|
ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่
|
|
|
|
|
|
ขณะนี้มี 842 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม
ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่
|
|
|
|
|
|
|
|
เข้าระบบ
|
|
|
|
|
|
ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง
|
|
|
|
|
|
|
|
product13
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product9
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product10
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product11
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product12
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| |
|
|
|
|
จุลินทรีย์
การย่อยอาหารของจุลินทรีย์
การย่อยอาหาร
การย่อยอาหาร คือ กระบวนการแปรสภาพอาหารโมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อการดูดซึมเข้าไปยัง
เซลล์ สารอาหารจำพวก คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เท่านั้นที่ต้องผ่านกระบวนการย่อยอาหารเสีย
ก่อน ส่วน เกลือแร่ วิตามิน น้ำ สามารถดูดซึมเข้าไปยังเซลล์ได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทางเคมี
การย่อยอาหารมี 2 ตอน คือ
1.การย่อยเชิงกล และ
2.การย่อยทางเคมี
โดยแตกต่างกันโดย การย่อยเชิงกลนั้นแปรสภาพอาหารโมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงด้วยการบดเคี้ยว
ด้วยฟัน หรือการบีบตัวของทางเดินอาหาร แต่การย่อยทางเคมีนั้นแปรสภาพอาหารโมเลกุลใหญ่ให้มี
ขนาดเล็กลงโดยใช้เอนไซม์ ปาก มีเอนไซม์ที่ชื่อ อะไมเลส ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลมอลโทส
กระเพาะอาหาร มี เรนนิน และ เปปซิน
เรนนิน ย่อยโปรตีนในน้ำนม กลายเป็นเคซีน แล้วจะมีแคลเซียมช่วยทำให้ เคซีนเล็กลงกลายเป็นพารา
เคซีน เปปซิน จะรวมกับกรดไฮโดรคลอลิก เพื่อย่อยโปรตีน ให้กลายเป็นเปปไตด์ กรดไฮโดรคลอริก
ช่วยรักษาความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร เพื่อให้เอนไซม์ในกระเพาะอาหารทำงานได้ดี
ลำไส้เล็ก มี มอลเทส ซูเครส และแลกเทส มอลเทส
จะย่อยมอลโทส ให้กลายเป็นกลูโคส+กลูโคส ซูเครส ย่อยซูโครส กลายเป็น กลูโคส+ฟรักโทส แลก
โทส ย่อยแลกเทส กลายเป็นกลูโคส+กาแลกโทส
ตับอ่อน มี อะไมเลส
ย่อยกลูโคส ให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ไลเปส ย่อยไขมัน ให้เป็นกรดไขมันตัว ทริปซิน ย่อยเปปไตด์
ให้เป็นกรดอะมิโน
ตับ
มีน้ำดี (ไม่ใช่เอนไซม์) ย่อยกรดไขมัน ให้เป็นไขมันแตกตัว
การหายใจ
การหายใจ เป็นกระบวนการ เพื่อย่อยสลายสารให้เกิดพลังงาน เป็นกิจกรรมหลักของ ระบบทางเดิน
หายใจ การหายใจมี 2 รูปแบบคือ
ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะหายใจโดยใช้ระบบทางเดินหายใจและมีกระบวนการคือนำ
ออกซิเจนจากอากาศ เข้าสู่ร่างกายผ่านทางจมูกและปากเข้าทางหลอดลมและเข้าไปยังปอด เพื่อนำไป
ส่งผ่านให้แก่เม็ดเลือด เพื่อนำไปใช้ในการหายใจระดับเซลล์การหายใจระดับเซลล์ คือการเผาผลาญ
น้ำตาลให้กลายเป็นพลังงาน เกิดได้ทั้งในพืชและในสัตว์โดยจะมีทั้งหมด 4 กระบวนการใหญ่ๆ คือ
1. ไกลโคไลซิส (Glycolysis)
2. กระบวนการเกิดอะซิติลโคเอ (Acetyl Co A)
3. วัฏจักรเครปส์ (Kreb's Cycle)
4. ปฏิกิริยาออกซิเดทีฟ ฟอสโฟรีเลชั่น หรือห่วงโซ่การถ่ายเทอิเล็กตรอน(Electron
transport system) #
กล้ามเนื้อโครงร่าง
การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงร่าง
กล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeletal Muscle)
เป็นกล้ามเนื้อลายชนิดหนึ่งซึ่งมักมีส่วนยึดติดกับกระดูก กล้ามเนื้อโครงร่างเป็นกล้ามเนื้อที่ใช้สำหรับทำ
ให้เกิดการเคลื่อนไหว โดยสร้างแรงกระทำกับกระดูกและข้อผ่านการหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยทั่วไปจะ
ทำงานอยู่ภายใต้การควบคุม (ผ่านการกระตุ้นเส้นประสาทโซมาติก) อย่างไรก็ดี กล้ามเนื้อโครงร่าง
สามารถหดตัวนอกเหนือการควบคุมได้ผ่านรีเฟลกซ์กล้ามเนื้อโครงร่างจะมีปลายข้างหนึ่ง (จุดเกาะต้น)
เกาะติดกับกระดูกส่วนที่ใกล้กับแกนกลางร่างกายมากกว่าและมักเป็นกระดูกที่ค่อนข้างยึดแน่น และ
ปลายอีกข้างหนึ่ง (จุดเกาะปลาย) เกาะข้ามข้อไปยังกระดูกอีกชิ้นหนึ่งที่อยู่ห่างจากแกนกลางร่างกาย
มากกว่า การหดตัวของกล้ามเนื้อโครงร่างจะทำให้กระดูกหมุนตามข้อ เช่น กล้ามเนื้อที่ชื่อว่า biceps
brachii มีจุดเกาะต้นอยู่ที่กระดูกสะบัก และมีจุดเกาะปลายอยู่ที่กระดูกเรเดียส (ส่วนหนึ่งของแขน
ท่อนล่าง) เมื่อกล้ามเนื้อนี้หดตัว จะทำให้เกิดการงอแขนที่ข้อศอก เป็นต้นการแบ่งประเภทของกล้าม
เนื้อโครงร่างนั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน วิธีหนึ่งคือแบ่งตามโปรตีนที่มีอยู่ใน myosin วิธีนี้จะทำให้ได้
กล้ามเนื้อโครงร่างสองชนิด คือ ชนิดที่หนึ่ง (Type I) และชนิดที่สอง (Type II) กล้ามเนื้อ
Type I จะมีสีออกแดง มีความทนมากและทำงานได้นานก่อนจะล้าเนื่องจากใช้พลังงานจากกระบวน
การ oxidative metabolism ส่วนกล้ามเนื้อ Type II จะมีสีออกขาว ใช้สำหรับการทำ
งานที่ต้องการความเร็วและกำลังมากในระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะล้าไป กล้ามเนื้อชนิดนี้ใช้พลังงานจาก
ทั้งกระบวน oxidative metabolism และ anaerobic metabolism ขึ้นอยู่กับชนิด
ย่อยแต่ละชนิด #
กรดอะมิโน
กรดอะมิโน (Amino acid)
คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบ
สำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด กรดอะมิโนเป็นหน่วยก่อสร้าง
โครงสร้างพื้นฐานของโปรตีน พวกมันจะสร้าง พอลิเมอร์ ที่เป็นโซ่สั้นๆ เรียกว่า เปปไทด์ หรือ พอลิเปป
ไทด์ และกลายเป็นโครงสร้างที่เรียกว่าโปรตีนกรดอะมิโน 20 ตัวถูกตั้งรหัสโดยมาตรฐานรหัสพันธุ
กรรม และถูกเรียกว่า โปรตีโนเจนิก หรือกรดอะมิโนมาตรฐานมีอีกอย่างน้อย 2 ตัวที่กำหนดรหัสโดย
DNA ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ได้มาตรฐาน กรดอะมิโนมาตรฐานเรียกว่า กรดอะมิโนจำเป็น (Essential
amino acid) เพราะว่ามันไม่สามารถสังเคราะห์ ได้โดย ร่างกาย แต่ได้จาก สารประกอบ ผ่าน
ปฏิกิริยาเคมี ซึ่งเราได้รับโดยการกินเข้าไป ใน มนุษย์ กรดอะมิโนจำเป็นได้แก่
ในเด็กมีเพิ่มอีก 2 ตัว ดังนี้
กลูโคสกลูโคส (อังกฤษ: Glucose ; ย่อ: Glc) เป็นน้ำตาลประเภทโมโนแซคคาไรด์
(Monosaccharide) มีความสำคัญที่สุดในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตด้วยกัน เซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุก
ชนิดใช้กลูโคสเป็นแหล่งพลังงาน และสารเผาผลาญขั้นกลาง (Metabolic intermediate)
กลูโคสเป็นหนึ่งในผลผลิตหลักของการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) และเป็นแหล่ง
พลังงานสำหรับการหายใจของเซลล์ (Cellular respiration) โครงสร้างโมเลกุลตาม
ธรรมชาติของมัน (D-glucose) จะอยู่ในรูปที่เรียกว่า เดกซ์โตรส(Dextrose) โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร #
แคลอรีแคลอรี (Calorie)
เป็นหน่วยวัดพลังงานอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปการวัดหน่วยพลังงานมักใช้หน่วย "จูล" ซึ่งเป็นมาตราเอส
ไอสำหรับการวัดพลังงาน ส่วนแคลอรีมักใช้ในการวัดหน่วยพลังงานอาหาร ผู้บัญญัติหน่วยแคลอรีเป็น
คนแรกคือ ศาสตราจารย์นิโคลัส เคลเมนต์ (Nicolas Clément) เมื่อปี ค.ศ. 1824 โดย
กำหนดเป็น กิโลกรัม-แคลอรี การวัดหน่วยแคลอรีแบ่งได้เป็นสองแบบ คือ
- กรัม-แคลอรี มีค่าเท่ากับพลังงานที่ต้องใช้เพื่อทำให้อุณหภูมิของน้ำ 1 กรัม เพิ่มขึ้น 1 °C มีค่าประมาณ 4.184 จูล
- กิโลกรัม-แคลอรี มีค่าเท่ากับพลังงานที่ต้องใช้เพื่อทำให้อุณหภูมิของน้ำ 1 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1 °C มีค่าประมาณ 4.184 กิโลจูล หรือเท่ากับ 1000 กรัม-แคลอรี
การใช้งานในทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะสาขาเคมีและฟิสิกส์ "แคลอรี" มักหมายถึง "กรัม-
แคลอรี" สัญลักษณ์ของหน่วยวัดนี้คือ cal หากต้องการบอกถึง กิโลกรัมแคลอรี จะเรียกว่า "กิโล
แคลอรี" และใช้สัญลักษณ์ว่า kcalสำหรับทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือสาขาอื่นที่ไม่ใช่บริบท
ด้านวิทยาศาสตร์ คำว่า แคลอรี มักใช้ในความหมายถึง "กิโลแคลอรี" ของทางฟิสิกส์และเคมี และ
มักเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ว่า C เพื่อให้แตกต่างกัน #
จุลินทรีย์
จุลินทรีย์ E coli ขนาด 10,000 เท่าจุลินทรีย์ (Microorganism) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาด
เล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย รา
และ ยีสต์ เป็นต้น เราสามารถพบจุลินทรีย์ได้ทุกสภาวะแวดล้อม แม้แต่ในสภาวะแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอื่น
อยู่ไม่ได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดสามารถปรับตัวอาศัยอยู่ได้ เช่น ในน้ำพุร้อนบริเวณภูเขาไฟใต้ทะเลลึก
หรือภูเขาไฟธรรมดา ใต้มหาสมุทรที่มีความกดดันของน้ำสูงๆ ในน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิเย็นจัด บริเวณที่มี
สภาพความเป็นกรดด่างสูง หรือแม้กระทั่งในบริเวณที่ไม่มีออกซิเจนส่วนใหญ่หมายถึงสิ่งมีชีวิตเซลล์
เดียว หรือหลายๆเซลล์ โดยแต่ละเซลล์เป็นอิสระจากกันเราอาจแบ่งจุลินทรีย์ออกเป็นกลุ่มตามขนาด รูป
ร่างและคุณสมบัติอื่นๆ ได้ดังนี้
1. เชื้อไวรัส เป็นจุลินทรีย์ที่ขนาดเล็กที่สุดต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่มีกำลังขยายเป็น
หมื่นเท่าจึงจะมองเห็นได้ เชื้อไวรัสเจริญเพิ่มจำนวนได้เมื่ออยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ตัวอย่าง
โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ ไข้ทรพิษ พิษสุนัขบ้า โปลิโอ หัด คางทูม และอีสุกอีใส เป็นต้น
2. เชื้อบัคเตรี(Bacteria) มีขนาดใหญ่กว่าเชื้อไวรัส สามารถมองเห็นได้เมื่อส่องขยายด้วย
กล้องจุลทรรศน์ธรรมดา ส่วนมากทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยลสลายในธรรมชาติ แต่อาจมีบางชนิดที่สามารถ
สังเคราะห์แสงได้
3. เชื้อรา (Fungus) มีขนาดใหญ่กว่าเชื้อบัคเตรี พบว่ามีรูปร่าง 2 แบบ คือ ราแบบรูปกลม
เรียกว่า ยีสต์ และราแบบเป็นสาย เรียกว่า สายรา ราบางชนิดจะมีรูปร่างได้ทั้ง 2 แบบ ขึ้นอยู่กับสิ่งแวด
ล้อมในธรรมชาติ เราอาจมองเห็นกลุ่มของเชื้อราได้ด้วยตาเปล่า ราบางชนิดจะสร้างสปอร์สำหรับสืบพันธุ์
เกิดเป็นเห็ดขึ้น
4. สาหร่ายเซลล์เดียว (Blue green algae)เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถสังเคราะห์แสงเองได้
เพราะมีรงค์วัตถุเพื่อการสังเคราะห์แสงอยู่ในเซลล์ จัดเป็นผู้ผลิตเริ่มต้นของห่วงโซ่อาหาร #
ซีเลีย
ภาพถ่ายหน้าตัดของซีเลีย สังเกตซีเลียมที่มีลักษณะมนกลม จะเห็นว่ามีโครงสร้าง 9+2 อยู่ซีเลีย
(Cilia หรือ Cilium ในรูปเอกพจน์) เป็นออร์แกเนลล์ที่พบในเซลล์จำพวกยูแคริโอต
(Eukaryotic cell) ซิเลียมีลักษณะบาง ส่วนพัดโบกที่มีลักษณะคล้ายครีบหรือหางจะยื่น
ออกมาประมาณ 5-10 ไมโครเมตร นับจากผิวเปลือกของเซลล์ออกมา ซิเลียมีสองประเภทได้แก่ซิ
เลียที่เคลื่อนไหว (Motile cilia) ซึ่งจะพัดโบกไปในทิศหนึ่งอย่างต่อเนื่อง ส่วนอีกประเภท
หนึ่งคือซิเลียที่ไม่เคลื่อนไหว (Non-motile cilia) ซึ่งทำหน้าที่เป็นออร์แกเนลล์ประสาทให้
กับเซลล์ ซิเลียมีลักษณะทางโครงสร้างคล้ายๆ กับแฟลเจลลัมซึ่งจัดอยู่ในประเภทอุนดูลิโพเดียม
(Undilopodium) แต่ซิเลียจะต่างกับแฟลเจลลัมตรงที่ มีจำนวนส่วนที่ยื่นออกมาเยอะกว่าแฟลเจ
ลลัมที่มีส่วนที่ยื่นออกมาเพียง 1-2 อันเท่านั้น รวมถึงยังมีขนาดเล็กกว่าและสั้นกว่าแฟลเจลลัมอีก
ด้วย ซิเลียทำหน้าที่ พัดโบกฝุ่นละออง และเมือก #
ทวารหนักทวารหนัก
เป็นอวัยวะหนึ่ง เป็นส่วนท้ายสุดของระบบขับถ่าย ซึ่งทำหน้าที่เป็นช่องทางขับถ่ายอุจจาระ บางกลุ่มคน
ใช้ทวารหนักในการร่วมเพศด้วย ประกอบด้วยกล้ามเนื้อหูรูด 2 ส่วน คือ หูรูดภายใน (Internal
Sphincter) และหูรูดภายนอก External Sphincter) โดยเป็นส่วนภายในร่างกายที่
เป็นส่วนต่อจากลำไส้ และ ภายนอกลักษณะเป็นรูอยู่กลางร่างกายระหว่างก้น #
เทคโนโลยีการหมักการผลิตหัวเชื้อว่ามีต้นกำเนิดในประเทศจีนโดยเชื่อว่ามนุษย์เรียนรู้ความรู้และ
กระบวนการผลิตหัวเชื้อและสุราแช่ จาก Euchok ซึ่งเป็นบุตรสาวของกษัตริย์วูในตำนาน เมื่อ
4,000 ปีก่อนคริสตกาล หัวเชื้อหรือลูกแป้งในคำไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น เรียกว่า ชู (Gu)
ในจีน, นูรูค(Nuruk) ในเกาหลี, โคจี (Koji) ในญี่ปุ่น, ราจี (Ragi) ในแถบแหลม
มลายู, บาค์ฮา รานู (Bakhar ranu) หรือ มาร์ชาร์ (Marchaar) หรือ เมอร์ชา
(Murcha) ในอินเดียกระบวนการผลิตสุราแช่โดยใช้หัวเชื้อผสมระหว่างเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ทำ
ให้มีกระบวนการทางชีวเคมีเกิดขึ้นมากมาย โดยจะมีปฏิกิริยาเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลเปลี่ยนน้ำตาลให้
เป็นแอลกอฮอล์ และกรดพร้อม ๆ กัน หัวเชื้อที่ใช้เป็นเชื้อตั้งต้นในอาหารหมัก ในเอเซียมีหัวเชื้อมาก
มายหลายชนิดเป็นแหล่งของเอนไซม์สำหรับย่อยแป้งในเมล็ดธัญพืชเพื่อใช้ในการผลิตสุราแช่ ซีอิ๊ว น้ำ
ปลา และน้ำปรุงรสจากเนื้อ ขนมปังเปรี้ยว เต้าหู้ยี้ #
เท้าเทียม (ชีววิทยา
เท้าเทียม (ภาษากรีก: Pseudopod หรือ Pseudopodia) คือส่วนที่ใช้เคลื่อนที่ชั่วคราวของ
เซลล์จำพวกยูคาริโอต (Eukaryotic cell) ซึ่งมีลักษณะเป็นเซลล์แบบง่ายที่ไม่มีนิวเคลียส
เด่นชัด เซลล์ที่มีเท้าเทียมจะถูกจัดให้อยู่ในจำพวกอะมีบอยด์ (Ameboid) โดยอะมีบอยด์นั้นไม่ได้
จำกัดเฉพาะอะมีบา แต่ยังรวมไปถึงเซลล์เม็ดเลือดขาวและโปรติสต์หลายชนิดอีกด้วยเท้าเทียมนั้นไม่
ใช่โครงสร้างในการเคลื่อนที่เสียทีเดียว แต่เป็นแค่การดันเยื่อหุ้มเซลล์ให้โป่งออกมา และให้ผิวหน้า
ของเซลล์ที่ยื่นออกมา ทำหน้าที่ในการเคลื่อนที่อะมีบอยด์ โดยการดันนั้นเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาโพลีเม
อไรเซชัน (Polymerization) ที่ทำให้โปรตีนแอคติน (Actin) รวมตัวและแยกตัว กลาย
เป็นไมโครฟิลาเมนท์หรือแอคตินฟิลาเมนท์ (Microfilament หรือ Actin filament)
ซึ่งทำให้ไซโทพลาสซึม (Cytoplasm) ในเซลล์อะมีบอยด์ที่มีอยู่ 2 ส่วนคือเอ็กโทพลาสซึม
(Ectoplasm) หรือไซโทพลาสซึมชั้นนอกที่มีลักษณะเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว เรียกว่าเจล
(Gel) และเอ็นโดพลาสซึม (Endoplasm) หรือไซโทพลาสซึมชั้นในที่มีลักษณะเหลวกว่าเจล
จะเรียกว่าโซล (Sol) โดยไซโทพลาสซึมทั้งสองส่วนจะทำการเปลี่ยนสมบัติของตัวเอง โดยเจลจะ
เปลี่ยนสถานะไปเป็นโซล ในขณะเดียวกัน โซลก็จะเปลี่ยนสถานะไปเป็นเจล ซึ่งการเปลี่ยนสถานะดัง
กล่าวจะทำให้เกิดการไหลของไซโทพลาสซึมขึ้นโดยไซโทพลาสซึมจะไหลไปในทางเดียวกับทางที่
เซลล์เคลื่อนที่ไป และดันเยื่อหุ้นเซลล์ส่วนนั้นให้โป่งออกมาเป็นเท้าเทียม ทำให้อะมีบอยด์สามารถ
เคลื่อนที่ได้ โดยเรียกการเคลื่อนที่แบบนี้ว่า การเคลื่อนที่แบบอะมีบา เท้าเทียมเป็นหนึ่งในโครงสร้าง
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวสามวิธี โดยอีกสองโครงสร้างคือคือแฟลกเจลลัม และซิเลียเท้า
เทียมสามารถที่จะจับอาหารได้ผ่านวิธีการฟาโกไซโทซิส โดยเท้าเทียมที่มีความสามารถนี้มักอยู่ในโป
รติสต์ หลายชนิดด้วยกัน แต่ก็มีเท้าเทียมที่ทำหน้าที่จับสิ่งแปลกปลอม ไม่ใช่อาหาร เช่นในเซลล์
ฟาโกไซท์ที่อยู่ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ #
ไนดาเรีย? Sea nettles, Chrysaora quinquecirrhaAnthozoa - ปะการัง
s และ ดอกไม้ทะเลs Cubozoa - Sea wasps or box jellyfish
Hydrozoa - ไฮดรอยด์, ไฮดรา-คล้ายสัตว์Scyphozoa
- แมงกะพรุนไฟลัมไนดาเรีย หรือ เคยมีชื่อว่า ไฟลัมซีเลนเตอราตา หรือพวก ซีเลนเตอเรต
(Coelenterate) เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีรูปร่างทรงกระบอก มีโพรงในลำตัว และมีเข็มพิษ เช่น แมง
กระพรุน ดอกไม้ทะเล #
นมเปรี้ยวโยเกิร์ต ผู้ขายโยเกิร์ตในกรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1940นมเปรี้ยว
หรือ โยเกิร์ต (Yoghurt (ภาษาอังกฤษใช้คำนี้เรียกรวม ๆ ทั้งนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต)) เป็น
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นมสด นมพร่องมันเนย หรือ นมถั่วเหลือง โดยการใช้
แบคทีเรีย แลคโตบาซิลัส เอซิโดซิส และ สเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลลัส เป็นหลักใส่ลงไปหมัก
ผลิตภัณฑ์นมต่างๆ แบคทีเรียเหล่านี้ช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมให้เป็นกรดแลคติค ทำให้มีภาวะกรด
และมีรสเปรี้ยวโดยมีความเป็นกรด-เบสอยู่ระหว่าง 3.8-4.6 นมเปรี้ยว มี 2 ชนิด คือ ชนิดแรกเป็น
นมเปรี้ยวที่มีลักษณะเป็นน้ำคล้ายเครื่องดื่ม อีกชนิดหนึ่งเป็นนมเปรี้ยวที่มีลักษณะเหลวข้นที่เรียกว่า
โยเกิร์ต #
แบคทีเรีย
Escherichia coli Actinobacteria Aquificae
Bacteroidetes/Chlorobi Chlamydiae/Verrucomicrobia
Chloroflexi Chrysiogenetes Cyanobacteria Deferribacteres
Deinococcus-Thermus Dictyoglomi Fibrobacteres/Acidobacteria
Firmicutes Fusobacteria Gemmatimonadetes Nitrospirae
Omnibacteria Planctomycetes Proteobacteria Spirochaetes
Thermodesulfobacteria Thermomicrobia Thermotogae
แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี
เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มี
เซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแบบ
- แบ่งตามรูปร่าง แบ่งได้หลายแบบทั้งกลม (Cocci) ,แบบท่อน (Bacilli,rod) ,แบบเกลียว (Spiral) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีการจัดเรียงเซลล์ต่างกัน
- แบ่งตามการย้อมติดสีแกรม (Gram's strand) มีได้สองลักษณะคือพวกที่ติดสีแกรมบวก (Gram positive) และที่ติดสีแกรมลบ (Gram negative) แต่บางชนิดสามารถติดสีทั้งสองเรียกว่า Gram variable ซึ่งเกี่ยวข้องกับผนังเซลล์ของแบคทีเรีย
- แบ่งตามความต้องการใช้ออกซิเจน ซึ่งมีหลายแบบคือ aerobic bacteria, anaerobic bacteria, facultativeaerobic bacteria, microaerofilic bacteria เป็นต้น
- แบ่งกลุ่มแบคทีเรียตามแหล่งอาหารและพลังงานได้เป็น
- ออโตโทรป (Autothroph) แหล่งคาร์บอนสำหรับสร้างสารอินทรีย์มาจาก CO2 ได้แก่แบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้
- เฮเทอโรโทรป (Heterothroph) แหล่งคาร์บอนมาจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ ได้แก่แบคทีเรียที่ดูดซับสารอาหารเป็นแหล่งพลังงานทั่วไป
- โฟโตโทรป (Photothroph) ได้พลังงานเริ่มต้นจากแสง
- คีโมโทรป (Chemothroph) ได้พลังงานเริ่มต้นจากสารเคมี
แบคทีเรียบางชนิดอยู่รอดในสภาพที่เลวร้ายหรือไม่เหมาะสมต่อการเจริญได้โดยการสร้างเอ็นโดสปอร์
(Endospore) เมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสม เอ็นโดสปอร์จะดูดซับน้ำและเจริญเป็นแบคทีเรียใหม่ #
ปฏิกิริยาเคมี
ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือ กระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยน
แปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมี
สารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือ Reactant)ทำ
ปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียก
ว่า "ผลิตภัณฑ์" (Product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสาร
ตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นของมันโดย
สิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว
คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการ
สร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการ
เคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน)
และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยา
เพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการ
เคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน #
ปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชัน
ปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชันเป็นปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนหมู่ฟอสเฟตระหว่างสารอินทรีย์ต่างๆ
เป็นปฏิกิริยาที่สำคัญในการสร้าง ATP ในสิ่งมีชีวิต แบ่งได้เป็น 2 ปฏิกิริยา คือ
โปรคาริโอตโปรคาริโอตหรือโพรแคริโอต (Prokaryote)
เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยออร์แกแนลที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ไม่มีนิวเคลียส มักเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว คำว่า
prokaryotes มาจาก ภาษากรีกโบราณ pro- ก่อน + karyon เมล็ด ซึ่งหมายถึง
นิวเคลียส + ปัจจัย -otos, พหูพจน์ -otes[1] ตัวอย่างของเซลล์กลุ่มนี้ได้แก่
พลังงาน
สายฟ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงพลังงาน รูปแบบหนึ่งที่สามารถมองเห็นได้พลังงาน เป็นปริมาณพื้นฐาน
อย่างหนึ่ง ของกระบวนการในระบบกายภาพทุกอย่าง พลังงานในระบบเหล่านี้ ที่สภาวะหนึ่งๆ นิยามว่า
เท่ากับ งาน ที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนจากสภาวะแรกเริ่ม (เรียกว่าระดับอ้างอิง) ไปยังสภาวะนั้นๆ
ตัวอย่างของพลังงานได้แก่ พลังงานไฟฟ้า ในแบตเตอรี่ พลังงานเคมีในอาหาร พลังงานความร้อนของ
เครื่องทำน้ำร้อน หรือพลังงานศักย์ของน้ำที่อยู่เหนือเขื่อนพลังงานสามารถเปลี่ยนรูปจากรูปแบบหนึ่งไป
สู่รูปแบบอื่นได้ โดยกฎการอนุรักษ์พลังงานระบุว่า ในระบบปิดนั้น พลังงานทั้งหมดที่ประกอบขึ้นจาก
พลังงานของส่วนย่อยๆ จะมีค่าคงที่เสมอพลังงานที่ว่านี้ไม่สามารถจะทำให้สูญสลายไปได้ เว้นแต่ว่าจะ
แปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของพลังงานในรูปแบบอื่น ยกตัวอย่างเช่น
1. เปลี่ยนพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือน (โดยใช้โซลา
ร์เซลล์)
2. เปลี่ยนพลังงานสะสมที่มีอยู่ในน้ำที่เก็บไว้ในเขื่อน(พลังงานศักย์)มาเป็นพลังงานที่ใช้ขับเคลื่อน
ไดนาโม(พลังงานจลน์)ของโรงไฟฟ้า และยังมีพลังงานอีกหลายรูปแบบที่เราสามารถนำมาใช้ได้แต่ยัง
ไม่ได้นำมาใช้หรือยังไม่ได้คิดค้นขึ้นมา เช่น พลังงานจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบฟิวชัน เป็นต้น #
พลังงานกระตุ้น
พลังงานกระตุ้น (อังกฤษ:activation energy)
ในทาง เคมี และ ชีววิทยา เป็น พลังงานกระตุ้น หรือพลังงานที่ต้องใช้ในการเริ่ม ปฏิกิริยาเคมี
(chemical reaction) ให้เกิดขึ้น หรือมิฉะนั้นพลังงานกระตุ้นอาจจะแสดงได้ว่าเป็นพลังงาน
น้อยที่สุดที่จำเป็นสำหรับใช้กระตุ้น ปฏิกิริยาเคมี ให้เกิดขึ้น พลังงานกระตุ้นอาจแสดงโดยตัวย่อได้ดังนี้
'Ea # พารามีเซียม Paramecium aurelia
พารามีเซียม (Paramecium) เป็นโปรโตซัวสกุลหนึ่ง อยู่ในอาณาจักรโพรทิสตา มีขนรอบๆ ตัว
ใช้ขนในการเคลื่อนที่ เรียกว่า ซิเลีย (Celia)
โพรโทซัว
โพรโทซัว (Protozoa) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กที่จัดได้ว่ามีความสำคัญมากในระบบ
นิเวศ สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืด และน้ำเค็ม รวมทั้งบริเวณที่ชื้นแฉะ ยังพบว่าอาศัยอยู่ในร่างกายของ
สัตว์บกอีกหลายชนิด มีทั้งที่เป็นโทษและมีประโยชน์ โพรโทซัวนั้นมีทั้งที่สามารถสร้างอาหารได้เอง
เช่น พวกที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ซึ่งมักจะสีเขียวของคลอโรฟิลล์ และพวกไม่สามารถสร้าง
อาหารเองได้ การเพิ่มขึ้นของโพรโทซัวอย่างรวดเร็วหรือการบลูมขึ้นมา จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ red
tide ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำบริเวณนั้น ความเป็นพิษเกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึม และถูกขับ
ออกมาละลายอยู่ในน้ำ โดยพิษจะมีผลให้สัตว์น้ำเป็นอัมพาต #
แฟลกเจลลัม
แฟลกเจลลัม (Flagellum, พหูพจน์: flagella) คือส่วนที่ยืดยาวออกมาจากเซลล์ มี
ลักษณะการเคลื่อนที่คล้ายแส้ ประกอบไปด้วยไมโครทูบูลหรือหลอดโปรตีนขนาดเล็กที่คอยค้ำจุน
แฟลกเจลลัมไว้ โดยแฟลกเจลลัมของเซลล์จำพวกยูคาริโอตนั้น จะโบกพัดไปมาคล้ายตัว S และ
ถูกล้อมรอบไปด้วยเยื่อหุ้มเซลล์
แฟลกเจลลัมในเซลล์จำพวกยูคาริโอต (Eukaryotic cell) ซึ่งเป็นเซลล์แบบง่ายที่ไม่มี
นิวเคลียสเด่นชัด นั้นต่างจากแฟลกเจลลัมของเซลล์จำพวกโพรคาริโอต (Prokaryote cell)
ซึ่งเป็นเซลล์ในสิ่งมีชีวิตชั้นตำที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสโดยสิ้นเชิง ทั้งในด้านโครงสร้างและวิวัฒนาการ
คุณลักษณะเดียวที่แฟลกเจลลาของแบคทีเรีย, อาเคีย (Archaea) หรือยูคาริโอตมีเหมือนกันคือ
รูปลักษณ์ภายนอกของแฟลกเจลลัมเท่านั้นแฟลกเจลลัมในเซลล์ยูคาริโอตมีโครงสร้างไมโครทูบูลเรียง
ตัวกันเป็นวง 9 คู่ ล้อมรอบไมโครทูบูลที่ไม่มีคู่สองหลอดอยู่ตรงกลาง โครงสร้าง "9+2" นี้ก่อให้
เกิดโครงสร้างที่ซับซ้อนตรงแกนของส่วนที่ยื่นออกมา เรียกว่าแอ็กโซนีม (Axoneme) โดยระหว่าง
ไมโครทูบูลที่เรียงเป็นวงจะมีโปรตีนไดนีนต่อออกมา ทำหน้าที่เป็นเสมือนแขนที่ต่อกับไมโครทูบูล และ
ทำให้แฟลกเจลลัมสามารถพัดโบกได้ นอกจากนี้ตรงโคนของแฟลกเจลลัมยังยึดติดกับโครงสร้างภาย
ในเซลล์เรียกว่าเบซัลบอดี หรือไคนีโทโซม (Basal body หรือ Kitenosome) ซึ่งทำหน้าที่
เป็นส่วนกลางในการควบคุมไมโครทูบูลที่ค้ำจุนแฟลเจลลัมอยู่ มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยไมโครทูบูลจัด
เป็นกลุ่ม กลุ่มละสาม โดยที่ไม่มีไมโครทูบูลตรงกลาง จึงเรียกโครงสร้างนี้ว่าโครงสร้าง "9+0" ซึ่ง
โครงสร้างแบบนี้เป็นโครงสร้างเดียวกับเซนทริโอล (Centriole) ในเซลล์สัตว์
ฟองน้ำ
ฟองน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเดียวในไฟลัมพอริเฟอรา (Porifera มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน -
porus หมายถึง รู และ ferre หมายถึง พยุงหรือค้ำเอาไว้) เป็นสัตว์หลายเซลล์ที่มีวิวัฒนาการ
ต่ำสุด มีรูปร่างคล้ายแจกันที่มีรูพรุนเล็ก ๆ ทั่วตัวซึ่งเป็นช่องทางให้น้ำผ่านเข้าไปในลำตัว มีเซลล์เรียง
กันเป็นสองชั้นแต่ยังไม่มีเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่แท้จริง ไม่มีอวัยวะและทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่
อาศัยอยู่ในน้ำทะเล มีบางชนิดเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ตัวอ่อนของฟองน้ำนั้นมีเซลล์ที่สามารถว่าย
ได้น้ำได้ เรียกระยะนี้ว่า แอมพิบลาสทูลา (Amphiblastula) โดยจะว่ายน้ำไปเกาะตามก้อนหิน
เมื่อเจริญเติบโตแล้วจะกลายเป็นฟองน้ำที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ฟองน้ำในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ
5,000 สายพันธุ์ มักพบในเขตน้ำลึกกลางมหาสมุทร (ลึกประมาณ 8,500 เมตร)ต้นกำเนิดของ
ฟองน้ำอาจย้อนไปถึงยุคพรีคัมเบรียน (Precambrian) หรือประมาณ 4,500 ล้านปีที่แล้ว
พิสูจน์โดยซากฟอสซิลของฟองน้ำ
ยีสต์
ยีสต์ชนิด Saccharomyces cerevisiae. Ascomycota (sac fungi)
·Saccharomycotina (true yeasts) ·Taphrinomycotina
oSchizosaccharomycetes (fission yeasts) Basidiomycota (club
fungi)·Urediniomycetes oSporidiales
ยีสต์ หรือ ส่าเหล้า (Yeast)
คือ รากลุ่มหนึ่งที่ส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดี่ยว มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปร่างกลม รี สามเหลี่ยม รูปร่างแบบ
มะนาว ฝรั่ง เป็นต้น ส่วนใหญ่มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยวิธีการแตกหน่อ พบทั่วไปในธรรมชาติ
ในดิน ในน้ำ ในส่วนต่างๆ ของพืช ยีสต์บางชนิดพบอยู่กับแมลง และในกระเพาะของสัตว์บางชนิด แต่
แหล่งที่พบยีสต์อยู่บ่อยๆ คือแหล่งที่มีน้ำตาลความเข้มข้นสูง เช่น น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน ยีสต์ที่มีอยู่ตาม
ธรรมชาติ มักจะปนลงไปในอาหาร เป็นเหตุให้อาหารเน่าเสียได้ยีสต์เป็นจุลินทรีย์ที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัย
โบราณถึงกับมีผู้กล่าวว่า ยีสต์เป็นจุลินทรีย์ชนิดแรกที่มนุษย์นำมาใช้ รายงานแรกเกี่ยวกับการใช้ยีสต์
คือการผลิตเบียร์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Boozah เมื่อประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช คนไทยรู้จัก
ใช้ประโยชน์จากยีสต์มาเป็นเวลานาน เช่นในการทำอาหารหมักบางชนิด ได้แก่ ข้าวหมาก ปลาแจ่ว
เครื่องดองของเมาหลายชนิด เช่น อุ สาโท และกระแช่ เป็นต้น ปัจจุบันมีการนำยีสต์มาใช้ประโยชน์ใน
อุตสาหกรรมหลายประเภท เป็นต้นว่าการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชนิดต่างๆเช่น เบียร์ ไวน์ และวิสกี้
การผลิตเอธิลแอลกอฮอล์เพื่อใช้เป็นสารเคมี และเชื้อเพลิง การผลิตเซลล์ยีสต์ เพื่อใช้เป็นยีสต์ขนมปัง
และเป็นโปรตีนเซลล์เดียวราบางประเภทสามารถนำมาใช้ในการผลิตสุราได้แต่ราบางชนิดที่เพาะมาเป็น
พิเศษ ก็เป็นราที่ผลิตมาเพื่อการค้าและมีลิขสิทธิ์เฉพาะ เช่นรา คาลสเบิร์กโนเจนซิส เป็นราลิขสิทธิ์ที่ใช้
ในการผลิตเบียร์ คาลสเบริ์กยีสต์ มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และ
แอลกอฮอล์ได้ โดยหลักการทำงานของยีสต์ หรือ "เบเกอร์ ยีสต์" (Baker yeast) ที่ใส่ให้
ขนมปังฟู เนื่องมาจากยีสต์ที่ใส่ลงไปมีการใช้น้ำตาลในแป้งขนมปัง หรือที่เรียกกันว่า
"โด" (Dough) เป็นอาหาร และระหว่างที่มันกินอาหารมันก็จะหายใจเอาออกซิเจนเข้าไป และ
หายใจเอาคาร์บอนไดออกไซต์ออกมา และเมื่อเราเอาแป้งไปอบ ก๊าซที่มันคายออกมาก็ผุดขึ้น
มาระหว่างเนื้อขนมปังทำให้เกิดรูพรุนจนฟูขึ้นมา
ยูคาริโอต
ยูคาริโอต (Eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์สลับซับซ้อน เป็นเซลล์ขนาดใหญ่มีโครโมโซม
จำนวนหลายชุด บรรจุอยู่ในนิวเคลียสอีกทีหนึ่ง อุบัติขึ้นเมื่อ 2.5 ล้านปีก่อน หลักการของยูแคริโอต
คือ การบรรจุดีเอ็นเอไว้ในโครโมโซมหลายตัวซึ่งแวดล้อมด้วยโปรตีนภายในเนื้อเยื่อของนิวเคลียส ไม
โทคอนเดรียน (Mitochondrion) ทำหน้าที่หายใจ คลอโรพลาส (Chloroplast)
สังเคราะห์แสงในการผลิตอาหาร โกลจิ (Golgi) ทำหน้าที่สะสมผลผลิตไว้เป็นพลังงาน เมื่อเซลล์
แบ่งตัวขยายพันธุ์ ไรโบโซม (Rybosome) จะคัดลอกรหัสพันธุกรรมจาก DNA ไปสู่เซลล์ตัวใหม่
โดยใช้กระบวนการทางโปรตีน สิ่งมีชีวิตที่เป็นยูแคริโอต คือ สัตว์, พืช และ เห็ดรา ซึ่งประกอบด้วย
เซลล์หลายเซลล์ รวมทั้ง โพรทิสตา จำนวนมากที่มีเซลล์เดียว และโครมิสตา หรือสาหร่าย ในทางกลับ
กันสิ่งมีชีวิตอื่นอย่างเช่น อาร์เคียและ แบคทีเรียที่ขาดนิวเคลียสและเซลล์ที่สลับซับซ้อน เดิมจะถูก
เรียกว่า โพรแคริโอต (Prokaryotes) ต่อมาเรียกว่า มอเนอรา และปัจจุบันแยกเป็น อาร์เคีย
และ แบคทีเรีย
ไลโซโซม
ไลโซโซม หรือฉายาว่า ถุงฆ่าตัวตาย ทำหน้าที่เป็นผู้ขนส่งเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยสลายโปรตีน ไขมัน
และคาร์โบไฮเดรต มีลักษณะเป็นถุง มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว พบในเซลล์สัตว์และพืชบ้างชนิด และเม็ดเลือด
ขาว เซลล์พืชบ้างชนิด เช่น กาบหอยแครง หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นพืชที่ขาด สารอาหารบางชนิด เช่น
N (ไนโตรเจน) จึงใช้ไลโซโซมในการย่อยแมลงไลโซโซม (lysosome) พบครั้งแรกโดย
คริสเตียน เดอ ดูฟ (Christain de Duve) เมื่อปี พ.ศ. 2495 โดยดูจากกล้องจุลทรรศน์
อิเล็กตรอน คล้ายถุงลม รูปร่างกลมรี เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 0.15-0.8 ไมครอน พบเฉพาะ
ในเซลล์สัตว์เท่านั้น มักพบใกล้กับกอลจิบอดี ไลโซโซม ยังเป็นส่วนสำคัญ ในการย่อยสลาย องค์
ประกอบของเซลล์ หลังจากเซลล์ตาย โดยพบมาก ในฟาโกไซทิกเซลล์ (phagocytic cell)
เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว และเซลล์นระบบเรติคูโล เอนโดทีเลียม (reticuloendothelial
system) เช่น ตับ ม้าม นอกจากนี้ ยังพบไลโซโซม จำนวนมาก ในเซลล์ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการ
สลายตัวเอง เช่น เซลล์ส่วนหาง ของลูกอ๊อด เป็นต้น ไลโซโซม มีเอนไซน์หลายชนิด จึงสามารถย่อย
สลาย สารต่างๆ ภายในเซลล์ได้ดีไลโซโซม เป็นออร์แกแนลล์ ที่มีเมมเบรนห่อหุ้ม เพียงชั้นเดียว ซึ่งไม่
ยอมให้เอนไซม์ต่างๆ ผ่านออก แต่เป็นเยื่อที่สลายตัว หรือรั่วได้ง่าย เมื่อเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อ
หรือขณะที่มีการเจริญเติบโต เยื่อหุ้มนี้มีความทนทาน ต่อปฏิกิริยาการย่อยของเอนไซม์ ที่อยู่ภายในได้
เอนไซม์ที่อยู่ในถุงของไลโซโซมนี้ เชื่อกันว่าเกิดจากไลโซโซม ที่อยู่บน RER สร้างเอนไซม์ขึ้น แล้ว
ส่งผ่านไปยังกอลจิบอดี แล้วหลุดเป็นถุงออกมา
เห็ดรา Orange parasitic fungus เ
ห็ดรา (Fungus พหูพจน์:Fungi) เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง เดิมเคย
จัดอยู่อาณาจักรเดียวกับพืช แต่ปัจจุบันจัดอยู่ใน อาณาจักรเห็ดราหรือฟังไจ (Kingdom Fungi)
เป็นสิ่งชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสหรือมีเยื่อหุ้มนิวเคลียสเรียกว่า ยูแคริโอต (Eukaryote) อาจเป็นสิ่ง
มีชีวิตที่เซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ ไม่มีคลอโรฟิลล์ สังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ กินอาหารโดยสร้างน้ำ
ย่อยแล้วปล่อยออกมาย่อยสารอินทรีย์จนเป็นโมเลกุลเล็กและดูดเข้าเซลล์ (Saprophyte) ได้แก่
สิ่งมีชีวิตประเภทเห็ด รา และยีสต์
อะมีบา
อะมีบา (อังกฤษ Amoeba, ameba) เป็นโปรโตซัวสกุลหนึ่ง สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยส่วนของ
ลำตัวที่ยื่นออกมาชั่วคราว เรียกว่าเท้าเทียม (Pseudopods) และถือว่าเป็นตัวแทนของสิ่งมีชีวิต
เซลล์เดียวที่รู้จักกันดี คำว่า อะมีบา นั้นมีการใช้หลากหลาย หมายถึงสัตว์เช่นนี้ และสัตว์จำพวกอื่นที่มี
ความใกล้ชิดในทางชีววิทยา ปัจจุบันจัดกลุ่มเป็น อะบีโบซัว (Amoebozoa) หรือหมายถึงโปรโตซัว
ทั้งหมด ที่เคลื่อนไหวได้ด้วยเท้าเทียม หรืออาจเรียกว่า อะมีบอยด์ (Amoeboids)อะมีบาเองนั้น
พบได้ในน้ำจืด โดยปกติอยู่ในพืชผักที่เน่าเปื่อย จมอยู่ในลำน้ำ แต่ไม่ได้พบมากเป็นพิเศษในธรรมชาติ
เอนไซม์ Ribbon diagram of the catalytically perfect
เอนไซม์ TIM. เอนไซม์ (Enzyme) เป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เอนไซม์มีความ
สำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มี
เอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงาน
ของเซลล์จะผิดปกติ (Malfunction) เช่น
- การผ่าเหล่า (Mutation)
- การผลิตมากเกินไป (Overproduction)
- ผลิตน้อยเกินไป (Underproduction)
- การขาดหายไป (Deletion)
เอนไซม์เหมือนตัวเร่งปฏิกิริยาทั่วไป เอนไซม์ ทำงานโดยการลดพลังงานกระตุ้น (Activation
energy) ให้เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากนี้ยังเร่งให้เกิดเร็วขึ้นซึ่งสามารถทำให้เร็วได้ถึงหนึ่งในหลาย
ล้านส่วน
- เอนไซม์ ไม่มีผลต่อความสมดุล (Equilibrium) ของปฏิกิริยาเคมี
- เอนไซม์ ไม่มีผลต่อพลังงานสัมพัทธ์ (Relative energy) ระหว่างสารที่ได้จากปฏิกิริยา (Products) และสารที่ทำปฏิกิริยา(Reagents)
- เมื่อเทียบกับตัวเร่งปฏิกิริยาอื่นแล้ว เอนไซม์ จะมีความจำเพาะต่อปฏิกิริยาหนึ่งปฏิกิริยาใดมากกว่า
แอลกอฮอล์
ในทางเคมี แอลกอฮอล์ คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอน
ของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะไซคลิก คือ CnH2n+1OH
โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ มักจะอ้างถึงเอทานอลเกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า grain
alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล นอก
จากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นที่มาของคำว่าแอลกอฮอลิซึ่ม (โรคติด
แอลกอฮอล์)เอทานอลเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท ที่ลดการตอบสนองของระบบประสาทส่วน
กลาง แอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ จะอธิบายด้วยคำวิเศษณ์เพิ่มเติม เช่น isopropyl alcohol (ไอ
โซโพรพิล แอลกอฮอล์)หรือด้วยคำอุปสรรคว่า -ol เช่น isopropanol (ไอโซโพรพานอล)
ออกซิเจนออกซิเจน(Oxygen)
เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้ง
จักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2, มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเธอร์
โมไดนามิกส์ การเกิดขึ้นครั้งแรกในโลก มาจากการทำงานของเชื้อแบคทีเรียแอโรบิกสังเคราะห์แสง
และเพิ่มมากขึ้นในเวลาต่อมา เนื่องมาจากพืชปล่อยก๊าซออกซิเจนระหว่างการสังเคราะห์ด้วยแสง
ออกซิเจน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญและมีปริมาณเป็นอันดับ 2 ในส่วนประกอบของบรรยากาศโลกคือมี
ประมาณ 20.947% โดยปริมาตร
............................................................................ www.pw.ac.th/main/website/sci/glossary.htm -
www.pw.ac.th/main/website/sci/glossary.htm -
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved. ติดประกาศ: 2010-05-10 (3681 ครั้ง) [ ย้อนกลับ ] |
|
|
|
|
|