-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 556 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

กระเจี๊ยบแดง










ที่มา: http://health.kapook.com/view2518.html






กระเจี๊ยบแดง

           ลักษณะทางธรรมชาติ      
        -
เป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว ปลูกได้ทุกภาค ทุกพื้นที่และทุกฤดูกาล
      -
เป็นพืชกึ่งพืชไร่กึ่งพืชสวน ต้องการน้ำพอหน้าดินชื้นหรือต้องการความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำจะไม่เจริญเติบโต หรือดอกผลไม่มีคุณภาพ
      - ปลูกง่ายโตเร็ว ระบบรากตื้นหากินบริเวณผิวหน้าดิน การมีอินทรียวัตถุคลุมโคนต้นหรือคลุมแปลงหนาๆจะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตดี
      -
เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 1 เดือนหลังปลูก
      - ดอกสีชมพูอ่อน ออกตามข้อใบ ถ้าต้นได้รับสารอาหาร กลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล สม่ำเสมอ จะออกดอกได้ตั้งแต่ข้อใบที่ 4-5 ข้อละ 1 ดอก แล้วออกไปเรื่อยๆทุกข้อใบตราบเท่าที่ต้นยังสูงขึ้น
      - ตอบสนองต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพ. ฮอร์โมน(ทำเอง).  ยิบซั่มธรรมชาติ. และกระดูกป่น. ดีมาก

      สายพันธุ์
:
      ซูดาน บราซิล. เอส-2706. และ เอส-603 เอ็ม-3.
 
      ขยายพันธุ์ :
      เพาะเมล็ด (ไม่กลายพันธุ์)

      วิธีปลูก
 :     
      เพาะเมล็ดในกระบะเพาะก่อน เมื่อต้นกล้าโตได้ใบ 3-4 ใบ หรือประมาณ 1 เดือนจึงย้ายไปปลูกในแปลงจริง หรือหยอดเมล็ดในแปลงจริงหลุมละ 2-3 เมล็ด

      ระยะปลูก
:      
      ระยะห่างระหว่างต้น-ระหว่างแถว  30 X 50ซม.
 

           
      เตรียมดิน อินทรีย์วัตถุ และแปลงปลูก
    1.ไถดินเปล่าให้ขี้ไถขนาดใหญ่ ทิ้งตากแดดจัด 15-20 แดดเพื่อฆ่าเชื้อโรคและกำจัดเหง้าวัชพืช
    2.ใส่อินทรีย์วัตถุ ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ + มูลค้างคาว) หมักข้ามปี.ยิบซั่มธรรมชาติ. กระดูกป่น. เศษพืชบดป่น. หว่านทั่วแปลงแล้วไถพรวนอินทรีย์วัตถุคลุกเคล้าลงดินให้ทั่วถึง
    3.ไถยกร่องลูกฟูก สันร่องกว้าง 1-1.20 ม. โค้งหลังเต่าสูงจากพื้นระดับ 30-50 ซม.ร่องทางเดินระหว่างสันแปลงกว้าง 1 ม. ลึก 20-30 ซม.จากพื้นระดับ
    4.คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหรือหญ้าแห้งหนาๆ
    5.บ่มดินโดยรดด้วยน้ำ + จุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ทุก 5-7 วัน ติดต่อกันนาน 1 เดือน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ปรับสภาพดิน กำจัดเชื้อโรค และย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นฮิวมิค แอซิด
    6.หยอดเมล็ดที่ริมสันลูกฟูกเป็น 2 แถวคู่ตรงกันหรือสลับฟันปลาก็ได้

      หมายเหตุ
 
    
- กระเจี๊ยบแดงมีระบบรากตื้นจึงต้องการดินร่วนมากๆ แนะนำให้ใส่อินทรีย์วัตถุประเภทคงทน เช่น แกลบดิบ ปุ๋ยคอก เศษพืชป่น และสารปรับปรุงบำรุงดิน (ยิบซั่มธรรมชาติ) มากๆ และไถพรวนด้วยจอบหมุน (โรตารี่) หลายๆรอบ
    - ดัดแปลงร่องทางเดินข้างสันลูกฟูกสำหรับปล่อยน้ำ (น้ำเปล่าหรือน้ำสารอาหาร) จากลาดสูงไปหาลาดต่ำเข้าไปหล่อในร่องได้ 1-2 เดือน/ครั้งจะดีมาก
    - ติดตั้งระบบสปริงเกอร์เหนือยอด 30-50 ซม.สำหรับให้น้ำเปล่า น้ำสารอาหาร หรือสารสกัดสมุนไพรนอกจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของเนื้องานแล้วยังช่วยประหยัดทั้งเวลาและแรงงานอีกด้วย

       เตรียมเมล็ดพันธุ์
     - เมล็ดพันธุ์ที่เคลือบสารเคมีกำจัดโรคให้ล้างน้ำจนสารเคมีนั้นออกให้หมดก่อน ส่วนเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้เคลือบสารเคมีไว้ก่อนให้ดำเนินการได้เลย
     - นำเมล็ดแช่ในน้ำเปล่า คัดทิ้งเมล็ดลอย เก็บไว้เฉพาะเมล็ดจม
     - นำเมล็ดจมที่เลือกได้ลงแช่ในน้ำ + ไคตินไตโตซานหรือจุลินทรีย์หน่อกล้วย + ธาตุรอง/ธาตุเสริม นาน 6-12 ชม. นำขึ้นผึ่งลมจนแห้ง แล้วจึงนำไปหยอดในแปลงจริง

      เตรียมสารอาหารเสริม
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
    - ให้นมสัตว์สดหรือกลูโคส 1-2 เดือน/ครั้ง หลังจากเริ่มออกดอกแล้ว
    - ให้มูลค้างคาว 1-2 กำมือ/เดือน โดยละลายน้ำรดโคนต้นจะช่วยให้ดอกดกและสีจัดขึ้น
    - ให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1 เดือน/ครั้ง จะช่วยให้ต้นไม่โทรม ได้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น

      หมายเหตุ
      ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง

      วิธีปลูก
      รองก้นหลุมด้วยกากสะเดา หรือใบสาบเสือ หรือใบยูคาลิบตัส หรือตะไคร้หอม บดป่นตากแห้ง 1 กำมือ ผสมให้เข้ากันดีกับเนื้อดิน แล้วหยอดเมล็ดลงหลุมปลูกโดยตรง หลุมละ 2-3 เมล็ด






                       ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อกระเจี๊ยบแดง



    1.ระยะต้นเล็ก
       ทางใบ 
   
- ให้น้ำ 100 ล.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร ทุก 5-7 วัน ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ลงถึงพื้นพอหน้าดินชื้น  ช่วงเช้าแดดจัด
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 3-5 วัน    

      ทางราก
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (1-2 กก.)ไร่ ฉีดพ่นบริเวณโคนต้นหรือปล่อยไปกับสปริงเกอร์  ทุก 15-20 วัน
    - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น ทุก  5-7 วัน  

      หมายเหตุ 
   
- เริ่มให้เมื่อต้นแตกใบใหม่ 2-3 ใบ    



   2.
ระยะก่อนออกดอก - ออกดอก - เก็บเกี่ยว
      ทางใบ
    - ให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.25 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 15-20  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก  2-3 วัน            

      ทางราก
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1-2 กก.)/ไร่ 2 รอบ สลับกับ 21-7-14(1-2 กก.)/ไร่ อีก 1 รอบ ห่างกันรอบละ 1 เดือน ด้วยการฉีดพ่นบริเวณโคนต้น
    - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น ทุก 20-30 วัน           

      หมายเหตุ
    - เริ่มให้เมื่ออายุต้นก่อนออกดอก 5-7 วัน จนถึงเก็บเกี่ยว
    - ให้ฮอร์โมนน้ำดำ  กับ  แคลเซียม โบรอน  เดือนละ 1 ครั้ง



       
     



เรื่อง :
ปลูกกระเจี๊ยบแดง
   
ปัญหา :
 
 
    ผมขอให้คุณหมอเกษตรกรุณาช่วยแนะนำวิธีการปลูกกระเจี๊ยบแดงด้วยว่า จะมีวิธีการปลูกอย่างไร จึงจะเหมาะสม และต้องใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมหรือไม่ และถ้าหากมีเพลี้ยแป้งมารบกวนโดยดูดกินน้ำเลี้ยง จะใช้สมุนไพรอะไรฉีดพ่น จึงจะได้ผลดี ช่วยกรุณาแนะนำสูตรให้ผมได้ทราบด้วย
วิธีแก้ไข :
 
    กระเจี๊ยบแดง หรือกระเจี๊ยบแยม หรือกระเจี๊ยบเปรี้ยว ก็เรียกกัน เป็นไม้ล้มลุก เนื้ออ่อน เปลือกเหนียว ลำต้นและกิ่งก้านมีสีแดง มีความสูงอยู่ระหว่าง 120-210 เซนติเมตร ตามลำต้นและกิ่งมีขนอ่อน ที่ทำให้ผิวหนังระคายเคือง ปกคลุมหนาแน่น ใบสีเขียวคล้ำ ก้านใบยาว ประมาณ 5-7 เซนติเมตร รูปทรงเป็นแฉก ประมาณ 5-7 แฉก ขอบใบของแฉกเป็นหยัก ดอกมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยวสีเหลือง รูปทรงกรวย กลีบดอกมี 5 กลีบ เวียนซ้อนกัน กลีบวงในดอกสีม่วง อับละอองเกสรตัวผู้เกาะอยู่ตามท่อขนาดเล็ก ยื่นจากส่วนกลางของดอก ส่วนเกสรตัวเมียจะอยู่ส่วนปลายของท่อเกสรตัวผู้ ขณะดอกบานเต็มที่กว้าง 4-5 เซนติเมตร ผลกระเจี๊ยบแดงมีลักษณะคล้ายกับผอบใส่แป้ง ส่วนยอดจะแหลม ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร กลีบดอกมีสีแดงใสหุ้มเมล็ดไว้ กลีบดอกส่วนนี้นิยมนำไปทำแยมและน้ำผลไม้ จะเก็บผลผลิตได้หลังการผสมเกสรแล้วเป็นเวลาประมาณ 60 วัน การขยายพันธุ์ทำได้สองวิธีคือ การปักชำ และใช้เมล็ด แต่ปัจจุบันนิยมใช้เมล็ดมากกว่า วิธีปลูกกระเจี๊ยบแดง คล้ายกับปลูกพืชล้มลุกชนิดอื่นๆ เริ่มจากการเตรียมดิน เลือกแปลงปลูกเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ขุดและพรวนดิน ลึก 25 เซนติเมตร ด้วยจอบ หรือไถดะและไถแปรด้วยรถแทร็กเตอร์ ตากดินให้แห้ง 10-15 วัน แล้วย่อยดินให้ละเอียด เก็บวัชพืชออกจากแปลงจนสะอาด ใช้ระยะปลูก 2x3 เมตร หรือ 3x3 เมตร เปิดหลุมกว้างและลึก 25 เซนติเมตร คลุกดินที่ขุดจากหลุมด้วยปุ๋ยคอกเก่า อัตรา 1 ปุ้งกี๋ ต่อหลุม รองก้นหลุมด้วยเศษหญ้าแห้ง อัดให้แน่นปริมาตรครึ่งหนึ่งของหลุม หากดินปลูกขาดความอุดมสมบูรณ์ให้รองก้นหลุมด้วยปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 ช้อนโต๊ะ ต่อหลุม ในดินที่อุดมสมบูรณ์ดีไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีรองก้นหลุมแต่อย่างใด จากนั้นเกลี่ยดินกลับลงหลุม อัดพอแน่นหยอดเมล็ดที่เตรียมไว้ 3 เมล็ด ตอนกลางหลุม กลบดินตื้นๆ และรดน้ำตาม ฤดูปลูกที่ดีที่สุด คือต้นฤดูฝน ระหว่างปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม เมื่อเมล็ดงอกดีแล้วให้ถอนต้นที่อ่อนแอทิ้งไป เหลือไว้เฉพาะต้นแข็งแรงที่สุดเพียงต้นเดียว หมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกให้สะอาดอยู่เสมอ อายุครบหนึ่งเดือน ใช้จอบพูนโคนให้ต้นกระเจี๊ยบแดง อายุ 4 เดือน เริ่มติดดอก ดอกจะเริ่มบานจากโคนกิ่งขึ้นไปยังส่วนปลายกิ่ง โดยเฉลี่ยผลที่เกิดบริเวณโคนกิ่งจะให้ผลขนาดใหญ่กว่าผลที่เกิดที่ปลายกิ่ง ผลเริ่มสุกแก่ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม และทยอยเก็บไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อเก็บผลแล้วจึงฉีกแยกกลีบดอกสีแดงออกจากเมล็ด นำไปผึ่งแดดจัด 2-3 วัน จึงเก็บไว้บริโภคหรือส่งจำหน่ายได้ วิธีควบคุมเพลี้ยแป้งด้วยสมุนไพร ใช้ส่วนผสมของเมล็ดน้อยหน่า ตะไคร้หอม ยาสูบ และหัวข่า อัตรา 0.5, 1.0, 1.0 และ 1.0 กิโลกรัม โขลกให้เข้ากัน หมักในน้ำสะอาด 2 ปี๊บ ไว้เป็นเวลา 1-2 คืน กรองเอาน้ำด้วยผ้าขาวบาง อัตราที่ใช้ 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 5 ลิตร ก่อนฉีดพ่นให้ผสมน้ำสบู่เล็กน้อย ช่วยให้สารสำคัญจับใบและผลกระเจี๊ยบแดงได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่งและทรงต้นสวยงาม การระบาดของเพลี้ยแป้งจะหมดไปในที่สุด
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
3
ตำบล / แขวง :
ทุ่งลูกนก
อำเภอ / เขต :
กำแพงแสน
จังหวัด :
นครปฐม
รหัสไปรษณีย์ :
73180
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 18 ฉบับที่ 370
 
http://siweb.dss.go.th/qa/search/search_description.asp?QA_ID=173
siweb.dss.go.th/qa/search/search_description.asp?QA_ID... -





ชื่อวิทยาศาสตร์   Hibiscus sabdariffa L.
ชื่อวงศ์                 MALVACEAE
ชื่ออื่น ๆ    กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบแดง, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (กลาง),
          ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง, ส้มตะเลง-เครง (ตาก), 
          ส้มปู (เงี้ยว,แม่ฮ่องสอน), ส้มเก็ง(เหนือ), 
          ส้มพอเหมาะ (เหนือ), ส้มพอดี (อีสาน) Jamaica sorrel, Sorrel,
          Roselle,Rosella, Kharkade or karkade,Vinuela, Cabitutu

ส่วนที่ใช
้   
กลีบรองดอก (calyx) หรือที่เรียกว่า ดอกกระเจี๊ยบ


การปลูก

กระเจี๊ยบแดงเป็นพืชไวแสงที่สามารถปลูกได้ทั่วไป ชอบอากาศร้อนหรือค่อนข้างร้อน ทนต่อความแห้งแล้ง และไม่ชอบน้ำขัง ใช้วิธีปลูกในแปลงปลูก โดยหยอดเมล็ดตามแถวที่ไถไว้ หยอดหลุมละประมาณ 4-5 เมล็ด ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 70 เซนติเมตร แล้วกลบดินเล็กน้อย เมื่อกระเจี๊ยบแดงเป็นต้นอ่อนอาจถอนทิ้งหลุมละ 2-3 ต้น เพื่อให้ไม่แน่นมากนัก ควรให้น้ำสม่ำเสมอในช่วง 1-2 เดือนแรก หลังจากนั้นจะปล่อยตามธรรมชาติ
     
นอกจากนี้ อาจปลูกในพื้นที่แปลงข้าวโพด เมื่อปลูกข้าวโพดแล้วประมาณ 1 เดือน โดยนำเมล็ดกระเจี๊ยบแดงผสมลงไปกับปุ๋ยข้าวโพด แล้วนำใส่เครื่องหยอดพ่วงกับรถไพเดินตาม หยอดตามช่องว่างระหว่างแถวข้าวโพด ต้นกระเจี๊ยบแดงจะเจริญเติบโตระหว่างแถวข้าวโพด เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดแล้วกระเจี๊ยบแดงอยู่ในช่วงออกดอกพอดี

พันธุ์ที่ใช้
พันธุ์ซูดานหรือพันธุ์เกษตร เนื้อหนา มีสีแดงเข้มจนถึงม่วงลักษณะกลีบเลี้ยงค่อนข้างหนา เนื้อบาง มีสีแดงสด ลักษณะกลีบเลี้ยงค่อนข้างบาง

การเก็บเกี่ยว
ควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่ คือ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวใช้เวลา 4 เดือน ถึง 4 เดือนครึ่ง ซึ่งการเก็บเกี่ยวกระเจี๊ยบแดงสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
1. เก็บเกี่ยวเฉพาะดอกกระเจี๊ยบแดง ใช้กรรไกรหรือมีดตัดเฉพาะดอกกระเจี๊ยบที่แก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยว
2. เก็บเกี่ยวทั้งต้นกระเจี๊ยบ เกษตรใช้เคียวเกี่ยวกิ่งที่มีดอกกระเจี๊ยบบริเวณโคนกิ่ง

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

ดอกกระเจี๊ยบที่เก็บเกี่ยวได้นำมากระทุ้งให้กลีบดอกและกระเปาะเมล็ดหลุดออกจากกันโดยใช้เหล็กกระทุ้ง และนำกลีบดอกที่กระทุ้งได้มาตากในภาชนะที่สะอาด ไม่มีฝุ่น ตากแดดประมาณ 5-6 วัน หรืออบให้แห้งสนิท จึงทยอยเก็บ ส่วนกระเปาะเมล็ดให้แยกตาม เมื่อแห้งสนิทให้ร่อนเมล็ดออก นำไปจำหน่ายได้เช่นกัน

สารสำคัญ

กลีบรองดอกมีสารสีแดงจำพวก anthocyanin จึงทำให้มีสีม่วงแดง เช่นสาร cyanidin, delphinidin และมีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น ascorbic acid, citric acid, malic acid และ tartaric acid กรดเหล่านี้ทำให้กระเจี๊ยบมีรสเปรี้ยว และยังพบมีวิตามินเอ Pectin และแร่ธาตุอื่น ๆ ได้แก่ แคลเซียมในปริมาณสูงฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เป็นต้น ใบและยอดอ่อนมีวิตามินเอ แคลเซียมและฟอสฟอรัสในปริมาณสูง

ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

การศึกษาในสัตว์ทดลองหรือหลอดทดลอง พบว่า สารสกัดหรือสารสำคัญของกระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์หลายประการ ดังนี้
     
1. ฤทธิ์ลดความดันโลหิต ชาชงหรือสารสกัดด้วยน้ำของกระเจี๊ยบแดงแสดงฤทธิ์ลดความดันโลหิตในหนูขาวได้ กลไกการออกฤทธิ์ส่วนหนึ่งอาจเนื่องจากฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ angiotensin converting enzyme
     
2. ฤทธิ์ลดไขมันในเลือด เมื่อให้กระต่ายที่กินไขมันสูง กินสารสกัดกระเจี๊ยบ 0.5 % หรือ 1 % นาน 10 สัปดาห์ พบว่าทำให้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ โคเลสเตอรอล และแอลดีแอล-โคเลสเตอรอลลดลงและความรุนแรงของการอุดตันของหลอดเลือดแดงใหญ่จากหัวใจน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
     
3. ฤทธิ์ต้านการเกิดพิษต่อตับ มีงานวิจัยในสัตว์ทดลอง พบว่าสารสกัดด้วยน้ำหรือสารสำคัญกลุ่ม anthocyanins และสาร protocatechuic acid ของกระเจี๊ยบสามารถลดความเป็นพิษต่อตับของสารพิษได้หลายชนิด
     
4. ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สารสกัดด้วยน้ำ และส่วนสกัด mucilage มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาว เมื่อถูกกระตุ้นให้เกิดแผลด้วยยาอินโดเมธาซิน, กรด/เอธานอล หรือความเครียด โดยการรักษาปริมาณเมือกที่เคลือบผนังกระเพาะอาหารไว้


ประสิทธิผลในการรักษาจากรายงานการวิจัยทางคลินิก ดังนี้
1.ฤทธิ์ลดความดันโลหิต
การวิจัยทางคลินิกของชาชงกระเจี๊ยบแดงในผู้ป่วย ความดันโลหิตสูงปานกลาง 54 คน เทียบระหว่างกลุ่มที่ได้ชาชงกระเจี๊ยบ (31 คน) กับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ชาชง (23 คน) พบว่าในวันที่ 12 หลังได้รับชาชง ค่าความดันโลหิตเมื่อหัวใจบีบตัวและเมื่อหัวใจคลายตัว ลดลง 11.2% และ 10.7% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับวันแรก ซึ่งแตกต่างจากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และ 3 วันหลังจากหยุดดื่มชาชงค่าความดันโลหิตทั้งสองค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
     
2. ฤทธิ์ขับปัสสาวะ
เมื่อให้ผู้ป่วย 50 ราย ดื่มผงกระเจี๊ยบ 3 กรัม ชงน้ำเดือด 1 ถ้วยแก้ว (300 ซีซี) วันละ 3 ครั้ง นาน 7 วันถึง 1 ปี พบว่า ได้ผลดีในการขับปัสสาวะ
     
3. การศึกษาในผู้ป่วยโรคทางเดินปัสสาวะ
เมื่อให้ผู้ป่วยโรคนิ่วหรือโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ เนื้องอกของต่อมลูกหมากหลังการผ่าตัด ใช้น้ำดอกกระเจี๊ยบ 3 กรัม มาชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 1 ปี พบว่า 80 % ของผู้ป่วยมีปัสสาวะใสกว่าเดิม และพบว่าทำให้ปัสสาวะเป็นกรดจึงช่วยฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะด้วย

ข้อควรระวัง

กระเจี๊ยบแดงอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ในผู้ป่วยบางราย เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบายด้วย

ขนาดที่ใช้ และวิธีใช้

ใช้เป็นยารักษาอาการขัดเบา โดยนำกลีบเลี้ยงตากแห้งบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำ 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาจะหายไป



http://learners.in.th/blog/atcha51a/422450
learners.in.th/blog/atcha51a/422450 -




กระเจี๊ยบแดง Roselle
Hibiscus sabdariffa Linn.
MALVACEAE

ชื่ออื่น กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง

ไม้พุ่ม สูง ๕๐-๑๘๐ ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ ๓ หรือ ๕ แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน ๘-๑๕ ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพู หรือเหลือง บริเวณกลางดอกมีสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้

กระเจี๊ยบเป็นพืชที่ได้รับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเมื่อประมาณปี ๒๕๑๘ พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก มีพันธุ์ซูดาน ซึ่งมีกลีบใหญ่หนา สีเหลืองถึงแดงเข้ม และพันธุ์เอส ๒๗๖๐ จากประเทศสหรัฐอเมริกา กระเจี๊ยบเป็นพืชที่ชอบดินร่วนเหนียว ทนกับการแปรปรวนของอากาศได้ดี นิยมปลูกมากที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และที่สหกรณ์หุบกระพง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี กระเจี๊ยบเป็นพืชที่ไวต่อแสงมาก เกษตรกรจะเริ่มปลูกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ลาคม และเก็บผลิตผลในเดือนธันวาคมเป็นต้นไป

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้ทดลองปลูกกระเจี๊ยบพันธุ์บราซิลที่สวนปทุม ตำบลบางแขยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี และเมื่อนำมาผลิตน้ำกระเจี๊ยบพาสเจอร์ไรส์ โดยบรรจุเป็นขวด ขนาด ๐.๕ ลิตร และ ๑ ลิตร เป็นน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรส์ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวไทยและชาวต่างประเทศเพราะสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ด้วย
 
ตำรายาไทยใช้ใบและยอดอ่อนซึ่งมีรสเปรี้ยวแก้ไอ เมล็ดบำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ มีรายงานการทดลองในผู้ป่วยโรดนิ่วในท่อไต ซึ่งดื่มยาชงกลีบเลี้ยงแห้งของผล ๓ กรัมในน้ำ ๓๐๐ ซีซี วันละ ๓ ครั้ง ทำให้ถ่ายปัสสาวะสะดวกขี้น บางรายนิ่วหลุดได้เอง นอกจากนี้ทำให้ผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีอาการปวดแสบเวลาปัสสาวะน้อยลง


กระเจี๊ยบ
(Lady's Finger)

ลักษณะ
พืชล้มลุก สูง 1-2 เมตร ลำต้นและใบมีขน ใบเป็นเดี่ยวเรียงสลับกัน กว้าง 8-25 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ ดอกมีขนาดใหญ่ กลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบดอกด้านในสีม่วงแดง ก้านชูอับเรณูมีลักษณะเป็นหลอด ผลมีลักษณะเป็นพูห้าเหลี่ยม ปลายแหลม เมื่อผลแห้งจะแตกได้ ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก

การปลูก
ปลูกด้วยเมล็ด ขุดหลุมลึกประมาณ 5 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุมๆ ละ 50 เซนติเมตร แต่ละแถวห่างกัน 70-80 เซนติเมตร หยอดเมล็ดหลุมละ 3-5 เมล็ด เมื่อเมล็ดงอกและตั้งตัวดีแล้ว (สูงประมาณ 5-10 เซนติเมตร) ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตหลุมละ 3 กรัม กระเจี๊ยบชอบแดดจัด เป็นพืชที่มีความทนทานดี


 

กระเจี๊ยบ

สรรพคุณ :
ใบ
ใช้เป็นยากัดเสมหะ แก้ไอคันคอ ขับไขมัน และเมือกในลำไส้ ให้ออกทางทวารหนัก

เมล็ด
ใช้ปรุงยาแก้ดีพิการ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ บำรุงไต ฝักหรือผล กำลังดิบ ๆ ไม่แก่เกินไป
ต้มกินบำรุงธาตุ บำรุงไต ขับปัสสาวะ ทำให้คอชุ่มเย็น ฯ

กระเจี๊ยบชื่อภาษาอังกฤษว่าroselle
ลักษณะมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้น เป็นไม้พุ่มมีลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยวบริเวณ
กลางดอก มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉำ
ตำราไทยใช้ใบและยอดอ่อนแก้ไอ เมล็ดบำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ




กระเจี๊ยบแดง

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ
กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบเปรี้ยว, ส้มพอเหมาะ(ภาคกลาง) ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง(ภาคเหนือ) ส้มตะเลงเครง(ตาก) ส้มปู(แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์
Hibiscus sabdanffa Linn.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชล้มลุก อายุเกิน 1 ปี ลำต้นและกิ่งก้านมีสีแดงอมม่วง ขอบใบหยัก ลึก 3 - 5 แฉก คล้ายนิ้วมือ ก้านใบยาว ดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ สีเหลืองหรือชมพู อดกออกตรงชอกระหว่างกิ่งและใบ เมื่อกลีบดอกร่วง กลีบเลี้ยงจะขยายใหญ่ มีลักษณะหนาและแข็ง สีแดงอมม่วง มีรสเปรี้ยว ผลสีแดงมีกลีบเลี้ยง และใบประดับหุ้มอยู่ กลีบเลี้ยงและใบ ประดับเป้นส่วนที่นำมาใช้ทำแยม และน้ำกระเจี๊ยบ

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์
กลีบเลี้ยงและใบประดับ ยอดและใบอ่อน

ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา
1. ช่วยลดความดันโลหิต
2. ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว และโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
3. ช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน
4. ช่วยระบาย
5. มีฤทธิ์ทำให้การขับกรดยูริกลดลง
6. ช่วยรักษา และป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
7. ช่วยลดอัตราการดูดซึมแอลกอฮอล์





ที่มา : www.google.com
http://202.129.0.133/createweb/00000//00000-1520.html
202.129.0.133/createweb/00000//00000-1520.html -











สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (14927 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©