ที่มา: http://www.chomthai.com/forum/view.php?qID=1406
- เป็นพืชน้ำอายุสั้นฤดูกาลเดียว เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ๆมีน้ำตลอดปีและสามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำได้บ่อยๆหรือทุกครั้งเมื่อต้องการเพราะกระจับจะเจริญเติบโตได้ดีในน้ำใสสะอาด
- ปลูกได้ตลอดปีและทุกพื้นที่ของประเทศขอแต่ให้มีน้ำเท่านั้น
- เจริญเติบโตขึ้นมาจากตอที่พื้นดินใต้น้ำ ระดับความลึกน้ำประมาณ 50-80 ซม. ลำต้นเป็นเถายาวมีข้อและปล้องชัดเจนภายในมีช่องอากาศ ส่วนยอดของลำตันมีกลุ่มใบเป็นกระจุก ก้านใบพองคล้ายฟองน้ำสำหรับช่วยพยุงตัวให้ลอยน้ำได้
- เหง้าที่อยู่ในดินสามารถแตกหน่อได้จำนวนมาก แต่ละหน่อเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ถึงผิวน้ำก็จะเกิดกระจุกใบจำนวนมากเช่นกัน
- ในแปลงปลูกต้องไม่มีวัชพืชประเภทสาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายข้าวเหนียว แหนและหญ้า
- ดอกสีขาวออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว เมื่อดอกพัฒนาเป็นผลแล้วกลีบดอกจะกลายเป็นเขา
- อายุตั้งแต่เริ่มปลูกถึงออกดอกนาน 3 เดือน ระยะออกดอกถึงฝักแก่ 2 เดือน หรือตั้งเริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยวนาน 5 เดือน
- ฝักโตและแก่ไม่พร้อมกัน หลังจากเริ่มเก็บฝักแก่ชุดแรกแล้ว 7-10 วัน จะเก็บชุดที่สองได้ แล้วเก็บไปได้เรื่อยๆ 5-6 รุ่นต้นจึงโทรม
- เนื้อที่ 1 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 60,000-70,000 ฝัก
- กระจับเป็นพืชน้ำที่ออกดอกติดผลเองได้เมื่อถึงช่วงอายุต้นและมีความสมบูรณ์พอ แต่ดอกที่ออกเองจะออกไม่พร้อมกันส่งผลให้มีผลผลิตหลายรุ่น แต่ละรุ่นมีคุณภาพไม่เหมือนกัน การที่จะให้กระจับออกดอกติดผลเป็นรุ่นเดียวกันทั้งแปลงจึงจำเป็นต้องปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอน
หมายเหตุ :
ธรรมชาติของกระจับสามารถออกดอกติดผลได้เอง เพียงการเตรียมดินให้สมบูรณ์พร้อมเท่านั้นก็ถือว่าเพียงพอแล้ว แต่ถ้าต้องการปริมาณผลผลิตและคุณภาพเพิ่มขึ้นก็ต้องปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ควรเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนกับผลผลิตที่ได้รับเป็นตัวตัดสินใจ
สายพันธุ์
พันธุ์ 4 เขา, พันธุ์ 2 เขาแหลมปลายโค้ง, และพันธุ์ 2 เขาปลายทู่ซึ่งมีผลขนาดเล็กกว่าพันธุ์ 2 เขาโค้งปลายแหลม......นิยมปลูกพันธุ์เขาแหลมปลายโค้ง
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์จากเถา :
เลือกเถาที่ยังอ่อน ใบบางเล็ก สีน้ำตาลปนแดง ซึ่งเป็นเถาที่ได้หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ขยายพันธุ์
จากฝัก :
นำฝักกระจับลงเพาะในกระบะเพาะแกลบดำเหมือนการเพาะเมล็ดพืชทั่วไป ใส่น้ำในกระบะเพาะพอท่วมฝักเล็กน้อย ตั้งกระบะเพาะไว้กลางแดด เมื่อต้นกล้าเริ่มงอกสูงขึ้นก็ให้ค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำตาม ประมาณ 1 เดือนก็สามารถถอนแยกไปปลูกในแปลงจริงได้
เตรียมแปลง เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ
1.ระบายน้ำในแปลงปลูกออกให้เหลือพอเฉอะแฉะหน้าดิน
2.ปรับระดับหน้าดินให้เรียบเสมอกันเพื่อให้ได้ระดับน้ำลึกเท่ากันตลอดทั่วแปลง
3.ใส่ปุ๋ยปุ๋ยคอก. ยิบซั่มธรรมชาติ. กระดูกป่น. ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์หน่อกล้วย. ฮอร์โมนบำรุงราก. ใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 หรือ 16-8-8(สูตรใดสูตรหนึ่ง)10-20 กก. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดี หว่านให้ทั่วสำหรับเนื้อที่ 1 ไร่ แล้วตีดินด้วยรถไถจอบหมุน (โรตารี่) หลายๆรอบเหมือนทำเทือกนา
4.หมักดินทิ้งไว้ 10-15 วันเพื่อให้เวลาจุลินทรีย์ได้ปรับสภาพดิน
5.ก่อนปลูกกล้ากระจับให้ตีเทือกอีก 1 รอบ
เตรียมสารอาหารเสริม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
- ให้นมสัตว์สดหรือกลูโคส 1-2 เดือน/ครั้ง หลังจากเริ่มออกดอกแล้ว
- ให้เลือดสัตว์สดๆฉีดพ่นทางใบช่วงติดฝักแล้ว ทุก 20-30 วัน จะช่วยบำรุงให้ฝักใหญ่ เนื้อแน่น น้ำหนักดีขึ้น
- ให้มูลค้างคาว 1-2 กำมือ/เดือน โดยละลายน้ำสาดลงน้ำให้ทั่วแปลงก่อนเก็บเกี่ยวจะช่วยให้เนื้อแน่นน้ำหนักดี
- ให้ฮอร์โมนน้ำดำ 1 เดือน/ครั้ง จะช่วยให้ต้นไม่โทรม ได้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น
หมายเหตุ :
ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง
ระยะปลูก
ระยะห่างระหว่างกอและแถว 5-6 ม.
วิธีปลูก
- ก่อนปักดำกล้า ให้สูบน้ำเข้าแปลงลึกเท่าความยาว(สูง)ของก้านติดเหง้าที่ใบโผล่พ้นผิวน้ำพอดี(ประมาณ 50-80 ซม.)
- นำเถาอ่อนมารวมกัน 2-3 เถา มัดส่วนโคนให้ติดกันพอหลวมแล้วกด(ดำ)เหง้าลงดินพร้อมกับกลบดินให้มั่นคง ระวังอย่าให้ลอยขึ้นได้ เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมาก
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อกระจับ
1.ระยะกล้า
ทางใบ :
- ให้ น้ำ 100 ล.+ 25-5-5 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สาร
สกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกบนใบทุก 10-15 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ยังไม่ต้องใส่เพิ่มเพราะใส่ไว้ก่อนแล้วตั้งแต่ช่วงเตรียมดิน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากต้นกล้าเริ่มแทงใบอ่อนได้ 2-3 คู่หรือรากเริ่มเจริญยาวแล้ว
- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้ากล้ากระจับแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของต้นกล้าทั้งหมดให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม
- สารอาหารที่ฉีดพ่นทางใบนั้น ส่วนที่ตกลงน้ำต้นกระจับก็นำไปใช้ได้โดยการดูดซึมด้วยราก
- เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้แล้วให้ค่อยๆเติมน้ำเป็นระยะๆพอให้ใบได้ลอยน้ำหรือต้นเหยียดตั้งตรงและเมื่อใบลอยน้ำสูงขึ้นเนื่องจากส่วนลำต้นสูง (ยาว) ขึ้นก็ให้เติมน้ำอีก เมื่อได้ระดับลึกตามต้องการจึงหยุดเติมน้ำแล้วรักษาระดับน้ำไว้ให้คงที่จนเก็บเกี่ยว
2.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
ทางใบ :
- ให้ น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคล
เซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.หรือ น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 10-15 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (10 กก.)/ไร่/เดือน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่ออายุต้น 2 เดือนครึ่งหลังปลูก
- ให้กลูโคสหรือนมสัตว์สด 1 รอบและให้ปุ๋ยทางใบ 1-2 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงสะสมอาหาร
- ให้ปุ๋ยทางราก (ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24) 1 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงการสะสมอาหารด้วยการฉีดพ่นลงน้ำโดยตรงเลย ปุ๋ยจะจมลงน้ำลงไปที่พื้นดินเอง เนื่องจากเนื้อปุ๋ยมีความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำหรือหนักกว่าน้ำ
3.เปิดตาดอก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ สาหร่ายทะเล 50 กรัม + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
ไม่ต้องให้
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่ออายุต้นได้ 3 เดือน
- ถ้าต้นมีความสมบูรณ์ดี สังเกตจากยอดอวบอ้วนยาวหลังจากเปิดตาดอกไป 2 รอบแล้ว ถ้ายังมีต้นจำนวนมากยังไม่ออกดอกก็ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1 รอบก็ได้โดยให้ห่างจากรอบสุดท้าย 5-7 วัน
4.บำรุงดอก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 15-45-15(200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ.20 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
ไม่ต้องให้
หมายเหตุ :
- ดอกกระจับเป็นดอกสมบูรณ์เพศอาจไม่จำเป็นต้องบำรุงเป็นกรณีพิเศษ แต่หากมีการบำรุงบ้างแม้เพียงเล็กน้อยก็จะช่วยให้ดอกพัฒนาเป็นผลผลิตดียิ่งขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ การบำรุงดอกให้เริ่มปฏิบัติเมื่อก้านดอกเริ่มแทงออกมาให้เห็น
- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก และฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
5.บำรุงฝักเล็ก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ แคลเซียม
โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 10-15 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 อัตราและวิธีเดียวกันกับช่วงสะสมอาหาร หรือไม่ต้องให้ก็ได้
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อกลีบดอกกลายเป็นเขาหรือกลีบดอกร่วง
- ให้ 1 รอบตลอดช่วงฝักเล็ก
6.บำรุงฝักกลาง
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนสมส่วน 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคล
เซียม โบรอน 100 ซีซี.+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ 8-24-24 อัตราและวิธีเดียวกันกับช่วงสะสมอาหาร
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากเปลือกฝักเป็นสีแดงแล้ว 7-10 วัน
- ถ้าติดฝักดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดอายุฝักกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมากและคุณภาพฝักดีขึ้น
7.บำรุงฝักแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74(200 กรัม)หรือ 0-0-50(200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.หรือ น้ำ 100 ล. + มูลค้างคาวสกัด 50 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ กลูโคสหรือนมสัตว์สด 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1 รอบ/การเก็บ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26(สูตรใดสูตรหนึ่ง) อัตราและวิธีเดียวกันกับช่วงสะสม
อาหาร
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน โดยให้ 1 หรือ 2 รอบตามความเหมาะสม
กระจับ...พืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่
นายอรรถพร บุญประเสริฐ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอชุมแสง จ.นครสวรรค์ เปิดเผยว่า
เกษตรกรหญิงเก่ง คือ น.ส.ศุภลักษ์ ข่มอารมณ์ บ้านเลขที่ 385/3 หมู่ 6 ต.ทับกฤช ซึ่งทำไร่นาสวนผสมโดยปลูกพืชที่หลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและราคาผลผลิตตกต่ำ เช่น ดอกไม้จีน กระจับ มะลิ จำปี มะม่วง ขนุนฯ
พืชที่ปลูกแล้วแตกต่างจากเกษตรกรรายอื่นและให้ค่าตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ คือ กระจับ โดยได้พัฒนาการเรียนรู้มาจากเกษตรกร จ.ชัยนาท
เริ่มปลูกกระจับพื้นที่ 4 ไร่ ช่วงปลายฤดูร้อน- ต้นฤดูฝน ในสระน้ำที่ลึกไม่เกิน 1.50 เมตร เป็นพันธุ์กระจับวัว (สีแดงคล้ำ) ซึ่งให้ผลผลิตสูงเมื่อปลูกไปแล้ว 2-3 เดือน ก็จะเห็นการเจริญเติบโตกระจายจนเต็มผิวน้ำ พอพลิกดูใต้ใบจะพบฝักแก่ที่เก็บได้โดยใช้เรือเป็นพาหนะ จากนั้นก็นำมาล้างแล้วต้มจนสุก นำออกจำหน่าย กก.ละ 25 บาท ทำให้มีรายได้วันละ 500-1,000 บาท
ยังได้ทดลองนำไปเป็นส่วนผสมขนมไทย เช่น ขนมตะโก้และทำไส้ข้าวเหนียวปิ้ง ก็มีรสชาติอร่อยชวนรับประทาน และยังได้ปล่อยปลากินพืชลงในสระกระจับเพื่อเสริมรายได้อีกทางหนึ่งด้วย
“ ก่อนที่เกษตรกรจะลงมือปลูกพืชชนิดใดก็ตามที ก็ต้องศึกษาเรียนรู้ดูงานแปลงที่ประสบความสำเร็จให้รอบด้าน เก็บข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ โดยใช้การตลาดนำการผลิต และต้องมีการศึกษาเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน เพราะพื้นที่ที่แตกต่างก็อาจจะทำให้การผลิตแตกต่างกันได้
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร.089-957-4179 ” น.ส.ศุภลักษ์ ข่มอารมณ์ กล่าว
nsw-rice.com/index.php/component/content/article/271-ag-news-4 -
กระจับ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า วอเตอร์เชสนัท (Water chestnut) วอเตอร์ คาลทรอพ (Water caltrops) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ทราพา บิคอร์นิส จัดอยู่ในวงศ์ ทราพาซี้อี้ (Trapa bicornis Osbeck Trapaceae)
กระจับ มีชื่อพื้นบ้านว่า กะจับ มาแง่ง พายับ เขาควาย จัดเป็นพืชน้ำ มีดอกสีขาว ใบมีลักษณะแผ่กว้างขอบใบหยัก
กระจับ มีคุณค่าทางโภชนาการคือ ประกอบด้วย แป้ง ฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินเอ โปรตีน และสารไบคอร์มิน (bicormin)
สรรพคุณของกระจับและวิธีใช้ ใบกระจับมีรสเปรี้ยว จึงมีสรรพคุณใช้กัดเสมหะและแก้ไอ ขับเมือกล้างลำไส้ ส่วนเนื้อในของฝัก ใช้บำรุงกำลัง บำรุงทารกในครรภ์มารดา แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลังหลังฟื้นไข้ โดยมีคำแนะนำให้นำฝักกระจับไปต้ม แล้วแกะเอาเนื้อในฝักมา
รับประทาน ครั้งละ 3-5 ฝัก
ชื่อทั่วไป
Water Chestnut, Horn Chestnut, Water Caltrops
ชื่อพื้นเมือง
กะจับ มะแงง ม่าแงง พายับ เขาควาย Ling Ko(จีน หมายถึง Spiritual Horn)
การกระจายตามธรรมชาติ
มีอยู่ 30 ชนิด กระจายพันธุ์ุตามธรรมชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยมีอยู่ 2 พันธุ์ุ คือพันธุ์ุเขาแหลมที่มีรสชาติดี และพันธุ์ุเขาฟูที่เกษตรกรนิยมปลูก เพราะขึ้นได้ง่ายและเติบโตดี
ลักษณะทางชีววิทยา
เป็นพืชน้ำที่ลอยได้ ชอบน้ำนิ่ง มีอายุหลายฤดูขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม รากจะหยั่งลึกลงดินใบเดี่ยว มี 2 แบบ คือใบลอยน้ำและใบใต้น้ำ ใบลอยน้ำมีก้านยาวอวบน้ำและส่วนตรงกลางจะพองออกเป็นกระเปาะทำให้ลอยน้ำได้ดี แผ่นใบของใบลอยน้ำมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู หรือรูปพัด กว้าง 4-6 ซม. ยาว 7-9 ซม. ใบจะเรียงรอบลำต้นราวกับใบกระจายอยู่โดยรอบ ใบใต้น้ำจะเป็นใบฝอยและเป็นเส้นใยคล้ายรากดอกออกที่โคนใบในช่วงฤดูฝน เป็นดอกเดี่ยวสีขาว ขนาดของดอกประมาณ 0.5 มม. ดอกบานเหนือน้ำ กลีบเลี้ยงมีโคนเชื่อมกันแต่ปลายแยกมีกลีบดอก 4 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 4 อันรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี 2 ช่อง แต่ละช่องมี ovule 1 อันเมื่อติดผลแล้วก้านดอกจะยืดยาวโค้งกลับลงน้ำเพื่อให้รังไข่ได้เจริญเป็นผล ผลเจริญอยู่ใต้น้ำ เขาโค้งสองข้างของผลพัฒนามาจากกลีบเลี้ยง 2 กลีบ
การใช้ประโยชน์
ใบมีรสเปรี้ยว ใช้กัดเสมหะ แก้ไข้ ขับเมือกในลำไส้ให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ใบช่วยเป็นยาเสริมสมรรถภาพตาของเด็ก ส่วนก้านต้นใช้เป็นยาแก้โรคกระเพาะ ผลเป็นอาหารได้ โดยทานเนื้อในของผลที่มีสีขาว ผลกระจับมีปริมาณแป้งสูง มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง มีวิตามินเอ และมีโปรตีน ในการบริโภคจึงต้องต้มให้สุกก่อนจึงจะรับประทานได้ เพราะอาจจะมีปัญหาของพยาธิใบไม้ ในบางภัตตาคารจะใช้กระจับแทนแห้ว แม้แป้งของกระจับก็ใช้แทนแป้งของถั่วเขียวได้
บางแห่งจะทำน้ำกระจับจำหน่าย นอกจากนี้ยังมีปริมาณแคลเซี่ยมสูง ซึ่งช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีสาร bicornin
http://thailand.siamjobit.com/News-detail-318704.html
กระจับ (Trapa bicornis Osb. var. cochin-chinensis Gliick ex Steenis)
กระจับเป็นไม้น้ำชนิดหนึ่งที่น่าสนใจมากเพราะผลมีรูปร่างประหลาด คล้ายหน้าควายที่มีเขาโค้ง ๒ เขา สีดำสนิท เมื่อกะเทาะเปลือกนอกที่แข็งออก จะได้เนื้อในสีขาว มีแป้งมาก นำมาต้มให้สุกก่อนรับประทาน หรือต้มกับน้ำตาลแล้วรับประทานกับน้ำแข็งเป็นขนมอย่างหนึ่งกระจับมีรากหยั่งยึดดินและมีไหล ใบเดี่ยวมี ๒ แบบ ใบที่ลอยน้ำมีก้านยาว อวบน้ำ และพองเป็นกระเปาะตรงกลาง แผ่นใบมีรูปร่างคล้ายสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือรูปพัด เวียนเป็นเกลียวถี่ๆ ตามลำต้น ทำให้ดูเหมือนใบแผ่เป็นวงรอบต้นใบอีกแบบหนึ่งอยู่ในน้ำ เป็นเส้นฝอยๆ คล้ายรากดอกสีขาวมีกลีบ ๔ กลีบ บานอยู่เหนือน้ำ เมื่อติดผลแล้ว ก้านดอกจะงอกลับลงน้ำ และผลจะเจริญอยู่ใต้น้ำ ผลอ่อนสีม่วงอมแดงจะเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่ ส่วนที่เป็นเขาโค้ง ๒ เขานี้เจริญมาจากกลีบเลี้ยง กระจับมี ๒ พันธุ์ คือ พันธุ์เขาแหลม และพันธุ์เขาทู่ พันธุ์เขาแหลมมีรสชาติดีแต่ชาวบ้านนิยมปลูกพันธุ์เขาทู่มากกว่า
กระจับขยายพันธุ์ด้วยผลและไหล มีการปลูกตามคูคลองหนองบึงทั่วไปที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ ใช้เวลา ๕ - ๖ เดือน จะสามารถเก็บผลิตผลได้ ไม้น้ำชนิดนี้สวยงามแปลกตา ใบรูปคล้ายพัดแผ่รอบๆ ต้น ผิวด้านบนสีเขียวเป็นมันเงางาม ส่วนแผ่นใบด้านล่างมีสีม่วงแดง ปลูกประดับในสวนน้ำได้ดี
มีกระจับอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกประดับตามสวนน้ำเรียกว่า กระจับแก้ว หรือกระจับญี่ปุ่น (Ludwigia sedioides Hora) ลักษณะของต้นและใบจะคล้ายกัน แต่ขนาดเล็กกว่ามาก ใบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กว้างยาวประมาณ ๑ ซม. ขอบใบและก้านใบเป็นสีแดง ดอกสีเหลืองสดมีกลีบ ๔ กลีบ ไม่ติดผล ขยายพันธุ์โดยใช้ไหลกระจับแก้วมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยเมื่อไม่กี่ปีมานี้ จึงไม่ใช่กระจับที่กล่าวถึงในวรรณคดีไทย
http://guru.sanook.com/search/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A_(Trapa_bicornis_Osb._var._cochin-chinensis_Gliick_ex_Steenis)
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.