ปฏิทิน ลด-ละ-เลิก สารเคมี
------------------------------------------------------------
วันที่............น้ำ....................สมุนไพร..................สารเคมี
------------------------------------------------------------
1 ............100 ล. .............. 200 ซีซี. .............. 100 ซีซี.
2 ............ - ........................ - ........................ -
3 ............ - ........................ - ........................ -
4 ........... 100 ล. .............. 200 ซีซี. ................. -
5 ........... - ......................... - ........................ -
6 ........... - ......................... - ........................ -
7 ........... 100 ล. .............. 200 ซีซี. ............... 50 ซีซี.
8 ........... - ......................... - ........................ -
9 ........... - ......................... - ........................ -
10 ......... 100 ล. ............... 200 ซีซี. ................ -
11 ........... - ........................ - ........................ -
12 ........... - ........................ - ........................ -
13 ......... 100 ล. ............... 200 ซีซี. ............... 25 ซีซี.
14 ........... - ........................ - ....................... -
15 ........... - ........................ - ....................... -
16 ......... 100 ล. ................ 200 ซีซี. ................ -
17 ........... - ........................ - ....................... -
18 ........... - ........................ - ....................... -
19 ......... 100 ล. ................ 200 ซีซี. .............. 10 ซีซี.
20 ........... - ........................ - ........................ -
21 ........... - ........................ - ........................ -
22 ......... 100 ล. ................ 200 ซีซี. ................ -
23 ........... - ........................ - ........................ -
24 ........... - ........................ - ........................ -
25 ......... 100 ล. .................. - ...................... 5 ซีซี.
26 ........... - ........................ - ......................... -
27 ........... - ........................ - ......................... -
28 ......... 100 ล. ............... 200 ซีซี. .................. -
29 ........... - ......................... - ......................... -
30 ........... - ........................ - .......................... -
31 ......... 100 ล. ............... 200 ซีซี. ............... 2.5 ซีซี.
------------------------------------------------------------
การปฏิบัติ :
สมุนไพร :
1. ตัวเลขวันที่ หมายถึงวันที่ในปฏิทิน.... ตัวเลข น้ำ 100 ล. สารสมุนไพร 200 ซีซี. หมายถึง อัตราใช้ที่นิยมใช้ตามปกติทั่วไป.... ตัวเลขสารเคมี 100 ซีซี. เป็นตัวเลขสมมุติ โดยตัวเลขที่แท้จริง คือ อัตราใช้ที่ระบุของสารเคมีแต่ละยี่ห้อ
2. เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดของศัตรูพืช
3. สกัดสมุนไพรให้ได้สารออกฤทธิ์ตามหลักวิชาการ
4. เลือกใช้ "สูตรรวมมิตร" หรือ "สูตรเฉพาะ" ตามความเหมาะสม
5. ฉีดพ่นบ่อยๆ ด้วยมาตรการ "กันก่อนแก้" ด้วยสารสมุนไพรเดี่ยวๆ
6. ฉีดพ่น "สารสมุนไพร + สารเคมี" เมื่อเกิดการระบาด
7. สารออกฤทธิ์ในสมุนไพรไม่เป็นอันตรายต่อแมลงธรรมชาติ
8. สารสมุนไพรได้มาจากพืช เมื่อเข้าสู่ปากใบพืชจึงไม่เป็นพิษต่อพืช
9. ฯลฯ
สารเคมี :
1. เลือกสารเคมีที่มีสรรพคุณตรงกับชนิดของศัตรูพืช
2. ใช้สารเคมีเพียง "ยี่ห้อ" เดียว ต่อการใช้แต่ละครั้ง
3. ใช้สารเคมีตัวเดิมซ้ำ 2-3 รอบ เพื่อความแน่ใจว่าเลือกใช้ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง
4. สารเคมีเป็นอันตรายต่อแมลงธรรมชาติ
5. สารเคมีไม่ใช่สารอาหารแต่เป็นสารพิษ เมื่อเข้าสู่ปากใบพืชจึงทำให้ต้นพืชได้รับสารพิษ
6. ผสมสารเคมีทุกครั้งควรปรับค่า pH น้ำให้เป็นกรดอ่อนๆ โดยใส่สารสกัดสมุนไพรก่อนแล้ววัดค่า pH เมื่อได้ค่า pH ตามต้องการแล้วจึงใส่สารเคมีตาม แต่หากใส่สารสมุนไพรแล้ววัดค่า pH ยังไม่ได้ตามต้องการก็ให้ปรับค่า pH ด้วยน้ำส้มสายชู วัดค่า pH อีกครั้ง กระทั่งได้ค่า pH ตามต้องการแล้วจึงใส่สารเคมี
7. ฯลฯ
เหตุผลของปฏิทิน ลด-ละ-เลิก สารเคมี :
1. สารสมุนไพรกับสารเคมีสามารถ "ผสม" หรือ "รวม/ร่วม" กันได้
2. ใช้สารสมุนไพรบ่อยๆ ทุก 3 วัน เพื่อให้ได้ผลทั้ง "ป้องกันและกำจัด"
3. กำหนดการใช้สารเคมีทุก 7 วัน (ตามระบุในฉลาก) จึงเลือกใช้ 7 วัน/ครั้ง ตามฉลาก
4. ศัตรูพืชดื้อต่อสารเคมี แต่จะไม่ดื้อต่อสารสมุนไพร
5. การลดสารเคมีลงครั้งละครึ่งหนึ่งของการให้ครั้งที่แล้ว ได้ผลเพราะศัตรูพืชเริ่มอ่อนแอลง จนกระทั่ง แม้สัมผัสกับสารเคมีเพียงเล็กน้อยก็ตายได้
หลักการและเหตุผล :
- การใช้สมุนไพร "ป้องกัน/กำจัด" ศัตรูพืชมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ (อียิปต์)
- ปัจจุบัน เยอรมันมุ่งค้นคว้าวิจัยเรื่องสารออกฤธิ์ในสมุนไพรป้องกัน/กำจัดศัตรูพืชอย่างมาก โดยนำเข้าสะเดาจากอินเดีย ปีละ 50,000 ตัน นำเข้าหางไหลจากอินโดเนเซีย ปีละ 30,000 ตัน นำเข้าหนอนตายหยากจากไทย ปีละ 30,000 ตัน....ผลงานวิจัยได้ตีพิมพ์เป็นเอกสารตำราภาษต่างๆ ทั่วโลก 17 ภาษา ยกเว้นภาษาไทย
- สารออกฤทธิ์ในสมุนไพร ได้รับการค้นคว้าวิจัยโดยนักวิชาการระดับดอกเตอร์ เช่นเดียวกับสารเคมี จึงไม่มีเหตุใดที่จะบอกว่า "เป็นไปไม่ได้ หรือ ไม่น่าเชื่อถือ"
- ชีวิตของศัตรูพืชบอบบางมาก เมื่อสัมผัสกับสารออกฤทธิ์ระดับ พีพีเอ็ม.ก็ตายได้
- วงรอบชีวิตของ หนอน-แมลง ประกอบด้วย "แม่ผีเสื้อ-ไข่-หนอน-ดักแด้" หากช่วงใดช่วงหนึ่งของวงจรชีวิตถูกตัดหรือขาดลง หนอนและแมลงก็หมดไปเอง
- นอกจากสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรเป็นพิษโดยตรงต่อศัตรูพืชแล้ว ยังทำให้สภาพแวดล้อมสำหรับศัตรูพืชเปลี่ยนแปลงจนศัตรูพืชนั้นอยู่ไม่ได้เอง
- ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำตัว ดังนั้นมาตรการเพื่อต่อสู้กับศัตรูพืชที่ดีที่สุด คือ "ป้องกันก่อนกำจัด หรือ กันก่อนแก้" เท่านั้น
- สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญพัฒนาของศัตรูพืช ย่อมไม่เหมาะสมต่อการเจริญพัฒนาของแมลงธรรมชาติ ขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญพัฒนาของแมลงธรรมชาติ ย่อมไม่เหมาะสมต่อการเจริญพัฒนาของแมลงศัตรูพืช
- สภาพแวดล้อม คือ ความหลากหลาย วิธีต่อสู้กับศัตรูพืชที่ดีที่สุด คือ วิธีป้องกัน/กำจัดแบบผสมผสาน (I.P.M.) เท่านั้น
รอบรู้เรื่องแมลง
- แมลงปากกัด หมายถึง แมลงที่ทำลายส่วนต่างๆของพืชโดยการกัดแล้วกินส่วนนั้นของพืชโดยตรง
- แมลงปากดูด หมายถึง แมลงที่ทำลายส่วนต่างๆของพืชโดยการใช้กาดกัดก่อนแล้วจึงดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชนั้น
- แมลงกลางวัน หมายถึง แมลงที่ออกหากินช่วงตอนกลางวัน เข้าหาพืชเป้าหมายโดยใช้สายตาในการเดินทาง นอกจากเข้าทำลายพืชโดยตรงแล้ว ยังอาศัยวางไข่อีกด้วย
- แมลงกลางคืน หมายถึง แมลงที่ออกหากินตอนกลางคืน ช่วงหัวค่ำ 19.00-21.00 น. และช่วงก่อนสว่าง 05.00-06.00 น. เดินทางเข้าหาพืชเป้าหมายโดยการใช้ประสาทสัมผัสกลิ่น ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าทำลายพืชโดยตรงแต่จะอาศัยวางไข่เท่านั้น มีเพียงส่วนน้อยที่เข้าทำลายพืชโดยการกัดกินโดยตรง
- แมลงขยายพันธุ์โดยการออกไข่ จากนั้นไข่จะฟักออกเป็นตัวหนอน และหนอนคือตัวทำลายพืชโดยตรง จากนั้นหนอนจะเจริญเติบโตกลายเป็นแมลงต่อไป
- แมลงไม่ชอบวางไข่บนส่วนของพืชที่ชื้น เปียกแฉะ เพราะรู้ว่าความเปียกชื้นหรือแฉะนั้น นอกจากจะทำให้ไข่ฝ่อฟักไม่ออกแล้วยังเกาะส่วนของพืชไม่ติดอีกด้วย
- แมลงไม่ชอบวางไข่ในบริเวณที่แสงแดดส่องถึงเพราะรู้ว่า ถ้าวางไข่ไว้ในที่โล่งแจ้ง แสงแดดส่องถึงจะทำให้ไข่ฝ่อไม่อาจฟักออกเป็นตัวหนอนได้ จึงเลือกวางไข่บริเวณใต้ใบพืช ซอกเปลือก เศษซากพืชคลุมโคนต้น หรือไต้พื้นดินโคนต้น
- แมลงกลางวันเดินทางด้วยการมองเห็น แก้วตาของแมลงมีเลนส์ 200,000 ช่อง ลูกนัยน์ตาของแมลงจึงไม่กลิ้งไปมาได้เหมือนนัยตาคนหรือสัตว์อื่นๆ ถ้าส่วนของพืชเป้าหมายของแมลงกลางวันเปียกน้ำหรือมีสารคล้ายน้ำมันสะท้อนแสงได้เคลือบทับอยู่จะทำให้ภาพการมองเห็นของแมลงผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง แมลงก็จะไม่เข้าหาพืชเป้าหมายนั้น
- แมลงกลางคืนเดินทางด้วยประสาทสัมผัสกลิ่นหรือดมกลิ่น ทั้งนี้ประสาทสัมผัสกลิ่นของแมลงสูงกว่าคน 600,000 เท่า (สารคดีดิสคัพเวอรี่) ถ้ากลิ่นพืชเป้าหมายผิดเพี้ยนหรือเปลี่ยนไปจากความเป็นจริงเนื่องจากมีกลิ่นพืชอื่นเคลือบอยู่ แมลงจะเข้าใจผิดไม่เข้าหาพืชเป้าหมายนั้น
- แมลงกลางวันชอบเข้าหาวัสดุที่มีสีเหลือง และสีฟ้า ส่วนแมลงกลางคืนชอบเข้าหาแสงสีม่วงและแสงสีขาว แต่ไม่ชอบเข้าหาแสงสีเหลืองหรือแสงสีส้ม
- แมลงบินตลอดเวลา ประสาทความรู้สึกเร็วมาก เมื่อรู้ว่าจะมีอันตรายเป็นต้องบินหนีทันที จากลักษณะทางธรรมชาติแบบนี้ทำให้ไม่สามารถกำจัดแมลงด้วยวิธีการ “ฉีดพ่น” ใดๆได้ทั้งสิ้น ในความเป็นจริงนั้น แมลงใดๆ ที่ปีกเปียกจะไม่สามารถขึ้นบินได้ นั่นหมายความว่า แม้แต่น้ำเปล่าก็สามารถกำจัดแมลงได้ แต่มีข้อแม้ว่าต้องฉีดพ่นให้ปีกเปียกให้ได้
- แมลงมีช่วงหรือฤดูกาลแพร่ระบาด นั่นคือ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับสภาพอากาศ (อุณหภูมิ/ความชื้น) มีผลอย่างมากต่อวงจรชีวิตแมลง (เกิด – กิน – แก่ –เจ็บ – ตาย – ขยายพันธุ์) การรู้ล่วงหน้าถึงฤดูกาลแพร่ระบาดแล้วใช้มาตรการ “ป้องกัน” หรือ “ขับไล่” จึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อเอาชนะแมลง
- แมลงบางอย่างมีปีกแต่ไม่สามารถใช้บินเป็นระยะทางไกลๆได้ แมลงประเภทนี้จะพึ่งพาสายลมช่วยพัดไป หรือมีสัตว์อย่างอื่นเป็นพาหะเพื่อการเดินทาง
- แมลงหายใจทางรูขุมขน หรือ ต่อมบนผิวหนัง แมลงตัวเล็กๆหรือเล็กมากๆ เมื่อถูกสารประเภทน้ำมันเคลือบบนลำตัว จะทำให้หายใจไม่ออกแล้วตายได้ ส่วนแมลงขนาดใหญ่ เมื่อได้สัมผัสกับกลิ่นที่เป็นสารออกฤทธิ์สำหรับแมลงก็ทำให้แมลงตายได้เหมือนกัน
- เทคนิคเอาชนะแมลงที่ดีที่สุด คือ “ไล่” ด้วยกลยุทธ “กันก่อนแก้” เท่านั้น
รอบรู้เรื่องหนอน
- หนอนเกิดจากไข่ของแม่ผีเสื้อกลางคืน (มาหัวค่ำหรือก่อนสว่าง) ถ้าขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่ได้หรือทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อจนฟักไม่ออก ก็ถือเป็นการกำจัดหนอนได้อีกทางหนึ่ง
- หนอนไม่ชอบแสงแดดหรือแสงสว่าง จึงออกหากินตอนกลางคืน ส่วนตอนกลางวันจะหลบซ่อนอยู่ตามซอกหลืบหรือใต้ใบพืช หรือเข้าไปอยู่ภายในส่วนของพืชโดยการเจาะเข้าไป
- อายุหนอนเริ่มตั้งแต่ออกจากไข่ถึงเข้าดักแด้ 10-15 วัน แบ่งออกเป็น 5 วัย จากวัยหนึ่งไปสู่วัยหนึ่งต้องลอกคราบ 1 ครั้งเสมอ ถ้าไม่ได้ลอกคราบหรือลอกคราบไม่ออก หนอนตัวนั้นจะตายในคราบ
- หนอนที่ขนาดลำตัวโตเท่าก้านไม้ขีด ลำตัวด้านข้างมีลายตามยาวจากหัวถึงหาง และที่ลำตัวด้านบนมีขนขึ้น เป็นหนอนที่มีความทนทานต่อสารเคมีอย่างมาก เรียกว่า “ดื้อยา” ซึ่งจะไม่มีสารเคมีใดที่ใช้ตามอัตราปกติทำร้ายมันจนตายได้
- หนอนทุกชนิดแม้จะดื้อยา (สารเคมี) แต่จะไม่มีความสามารถดื้อต่อเชื้อโรค (ยาเชื้อ) เช่น บีที. – บีเอส. – เอ็นพีวี. – ไส้เดือนฝอย. โบวาเลีย. ได้เลย
- สาร “ท็อกซิก” ที่เกิดจากจุลินทรีย์กลุ่มบาซิลลัส.ประเภทไม่ต้องการอากาศ ก้นถังหมักน้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง หมักนานข้ามปีถึงหลายๆปี เป็นพิษต่อหนอน สามารถทำให้หนอนหยุดกินอาหาร (ทำลายพืช) และลอกคราบไม่ออก ไม่เข้าดักแด้ ทำให้หนอนตายได้
- สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรหลายชนิด มีพิษต่อหนอนโดยทำให้หนอนไม่กินอาหาร ไม่ลอกคราบ ไม่เข้าดักแด้ จึงทำให้หนอนตายได้
- ต้นไม้ผลที่ทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดส่องผ่านจากยอดลงถึงพื้นดินโคนต้นได้ แสงแดดร้อนทำให้หนอนอยู่ไม่ได้ จนกระทั่งตายไปเอง
- หนอนเลือกกินพืชแต่ละชนิดถือเป็นสัญชาติญาณของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ การเคลือบส่วนของพืชที่หนอนชอบกินด้วยรสของพืชอื่นที่หนอนไม่กิน จะทำให้หนอนไม่ได้กินอาหาร ไม่นานหนอนก็ตายได้เช่นกัน
- หนอนเป็นสัตว์เหมือนกับกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆในโลกย่อมต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อการดำรงชีวิต มาตรการทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมเปลี่ยนแปลง จนเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หนอนก็อยู่ไม่ได้หรือตายไปในที่สุด
- หนอนที่เจาะส่วนของพืชแล้วเข้าไปแฝงตัวอยู่ในซึ่งเป็นแหล่งอาหาร เช่น หนอนเจาะยอด หนอนเจาะดอก หนอนเจาะผล หนอนเจาะต้น ฯลฯ แม้สรีระของหนอนจะไม่แข็งแรงนัก แต่ก็ยากที่จะทำอันตรายต่อตัวหนอนนั้นได้โดยง่าย เปรียบเสมือนมีแหล่งกำบังอย่างแข็งแรง มาตรการกำจัดจึงไม่อาจนำมาใช้ได้ จำเป็นต้องใช้มาตรการอื่นแทน เช่น ป้องกันแม่ผีเสื้อเข้าวางไข่ กำจัดไข่แม่ผีเสือให้ไม่สามารถฟักออกเป็นตัวหนอนได้ หรือห่อผล เท่านั้น
- หนอนกออ้อย เกิดและแพร่ระบาดได้ดีเมื่อมีการใช้ปุ๋ยเคมีมากๆ ...(นักวิชาการนิคารากัว)
- หนอนและแมลง รู้และชอบที่จะเข้าทำลายพืชที่อ่อนแอมากกว่าพืชที่สมบูรณ์แข็งแรง และเชื้อโรค สามารถแพร่ระบาดในพืชที่ไม่สมบูรณ์หรืออ่อนแอได้ดีและเร็วกว่าในพืชที่สมบูรณ์แข็งแรง...(สารคดีดิสคัพเวอรี่)
รอบรู้เรื่องโรค
- เชื้อโรคพืชในดินสามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติเมื่อสภาพแวดล้อม (ดิน-น้ำ) มีความเป็นกรดจัดหรือด่างจัด และเชื้อโรคในดินจะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้เลยหรือตายไปเองเมื่อสภาพแวดล้อม (ดิน-น้ำ) เป็นกลาง
- การใส่สารเคมีกำจัดเชื้อโรคลงไปในดิน เมื่อใส่ลงไปเชื้อโรคในดินก็ตายได้ในทันที ครั้นสารเคมีนั้นหมดฤทธิ์ เชื้อโรคชุดใหม่ก็จะเกิดขึ้นมาแทน "เกิดใหม่ใส่อีก-เกิดอีกก็ใส่ใหม่" เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เรียกว่า ใส่ทีก็ตายที ตายแล้วก็เกิดใหม่ขึ้นมาแทน สาเหตุที่เชื้อชุดใหม่เกิดขึ้นมาแทนได้ทุกครั้งก็เพราะ "ดินยังเป็นกรดจัดหรือด่างจัด" อยู่นั่นเอง ในเมื่อสารเคมีที่ใส่ลงไปในดินส่วนใหญ่หรือเกือบทุกตัวมีสถานะเป็นกรดจัด มีเพียงบางตัวหรือส่วนน้อยเท่าที่นั้นที่เป็นด่างจัด เมื่อใส่สารที่เป็นกรดจัดลงไป จากดินที่เป็นกรดอยู่ก่อนแล้วจึงเท่ากับเพิ่มความเป็นกรดให้กับดินหนักขึ้นไปอีก หรือดินที่เคยเป็นด่างอยู่แล้ว เมื่อใส่สารที่เป็นด่างเพิ่มลงไป จึงกลายเป็นเพิ่มความเป็นด่างของดินให้หนักยิ่งขึ้น......ปุ๋ยเคมีประเภทให้ทางราก ทุกตัวทุกสูตรมีสถานะเป็นกรด การใส่ปุ๋ยเคมีลงไปมากๆ บ่อยๆ ย่อมเกิดการสะสมอยู่ในเนื้อดินเนื่องจากพืชนำไปใช้ไม่หมด เมื่อดินเป็นกรดจัดจึงเกิดเชื้อโรคในดินเป็นธรรมดา
- เชื้อโรคในดินเข้าสู่ลำต้นแล้ว ส่งผลให้เกิดอาการยางไหล เถาแตก ใบเหี่ยว ยอดกุด ต้นโทรม แคระแกร็น ดอกผลไม่สมบูรณ์
- เชื้อโรคที่เข้าทำลายส่วนต่างๆของพืชที่อยู่เหนือดินนั้น เป็นเชื้อโรคที่เกิดจากดินทั้งสิ้น จากเชื้อในดินเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเจริญพัฒนาแตกตัวเป็นสปอร์ล่องลอยไปตามอากาศ เมื่อเกาะยึดส่วนของพืชได้ก็จะซึมแทรกเข้าสู่เนื้อพืชนั้น......เชื้อบางตัวอาศัยอยู่กับหยดน้ำฝน (เรียกว่า ราน้ำฝนหรือแอ็นแทร็คโนส) หรือหยดน้ำค้าง (เรียกว่า ราน้ำค้าง) ซึ่งทั้งน้ำค้างและน้ำฝนต่างก็มีสถานะเป็นกรดอ่อนๆ เมื่อหยดน้ำฝนหรือหยาดน้ำค้างแห้ง เชื้อโรคเหล่านั้นก็จะซึมแทรกเข้าสู่ภายในสรีระของพืชต่อไป
- เชื้อโรคพืชมี 4 กลุ่มใหญ่ๆ ประกอบด้วย "รา - แบคทีเรีย - ไวรัส - พลาสม่า" เป็นหลัก
- ลักษณะหรืออาการพืชที่ถูก "เชื้อรา" ทำลาย บริเวณกลางแผลจะแห้ง ไม่มีกลิ่น ขอบแผลฉ่ำเล็กน้อย แผลจะลุกลามขยายจากเดิมจนมีขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมกับเกิดแผลใหม่ทั้งบริเวณใกล้เคียงและห่างออกไป.....เชื้อตัวนี้มักเกิดเองจากดินที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม
- ลักษณะหรืออาการพืชที่ถูก "เชื้อแบคทีเรีย" เข้าทำลาย บริเวณกลางแผลจะเปียกฉ่ำเละและมีกลิ่นเหม็น แผลจะลุกลามขยายจากแผลเดิมจนมีขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมกับเกิดแผลใหม่ทั้งบริเวณใกล้เคียงและห่างออกไป......เชื้อตัวนี้มักเกิดเองจากดินที่สถภาพแวดล้อมเหมาะสม
- ลักษณะหรืออาการพืชที่ถูก "เชื้อไวรัส" เข้าทำลาย บริเวณถูกทำลายจะลายด่าง ขาวซีด เป็นทางยาวตามความยาวของส่วนของพืช หรือไม่มีรูปทรงที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับลักษณะของพืชส่วนที่เชื้อเข้าทำลาย.....เชื้อตัวนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุ์กรรม กับบางส่วนมีแมลงเป็นพาหะ
- เชื้อโรคพืชมักเข้าทำลายแล้วขยายเผ่าพันธุ์ตามส่วนของพืชที่เป็นร่มเงา มีความชื้นสูง และเชื้อมักไม่ชอบแสงแดดหรือบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง......เชื้อตัวนี้มักไม่เกิดจากดิน
- เชื้อโรคพืชหลายตัวที่ยังไม่มีแม้สารเคมีชนิดใดกำจัดได้ เช่น โรคตายพรายกล้วย. โรคใบแก้วส้ม. โรคยางไหล. โรคใบด่างมะละกอ. โรคใบขาวอ้อย. โรคใบขาวข้าว. โรคกระเจี๊ยบใบด่าง. โรคเถาแตก. ฯลฯ เชื้อโรคเหล่านี้มิได้เกิดเฉพาะในพืชที่กล่าวถึงเท่านั้น หากยังสามารถเกิดกับพืชอื่นๆ ได้อีกด้วย
- โรคไม่มีเชื้อ หมายถึง พืชมีลักษณะอาการเหมือนเป็นโรคที่เกิดจาก รา-แบคทีเรีย-ไวรัส แต่ในความเป็นจริงนั้นเกิดจากการ "ขาดสารอาหาร" ซึ่งการแก้ไขย่อมแตกต่างจากโรคที่มีเชื้ออย่างแน่นอน
- ทั้งโรคมีเชื้อและไม่มีเชื้อจะไม่สามารถทำลายพืชได้ หรือทำลายได้แต่เพียงเล็กน้อย ไม่ถึงระดับ "สูญเสียทางเศรษฐกิจ" หากพืชมีสมบูรณ์แข็งแรงแล้วเกิดเป็นภูมิต้านทานสู้กับเชื้อโรคเหล่านั้นได้
รอบรู้เรื่องโลก
1. ใช้สารเคมีโดยไม่รู้ประสิทธิภาพ หรือสรรพคุณที่แท้จริงของสารเคมีตัวนั้น
2. ใช้สารเคมีโดยไม่เข้าใจ "ชื่อสามัญ" สนใจแต่ชื่อ "การค้า"
3. ใช้สารเคมีครั้งละหลายๆตัวผสมกัน โดยไม่รู้ว่านอกจากทำให้สิ้นเปลืองแล้วยังทำให้ประสิทธิภาพเสื่อมอีกด้วย
4. ไม่มีความรู้ทางวิชาการที่บริสุทธิ์ในการบริหารจัดการศัตรูพืช หรือมีความรู้แค่โฆษณา
5. หลงช่วยเชียร์ให้สารเคมี โดยว่า "ยาแพงเพราะเป็นยาดี"
5. ใจร้อน ทุกอย่างต้องแรงอย่าง "ยาน็อค" จึงจะถือว่าได้ผล
7. ในฉลากข้างขวดกำหนดให้ใช้ 7 วัน/ครั้ง แต่ใช้จริง "ใช้ทุกวัน"
8. ปิดตัวเอง
9. มิจฉาทิฐิ
.
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.