ปัญหาของโรคปากและเท้าเปื่อยที่เกิดจากเชื้อไวรัสหรือ Foot and Mouth Disease (FMD) ได้ส่งผลกระทบในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรและโคมาตั้งแต่ปี 2496 นั้น ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถส่งออกเนื้อ สัตว์ไปต่างประเทศได้เลยจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยชนิดโอ และชนิดเอ พบมากที่สุดจากทั้งหมด 7 ชนิด
แต่หลังจากทีมนักวิจัยคณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำโดย รศ.ดร.น.สพ.ณรงค์ จึงสมานญาติ รศ.ดร.น.สพ.ธีระพล ศิรินฤมิตร รศ.ดร.น.สพ.วรวิทย์ วัชชวัลคุ และนางวิไลรัตน์ ฉ่ำสิงห์ ประสบความสำเร็จในการวิจัยสารสกัดจากพืชสมุนไพร 3 ชนิด คือผลดิบของยอป่า ยอบ้านและผักขมหนามที่มีฤทธิ์ยับยั้งต้านเชื้อไวรัสปากและเท้าเปื่อยได้สูงส ุด
"เริ่มแรกได้นำสารสกัดหยาบ จากพืชที่สกัดด้วย เอทิลแอลกอฮอล์ 95% จำนวน 46 ตัวอย่าง จากพืช 41 ชนิด ละลายในตัวละลายผสม ความเข้มข้น 0.2 กรัม/มิลลิลิตร ทดสอบหาความเข้มข้นที่ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ ไตหนูแฮมเตอร์ ซึ่งใช้เป็นเซลล์ให้เชื้อไวรัสเจริญและทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสปากและเท ้าเปื่อยชนิดโอสายพันธุ์ท้องถิ่น ในขั้นต้นให้สารสกัดสมุนไพรสัมผัสกับเชื้อไวรัสเป็นเวลานาน 1 ชั่วโมง ได้สารสกัดจากพืช 23 ชนิด ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัส แล้วนำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัส FMD ที่เวลา 20-120 วินาที" รศ.ดร.น.สพ.ณรงค์เผย พร้อมระบุว่า
จากการทดลองพบว่า สารสกัดของผลดิบของยอป่า สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้สูงสุด รองมาคือ ยอบ้าน และผักขมหนาม ซึ่งเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง และสารสกัดจากพืชทั้งสามชนิดนี้ มีโอกาสจะพัฒนาไปใช้ฆ่าเชื้อไวรัสปากและเท้าเปื่อยได้จริงในทางปฏิบัติ
หัวหน้าทีมวิจัยคนเดิมยังตั้งข้อสังเกตว่าปกติโรคปากและเท้าเปื่อยเกษตรกรมั กละเลยไม่ให้ความสนใจ เพราะคิดว่าสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคแล้วไม่ตาย หรืออัตราการตายต่ำ ทำให้โรคปากและเท้าเปื่อยแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้จำนวนสัตว์ป่วยสูงขึ้น สร้างความเสียหายให้เกษตรกรผู้เลี้ยง และสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจให้แก่ภาครัฐ ในการนำเงินงบประมาณจำนวนมาก มาควบคุมการแพร่ระบาด และส่งผลทำให้ประเทศไทยไม่สามารถส่งออกเนื้อโคและสุกรไปยังต่างประเทศได้ เนื่องจากประเทศคู่ค้าใช้เป็นเงื่อนไขในการไม่รับซื้อสินค้าจากประเทศไทย
"ผมว่าเกษตรกรจึงควรหันมาให้ความสนใจอย่างจริงจังในการป้องกัน และลดการแพร่ระบาดโรคปากและเท้าเปื่อยกันให้มากขึ้น โดยการนำสมุนไพรพืชพื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงสัตว์ และลดการนำเข้าน้ำยา ยาฆ่าเชื้อ และสารเคมีจากต่างประเทศ" รศ.ดร.น.สพ.ณรงค์ กล่าว
งานวิจัยชิ้นนี้จะนำเสนอในการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในว ันที่ 1 กุมภาพันธ์ เวลา 11.40 น. พร้อมกับการจัดแสดงนิทรรศการเผยแพร่ให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจเป็นครั้งแรก ในงานเกษตรแฟร์ปี 2550 ซึ่งจัดขึ้นวันที่ 26 มกราคม-3 กุมภาพันธ์ ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน
หรือผู้ที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ รศ.ดร.น.สพ.ณรงค์ จึงสมานญาติ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) โทร.0-2942-8751-9 หรือ 08-1857-5711 ทุกวันในเวลาราชการ
บายไลน์ - จุไร เกิดควน
แหล่งที่มา/ผู้ส่ง ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สป. ศธ.
www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=898&Key... -
|
|