-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 564 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารสมุนไพร






รอบรู้เรื่อง  แมลง-โรค-หนอน




     รอบรู้เรื่องแมลง

     - แมลงปากกัด หมายถึง แมลงที่ทำลายส่วนต่างๆของพืชโดยการกัดแล้วกินส่วนนั้นของพืชโดยตรง
     - แมลงปากดูด หมายถึง แมลงที่ทำลายส่วนต่างๆของพืชโดยการใช้กาดกัดก่อนแล้วจึงดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชนั้น
     - แมลงกลางวัน หมายถึง แมลงที่ออกหากินช่วงตอนกลางวัน เข้าหาพืชเป้าหมายโดยใช้สายตาในการเดินทาง นอกจากเข้าทำลายพืชโดยตรงแล้ว ยังอาศัยวางไข่อีกด้วย

     - แมลงกลางคืน หมายถึง แมลงที่ออกหากินตอนกลางคืน ช่วงหัวค่ำ 19.00-21.00  น. และช่วงก่อนสว่าง 05.00-06.00 น. เดินทางเข้าหาพืชเป้าหมายโดยการใช้ประสาทสัมผัสกลิ่น ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าทำลายพืชโดยตรงแต่จะอาศัยวางไข่เท่านั้น มีเพียงส่วนน้อยที่เข้าทำลายพืชโดยการกัดกินโดยตรง

     - แมลงขยายพันธุ์โดยการออกไข่ จากนั้นไข่จะฟักออกเป็นตัวหนอน และหนอนคือตัวทำลายพืชโดยตรง จากนั้นหนอนจะเจริญเติบโตกลายเป็นแมลงต่อไป

     - แมลงไม่ชอบวางไข่บนส่วนของพืชที่ชื้น เปียกแฉะ เพราะรู้ว่าความเปียกชื้นหรือแฉะนั้น  นอกจากจะทำให้ไข่ฝ่อฟักไม่ออกแล้วยังเกาะส่วนของพืชไม่ติดอีกด้วย

     - แมลงไม่ชอบวางไข่ในบริเวณที่แสงแดดส่องถึงเพราะรู้ว่า ถ้าวางไข่ไว้ในที่โล่งแจ้ง แสงแดดส่องถึงจะทำให้ไข่ฝ่อไม่อาจฟักออกเป็นตัวหนอนได้ จึงเลือกวางไข่บริเวณใต้ใบพืช ซอกเปลือก เศษซากพืชคลุมโคนต้น หรือไต้พื้นดินโคนต้น

     - แมลงกลางวันเดินทางด้วยการมองเห็น แก้วตาของแมลงมีเลนส์ 200,000 ช่อง ลูกนัยน์ตาของแมลงจึงไม่กลิ้งไปมาได้เหมือนนัยตาคนหรือสัตว์อื่นๆ  ถ้าส่วนของพืชเป้าหมายของแมลงกลางวันเปียกน้ำหรือมีสารคล้ายน้ำมันสะท้อนแสงได้เคลือบทับอยู่จะทำให้ภาพการมองเห็นของแมลงผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง แมลงก็จะไม่เข้าหาพืชเป้าหมายนั้น

     - แมลงกลางคืนเดินทางด้วยประสาทสัมผัสกลิ่นหรือดมกลิ่น ทั้งนี้ประสาทสัมผัสกลิ่นของแมลงสูงกว่าคน 600,000 เท่า (สารคดีดิสคัพเวอรี่) ถ้ากลิ่นพืชเป้าหมายผิดเพี้ยนหรือเปลี่ยนไปจากความเป็นจริงเนื่องจากมีกลิ่นพืชอื่นเคลือบอยู่ แมลงจะเข้าใจผิดไม่เข้าหาพืชเป้าหมายนั้น

     - แมลงกลางวันชอบเข้าหาวัสดุที่มีสีเหลือง และสีฟ้า ส่วนแมลงกลางคืนชอบเข้าหาแสงสีม่วงและแสงสีขาว แต่ไม่ชอบเข้าหาแสงสีเหลืองหรือแสงสีส้ม

     - แมลงบินตลอดเวลา ประสาทความรู้สึกเร็วมากทันทีที่รู้ว่าจะมีอันตรายเป็นต้องบินหนีทันที จากลักษณะทางธรรมชาติแบบนี้ทำให้ไม่สามารถกำจัดแมลงด้วยวิธีการ “ฉีดพ่น” ใดๆได้ทั้งสิ้น ในความเป็นจริงนั้น แมลงใดๆที่ปีกเปียกจะไม่สามารถขึ้นบินได้ นั่นหมายความว่า แม้แต่น้ำเปล่าก็สามารถกำจัดแมลงได้ แต่มีข้อแม้ว่าต้องฉีดพ่นให้ปีกเปียก

     - แมลงมีช่วงหรือฤดูกาลแพร่ระบาด นั่นคือ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับสภาพอากาศ  (อุณหภูมิ/ความชื้น)มีผลอย่างมากต่อวงจรชีวิตแมลง (เกิด – กิน – แก่ – เจ็บ – ตาย – ขยายพันธุ์)
การรู้ล่วงหน้าถึงฤดูกาลแพร่ระบาดแล้วใช้มาตรการ “ป้องกัน” หรือ “ขับไล่” จึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อเอาชนะแมลง
 
     - แมลงบางอย่างมีปีกแต่ไม่สามารถใช้บินเป็นระยะทางไกลๆได้ แมลงประเภทนี้จะพึ่งพาสายลมช่วยพัดไป หรือมีสัตว์อย่างอื่นเป็นพาหะเพื่อการเดินทาง
 
     - แมลงหายใจทางรูขุมขน หรือ ต่อมบนผิวหนัง แมลงตัวเล็กๆหรือเล็กมากๆ เมื่อถูกสารประเภทน้ำมันเคลือบบนลำตัว จะทำให้หายใจไม่ออกแล้วตายได้ ส่วนแมลงขนาดใหญ่ เมื่อได้สัมผัสกับกลิ่นที่เป็นสารออกฤทธิ์สำหรับแมลงก็ทำให้แมลงตายได้เหมือนกัน

     - เทคนิคเอาชนะแมลงที่ดีที่สุด คือ “ไล่” ด้วยกลยุทธ “กันก่อนแก้” เท่านั้น  


       รอบรู้เรื่องหนอน
     - หนอนเกิดจากไข่ของแม่ผีเสื้อกลางคืน(มาหัวค่ำหรือก่อนสว่าง)ถ้าขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่ได้หรือทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อจนฟักไม่ออก ก็ถือเป็นการกำจัดหนอนได้อีกทางหนึ่ง

     - หนอนไม่ชอบแสงแดดหรือแสงสว่าง จึงออกหากินตอนกลางคืน ส่วนตอนกลางวันจะหลบซ่อนอยู่ตามซอกหลืบหรือใต้ใบพืช หรือเข้าไปอยู่ภายในส่วนของพืชโดยการเจาะเข้าไป

     - อายุหนอนเริ่มตั้งแต่ออกจากไข่ถึงเข้าดักแด้ 10-15 วัน แบ่งออกเป็น 5 วัย จากวัยหนึ่งไปสู่วัยหนึ่งต้องลอกคราบ 1 ครั้งเสมอ ถ้าไม่ได้ลอกคราบหรือลอกคราบไม่ออก หนอนตัวนั้นจะตายในคราบ

     - หนอนที่ขนาดลำตัวโตเท่าก้านไม้ขีด ลำตัวด้านข้างมีลายตามยาวจากหัวถึงหาง และที่ลำตัวด้านบนมีขนขึ้น เป็นหนอนที่มีความทนทานต่อสารเคมีอย่างมาก เรียกว่า “ดื้อยา” ซึ่งจะไม่มีสารเคมีใดที่ใช้ตามอัตราปกติทำร้ายมันจนตายได้

     - หนอนทุกชนิดแม้จะดื้อยา (สารเคมี) แต่จะไม่มีความสามารถดื้อต่อเชื้อโรค (ยาเชื้อ) เช่น บีที. บีเอส. เอ็นพีวี. ไส้เดือนฝอย. ได้เลย
       สาร “ท็อกซิกซ์”  ที่เกิดจากจุลินทรีย์กลุ่มบาซิลลัส.ประเภทไม่ต้องการอากาศ ก้นถังหมักน้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง หมักนานข้ามปีถึงหลายๆปี เป็นพิษต่อหนอน สามารถทำให้หนอนหยุดกินอาหาร (ทำลายพืช)และลอกคราบไม่ออก ไม่เข้าดักแด้ ทำให้หนอนตายได้

     - สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรหลายชนิด มีพิษต่อหนอนโดยทำให้หนอนไม่กินอาหาร ไม่ลอกคราบ ไม่เข้าดักแด้ จึงทำให้หนอนตายได้

     - ต้นไม้ผลที่ทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดส่องผ่านจากยอดลงถึงพื้นดินโคนต้นได้ แสงแดดร้อนทำให้หนอนอยู่ไม่ได้ จนกระทั่งตายไปเอง
 
     - หนอนเลือกกินพืชแต่ละชนิดถือเป็นสัญชาติญาณของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ การเคลือบพืชที่หนรอนชอบกินด้วยรสของพืชอื่นที่หนอนไม่กิน จะทำให้หนอนไม่ได้กินอาหาร หนอนก็ตายได้เช่นกัน
 
     - หนอนเป็นสัตว์เหมือนกับกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆในโลกย่อมต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อการดำรงชีวิต มาตรการทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมเปลี่ยนแปลง จนเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม  หนอนก็อยู่ไม่ได้หรือตายไปในที่สุด 

     - หนอนที่เจาะส่วนของพืชแล้วเข้าไปแฝงตัวอยู่ในซึ่งเป็นแหล่งอาหาร เช่น หนอนเจาะยอดหนอนเจาะดอก หนอนเจาะผล หนอนเจาะต้น ฯลฯ  แม้สรีระของหนอนจะไม่แข็งแรงนัก แต่ก็ยากที่จะทำอันตรายต่อตัวหนอนนั้นได้โดยง่าย เปรียบเสมือนมีแหล่งกำบังอย่างแข็งแรง มาตรการกำจัดจึงไม่อาจนำมาใช้ได้ จำเป็นต้องใช้มาตรการอื่นแทน เช่น ป้องกันแม่ผีเสื้อเข้าวางไข่ กำจัดไข่แม่ผีเสือให้ไม่สามารถฟักออกเป็นตัวหนอนได้หรือห่อผล เท่านั้น

     - หนอนกออ้อย เกิดและแพร่ระบาดได้ดีเมื่อมีการใช้ปุ๋ยเคมีมากๆ ..(นักวิชาการนิคารากัว)

     - หนอนและแมลง รู้และชอบที่จะเข้าทำลายพืชที่อ่อนแอมากกว่าพืชที่สมบูรณ์แข็งแรง   และเชื้อโรคสามารถแพร่ระบาดในพืชที่ไม่สมบูรณ์หรืออ่อนแอได้ดีและเร็วกว่าในพืชที่สมบูรณ์แข็งแรง...(สารคดีดิสคัพเวอรี่) 



      
รอบรู้เรื่องโรค
     - เชื้อโรคพืชในดินสามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติเมื่อสภาพแวดล้อม (ดิน-น้ำ) มีความเป็นกรดจัดหรือด่างจัด  และเชื้อโรคในดินจะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้เลยหรือตายไปเองเมื่อสภาพแวดล้อม (ดิน-น้ำ) เป็นกลาง

     - การใส่สารเคมีกำจัดเชื้อโรคลงไปในดิน เมื่อใส่ลงไปเชื้อโรคในดินก็ตายได้ในทันที  ครั้นสารเคมีนั้นหมดฤทธิ์  เชื้อโรคชุดใหม่ก็จะเกิดขึ้นมาแทน  "เกิดใหม่ใส่อีก-เกิดอีกก็ใส่ใหม่"  เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ  เรียกว่า  ใส่ทีก็ตายไปที  ตายแล้วก็เกิดใหม่ขึ้นมาแทน  สาเหตุที่เชื้อชุดใหม่เกิดขึ้นมาแทนได้ทุกครั้งก็เพราะ  "ดินยังเป็นกรดหรือด่างจัด"  อยู่นั่นเอง  ในเมื่อสารเคมีที่ใส่ลงไปในดินส่วนใหญ่หรือเกือบทุกตัวมีสถานะเป็นกรด  มีเพียงบางตัวหรือส่วนน้อยเท่าที่นั้นที่เป็นด่าง  เมื่อใส่สารที่เป็นกรดลงไป  จากดินที่เป็นกรดอยู่ก่อนแล้วจึงเท่ากับเพิ่มความเป็นกรดให้กับดินหนักขึ้นไปอีก  หรือดินที่เคยเป็นด่างอยู่แล้ว  เมื่อใส่สารที่เป็นด่างเพิ่มลงไป  จึงกลายเป็นเพิ่มความเป็นด่างของดินให้หนักยิ่งขึ้น......ปุ๋ยเคมีทางราก  ทุกตัวทุกสูตรมีสถานะเป็นกรด  การใส่ปุ๋ยเคมีลงไปมากๆ บ่อยๆ ย่อมเกิดการสะสมอยู่ในเนื้อดินเนื่องจากพืชนำไปใช้ไม่หมด  เมื่อดินเป็นกรดจึงเกิดเชื้อโรคในดินเป็นธรรมดา

     - เชื้อโรคในดินเข้าสู่ลำต้นแล้ว  ส่งผลให้เกิดอาการยางไหล  เถาแตก  ใบเหี่ยว  ยอดกุด  ต้นโทรม  แคระแกร็น  ดอกผลไม่สมบูรณ์

     - เชื้อโรคที่เข้าทำลายส่วนต่างๆของพืชที่อยู่เหนือดินนั้น  เป็นเชื้อโรคที่เกิดจากดินทั้งสิ้น  จากเชื้อในดินเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเจริญพัฒนาแตกตัวเป็นสปอร์ล่องลอยไปตามอากาศ  เมื่อเกาะยึดส่วนของพืชได้ก็จะซึมแทรกเข้าสู่เนื้อพืชนั้น......เชื้อบางตัวอาศัยอยู่กับหยดน้ำฝน (เรียกว่า ราน้ำฝนหรือแอ็นแทร็คโนส) หรือหยดน้ำค้าง (เรียกว่า ราน้ำค้าง)  ซึ่งทั้งน้ำค้างและน้ำฝนต่างก็มีสถานะเป็นกรดอ่อนๆ  เมื่อหยดน้ำฝนหรือหยาดน้ำค้างแห้ง  เชื้อโรคเหล่านั้นก็จะซึมแทรกเข้าสู่ภายในสรีระของพืชต่อไป

    - เชื้อโรคพืชมี 3 กลุ่มใหญ่ๆ  ประกอบด้วย  "รา - แบคทีเรีย - ไวรัส"  เป็นหลัก
 
    - ลักษณะหรืออาการพืชที่ถูก  "เชื้อรา"  ทำลาย  บริเวณกลางแผลจะแห้ง  ไม่มีกลิ่น  ขอบแผลฉ่ำเล็กน้อย  แผลจะลุกลามขยายจากเดิมจนมีขนาดใหญ่ขึ้น  พร้อมกับเกิดแผลใหม่ทั้งบริเวณใกล้เคียงและห่างออกไป.....เชื้อตัวนี้มักเกิดเองจากดินที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม

    - ลักษณะหรืออาการพืชที่ถูก  "เชื้อแบคทีเรีย"  เข้าทำลาย  บริเวณกลางแผลจะเปียกฉ่ำเละและมีกลิ่นเหม็น  แผลจะลุกลามขยายจากแผลเดิมจนมีขนาดใหญ่ขึ้น  พร้อมกับเกิดแผลใหม่ทั้งบริเวณใกล้เคียงและห่างออกไป......เชื้อตัวนี้มักเกิดเองจากดินที่สถภาพแวดล้อมเหมาะสม
 
    - ลักษณะหรืออาการพืชที่ถูก  "เชื้อไวรัส"  เข้าทำลาย  บริเวณถูกทำลายจะลายด่าง  ขาวซีด  เป็นทางยาวตามความยาวของส่วนของพืช  หรือไม่มีรูปทรงที่แน่นอน  ขึ้นอยู่กับลักษณะของพืชส่วนที่เชื้อเข้าทำลาย.....เชื้อตัวนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุ์กรรม  กับบางส่วนมีแมลงเป็นพาหะ

    - เชื้อโรคพืชมักเข้าทำลายแล้วขยายเผ่าพันธุ์ตามส่วนของพืชที่เป็นร่มเงา  มีความชื้นสูง  และเชื้อมักไม่ชอบแสงแดดหรือบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง......เชื้อตัวนี้มักไม่เกิดจากดิน

    - เชื้อโรคพืชหลายตัวที่ยังไม่มีแม้สารเคมีชนิดใดกำจัดได้  เช่น  โรคตายพรายกล้วย.  โรคใบแก้วส้ม.  โรคยางไหล.  โรคใบด่างมะละกอ.  โรคใบขาวอ้อย.  โรคกระเจี๊ยบใบด่าง.  โรคเถาแตก.  ฯลฯ  เชื้อโรคเหล่านี้มิได้เกิดเฉพาะในพืชที่กล่าวถึงเท่านั้น  ยังสามารถเกิดกับพืชอื่นๆ ได้อีกด้วย

    - โรคไม่มีเชื้อ  หมายถึง  พืชมีลักษณะอาการเหมือนเป็นโรคที่เกิดจาก รา-แบคทีเรีย-ไวรัส  แต่ในความเป็นจริงนั้นเกิดจากการ  "ขาดสารอาหาร"  ซึ่งการแก้ไขย่อมแตกต่างจากโรคที่มีเชื้ออย่างแน่นอน
 
    - ทั้งโรคมีเชื้อและไม่มีเชื้อจะไม่สามารถทำลายพืชได้  หรือทำลายได้แต่เพียงเล็กน้อย  ไม่ถึงระดับ  "สูญเสียทางเศรษฐกิจ"  หากพืชมีสมบูรณ์แข็งแรงแล้วเกิดเป็นภูมิต้านทานสู้กับเชื้อโรคเหล่านั้นได้






โรคมีเชื้อ .... หมายถึง  เชื้อที่มีตัวตน มองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทัศน์ หรื่อสายตาเปล่า

โรคไม่มีเชื้อ
..... คือ  โรคขาดสารอาหาร  สภาพแวดล้อม (ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก) ใม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-09 (8573 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©