-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 513 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารสมุนไพร





กำลังปรับปรุงครับ


กำจัดแมลงวันทองด้วยสมุนไพร
กล่าวถึง การกำจัดแมลงวันทอง ด้วยวิธีการใช้สารเคมีเป็นส่วนประกอบ สำหรับส่วนการใช้สมุนไพรกำจัดแมลงวันทองนั้นก็มีนักวิชาการศึกษาวิจัยกันมากมาย เช่น การศึกษาวิจัยเรื่อง “การวิจัยเพื่อค้นหาพืชของไทยที่มีคุณสมบัติในการป้องกันและกำจัดแมลงวันทอง” โดย สุธรรม อารีกุล ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทืองศรี สินชัยศรี กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตรและ แสน ติกวัฒนานนท์ คณะเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ


แต่ที่จะเล่าให้ฟังในวันนี้เป็นเรื่องที่ทำโดยเกษตรกรโดยตรงที่ทำแล้วนำไปใช้ได้ผลดี เพราะคนที่ทำก็เป็นเกษตรกรดีเด่น จังหวัดชัยนาท คือ นายเสรี กล่ำน้อย (ข้อมูลโดยอัครินทร์ ท้วมขำ และ นิทัศน์ กาญจนภา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จ.ชัยนาท) โดยนายเสรี ได้นำข่าแก่และข่าดง มาบดให้ละเอียดก่อนจะนำไปบดกับน้ำสะอาด โดยการนำข่าบดไปใส่ในภาชนะแล้วเอาฝ่ามือกดลงไป แล้วเติมน้ำให้ท่วมหลังมือ จากนั้นก็หมักไว้ 1 คืน พอตอนเช้าให้นำผ้าขาวบางมากรองเอาแต่น้ำข่าหมัก ต้องระวังอย่าให้มีเศษผงข่าไหลปนมากับน้ำข่าหมัก แล้วนำน้ำข่าหมักไปผสมกับน้ำสะอาดด้วยอัตรา 1 : 10 (น้ำข่าหมัก 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 10 ลิตร)

เมื่อผสมน้ำข่าหมักกับน้ำสะอาดตามสูตรแล้ว นายเสรี มีวิธีการนำไปใช้กับต้นชมพู่ทับทิมจันทร์ที่ปลูกอยู่ 10 ต้น ดังนี้ ฉีดพ่นผลที่ติดหลังผสมเกสรแล้วมีขนาดเท่าหัวไม้ขีด โดยพ่น 3 วัน/ครั้ง ต่อมาเมื่อผลโตเท่าหัวแม่มือก็ฉีดพ่น 7-10 วัน/ครั้ง

ผลคือสามารถป้องกันการทำลายของแมลงวันทองได้ถึง 70% แต่วิธีนี้มีข้อเสียคือ น้ำหมักข่าเก็บไว้ได้แค่ 2 วันเท่านั้น จากนั้นกลิ่นเริ่มเหม็น ใช้การไม่ได้

ฉะนั้นจึงหาวิธีที่จะทำให้อยู่ได้นาน ๆ กว่านั้น  นายเสรีจึงนำเอทิลแอลกอฮอล์ 95% มาหมักแทนน้ำ วิธีนี้ทำให้สามารถเก็บไว้ได้นานเป็นปี และมีประสิทธิภาพขับไล่แมลงวันทองได้ถึง 90%

โดยทำดังนี้ นำข่าแก่มาหั่น สับ บด ให้ละเอียด 3 ส่วน เอทิลแอลกอฮอล์ 95% อัตรา 1 ส่วน น้ำสะอาด 1 ส่วน และสบู่เหลว  ส่วน (ตัวอย่าง ข่าบดหรือสับ หรือหั่น 30 กก. เอทิลแอลกอฮอล์ 95% ปริมาณ 10 ลิตร น้ำสะอาด 10 ลิตร สบู่เหลว 2 ลิตร (สบู่เหลวใช้แทนสารจับใบและช่วยให้สารจับสมุนไพรที่ผิวของผลไม้และใบได้ทนทานไม่ถูกชะล้างเมื่อฝนตก)

นำทั้งหมดมาผสมกันแล้วหมักไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด-เปิดได้ หมักไว้ 7 วัน ในห้องที่มีอากาศถ่ายเท ระหว่างนั้นก็คอยเปิดฝาระบายก๊าซที่เกิดขึ้น แล้วปิดฝา หลัง 7 วันก็นำไปใช้ได้

วิธีใช้ของนายเสรี ดังนี้คือ นำน้ำหมัก 50-70 ซีซี (ประมาณ 3-5 ช้อนโต๊ะ) ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ฉีดพ่นชมพู่ติดผลใหม่ทุก 7-10 วันต่อครั้ง กระทั่งพ้นระยะเข้าทำลายของแมลงวันทอง


นอกจากเหง้าข่าแก่ มีพืชชนิดอื่น ๆอีกหลายชนิดที่สามารถขับไล่แมลงวันทอง ได้แก่ ใบสะเดา ใบแก่คำแสด ใบแก่มะกรูด หัวแก่พระตะบะ หัวแก่เอ็นหลวง เมล็ดละหุ่ง เมล็ดแตงไทย ต้นเสน่ห์จันทร์ขาว ต้นหญ้างวงช้าง

ลองนำวิธีของนายเสรี กล่ำน้อย เกษตรกรดีเด่นของจังหวัดชัยนาทไปปฏิบัติ หรือนำไปประยุกต์ใช้ก็น่าจะได้ผลดีแก่เกษตรกรที่ต้องการป้องกันและกำจัดแมลงวันทอง หรือแมลงวันผลไม้ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลไม้หลายชนิดเสียหาย




ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 8 ธันวาคม 2552

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=346&contentID=36106

http://www.phtnet.org/news52/view-news.asp?nID=666






เทคนิคการดักจับแมลงวันทอง

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิธีการล่อ ไล่ การกำจัดแมลงวันทอง และสร้างเครื่องมือดักจับแมลงวันทองแบบง่าย ๆ เนื่องจากแมลงวันทองทำให้มะม่วงและผลไม้ชนิดอื่นเสียหาย โดยการแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ

ตอนที่ 1 การทดลองเกี่ยวกับการหาพืชธรรมชาติ มาล่อแมลงวันทอง โดยการนำพืช 13 ชนิด คือ ดอกเดหลี ใบกระเพรา ใบชะพลู ดอกยี่โถ หัวไพล ใบสะเดา ใบมะกรูด ตะไคร้ หัวข่า พญาไร้ใบ เมล็ดเงาะ ใบยาสูบพื้นเมือง ขิง มาล่อแมลงวันทอง พบว่าใบกระเพรา หัวไพล ดอกเดหลี และดอกยี่โถ ล่อแมลงวันทองได้ดีเรียงตามลำดับ ส่วนพืชชนิดอื่น ๆ แมลงวันทองไม่ตอม

ตอนที่ 2 การทดลองเกี่ยวกับการหาพืชธรรมชาติมาไล่และกำจัดแมลงวันทอง โดยการนำพืชที่แมลงวันทองไม่ตอมในตอนที่ 1 คือ หัวข่า ใบชะพลู ใบสะเดา ใบมะกรูด ตะไคร้ พญาไร้ใบ เมล็ดเงาะ ขิง ใบยาสูบพื้นเมือง มาผสมกับน้ำแล้วคั้นเอาแต่น้ำ นำไปฉีดพ่นแมลงวันทอง พบว่า ใบยาสูบพื้นเมือง เมล็ดเงาะ พญาไร้ใบ ขิง และ ข่า สามารถฆ่าแมลงวันทองได้ดีเรียงตามลำดับ และความเข้มข้นของสารละลายที่แมลงวันทองตายมากใช้เวลาน้อยคือ ความเข้มข้นของสารละลาย 50 g น้ำ 50 Cm3 ส่วนใบสะเดา ใบมะกรูด ตะไคร้ ใบชะพลู แมลงวันทองไม่ตาย แสดงว่าพืชเหล่านี้ไม่สามารถกำจัดแมลงวันทองได้ แต่สามารถไล่แมลงวันทองได้

ตอนที่ 3 การทดลองเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือดักจับ แมลงวันทอง พบว่าเครื่องมือที่ทำจากขวดพลาสติก โดยการตัดปากขวด และถุงพลาสติก สามารถดักจับแมลงวันทอง ได้ดีกว่าขวดพลาสติกที่เจาะรู และเครื่องมือที่นำมาจากแผ่นมุ้งลวด ดักจับแมลงวันทองไม่ดี

จากการศึกษาค้นคว้า ใบกระเพรา เหมาะสมที่จะนำมาเป็นพืชที่ล่อแมลงวันทองได้ดีที่สุด ใบยาสูบพื้นเมืองนำมากำจัดแมลงวันทองได้ดีที่สุด และเครื่องดักจับแมลงวันทอง สามารถสร้างได้อย่างง่าย ๆ ไม่ต้องเสียเงินซื้อ เป็นการลดการเน่าเสียของผลไม้ต่าง ๆ ในฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ และลดปัญหาจากการใช้สารพิษ อันเป็นสาเหตุทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษได้


http://elib.ipst.ac.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=dsp&wa=E538C6&bid=131&qst=@93&db=SCP&pat=%B7%B4%C5%CD%A7&cat=gen&skin=u&lpp=20&catop=&scid=zzz&lang=0







วิธีกำจัดแมลงวันทองในสวนไม้ผล



แมลงวันทอง ชื่อนี้เกษตรกรรู้จักกันดี โดยเฉพาะชาวสวนไม้ผล ฉะนั้น จึงเรียกอีกชื่อว่า แมลงวันผลไม้ ชื่อนี้คงแปลมาจากภาษาอังกฤษที่มาจากคำว่า ฟรุต ฟลาย ส่วนชื่อแรกคงมีที่มาจากแมลงชนิดนี้เป็น สีทอง ไม่ได้เกี่ยวกับนางวันทอง นางในวรรณคดีอันโด่งดังแต่อย่างใด เพียงแต่ชื่อพ้องกันเท่านั้น

แมลงวันทองเป็นตัวก่อปัญหาให้ชาวสวนอยู่มาก เนื่องจากมันทำให้ผลไม้หลายชนิดเสียหายได้ เช่น ชมพู่ มะม่วง กล้วย มะละกอ พุทรา น้อยหน่า ขนุน...และอีกมากมายหลายชนิด เห็นมันตัวเล็ก ๆ นี้ละก็กำจัดยากเหมือนกันนะ เพราะเรากำจัดมันได้จำนวนน้อย แต่มันเกิดเป็นจำนวนมาก วิธีที่มันเข้าทำลายผลไม้มันทำอย่างนี้คือ เมื่อตัวแก่เพศเมียของแมลงวันผลไม้วางไข่ มันจะใช้อวัยวะวางไข่แทงทะลุเปลือกผลไม้และวางไข่ภาย ใน เมื่อไข่กลายสภาพเป็นตัวหนอนแล้วมันจะกัดกินเนื้อผลไ ม้ชนิดนั้น ๆ ทำให้ผลไม้เน่าเสีย เกษตรกรก็เสียหาย

วิธีการกำจัดมีมากมายทั้งการใช้สารเคมีและใช้สมุนไพร ยกตัวอย่างดังต่อไปนี้ การกำจัดแมลงวันทองโดยใช้เหยื่อพิษของนายสมคิด เฉลิมเกียรติ (ข้อมูลจากนายวิศิษ บ่อสารคาม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภออัมพวา)


สูตรผสมเหยื่อพิษ

1. น้ำหวาน ขวด
2. แลนเนต 2 ช้อน
3. น้ำสะอาด 20 ลิตร ผสมให้เข้ากัน



วิธีการใช้


1. ฉีดพ่นบริเวณที่มีหญ้าใต้ทรงพุ่มไม้ ผล 3 จุด
2. ฉีดพ่น 5 ครั้ง จนปริมาณแมลงวัน ทองลดการระบาด
3. ถ้ามีใบกะเพราให้ใช้ไม้ตีใบกะเพรา ให้มีกลิ่นแล้วฉีดพ่นเหยื่อพิษ
4. ควรฉีดพ่นช่วงเย็น ๆ



สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ เทคโน โลยีแห่งประเทศไทย ใช้ดอกเดหลีใบกล้วยในการกำจัดแมลงผลไม้ ทำดังนี้

1. ปลูกต้นเดหลีใบกล้วยไว้ในบริเวณบ้านหรือในสวนที่มีคว ามชื้นและมีแดดรำไร ต้นเดหลีใบกล้วยสามารถออกดอกตลอดทั้ง ปีและจะเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ ดอกเดหลี ใบกล้วยส่งกลิ่นหอมล่อแมลงวันทองเมื่อ ปลีดอกเริ่มเป็นขุย ส่งกลิ่นหอมช่วงเวลา 06.00-10.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แมลงวันทองออกหากิน ดอกหนึ่งส่งกลิ่นหอมนานประมาณ 10 วัน

2. ใช้ยาฆ่าแมลงมาลาไธออนหรือดิพเทอเร็กซ์ฉีดที่ปลีดอกใ นตอนเช้าทุก 3-5 วัน
3. เมื่อแมลงวันผลไม้ตัวผู้บินมาเกาะที่ปลีดอกจะสัมผัสก ับยาฆ่าแมลงที่ฉีดไว้ ทำให้มันตาย

นอกจากการใช้สารเคมีแล้ว ยังมีวิธีการอื่น ๆ อีกมากในการกำจัดแมลงวันทอง (ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร) เช่น

1. การทำความสะอาดบริเวณแปลงเพาะปลูก แมลงวันผลไม้สามารถเพิ่มจำนวนประชากรได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่มีพืชอาศัยอยู่มาก โดยการรวบรวมทำลายผลไม้ที่เน่าเสีย อันเนื่องมาจากถูกแมลงวันผลไม้เข้าทำลาย สามารถหยุดยั้งการเพิ่มจำนวนของประชากรอย่างรวดเร็วข องแมลงได้

2. การห่อผลไม้ เป็นการป้องกันการเข้าไปวางไข่ในผลไม้ที่ง่ายและได้ผ ลดีที่สุดวิธีหนึ่งอีกทั้งยังเป็นวิธีการที่ปลอดภัยจ ากการใช้สารฆ่าแมลง การห่อผลไม้นี้ควรจะห่อให้มิดชิดไม่ให้มีรูหรือรอยฉี กขาดเกิดขึ้น มิฉะนั้นแมลงจะเข้าไปวางไข่ได้

3. การควบคุมโดยชีววิธี ในธรรมชาติ แล้ว แมลงวันผลไม้มีแปลงศัตรูธรรมชาติ อยู่แล้ว มีอัตราการทำลายตั้งแต่ 15-53 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากแมลงวันผลไม้มีความเสียหายโดยตรงกับผลิตผล การใช้วิธีนี้จึง น่าจะใช้ร่วมกับวิธีอื่น ๆ ในการลดจำนวนประชากรในแปลง

ส่วนการใช้สมุนไพรกำจัดแมลงวันทองนั้นก็มีหลายสถาบัน ที่ศึกษาวิจัยกัน คราวหน้าจะนำเสนอ โปรดติดตามตอนต่อไป.

เธียรตรัส
เพิ่มเติมข้อมูลได้ที่
farmdaily@dailynews.co.th





http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?t=103787









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-09 (4074 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©