หอมญี่ปุ่น

จัดอยู่ในตระกูล Alliaceae หรือ Amaryllidaceae ลักษณะทั่วไปประกอบด้วย ราก ซึ่งเป็นระบบ fibrous root และ root hair ลำต้นจริงจะมีลักษณะเป็นแผ่นอยู่ระหว่างรากและใบ ใบมีลักษณะเป็นหลอดยาว คล้ายใบหอมขนาดใหญ่ มีจำนวน 6-7 ใบต่อต้น โดยใบนอกจำนวน 4 ใบ จะเป็นใบแก่ ใบอ่อนจะอยู่ด้านในจำนวน 2-3 ใบ ลำต้นเทียม คือ ส่วนของกาบใบ(scape) ทำหน้าที่สะสมอาหารเป็นส่วนที่นำมาบริโภคซึ่งจะขยายตตัวตามยาว โดยทั่วไปลำต้นเทียมสูง 25-75 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-7 ซม. ดอกอาจผสมตัวเอง หรือผสมข้ามกับ A. cepa หรือ fistulosm ทำให้เกิดสายพันธุ์ใหม่หลายสายพันธุ์

การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และการแยกกอ


สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
ดินที่เหมาะสมกับหอมญี่ปุ่นควรร่วนซวย หรือร่วนปนทราย หน้าดินลึก ระบายน้ำได้ดี และมีอินทรีย์วัตถุสูง ไม่สามารถเจริญได้ดีในดินที่เป็นกรดจัด pH ที่เหมาะสมคือ 0.6-6.8 ในดินที่มี pH ต่ำ ควรใส่ปูนขาวปรับสภาพดิน ต้นหอมปกติจะไม่ลงหัว แต่ในกรณีที่มีช่วงแสงยาวกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน และมีอุณหภูมิสูงกว่า 20 ‘C หัวจะเจริญแต่จะมีขนาดเล็กไม่เกิน 10 ซม. และเมื่อผ่านอุณหภูมิต่ำกว่า 13 ‘C และช่วงแสงสั้น พืชจะแทงช่อดอก ส่วนในเขตร้อนดอกจะไม่เจริญ สภาพแปลงปลูกควรได้รับแสงอย่างเต็มที่

การใช้ประโยชน์ และคุณค่าทางอาหาร
ส่วนที่นำมาบริโภคของหอมญี่ปุ่น คือลำต้นเทียมที่มีลักษณะกลมยาวสีขาว ประกอบด้วย provitamin A และ C ในสภาพอุณหภูมิต่ำ จะประกอบด้วยน้ำตาล และโปรตีนสูง สารระเหยในพืชตระกูลหอมส่วนใหญ่ คือ propyl disulfide และ
methyl disulfide สารกระตุ้นต่อมน้ำตา(lachrymator inducing compound) คือ thiopropanal sulfoxide


การปฏิบัติดูแลรักษาระยะต่าง ๆ ของการเจริญเติบโต

การเตรียมกล้า

  1. การเตรียมแปลงเพาะกล้า ในฤดูฝนควรอยู่ภายใต้หลังคาพลาสติก สำหรับ ฤดูร้อน/หนาวใช้อุโมงตาข่าย
  2. ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ใส่ปุ๋ยรองพื้น ดังนี้
    • ปุ๋ย 12-24-12 ปริมาณ 30 กรัม/ตร.ม.
    • ปูนขาว ปริมาณ 30 กรัม/ตร.ม.
    • ปุ๋ยคอก(มูลไก่ไม่ควรใช้มูลไก่อัดเม็ด) ปริมาณ 1ก.ก./ตร.ม. คลุกให้ทั่วแปลง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
  3. การบ่มเมล็ด โดยการแช่เมล็ดในน้ำผสมยากันรา นาน 15 นาที ผึ่งเมล็ดไว้ประมาณ 30 นาที แล้วห่อด้วยผ้าไว้ 1 คืน นำเมล็ดที่บ่มแล้ว หยอดในแปลงเพาะกล้า
  4. ขีดร่องขวางแปลงลึก 1 ซม. ห่าง 10 ซม. หยอดเมล็ดที่บ่มแล้วห่างกัน 1 ซม. กลบดินบางๆ แล้วคลุมด้วยฟาง
  5. ควรรดน้ำวันละ 1 ครั้ง เมื่อมีอายุได้ 2 เดือน จึงย้ายปลูก หรือสังเกต เส้นผ่านศูนย์์กลาง ของลำต้นเทียมประมาณ 8 มิลลิเมตร(ลำต้นเท่ากับดินสอ) ควรใส่ปุ๋ยเคมี เช่น 15-15-15 และยูเรีย เมื่ออายุได้ 25 และ 50 วัน
  6. กล้าสำหรับย้ายปลูกตัดปลายให้สูงกว่ายอด 2 ซม. ตัดรากเหลือ 1 ซม. แช่รากในน้ำผสม ไดเทนเอ็ม 45 นาน 10 นาที ก่อนย้ายปลูก

การเตรียมดิน
ให้ขุดพลิกดินตากแดดอย่างน้อย 14 วัน เพื่อฆ่าเชื้อในดิน กำ่จัดวัชพืช หากสภาพดินเป็นกรด ควรใส่ปูนขาวอัตรา 100-200 กก./ไร่


การปลูก
หลังจากเตรียมแปลงปลูกเรียบร้อยแล้ว ก่อนปลูกควรรดน้ำให้แปลงมีความชุ่มชื่น แล้วทำการปลูก โดยขุดร่องลึก 30 ซม. ห่างกัน 80 ซม. เลือกต้นกล้าที่มีขนาดเท่ากันปลูกก่อนในแปลงเดียวกัน กลบดินรดน้ำให้ทั่วแปลง


การใส่ปุ๋ย
หลังปลูก 20 วัน โรย 21-0-0 และ 15-15-15 อัตรา 20 กรัม/ตร.ม. ลงในร่องปลูก แล้วกลบดิน พูนโคน อายุได้ 40 วัน โรยปุ๋ย 15-15-15 แล้วกลบดินพูนโคนต้นถึงระดับใบล่าง


การเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวเมื่ออายุได้ 60-80 วัน หัวมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7-8 ซม. เลือกหัวที่มีทรงกลม ไม่มีรอยแตก หรือรอยแผล ตัดใบออกให้เหลือก้านใบไม่เกิน 3 ซม. ล้างให้สะอาด แ้ล้วพึ่งให้แห้ง


โรค แมลงศัตรู ที่สำคัญของหอมญี่ปุ่นในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

ระยะกล้า 0-60 วัน .......โรคโคนเน่า, โรครากปม,

ระยะปลูก-ปลูกซ่อม 60-70 วัน .....โรคโคนเน่า, โรคราสนิม, โรครากปม, โรคใบจุดสีม่วง, เพลี้ยไฟ
ระยะพูนโคนครั้งที่ 1 80-90 วัน ....โรคราสนิม, โรครากปม, โรคใบจุดสีม่วง, เพลี้ยไฟ

ระยะพูนโคนครั้งที่ 2 100-120 วัน ....โรคราสนิม, โรครากปม, โรคใบจุดสีม่วง, เพลี้ยไฟ

ระยะเก็บเกี่ยว 130-150 วัน .....โรคราสนิม, โรครากปม, โรคใบจุดสีม่วง, เพลี้ยไฟ



ต้นทุนการผลิต และปริมาณผลผลิต


รายการ

ฤดูฝน

ฤดูหนาว

ฤดูแล้ง

แรงงานเตรียมดิน

305.04

400

356

แรงงานปลูก

150.08

150

195

มูลค่าแปลงเพาะ

551.52

500

540

แรงงานให้น้ำ

272.01

500

1,026

แรงงานใส่ปุ๋ยเคมี

99.74

100

160

มูลค่าปุ๋ยเคมี

560.41

300

331

มูลค่าปุ๋ยคอก

152.33

200

114

แรงงานพ่นยาฆ่าแมลง, ฆ่าเชื้อรา

145.53

100

93

มูลค่ายาฆ่าแมลง, ฆ่าเชื้อรา

97.74

100

31

แรงงานดายหญ้า

290.72

100

123

แรงงานเก็บเกี่ยวและขนย้าย

249.17

100

368

ต้นทุนเฉลี่ย(บาท/งาน)

2,908.59

3,898.71

3,686.22

ผลผลิตเฉลี่ย(กก./งาน)

390.97

400

430

ต้นทุนเฉลี่ย(บาท/กก.)

7.44

9.70

8.56





ที่มา :
- http://www.tastythai.in.th
- คู่มือการปลูกผักบนพื้นที่สูง