลดีต่อสมรรถนะการผลิตและสุขภาพของสัตว์ โดย probiotic เหล่านี้จะมีบทบาทในการ

1. ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ โดยการแย่งที่เกาะหรือแย่งอาหารหรือทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม อันเป็นการช่วยลดสารพิษที่เชื้อจุลินทรีย์เหล่านั้นผลิตขึ้น
2. ผลิตสารต้านการเจริญเติบโตและตั้งถิ่นฐานของจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ
3. ผลิตเอนไซม์ที่มีผลในการทำลายสารพิษในอาหาร หรือที่เชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นโทษผลิตขึ้น
4. กระตุ้นในเกิดภูมิต้านทานต่อโรคของสัตว์
5. ผลิตเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารเพิ่มเติมให้แก่สัตว์



จากบทบาทเหล่านี้ การเติม probiotic ลงในอาหารสัตว์จึงมีผลคล้ายกับการเติมยาปฏิชีวนะในแง่ของการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ และกระตุ้นการเจริญเติบโตของสัตว์ และเนื่องจาก probiotic เป็นแบคทีเรียที่ได้จากธรรมชาติ จึงไม่มีผลในการสร้างการดื้อยาในเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ และปลอดจากการเหลือสารพิษตกค้างในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ จึงมีแนวโน้มว่า probiotic จะเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ทดแทนยาปฏิชีวนะต่อไปในอนาคต กลไกการทำงานของ Probiotic (Modes of action of probiotics)- Probiotic แย่งที่ยึดเกาะกับเชื้อจุลินทรีย์ใหม่บนเยื่อบุผนังลำไส้ probiotic แท้จริงแล้วเป็นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติแล้วส่วนหนึ่งในทางเดินอาหาร จุลินทรีย์เหล่านี้มีความสามารถในการต่อต้านการเกาะของเชื้อจุลินทรีย์ใหม่บนผนังลำไส้ โดยกระบวนการที่เรียกว่า competitive exclusion หรือ colonization resistance ซึ่งเป็นกลไกการต่อต้านการเกาะของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดใหม่ โดยจุลินทรีย์เดิม นอกจากจะขัดขวางการเข้าเกาะของจุลินทรีย์ที่เป็นโทษโดยตรงแล้ว จุลินทรีย์เดิมในทางเดินอาหารยังผลิตสารซึ่งเป็นพิษต่อเชื้อจุลินทรีย์ที่เข้าไปใหม่ เช่น ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ กรดน้ำดีอิสระ เช่น deoxycholic acid ซึ่งสารเหล่านี้ช่วยป้องกันการเข้าเกาะและตั้งถิ่นฐาน (colonization) ของเชื้อจุลินทรีย์ใหม่ที่เป็นโทษส่วนใหญ่ จากปัญหาการปนเปื้อนเชื้อ Samonella ในผลิตภัณฑ์สัตว์ ทำให้สัตว์ได้รับเชื้อชนิดนี้เข้าไปมาก จึงเกิดแนวคิดที่จะนำ probiotic มาแย่งจับกับเชื้อ Samonella ในท่อทางเดินอาหาร โดยมี

การทดลองของ Nurmi and Rantala,1973 พบว่า การนำเอาจุลินทรีย์เดิมในท่ออาหารของไก่ที่มีสุขภาพดี ไปให้ลูกไก่ฟักใหม่กิน จะทำให้ลูกไก่พัฒนาจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารที่ทำให้ลูกไก่ต้านทานโรคที่เกิดจาก Samonella ได้ดีขึ้น - Probiotic แย่งโภชนะกับเชื้อจุลินทรีย์ชนิดใหม่ สมมติฐานเกี่ยวกับกลไกการควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ชนิดใหม่โดย probiotic โดยการแก่งแย่งโภชนะ ได้มาจากการสังเกตเห็นการแย่งโภชนะกันระหว่างจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงโดย continuous flow system ในห้องทดลอง (Freter et al.,1983) แต่ข้อมูลการวิจัยที่ในสภาวะลำไส้เล็กจริงยังมีไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนสมมติฐานนี้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม Jonsson และ Conway (1992) เชื่อว่ากลไกการยับยั้งการตั้งถิ่นฐานของเชื้อจุลินทรีย์ใหม่โดย probiotic ไม่น่าจะเกิดขึ้นบนลำไส้เล็กอย่างเดียว probiotic น่าจะแย่งโภชนะในบริเวณที่เกาะตั้งถิ่นฐานไม่ให้เหลือพอที่เชื้อจุลินทรีย์ใหม่จะใช้ในการเจริญเติบโตและขยายจำนวนได้ หรือมิฉะนั้นสารยับยั้งที่ probiotic ผลิตขึ้นอาจมีส่วนร่วมในการยับยั้งการตั้งถิ่นฐานของเชื้อจุลินทรีย์ใหม่ด้วย

 

Probiotic ผลิตสารต้านการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ สารต้านเชื้อจุลินทรีย์อื่นที่ probiotic ผลิตขึ้นมามี bacteriocins, bacteriocin-like substances และสารยับยั้งอื่น เช่น ไฮโรเจนเปอร์ออกไซด์ และกรดอินทรีย์บางชนิด ตัวอย่างเช่น bacteriocins ที่จุลินทรีย์กลุ่ม actobacillic สร้างขึ้น ออกฤทธิ์ในการทำลายเชื้อจุลินทรีย์โดยตรง ส่วนกรดอินทรีย์โดยเฉพาะกรดไขมันที่ระเหยได้ เช่น กรดแลคติค อะซีติค โพรพิออนนิค และบิวทีริค นอกจากจะช่วยลด pH ของลำไส้และไส้ติ่งลงให้ไม่เหมาะสมสำหรับการขยายตัวของเชื้อจุลินทรีย์ใหม่แล้ว กรดที่ยังไม่ไอออนไนซ์ยังมีผลในการยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียอย่างชะงัดด้วย (Meynell, 1963)- Probiotic จะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานของโรคสัตว์ กลไกการกระตุ้นในสัตว์เกิดภูมิต้านทานโรคของสัตว์ยังไม่แน่นอนนัก แต่เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า probiotic ช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานโรคของสัตว์ ทั้งในแง่เพิ่มความต้านทานโรคโดยตัวสัตว์เอง (non-specific defence mechanisms of the hosts) และในแง่การกระตุ้นทานทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) โดย probiotic จะไปกระตุ้นการทำงานของ macrophages และเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการกินเซลล์ที่แปลกปลอม และกระตุ้นการทำงานของ immunocompetent cell เช่น lymphocytes ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ cell-mediated immune โดยไม่มีการหลั่ง antibodies รวมทั้งกระตุ้นการทำงานของ secretory immune system โดยการหลั่ง antibodies เช่น IgA ออกมาจับเชื้อจุลินทรีย์แปลกปลอมไม่ให้เกาะกับเซลล์บุผนังลำไส้เล็กได้ (Hentges, 1992) จุลินทรีย์ที่ใช้เป็น Probiotic จุลินทรีย์ที่ใช้เป็น probiotic ส่วนใหญ่จะเป็นแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลกติค แหล่งที่มาของจุลินทรีย์เหล่านี้ได้แก่ จุลินทรีย์ที่อยู่ในท่อทางเดินอาหารของสัตว์นั้น ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต และนมเปรี้ยว เช่น Lactobacillus spp. ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากทางเดินอาหารของสัตว์หรือผลิตภัณฑ์นม Bifidobacterium spp. พบในทางเดินอาหารของทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ Enterococcus spp. พบในลำไส้ของสัตว์ ยีสต์ Saccharomyces cerivisiae และ Candida pintolopesii เชื้อรา Aspergillus niger จุลินทรีย์ probiotic ส่วนใหญ่จะเจาะจงในการเจริญเติบโตในท่อทางเดินอาหารของสัตว์ที่เป็นที่มาของเชื้อ (host specific) แต่ก็มีเช่นกันที่สามารถเติบโตในสัตว์ต่างชนิดได้ หรือจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยง ในห้องทดลองการเติบโตในสัตว์หลาย species ได้ ส่วนมาก probiotic ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะมีจุลินทรีย์หลายชนิดผสมกันอยู่และอาจอยู่ในรูปผง เม็ด granule หรือรูปแป้งเปียก การให้สัตว์กินอาจจะทำโดยการกรอกให้สัตว์กินโดยตรง หรือผสมกับอาหาร เติมในน้ำ คุณสมบัติของ probiotic ที่ดีจะต้องเตรียมให้ได้เชื้อเป็นที่สามารถมีชีวิตอยู่ในสภาพการเก็บรักษาตามปกติและต้องสามารถคงอยู่ในทางเดินอาหารสัตว์ รวมทั้งต้องให้ผลที่เป็นประโยชน์ต่อตัวสัตว์ด้วย (Fuller, 1992) การเติม probiotic ในบางกรณีต้องมีการเติมหลายครั้ง หรือให้กินติดต่อกันไประยะหนึ่งเพื่อให้จุลินทรีย์เสริมชีวนะเกาะตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรได้


 

www.bicchemical.com/index.php?option
...
-








องค์ความรู้เรื่องอะตอมมิคนาโน จากท้องทุ่ง


1. จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photo synthetic bacteria; PSB) พบทั่วไปในธรรมชาติ เป็นแบคที่เรียที่สามารถใช้แสงเป็นแหล่งพลังงาน และออกซิไดซ์ สารประกอบอินทรีย์โดยเฉพาะกรดอินทรีย์หลายชนิดในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนแต่มีแสงได้ จึงมีคุณประโยชน์ในการเกษตร และปศุสัตว์ รวมถึง อุตสาหกรรมทางเคมี และปิโตเลียม เป็นต้น

2. พลังง้วนดินธรรมชาติ (แบคทีเรียสังเคราะห์แสง) สามารถนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้โดยการแบ่งอนุภาคอะตอมเดียว แบคทีเรียสังเคราะห์แสงบรรจุไว้ใน “อะตอมมิก”ซึ่งเป็นซากสัตว์สองเซลล์ที่มีรูพรุน มีขนาดโมเลกุลขนาดเล็ก ด้วยสารเคมีสูตรเข้มข้นโดยวิธีการหมัก สังเคราะห์ จะทำให้มีกลิ่นหอม สร้างกรดอะมีโน วิตามิน และน้ำตาลมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์

3. พลังแอนตี้ออกซิแดนท์ เกิดจากการที่แรงแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดสนามคลื่นสั่นสะเทือนเท่ากัน ก่อให้เกิดความสมดุล คามกลมกลืน ผลผลิต พืชและสัตว์โตสม่ำเสมอ

4. จุลินทรีย์ที่เกิดจากพลังงานง้วนดิน(อะตอมมิกนาโม) เป็นแบคทีเรีย ประเภทที่ตรึงไนโตรเจนอิสระประเภทต้องการออกซิเจน (O2) น้อยอยู่ในตระกูลเอ็นเทอโรแบคทีเรียซีอี (Enterobacter) รวมกันอยู่ทั้ง 2 สกุล และเป็นชนิด เคล็บซิล่าวาริอิโคลา (Klebsilla cariicola) อยู่รวมกับเอ็นเทอโรแบคเตอร์โควานิอิ (Enterobacter) เป็นสายพันธุ์แบคที่เรียที่ตรึงไนโตรเจนที่พบใหม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในไร่นาเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้

5. วิธีเพาะเลี้ยง เลี้ยงด้วยอาหารโปรตีนเข้มข้น โดยใช้ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1
นำเชื้อแบคทีเรียที่ได้จากธรรมชาติเรียกว่า “ง้วนดิน” มาเลี้ยงด้วยอาหารที่มีกรดโปรตีนเข้มข้น เช่นน้ำนม น้ำมะพร้าวอ่อน สาหร่าย และเกลือสตุ แล้วบรรจุเชื้อแบคทีเรียไว้ในอะตอมสัตว์สองเซลล์เรียกว่า “อะตอมนามิกโน”

ขั้นที่ 2
นำอะตอมมิกนาโนชนิดผงและชนิดน้ำมาขยายผลต่อในกองจุลินทรีย์วัตถุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น มูลสัตว์ รำอ่อน เศษวัสดุ พืชผักต่างๆ ฟางข้าวและหญ้า เป็นต้น หรือนำมาหมักด้วยผลไม้อย่างน้อย 5 ชนิด เพื่อทำเป็นฮอร์โมนสกัด มาเป็นสารเร่งเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ ซึ่งเป็นสารต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant)

ขั้นที่ 3 เ
มื่อนำเอาน้ำหมักที่ได้จากขั้นที่ 2 มากลั่นเป็นฮอร์โมนชนิดเข้มข้นผสมเจือจางกับน้ำธรรมชาติในอัตราส่วน 1: 500 และ 1: 1000 ใช้เป็นอาหารเสริมทางใบและเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์


6. แนวปฏิบัติ
6.1 สูตรการทำน้ำหมักชีวภาพ อะตอมมิกนาโน สำหรับผลิตหัวเชื้อปุ๋ยอินทรีย์
1) เตรียมน้ำธรรมชาติ 200 ลิตรพร้อมถังพลาสติกขนาด150–200 ลิตรชนิดฝาปิด
2) หัวเชื้อแบคที่เรียชนิดเข้มข้น 10 กก. (10 x 200 = 2,000 บาท)
3) หัวเชื้อแบคทีเรียชนิดน้ำ 10 กก. (10 x 200 = 2,000 บาท)
4) ลูกอะโนบอลล์ 10 ลูก (10 x 15 = 150 บาท)
5) กากน้ำตาล 20 ลิตร (20x 15 = 200 บาท)
6) นมเปรียง 20 ลิตร (20 x 20 = 400 บาท)
7) สารสกัด Anti oxidant 100 ซีซี. (100 x 1 = 100 บาท)
Cool รำอ่อน 10 กก. (10 x 8 = 80 บาท)
9) หมักทิ้งไว้ 3 วันขึ้นไป

รวมมูลค่า 4,930 บาท เฉลี่ยลิตรละ 25 บาท


6.2 การผสมปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิกนาโนเพื่อทำหัวเชื่อปุ๋ยอินทรีย์
1) ปุ๋ยคอก 300 ก.ก. (300 x 1 = 300 บาท)
2) มูลไก่ 300 ก.ก. (300 x 2 = 600 บาท)
3) รำอ่อน 300 ก.ก. (300 x 4 = 1,200 บาท)
4) แกลบดิบ/ดำ 100 ก.ก. (100 x 0.50 = 50 บาท)
5) คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกันพร้อมผสมกับน้ำหมักตาม 5.1 ให้หมาดๆ
6) นำอินทรียวัตถุไปกองไว้บริเวณพื้นคอนกรีต ภายในร่ม หมักไว้ 7-15 วัน สามารถนำไปใช้ในไร่ได้นาได้
7) กระบวรการหมักให้มีคุณภาพควรบรรจุใส่กล่องผลไม้พลาสติกที่อากาศถ่ายเทได้ดี แล้วคลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด

9) สรุปต้นทุนในการทำหัวเชื้อปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิก-นาโน
8.1 ต้นทุนน้ำหมัก 4,930 บาท
8.2 ต้นทุนอินทรียวัตถุ 2,150 บาท
8.3 ค่าแรงงาน 300 บาท
รวม 7,380 บาท


หมักไว้ 15 วัน กองอินทรียวัตถุจาก 1,000 ก.ก. คงเหลือ 800 ก.ก. ค่าเฉลี่ย ก.ก. ละ 9.50–10 บาท

6.3 สูตรการผลิตน้ำหมักชีวะภาพสำหรับย่อยสลายฟางข้าวและทำปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิก -นาโน
1) หัวเชื้อแบคทีเรียชนิดเข้มข้น 2 ก.ก. (2 x 200 = 400 บาท)
2) หัวเชื้อแบคที่เรียชนิดน้ำ 2 ก.ก. (2 x 200 = 400 บาท)

* หากใช้น้ำหมักตามข้อ 5.1 ใช้ 10 ลิตร (10 x 25 = 250 บาท)

3) ลูกอะโนบอลล์ 3-5 ลูก (3 x15 = 45บาท), (5 x 15 = 75 บาท)
4) กากน้ำตาล 20 ลิตร ( 20 x 10 = 200 บาท)
5) นมเปรียง 20 ลิตร (20 x 20 = 400 บาท)
6) รำอ่อน 5 กก. (5 x 8 = 40 บาท)
7) สารสกัด Anti-oxidant 50 ซีซี (5 x 1 = 50 บาท)
Cool น้ำธรรมชาติ 200 ซีซี. (5 x 1 = 50 บาท)
9) หมักทิ้งไว้ 3 วันขึ้นไป นำไปใช้ได้

สรุป
1) มูลค่ารวม 1,635 บาท ลิตรละ 8 บาท

*2) มูลค่ารวม 1,415 บาท ลิตรละ 7 บาท

6.4 การทำปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิก-นาโน ใช้เอง
1) ปุ๋ยคอก 300 ก.ก. (300 x 1 = 300 บาท)
2) มูลไก่ 300 ก.ก. (300 x 2 = 600 บาท)
3) รำอ่อนผสม 300 ก.ก. (300 x 4 = 1,200 บาท)
4) แกลบ 100 ก.ก. ( 100 x 0.50 = 50 บาท)
5) แร่ฟอสเฟส, โดโลไม,อื่นๆ 50 ก.ก. (300 x 1 = 300 บาท)
6) หัวเชื้อปุ๋ยอินทรีย์นาโน 300 ก.ก. (50 x 10 = 500 บาท)
รวมน้ำหนักวัตถุดิบ 1,300 ก.ก. มูลค่า 2,950 บาท

ผสมน้ำหมักชีวภาพนาโน สูตร 6.3 จำนวน 200 ลิตร ผสมคลุกให้เข้ากันพอหมาดๆ ปั้นเป็นก้อนไข่ได้ บรรจุตามหลักการผสมหัวเชื้อปุ๋ยอินทรีย์ ตามข้อ 6.2

รวมต้นทุน 2,950 + 1,635 = 4,485 บาท เฉลี่ย ก.ก. ละ 4.50 บาท

*+ 1,415 = 4,365 บาท เฉลี่ย ก.ก. ละ 4.30 บาท

หากหมักไว้ 15 วัน จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ 1,300 = 1,000 ก.ก. นำหนักจะสูญเสียไป เฉลี่ย300 ก.ก. ในเวลา 15 วัน ทดแทนโดยแร่ที่ใส่ลงไป 300 ก.ก. จึงเหลือปุ๋ยอินทรีย์พร้อมใช้ 1,000 กิโลกรัม

6.5 การนำน้ำหมักชีวภาพอะตอมมิก-นาโน มาปรับใช้กับน้ำหมักธรรมชาติที่เกษตรกรมีอยู่เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
1) ทำน้ำหมักชีวภาพเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีขั้นตอนการปรับใช้ดังนี้
1.1) น้ำหมักชีวภาพเดิม 100 ลิตร
1.2 ) เติมน้ำหมักชีวภาพนาโน ตามข้อ 6.3 จำนวน 10 ลิตร
1.3) ใส่ลูกอะโนบอลล์ 3 ก้อน
1.4) เติมกากน้ำตาล 10 ก.ก.
1.5) เติมนมเปรียง 10 ลิตร
1.6) ใส่สารแอนตี้ 50 ซีซี.

ใช้ไม้กวนให้เข้ากันปิดฝาถังหมักไว้หากไม่มีฝาควรใช้พลาสติกดำปิดฝาถังหมัก ใช้ยางรถจักรยานรัดให้แน่น ทิ้งไว้ 3-7 วัน ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น เหมาะสำหรับนำไปรดน้ำต้นไม้ หรือราดฟางข้าวเพื่อย่อยสลาย

2.) ทำน้ำหมักชีวภาพสำหรับฉีดพ่นทางใบเป็นอาหารเสริม
1.1 น้ำหมักชีวภาพเดิมที่หมักจากหอย หรือปลา จำนวน 100 ลิตร
1.2 เติมน้ำหมักชีวภาพนาโน ตามข้อ 6.3 จำนวน 10 ลิตร
1.3 ใส่ลูกอะโนบอลล์ 3 ก้อน
1.4 เติมกากน้ำตาล 10 ก.ก.
1.5 เติมนมเปรียง 10 ลิตร
1.6 ใส่สารแอนตี้ 50 ซีซี.

ใช้ไม้กวนให้เข้ากันปิดฝาถังหมักไว้หากไม่มีฝาควรใช้พลาสติกดำปิดฝาถังหมัก ใช้ยางรถจักรยานรัดให้แน่น ทิ้งไว้ 3-7 วัน ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น เหมาะสำหรับนำไปรดน้ำต้นไม้ หรือราดฟางข้าวเพื่อย่อยสลาย

จะได้น้ำหมักชีวภาพสำหรับฉีดพ่นทางใบพืชทุกชนิด วิธีการใช้น้ำหมักที่ปรับสภาพแล้วมา 1 ลิตร/10-20 ลิตร จะใช้ได้ผลดี

6.6 การผลิตฮอร์โมนบำรุงหมากผลเมล็ด โดยเทคโนโลยีอะตอมมิกนาโนมีกระบวนการขั้นตอนดังนี้
1. มะละกอสุก 20 กิโลกรัม
2. ฟักทองสุก 20 กิโลกรัม
3. แครอท 20 กิโลกรัม
4. กล้วยน้ำหว้าสุก 20 กิโลกรัม
5. ไข่เป็ด,ไก่ ต้มสุก 20 กิโลกรัม
6. ใส่ลูกอะโนบอลล์ 3-5 ก้อน
7. ใส่นมเปรียง 10-20 ลิตร
8. น้ำตาลทรายแดง 100 ซีซี
9. สารแอนตี้ 100 ซีซี
10. หมักทิ้งไว้ 30 วันเป็นอย่างน้อย

วิธีนำมาใช้ :
นำน้ำฮอร์โมนที่ผ่านการหมัก 30 วัน นำมากลั่น จะได้ฮอร์โมนที่มีความเข้มข้นสูงนำไปผสมน้ำธรรมชาติอัตราส่วน 1:50 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ หรือช่อดอก หากเป็นข้าวควรฉีดระยะข้าวกำลังตั้งท้องจะได้ผลผลิตสูง

หากนำมาใช้ในสภาพที่เป็นน้ำหมักฮอร์โมนควรกรองด้วยแพรเขียวเพื่อขจัดกาก แล้วนำมาผสมน้ำธรรมชาติอัตราส่วน 1:20 ลิตร ฉีกบำรุงหมากผล

6.7 การผลิตเชื้อแบคทีเรียอะตอมมิกนาโน สำหรับปราบหอยเชอร์รี่มีวิธีการขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ขั้นตอนที่ 1 เตรียมแบคทีเรียธรรมชาติชนิด บูดเน่า โดยนำหอยเชอร์รี่สดมาทุบให้แตกใสภาชนะฝาปิดทิ้งไว้ในร่ม 5-7 วัน ให้มีกลิ่นเหม็น

2. เติมกากน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสมกับจำนวนของหอยเชอร์รี่ที่หมักเน่า อัตรา 1:1 หรือ 1:2 เพื่อให้เชื้อแบคทีเรียชนิดบูดเน่าขยายพันธ์ให้มากขึ้น

3. นำหัวเชื้อปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิกนาโนที่ได้จากการผลิตตามข้อ 5.2 มาผสมลงในภาชนะที่หมักหอยเชอร์รี่ประมาณการให้เหมาะสม (หากหมักหอย 10 ก.ก. ควรใส่หัวเชื้อปุ๋ยอะตอมิกนาโน 1/2-1 กิโลกรัม คลุกให้เข้ากันทิ้งไว้ 2-3 วัน)

4. ควรเติมนมเปรียงเพื่อเป็นอาหารของแบคทีเรียอะตอมมิกนาโน

5. ใส่สารแอนตี้ 30 – 50 ซีซี. เพื่อให้จุลินทรีย์ขยายพันธุ์ได้มากขึ้น

6.นำวัสดุหอยเชอร์รี่ที่หมักไปหว่านลงในที่นาให้ประมาณการที่เหมาะสม โดยการหยุดลงในน้ำแปลงนาหรือสถานที่ที่มีหอยเชอร์รี่อาศัยอยู่ ก็จะสามารถทำลายหอยเชอร์รี่ได้โดยวิธีธรรมชาติไม่เป็นอันตรายแก่สัตว์ชนิดอื่นรวมทั้งตัวเกษตรกรด้วยในทางตรงกันข้ามกลับปุ๋ยตามธรรมชาติที่เกิดจากการตายของหอยเชอร์รี่อีกด้วย


6.8 ในกรณีที่ต้องปราบแมลงศัตรูพืช หนอนชนิดต่างๆสามารถปรับใช้วิธีการได้เพียงแต่หากต้องการทำลายสิ่งใดให้นำแมลงหรือสัตว์ชนิดนั้นมาทำให้เน่าเสียก่อน แล้วขยายเชื้อตามกระบวนการของข้อ 2 ในข้อ 5.7 จนครบขั้นตอน เกษตรกรก็จะประหยัดและใช้วิธีธรรมชาติ บำบัดธรรมชาตินั่นเอง

6.9 กระบวนการขั้นตอนการผลิตนมเปรียงใช้เอง ต้นทุนต่ำมีกระบวรการขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เตรียมภาชนะบรรจุนมสดที่มีจุลินทรีย์ปนเปื้อนและโรงงานไม่ต้องการ ขนาดความจุ 200 ลิตร ที่มีฝาปิดมิดชิด

2. นำนมวัวที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานมาบรรจุประมาณ 180-190 ลิตร

3. ใส่จุลินทรีย์ชนิดเฉพาะรหัส PR จำนวน 10-15 ลิตร บรรจุลงไปในถังนมที่ตกเกณฑ์ ทิ้งไว้ 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน ก็จะได้นมเปรียงที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์ตามที่ต้องการ

4. ข้อควรสังเกต ให้ดูนมหากยังมีไขมันยังไม่สลายตัวและมีกลิ่นเหม็น บูดเน่า ให้เติมเชื้อจุลินทรีย์ PR ลงไปอีก เฝ้าสังเกตุดูว่าไขมันนมละลายหมดหรือไม่และมีกลิ่นหอมก็จะสามารถใช้ได้


http://www.saketnakorn.org/?name=knowledge&file=readknowledge&id=27









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2593 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©