การประยุกต์ใช้สมุนไพรในการป้องกันและกำจัดแมลง
The Application of Herbs to repellent and insectiside สมชาย ผลดีนานาSomchai Pholdeenana ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยDepartment of Physiology, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University
ABSTRACTIn recent years, insect control has become a major problem in our home, gardens, farm as well as pets. Chemical repellents and insecticides caused many problem such as animal and human irritation, environmental pollution and others. There is a tendency to replace chemical substance with herbal (natural) substance.In the earliest time, the herbal repellent and insecticides substances were extracted from plants. However, only a few have been found to posses useful commercial properties. Later on, men can synthesize chemical substances which has similar mode of action like herbal substance and they use in nowadays.Many of repellents herbs consist of volatile oil for example eucalyptus oil, geraniol oil. The odor of these oil make bad smell particularly for insects and keep them away from being exposed.Plant which compose of rotenone, anonanine,stemonine and pyrethrum can be used as insecticide, Now these natural substance from herbs were widely used because they were neither harmful to animal and human nor affecting enviromental pollution. Moreover, men can synthesize. Pyrethroid and they use in many ways such as in farm, agriculture and pet products
บทคัดย่อ
ปัญหาการควบคุมแมลง เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในทุกสถานที่ ของทุกประเทศ และยิ่งมีการใช้ สารเคมีมากขึ้นเท่าใด ก็พบว่ายิ่งทำให้เกิดผลข้างเคียงเกิดขึ้นกับสัตว์ และมนุษย์มากขึ้นเท่านั้น ผลของสารเคมียังทำให้สภาพแวดล้อมเสียหายไปด้วย
จากปัญหาเหล่านี้ทำให้คนเราเริ่มตระหนักถึงความปลอดภัยมากขึ้น และหันมาสนใจกับธรรมชาติ ดังนั้นสมุนไพร จึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่มนุษย์เราให้ความสำคัญ
มนุษย์รู้จักสมุนไพรกันมานานแล้ว และสกัดสารที่อยู่ในสมุนไพรมาใช้ ในด้านการป้องกันแมลงก็โดยอาศัยกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ ซึ่งมักจะเป็นน้ำมันหอมระเหย เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส ส่วนด้านการกำจัดแมลงมีสารหลายตัว เช่น โรติโนน ไพรีทริน สารเหล่านี้มักออกฤทธิ์ในด้านการสัมผัส
ในปัจจุบันมีการสังเคราะห์สารไพรีทรอยด์เลียนแบบสารไพรีทริน ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการมีมากไม่พอใช้ เช่น สารเปอร์มีธริน ฟลูมิธริน และนำมาใช้ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตร ปศุสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์ทางด้านสัตว์เลี้ยงการประยุกต์ใช้สมุนไพรในการป้องกันและกำจัดแมลง
สมุนไพรตามพระราชบัญญัติ หมายถึง ยาที่ได้จากพืช สัตว์ แร่ธาตุ จากธรรมชาติที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างภายใน สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคต่าง ๆ และบำรุงร่างกายได้ การใช้ประโยชน์จากสมุนไพร ก็โดยการใช้สารเคมีที่อยู่ในสมุนไพร ซึ่งสามารถนำประโยชน์มาใช้ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหารและยา ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการต้องศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับสมุนไพร ซึ่งเราควรจะต้องเข้าใจ
1. ด้านพฤกษศาสตร์ ( Morphology and anatomy )
ควรรู้จักส่วนต่าง ๆ ของสมุนไพรโดย- รู้จักลักษณะภายนอก (Organoleptic examination) ต้องสังเกตุดูรูปร่าง (Shape) ขนาด (Size) สี (Color) กลิ่น (Odor) และ รส (Taste) เพื่อให้คุ้นเคยและชำนาญกับ สมุนไพรนั้นทั้งสดและแห้ง- รู้ลักษณะเนื้อเยื่อภายใน (Microscopic Examination) โดยการตัดชิ้นส่วนแต่ละส่วนมาศึกษา อาจทำโดยการส่องกล้อง หรือบดแล้วทดสอบ
2.องค์ประกอบต่าง ๆ ของสารภายในพืชสมุนไพร (Constituents in crude drugs)
ซึ่งปัจจุบันมีการศึกษาหาส่วนประกอบในพืชสมุนไพรได้หลายชนิด โดยที่องค์ประกอบเหล่านี้ส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับรส และสรรพคุณของสมุนไพรนั้น อย่างไรก็ตาม ถ้าสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ส่วนประกอบก็อาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างเช่นกัน ตามปกติหรือตามธรรมชาติของพืชนั้นในแต่ละต้นจะมีสรรพคุณไม่เท่ากันอาจเป็นเพราะลำต้นมีน้ำหล่อเลี้ยงลำต้นที่ไม่สม่ำเสมอกันโดยพบว่า
- ราก สรรพคุณ แรงกว่าต้น
- แก่น สรรพคุณ แรงกว่าเปลือกต้น
- เปลือกต้น สรรพคุณ แรงกว่ากระพี้
- กระพี้ สรรพคุณ แรงกว่าใบแก่
- ใบแก่ สรรพคุณ แรงกว่าใบอ่อน
- ดอกแก่ สรรพคุณ แรงกว่าดอกอ่อนแต่เสมอใบอ่อน
- ลูก(ฝัก)แก่ สรรพคุณ แรงกว่าลูก (ฝัก) อ่อนแต่เสมอเปลือกต้น
3. ควรรู้ชื่อวิทยาศาสตร์ของสมุนไพรนั้น (Scientific names)
ประกอบด้วย จีนัส (Genus) สปีซีส์ (Species) เนื่องจากการใช้ชื่อพื้นเมืองอาจเกิดความสับสนได้ เพราะแต่ละประเทศหรือแม้แต่ประเทศเดียวกัน ซึ่งอาจเรียกแตกต่างกันก็ได้
4. ควรรู้วิธีการเก็บพืชสมุนไพร (Preparation of crude drugs)
การเก็บควรมีความรู้ทางสรีรวิทยา และขบวนการชีวะสังเคราะห์ในพืช ซึ่งจะทำให้สารสำคัญที่มีคุณค่าในทางบำบัด และบรรเทาอาการของโรคในปริมาณที่สูงสด เช่น ต้นมินท์ ควรเก็บขณะที่ดอกกำลังบานเพื่อให้ได้ปริมาณน้ำหอมระเหยสูง
- ถ้าพืชสมุนไพรส่วนราก เก็บตอนที่หยุดสร้างอาหารแล้ว โดยมีการสะสมอาหารที่รากหรือในขณะที่มีดอก
- ถ้าพืชสมุนไพร ที่เป็นเปลือก เก็บตอนก่อนที่จะเริ่มผลิใบใหม่ ถ้ากิ่งหรือใบใหม่ผลิออกสารที่เปลือกจะถูกลำเลียงใบเลี้ยงส่วนใหม่
- ถ้าพืชสมุนไพรที่เป็นใบ เก็บก่อนหรือเริ่มออกดอก และเก็บในเวลากลางวัน อากาศ เนื่องจากมีปฏิบัติกิริยาการสงเคราะห์สูงสุดสารต่าง ๆ ยังสะสมอยู่ที่ใบไม่ทันได้ลำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช
- ถ้าพืชสมุนไพรที่เป็นดอก ให้เก็บเมื่อดอกเจริญเต็มที่ก่อนหรือหลังการปฏิสนธิ คือ ดอกตูมหรือแรกแย้ม
- ถ้าพืชสมุนไพรที่เป็นผล เก็บเมื่อผลโตเต็มที่แล้วแต่ยังไม่สุก ถ้าผลสุกงอมสารต่าง ๆ อาจถูกทำลายไป และนำไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของเมล็ดซึ่งจะเจริญต่อไป เป็นตัวอ่อน
- ถ้าพืชสมุนไพรที่เป็นเมล็ด เก็บเวลาที่ผลสุกงอมเต็มที่ ซึ่งเป็นตอนที่เป็นเมล็ดแก่มีสารสำคัญสะสมอยู่มาก
- หลังจากเก็บส่วนต่าง ๆ ของพืชสมุนไพร ควรทำความสะอาดให้หมด (Garbling) เช่น ส่วนราก หัว เหง้า เวลาขุดหรือถอนจากดินต้องระวัง ไม่ให้ช้ำ ล้างดินหรือโคลนที่ติดมาออกให้หมด และเอาส่วนที่ไม่ต้องการออก เช่น รากฝอย
5. ต้องรู้จักวิธีทำให้พืชสมุนไพรแห้ง (Drying of Crude Drugs)
จุดประสงค์ของการทำก็เพื่อให้ตัวยาที่มีประสิทธิภาพ ไม่ให้สลายตัว หรือ เสื่อมประสิทธิภาพ วิธีง่าย ๆ ก็ทำได้โดยการตากแดดให้แห้งหรือใช้เตาอบประมาณ 50-60 องศาเซลเซียล แต่ถ้าเป็นพืชที่มีสารพวกน้ำมันหอมระเหยต้องผึ่งลม และถ้าเป็นพืชที่อวบน้ำ ถ้าใช้เตาอบไม่ควรเกิน 60 องศาเซลเซียล6.
วิธีการเก็บรักษาพืชสมุนไพร (Storage of crude drugs )
ควรเก็บในสภาวะที่เหมาะสมกับพืชสมุนไพรนั้น ๆ การเก็บที่เหมาะสมควรเก็บในที่ปราศจากความชื้น เพื่อให้พืชมีคุณค่าในการออกฤทธิ์และเก็บได้นาน แต่ถ้าเป็นพืชที่มีคุณสมบัติ ในการดูดความชื้น ก็ควรปิดฝาให้สนิท และถ้าสมุนไพรบางชนิดมีอาหารสะสมมาก เช่น มีแป้งมาก แมลงชอบกัดกิน ก็ควรต้องป้องกันอย่างระมัดระวังด้วย
องค์ประกอบของสารภายในพืชสมุนไพร (Constituents in crude drugs )
ประกอบด้วย
1. สารประกอบพื้นฐาน (Primary constituents)เป็นองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปที่มีอยู่ในพืช เช่น คาร์โบไฮเดรท น้ำตาล และ แป้ง
2. สารประกอบเชิงซ้อน (Secondary constituents) คือ ส่วนประกอบที่มีอยู่ในพืชบางชนิด ซึ่งอาจจะมีมากและน้อย หรือไม่มีในพืชนั้น ๆ เช่น กรด แทนนิน อัลคอลลอยด์ ไกลโคซายด์ น้ำมันหอมระเหย เรซิน กัม โอลิโอเรซิน สารเมือก ลาเท๊ส
- กรด (Acid) มักพบในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว มักเป็นกรดอินทรีย์ เช่น Ascorbic acid (Vitamin Citric acid)
- แทนนิน (Tannin) พบในพืชทั่ว ๆ ไป มีรสฝาด สำหรับใช้สมานแผล มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการท้องร่วงหรือกันไม่ให้สารบางชนิดบูด
- อัลคอลลอยด์ (Alkaloid) เช่น พวกมอร์ฟีน นิโคติน
- ไกลโคซายด์ (Glycosides) เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรง มีส่วนประกอบของน้ำตาลและส่วนที่ไม่ใช่น้ำตาล ถ้าใช้ในขนาดที่เหมาะสมจะเป็นยารักษาโรค ถ้ามากเกินไปอาจทำให้เสียชีวิตได้ เช่น ไดโจโทซิน (Digitoxin) พวกไกลโคซายด์ จะถูกสลายตัวโดยเอ็นไซด์ ให้กรด ซึ่งเป็นอันตราย ทำให้มึนงงหรือสลบได้ ดังนั้นก่อนจะรับประทานพืชที่มีสารนี้ต้องนำมาดองหรือหุงต้มก่อน เพื่อทำลายเอ็นซายด์ให้หมด เช่น ผักเสี้ยน
- น้ำมันหอมระเหย (Volatile oils) มีอยู่ในพืชบางชนิด มีกลิ่นหอม สามารถนำมาแต่งกลิ่นอาหาร ยา หรือเป็นยาค่าเชื้อโรคได้ เช่น ยูคาลิปตัส
- เรซิน (Resin) เป็นสารสีเหลืองโปร่งใสและโปร่งแสงที่พบในเซลล์พืช
- กัม (Gum) เป็นสารพวกไฮโดรคอลลอยด์ (Hydrocolloid) ที่ถูกขับออกจากพืช เมื่อพืชถูกรบกวน
- โอลิโอเรซิน (Oleoresins) เป็นสารผสมที่เกิดขึ้นระหว่างเรซินและ น้ำมันหอยระเหย เป็นเนื้อเดียวกัน
- สารเมือก (Mucillages) เป็นสารที่พืชสร้างขึ้นมีลักษณะ เป็นยางสีขาวคล้ายน้ำนม
- ลาเท็ก (Latex) เป็นสารธรรมชาติ (Natural products) ที่พืชบางชนิด ให้ยางออกมา มีลักษณะขาวคล้ายน้ำนม ได้มาจากส่วนของพืชที่เรียกว่า แลคทิซิเฟอรัสเวสเซลส์ (Lacticiferous uessels) สมุนไพรที่ใช้ฆ่าและไล่แมลงแมลงจัดเป็นสัตว์ที่มีมากที่สุดในบรรดาสัตว์ที่มีในโลกนี้ แมลงมีทั้งที่มีประโยชน์ และมีโทษต่อมนุษย์แต่ส่วนใหญ่แล้วมนุษย์มักจะมองไม่ค่อยเห็นประโยชน์ของแมลง จึงมีการกำจัดแมลงเสียเป็นส่วนใหญ่ มนุษย์รู้จักการใช้สารเคมีต่างๆเพื่อไล่หรือกำจัดแมลง มานานกว่า 100 ปี มาแล้ว ก่อนที่จะคิดค้นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูงและอันตรายสูง อย่างในปัจจุบันนี้ สมุนไพรขับไล่แมลง
สำหรับสารที่ไล่แมลง (Insect repellants) เป็นสารที่ไล่แมลงเข้ามาไกล้ สัตว์ คน หรือพืช สารเหล่านี้มีรส และ กลิ่นที่แมลงไม่ชอบ
ตะไคร้หอม (Cymbopogon nardus rendle)
ลักษณะต้นคล้ายตะไคร้ (Lemon grass) แต่มีใบขนาดกว้างและยาวกว่ามาก สารที่ได้จะเป็นน้ำมันหอมระเหยพวก Geraniol ประมาณ 55-92% พวกนั้นเป็น Citronellal citronellol และ borneol สารที่ได้พวกนี้เรานำมาใช้ในการไล่แมลง และไล่ยุงได้ดี
สูตรไล่ยุงที่มีการสอนโดยโรงเรียนสารพัดช่าง บางพลัด (น้ำหอมกันยุง)
1. การบูร 15 กรัม
2. เอทานอล 30 ซีซี
3. น้ำมันตะไคร้หอม 15 ซีซี
วิธีทำ
เอาการบูนละลายในเอทานอลให้หมด แล้วเติมน้ำมันตะไคร้ลงไปผสมให้เข้ากัน (ถ้าต้องการให้มีกลิ่นอื่น ๆ ด้วย ก็เติมหัวน้ำหอมเล็กน้อย)
หมายเหตุ คุณสมบัติของสารการบูนและน้ำมันตะไคร้มีกลิ่นที่ทำให้ยุงเกลียดจึงไม่มาเข้าไกล้ ส่วนแอลกอฮอล์ช่วยเป็นตัวละลาย ถ้าการบูนกลิ่นไม่แรงพอที่ยุงจะหนี เพิ่มการบูนลงไปอีกก็ได้
กะเพรา (Sacred basil)
กะเพราเป็นพืชล้มลุกมีลักษณะเป็นพุ่มลำต้นเป็นสีเหลี่ยม แตกกิ่งก้านสาขาออกมากมายเป็นรูปไข่ ขอบใบหยักเป็นซี่ฟัน ตามลำดับกิ่งก้าน และใบมีขนอ่อน ๆ ปกคลุม ออกดอกเป็นช่อที่ยอดหรือปลายกิ่งดอกมี
สีม่วง เมล็ดมีสีดำ
สารที่พบในใบกระเพราคือ น้ำมันหอมระเหยสีเหลืองซึ่งจะมีกลิ่นหอมฉุนคล้ายกลิ่นน้ำมันของน้ำมันกานพลู ส่วนในเมล็ด มีน้ำมันระเหยยากสีเหลืองอมเขียว ประกอบด้วยด้วยกรดไขมันปาล์มมิติค (Palmitic) ฯลฯ คุณภาพของน้ำมันหอมระเหยเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับ อายุ สภาพภูมิประเทศ และ สภาพภูมิอากาศ ซึ่งพบว่าน้ำมันหอมระเหยในใบสามารถที่จะใช้ไล่ยุง และถ้ามีปริมาณมากพอก็สามารถฆ่ายุงได้ วิธีการง่าย ๆ สำหรับชาวบ้านก็เพียงแต่นำใบสดมาขยี้ ให้พอมีกลิ่น ยุงก็จะไม่เข้าใกล้แล้ว
ยูคาลิปตัส (Eucalyptus citriodora hook)
เป็นไม้ยืนต้น เติบโตได้เร็ว มีใบยาวสีเขียว มีดอกเป็นช่อ พันธุ์ที่มีในประเทศไทย เมื่อกลั่นใบแล้วจะให้น้ำมันยูคาลิปตัสน้อย ดังนั้นจึงมักจะใช้พันธุ์ที่นำเข้าเพื่อกลั่น น้ำมันยูคาลิปตัสมีฤทธิ์ช่วยไล่แมลงโดยเฉพาะยุงได้ดี วิธีใช้แบบง่าย ๆ เพียงแต่ใช้ใบสด 1 กำมือ ขยี้กลิ่นน้ำมันจะออกมาช่วยไล่แมลงได้
สารที่ใช้ฆ่าแมลง ( insecticides ) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. สารที่ฆ่าแมลงหลังจากแมลงกินเข้าไป (stomachpoisons)
2. สารที่ฆ่าแมลงโดยการสัมผัสกับตัวแมลง (contact poisons)
3. สารที่ฆ่าแมลงโดยแมลงสูดดมเข้าไป (fumigants) มีสารหลายชนิดมีฤทธิ์ไม่แน่นอนว่าจะจัดอยู่ในพวกใด หรือบางชนิดอาจฆ่าแมลงโดอออกฤทธิ์มากกว่า 1 อย่าง
- สารที่ฆ่าแมลงหลังจากแมลงกินเข้าไป ส่วนใหญ่จะเป็นแมลงที่กัดแทะ สุมนไพรพวกนี้ เช่น โลติ๊น
- สารที่ฆ่าแมลงโดยการสัมผัสกับแมลง แมลงพวกนี้ตายเราะสารฆ่าแมลงซึมผ่านผิว หรือผ่าน connective tissue หรือผ่านหลอดลมเข้าไป เช่น ไพรีทริน โลติ๊น นิโครติน
สารฆ่าแมลงโดยแมลงสูดดมเข้าไป เป็นสารที่สามารถระเหยอยู่ในรูปของก๊าซได้โดยเฉพาะที่อุณหภูมิธรรมดา และถ้ามีความเข้มข้นและปริมาณที่สูงมากพอก็จะทำให้แมลงตายได้ เช่น นิโครติน
น้อยหน่า (Annona squamosa linn)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยวออกสลับกัน ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม ผลที่ออกใหม่ ๆ จะมีสีเขียวเมื่อแก่เต็มที่จะมีสีเขียวปนสีแดงอ่อน ๆ เล็กน้อย ในหนึ่งผลจะแบ่งเป็นช่อง ๆ จำนวนมากเรียกว่า “ ตา “ ในแต่ละตาจะมีเมล็ดสีดำหนึ่งเมล็ด และเนื้อหุ้มเมล็ดจะมีสีขาว
สารออกฤทธิ์จะมีมากที่เมล็ดและใบซึ่งจะเป็นพวกอัลคาลอย (Anonaine) เวลาใช้ให้ตำเมล็ดหรือใช้ใบผสมกับน้ำมันมะพร้าว และ ชะโลมศรีษะทิ้งไว้สามารถฆ่าเหาได้ดี อย่างไรก็ตาม มีผู้นำมาทดสอบใช้กำจัดเห็บหมัดในสุนัข ในการใช้ต้องระวังมิให้ถูกนัยน์ตา เปลือกตา ริมฝีปาก และรูจมูก เพราะจะทำให้เกิดอาการแสบร้อน การออกฤทธิ์ของน้อยหน่าจะเป็นพิษทางสัมผัส และทางกระเพาะอาหาร เป็นทั้งสารฆ่าแมลง ขับไล่แมลง และ ขัดขวางการกิน
ณรง จึงสมานญาติ ได้สกัดสารจากพืชจำนวน 7 ชนิด ประกอบด้วย ใบเหงือกปลาหมอ เหง้าว่านน้ำ เมล็ดน้อยหน่า ใบคว่ำตายหงายเป็น เมล็ดบวบเหลี่ยม เมล็ดมันแกว และ รากหนอนตายอยาก ซึ่งพบว่ามีฤทธิ์ฆ่าเห็บตัวอ่อนตาย 90-100% ส่วนการทดสอบฤทธิ์ฆ่าเห็บตัวแก่ กระทำโดยวิธีจุ่มเห็บลงในสารสกัดที่มีความเข้มข้น 10% นับเปอร์เซ็นต์ตายของเห็บหลังการจุ่ม พบว่ามีฤทธิ์ฆ่าเห็บตัวแก่ตาย 86-100% ที่ 48 ชั่วโมง ได้แก่สารสกัดจากเมล็ดน้อยหนาและใบข่อย นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดจากเมล็ดน้อยหน่าที่ความเข้มข้น 2% ยังมีฤทธิ์ฆ่าเห็บตัวแก่ตายถึง 92.50%
และจากผลการสกัดสารจากเมล็ดน้อยหน่าพบว่าสามารถสกัดโดยใช้ 10%แอลกอฮอล์ หรือโดยการต้มกับน้ำก็ได้ ซึ่งจะเหมาะกับเกษตรกรในการนำไปใช้ฆ่าเห็บในโค ( การประชุมวิชาการครั้งที่ 8 เทคนิควิชาการทางวิทยาศาสตร์ ชีวภาพ 14-18 พ.ค. 2533 )
หนอนตายหยาก (Stemona tuberosa lour)
เป็นพืชจำพวกไม้เลื้อย ที่มีรากใต้ดินจำนวนมาก มีรูปลักษณะคล้ายกระสวย หรือทรงกระบอกอยู่กันเป็นพวงอาจยาวถึง 10-30 ซ.ม ใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบตรงกันข้าม ก้านใบยาว ฐานใบมน ปลายใบเรียว แหลม คล้ายใบพลู เส้นใบมีหลายเส้นออกในแนวขนานกับขอบใบ พืชพวกนี้พอถืงฤดูแล้ว จะเหลือแต่เหง้าและรากไว้ใต้ดิน แต่เมื่อเริ่มฤดูฝนใหม่ใบจะงอกออกมาอีกพร้อมทั้งออกดอกด้วย ดอกจะออกเป็นช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๆ สีขาวหรือสีม่วงอ่อนจำนวนมาก ผลค่อนข้างแข็งสีน้ำตาลขนาดเล็ก หนอนตายหยากมีหลายspecies แต่ชื่อไทยเหมือนกันหมด
ส่วนที่ใช้จะเป็นราก ซึ่งประกอบด้วยสารอัลคาลอยด์ stemonine, tuberostemonine, stemonidine และ isostemonidine
ที่จังหวัดจันทบุรี จะใช้รากตำให้ละเอียดแลัวแช่น้ำมันมะพร้าว ฉีดเป็นยาฆ่าแมลงที่มารบกวนต้นพริกไทย ในจังหวัดพัทลุงใช้รากลงโขลก ผสมน้ำ ทาตามแผลสัตว์ป้องกันแมลงมาตอมหรือวางไข่ สำหรับกองเภสัชกรรมได้ใช้รากสด ๆ ทดลองกับตัวไรน้ำ และลูกน้ำ พบว่าทำให้เกิดอาการอ่อนเปลี้ยและตายได้
เทพ เชียงทอง และวิจิตร ภัคเกษม ได้ทำการวิจัยสารประกอบที่มีในรากหนอนตายหยากชนิด stemona collinsae ได้สารประกอบ 3 ชนิด และทดสอบพิษของหนอนตายหยากที่มีต่อหนอนแมลงวันบ้าน โดยผสมสารละลายหนอนตายหยากกับอาหารเลี้ยงหนอนแมลงวัน ปรากฏว่าสามารถทำให้หนอนแมลงวันตายได้ สำหรับส่วนที่ไม่ตาย ก็อาจเป็นดักแด้ได้ แต่จะมีลักษณะผิดปกติ และไม่สามารถเจริญต่อเป็นตัวเต็มวัยได้
โลติ้น (หางไหล ,อวดน้ำ Derris elliptica bentham)
หางไหลเป็นไม้เลื้อยชนิดเนื้อแข็ง ใบประกอบแบบขนนก ออกดอกเป็นช่อมีขนาดเล็ก สีแดงอ่อน รูปร่างของดอกเหมือนดอกถั่ว ผลจะเป็นฝัก
ในสมัยโบราณนิยมใช้โลติ้น เป็นยาเบื่อปลา ต่อมาพบว่า ถ้าใช้รากโล่ติ้นทุบแช่น้ำแล้วนำไปพ่น หรือทำเป็นฝุ่น ผสมทาลคั้ม (Talcum) สามารถฆ่าแมลง เห็บ หมัด ในสุนัขและแมวได้ แต่ไม่ควรใช้ร่วมกับสารที่เป็นด่าง เช่น ปูนขาว จะทำให้สารภายในโลติ้นเสื่อมลง
สารสำคัญที่อยู่ในโลติ้นที่ใช้เบื่อปลาและฆ่าแมลง คือ โรติโนน (Rotenone) และดีกิวลิน (Deguelin)ซื่งมีฤทธิ์ฆ่าแมลงมากที่สุดภายในรากของโลติ้น และควรใช้รากที่มีอายุมากกว่า 2 ปีขื้นไป ฤทธิ์ของโลติ้นจะไปมีผลต่อกระบวนการหายใจ โดยจะขัดขวางการส่งผ่านของอิเลคตรอนในไมโตคอนเดรีย ซื่งผลอันนี้ จะเกิดเฉพาะกับแมลงและปลา แต่จะไม่เป็นพิษต่อสัตว๋เลือดอ่น ยกเว้นหมู
โลติ้นไม่เป็นพิษต่อพืชและสัตว์เลือดอุ่น จืงปลอดภัยในการใช้เป็นสารฆ่าแมลง แต่ถ้ากินโรติโนนเข้าไปพร้อมน้ำมัน สารจะถูกดูดซืมทำให้มีพิษต่อสัตว์เลือดอุ่นและคนได้ อย่างไรก็ตามถ้าสารนี้ถูกแสงและอากาศก็จะหมดฤทธิ์ไปอย่างรวดเร็ว
ไพรีทรินส์ ( Pyrethrins , Chrysanthemum cineriaefolicem Bocc.)
ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกสูงประมาณ 1 เมตร ขอบใบลึกเป็นรูปขนนก ดอกคล้ายเบญจมาศ มีสีเหลืองหรือสีครีม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซ.ม.
สารที่ออกฤทธิ์จะอยู่ในดอก ซึ่งที่ดอกจะให้ปริมาณสารมากที่สุด จะอยู่ในช่วงที่ดอกบานได้ 2 ใน 3 หรือ ระยะใน 3 สัปดาห์ แล้วนำไปทำให้แห้ง ประกอบด้วย ไพรีทริน I ไพรีทริน II ไซเนอริน I ไซเนอริน II พบมากที่สุดในผลของดอก สารเหล่านี้จะมีฤทธิ์น้อยลงเมื่อถูกความร้อน แสงและอากาศ เพราะไพรีทรินจะถูกเปลี่ยนเป็น ไอโซไรรีทริน ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น
เวลาใช้จะต้องทำให้ละเอียด สามารถฆ่าแมลงได้เป็นอย่างดี ออกฤทธิ์กับแมลงโดยสัมผัสใช้ในรูปที่เป็นผงหรือสั่งสกัดจากดอกแล้วละลายในตัวทำละลายที่เหมาะสมใช้ฉีดหรือพ่นกลไกการออกฤทธิ์ ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างแน่ชัด แต่สารเหล่านี้จะออกฤทธิ์โดยตรงต่อระบบประสาทของแมลง โดยอาจจะเกี่ยวข้องกับการส่งผ่านของโซเดียม และโปแตสเซียมไอออนในเซลประสาทเมื่อแมลงสัมผัสกับสารเปล่านี้ แมลงอาจมีอาการตื่นเต้นสั่น และเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว
ในยาฆ่าแมลงที่มีไพรีทรินสีเป็นสารออกฤทธิ์นั้น ส่วนใหญ่มักนิยมผสมสารเพิ่มฤทธิ์ เช่น sesamin (แยกได้จากน้ำมันงา ) เพื่อให้ฤทธิ์เพิ่มขึ้น ปัจจุบันใช้ piperonyl butoxide ( สารสังเคราะห์เลียนแบบ sesamin )
ปัจจุบันนักเคมีสามารถสังเคราะห์สารคล้ายพวกไพรีทรินขึ้นมาแล้วหลายชนิดด้วยกัน เช่น แอลเลอร์- ฮวิน (Allerthrin) เรสเมธริน (resmetrin ) ไบโอเรสเมธริน (bioresmethrin ) เททราเมธริน (tetramethrin ) เปอร์มีธริน (permethrin ) ฟลูมิธริน (fumethrin ) สารเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการฆ่าแมลง สูงกว่าที่ผลิตจากธรรมชาติ สารสังเคราะห์ที่กล่าวมา มีหลายตัวที่ไม่ได้นำมาผสมกับแชมพู เพื่อกำจัดเห็บหมัดในสัตว์เลี้ยงซึ่งก็ได้ผลดี แต่ควรระวัง หากสารไพรีทรินสังเคราะห์เหล่านี้ ผสมในความเข้มข้นมากไป อาจทำให้ผิวหนังและขนของสัตว์เลี้ยงเสียหายได้
ยังมีสมุนไพรที่มีการประยุกต์มาใช้กำจัดแมลงอีกหลายชนิด เช่น มะคำดีควาย ขอบชะนาง (หญ้าหนอนตาย ) อย่างไรก็ตาม การค้นคว้าสมุนไพรส่วนใหญ่ยังเน้นไปอยู่ที่การใช้ฆ่าแมลงในทางเกษตรเป็นส่วนมาก ดังนั้นถ้าหากเรานำสมุนไพรที่มีผลต่อแมลงเหล่านี้มาทดสอบกับแมลงที่มารบกวนสัตว์เศรษฐกิจ หรือสัตว์เลี้ยง ก็น่าจะเป็นประโยชน์ ช่วยให้สัตว์รวมทั้งคนได้ปลอดภัยจากโรคที่อาจนำมาโดยแมลงเหล่านี้
เอกสารอ้างอิงกองทะเบียนการวิจัย. 2523.
เอกสารการวิจัยปริทัศน์ สมุนไพรสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานโครงการวิจัยปลูกและรวบรวมพันธ์พืชและสมุนไพร. 2542.
สวนนานาพฤกษสมุนไพร เภสัช-มหิดลนิจศิริ เรืองรังษี และ พยอม ตันติวัฒน์. 2532.
พืชสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภาควิชาเภสัชวินิจฉัย. 2534.
ยาและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สมพร หิรัญรามเดช. 2525.
สมุนไพรใกล้ตัวตอนที่ 3 ภาควิชาเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่สุพจนน์ ดิลานเภสัช. 2543. สมุนไพรเครื่องเทศและพืชปรุงแต่งกลิ่นรส สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์นอภิชาต สุติคา. 2535.
สวนสมุนไพรเกษตรภาคกลางและการประยุกต์ใช้การสกัดจากพืชสมุนไพรเพื่อป้องกันกำจัดfแมลงศัตรูพืช สำนักงานเกษตรภาคกลางHerber N. Nigg and David Seiger (1992) Phytochemica Resoreces for Medicine and Agriculture Plenum Press New York and London.
ที่มา : ไม่ระบุ
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.