กำลังปรับปรุงครับ
การให้น้ำแบบฉีดฝอย (Sprinkler Irrigation)
คือการให้น้ำโดยการฉีดน้ำออกจากหัวขึ้นไปบนอากาศแล้วให้เมล็ดน้ำ ตกลงมาบนแปลงเพาะปลูก โดยมีรูปทรงการแผ่กระจายของเมล็ดน้ำสม่ำเสมอ โดยมีลักษณะเช่นเดียวกับฝน บางครั้งเรียกว่า การให้น้ำแบบฝนโปรย
ความเหมาะสม
- เหมาะกับพืชทุกชนิด ยกเว้น ข้าว
- เหมาะกับดินทุกชนิดที่มีอัตราการดูดึม สูงกว่า อัตราที่ทำการให้น้ำ
- เหมาะพิเศษสำหรับดินทรายที่มีการดูดซึมสูง
- พื้นที่ลาดชัน ไม่สม่ำเสมอ ปรับพื้นที่ไม่ได้
ลักษณะที่สำคัญ
- ให้ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ยารักษาโรคพร้อมให้น้ำได้
- ป้องกันความเสียหายของพืชที่เกิดจากความเย็นและความร้อน
- ใช้แรงงานน้อยกว่าวิธีอื่น
ข้อจำกัด
- กระแสลมที่พัดจะทำให้ฝอยน้ำที่พ่นออกมาไม่สม่ำเสมอ
- น้ำจะต้องสะอาด มีระบบกรองอย่างดี
- ท่อประธานและท่อแยกที่ไม่ได้ฝังดินนั้นอาจกีดขวางการไถพรวน
การให้น้ำทางผิวดิน (Surface Irrigation)
คือการให้น้ำโดยการให้น้ำนั้นขังหรือไหลไปบนผิวดินและซึมลงไปในดินตงจุดที่น้ำนั้นขังหรือไหลผ่าน ดังนั้นอาจถือว่าผิวดินเป็นทางน้ำ ทางน้ำนั้นมีหลายขนาดแตกต่างกันไป และเมื่อพิจารณาตามลักษณะของทางน้ำแล้วสามารถแบ่งการให้น้ำทางผิวดินได้เป็น 2 ลักษณะ คือ แบบให้น้ำท่วมเป็นผืน และ แบบให้น้ำท่วมในร่องคู
ท่วมแบบผืน (Flooding)
ท่วมเป็นผืนยาว (Graded Border)
ความเหมาะสม
- พืชปลูกชิดกันหรือพืชที่ปลูกโดยการหว่านเมล็ดยกเว้นพืชที่จะต้องมีน้ำขังอยู่ใน แปลง เช่น ข้าว
- พืชไม่ต้องการการไถพรวน
- ดินเกือบทุกชนิดไม่สูงและไม่ต่ำมากนัก
- พื้นที่ลาดเทน้อยกว่า 0.5% สำหรับพืชทั่วไป
- พื้นที่ลาดเทไม่เกิน 4% สำหรับพืชลำต้นเตี้ยชิดดิน
ลักษณะสำคัญ
- ให้ประสิทธิภาพในการให้น้ำสูง ถ้าออกแบบและให้น้ำอย่างถูกต้อง
- สามารถออกแบบพื้นที่แปลงให้เหมาะกับเครื่องมือเครื่องจักรที่นำไปใช้งาน
- ถ้าหากจำเป็นต้องมีการระบายน้ำส่วนเกินออกจากแปลงก็จะสามารถระบายได้รวดเร็ว
-ใช้แรงงานในการให้น้ำไม่มาก
ข้อจำกัด
- สภาพพื้นที่ควรราบเรียบและมีการลาดเทสม่ำเสมอ
- พืชต้นเล็ก ๆ อาจจะได้รับความเสียหายได้ในขณะให้น้ำ
- ดินบางชนิดอาจแตกระแหงหลังจากมีการท่วมผิวดินแล้ว
- ไม่เหมาะสมสำหรับดินทรายเพราะว่าจะมีการสูญเสียน้ำเนื่องจากการซึมในเขตรากพืชมาก
้
ท่วมเป็นผืนราบหรือท่วมเป็นอ่าง (Level Border , Basin)
ความเหมาะสม
- ดินมีอัตราการซึมขนาดปานกลางจนถึงการซึมต่ำ
- พื้นที่ราบเรียบหรือมีความลาดเทเพียงเล็กน้อย
- ใช้ได้กับพืชเกือบทุกชนิด
ลักษณะสำคัญ
- ประสิทธิภาพในการให้น้ำสูง
- ไม่มีการสูญเสียน้ำเนื่องจากการไหลออกจากพื้นที่เพาะปลูกด้านท้ายแปลง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีระบบระบายน้ำด้านทายแปลงอีก
- การให้น้ำแบบนี้ใช้น้ำฝนเกือบทั้งหมด และไม่มีน้ำไหลบ่า
ข้อจำกัด
- ต้องมีการปรับระดับพื้นให้ราบและสม่ำเสมอกันตลอดทั้งแปลง
- ถ้าความเร็วลมเกินกว่า 25 - 30 km/hrs. เป็นการยากที่จะให้น้ำ ถ้าแปลงมีขนาดใหญ่และลมพัดในทิศตรงข้ามกับการไหลของน้ำ
- ต้องการอัตราการให้น้ำสูงมาก สูงกว่าแบบให้น้ำเป็นผืนยาว
- จะต้องควบคุมระดับดินในแปลงให้อยู่ในแนวราบอยู่เสมอ
ท่วมเป็นผืนตามแนวเส้นขอบเนิน (Contour Levee)
ความเหมาะสม
- พื้นที่ควรจะเป็นดินที่มีเนื้อดินขนาดปานกลางถึงดินที่มีเนื้อละเอียด
- พื้นที่ควรราบเรียบและสม่ำเสมอและความลาดเทสูงสุดไม่เกิน 1 % (น้อยกว่า 0.5% จะยิ่งดี)
- พืชที่จะให้น้ำควรทนอยู่ในน้ำได้นานกว่า 12 ชม.
- เหมาะสำหรับข้าว และพืชอื่น ๆ เช่น ฝ้าย ข้าวโพด ถั่ว ธัญญพืชและหญ้าเลี้ยงสัตว์
ลักษณะที่สำคัญ
- สามารถให้น้ำได้อย่างสม่ำเสมอ ประสิทธิภาพการให้น้ำสูงถ้าหากได้รับการออกแบบและให้น้ำอย่างถูกต้อง
- ถ้ามีน้ำมากจนต้องระบายออก สามารถนำไปใช้กับพื้นที่ต่ำกว่าได้
ข้อจำกัด
- ไม่เหมาะกับดินที่ยอมให้น้ำผ่านปานกลางถึงเร็วมาก
- คันดินกั้นน้ำอาจถูกเซาะเสียหาย
- ต้องการอัตราการให้น้ำสูง
- ไม่สามารถให้น้ำครั้งละน้อย ๆ ได้ ( น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร )ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ท่วมจากคูตามแนวเส้นขอบเนิน (Contour Ditch)
ความเหมาะสม
- เหมาะสำหรับพืชปลูกชิดกันทุกชนิด พืชที่ไม่ต้องการการไถพรวนหรือยกร่องอีก ยกเว้นข้าว
- ดินมีอัตราการดูดซึมค่อนข้างสูง
- เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทของพื้นที่ 0.5 - 15 %
ลักษณะสำคัญ
- ลงทุนต่ำสุด
- พืชล้มลุก สะดวกในการเก็บเกี่ยว เพราะ ระบายน้ำลงคูได้ง่าย
ข้อจำกัด
- ประสิทธิภาพในการให้น้ำค่อนข้างต่ำ
- ต้องอาศัยลำน้ำขนาดใหญ่ ใช้แรงงานมากเพื่อปรับพื้นที่
- พืชต้นเล็ก ๆ อาจจะได้รับความเสียหายถ้าดินนั้นแตกระแหงหลังจากการให้น้ำ
แบบร่องคู (Furrow)
ร่องคูลาด (Graded Furrow)
ความเหมาะสม
- พืชปลูกเป็นแถว สวนผัก สวนผลไม้
- เหมาะกับดินทุกชนิดยกเว้น ดินทราย
- พื้นที่ควรมีความลาดเทไม่เกิน 2%
- พื้นที่ที่มีฝนตกชุกความลาดเทของร่องคูไม่ควรเกิน 0.5 %
ลักษณะสำคัญ
- ใช้ร่องเล็กหรือใหญ่ ขึ้นกับอัตราการส่งน้ำ
- ในกรณีที่มีการระบายน้ำ อาจใช้ร่องน้ำระบายน้ำที่ทดเข้ามาเกิน หรือ น้ำฝนเกิน ได้รวดเร็ว
- สามารถใช้ได้กับวิธีการส่งน้ำได้ทุกแบบ
ข้อจำกัด
- ใช้แรงงานในการให้น้ำมาก
- พื้นที่ต้องมีความลาดเทสม่ำเสมอ
- ไม่เหมาะสมกับการให้น้ำครั้งละน้อย ๆ เพื่อให้เมล็ดงอก
ร่องคูราบ (Level Furrow)
ความเหมาะสม
- ดินมีอัตราดูดซึมปานกลางถึงช้า ความสามสารถในการอุ้มน้ำปานกลางถึงสูง
- พื้นที่ราบเรียบสม่ำเสมอ
- พืชที่ปลูกเป็นแถว
- พืชที่หว่านเมล็ดต้องมีการยกร่องและให้น้ำเสียก่อน
ลักษณะสำคัญ
- ปริมาณน้ำที่ให้สามารถปรับให้เข้ากับความผันแปรของฤดูกาลได้โดยเปลี่ยน
ระยะเวลาการให้น้ำ หรือขนาดร่องน้ำ
- เครื่องมือทางการเกษตรทำงานได้สะดวก
- ถ้ามีฝนตกหนาแน่น สามารถนำน้ำฝนมาใช้ได้
- การชะล้างเกลือออกจากดินทำได้ง่าย
ข้อจำกัด
- ไม่เหมาะในที่มีกระแสลม มากกว่า 25-30 km/hrs. โดยมีทิศทวนกับทิศการส่งน้ำการกัดเซาะเกิดจากกระแสลม
- คันร่องน้ำและร่องน้ำควรตั้งฉากกับทิศการพัดของลม
- จะต้องคอยควบคุมระดับดินและรูปทรงของร่องคูให้คงสภาพตามที่ออกแบบไว้อยู่เสมอ
แบบร่องคูเล็ก (Corrugation)
แบบร่องคูเล็ก (Corrugation)
ความเหมาะสม
- พื้นที่ราบเรียบ ลาดเทระหว่าง 1 - 8%
- ร่องลูกฟูกต้องลาดเทไปทิศเดียวกับการส่งน้ำ
- เหมาะกับพืชปลูกชิดกัน ไม่มีการไถพรวน และปลูกด้วยการหว่าน
- ดินเนื้อละเอียดถึงหยาบปานกลาง ดินแห้งหรือแตกระแหง
- เพราะผิวดินส่วนน้อยที่เปียก จึงลดการแตกระแหงดี
ลักษณะสำคัญ
- ร่องคูเป็นร่องน้ำเล็กตื้น ระยะห่างเท่า ๆ กันตามขวางของพื้นที่
- ระยะเวลาการส่งน้ำ จำนวนแรกต้องมีอัตราสูงกว่าอัตราการดูดซึมของดิน
- หลังจากนั้นปรับน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม
ข้อจำกัด
- ไม่เหมาะกับบริเวณฝนชุก ต้องมีการลอกร่องอย่างน้อยปีละครั้ง
แบบร่องคูตามเส้นขอบเนิน ( Contour Furrow )
แบบร่องคูตามเส้นขอบเนิน ( Contour Furrow )
ความเหมาะสม
- ใช้ได้กับพื้นที่ความลาดเททั่ว ๆ ไป ยกเว้นพื้นที่ที่เป็นดินทรายหรืดินที่มีการแตกระแหงเมื่อแห้ง
- เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทสม่ำเสมอทั้งสองด้านพื้นที่
- เหมาะสำหรับพืชที่ปลูกเป็นแถวเกือบทุกชนิด
ลักษณะสำคัญ
- มีความสม่ำเสมอในการให้น้ำดี
- มีประสิทธิภาพการให้น้ำสูงถ้าได้รับการออกแบบและให้น้ำที่ดี
- ในพื้นที่ที่มีความลาดชันมากการให้น้ำแบบนี้จะเกิดกากัดเซาะน้อยกว่าการให้น้ำแบบร่องคูลาด
ข้อจำกัด
- จะต้องตรวจสอบตลอดว่ามีน้ำไหลล้นข้ามจากร่องที่สูงไปสู่ร่องที่ต่ำอยู่เสมอ
- น้ำฝนจะเป็นปัญหาในเรื่องการไหลของน้ำข้ามร่อง
- ความยาวของร่องจะต้องไม่ยาวมากนักเพื่อที่จะได้รับการระบายน้ำที่เหลือออกโดยไม่เกิดการกัดเซาะที่รุนแรงและต้องการร่องระบายน้ำที่มีการป้องกันอย่างดี
- จะต้องมีการป้องกันการกัดเซาะในคูส่งน้ำด้วย เพราะคูมีความลาดเทมาก
- เสียเวลาในการวางร่องคูมาก
- เครื่องจักร อุปกรณ์การเกษตรนำเข้าไปในพื้นที่ได้ยากลำบาก
การให้น้ำทางใต้ดิน (Subsurface Irrigation)
คือการให้น้ำแก่พืชโดยการยกระดับน้ำใต้ดินขึ้นมาให้สูงพอที่น้ำจะไหลซึมขึ้นมาสู่ระดับเขตรากได้ วิธีการเพิ่มระดับใต้ดินอาจทำได้ 2 แบบ คือ โดยการให้น้ำในคู และการให้น้ำไหลเข้าในท่อซึ่งฝังไว้ในดิน แต่ที่นิยมกัน คือ วิธีการให้น้ำในคู คูดังกล่าวจะขุดขึ้นตามเส้นขอบเนินโดยให้ระยะห่างระหว่างคูไม่ห่างกันมากนัก เพื่อที่ว่าน้ำจะไหลซึมเข้าไปในดินและระบายออกได้อย่างรวดเร็วเมื่อสิ้นสุดการให้น้ำ คูนี้จะเชื่อมต่อกับคูส่งน้ำที่ซึ่งมีอาคารชลประทานคอยควบคุมระดับน้ำในคูทั้งสองให้อยู่ในระดับที่ต้องการ
ความเหมาะสม
- เหมาะกับดินที่มีเนื้อชนิดเดียวกัน
- เนื้อดินมีการดูดซึมน้ำมากพอที่จะปล่อยให้น้ำไหลลงในดินได้เร็วทั้งแนวราบและแนวดิ่ง
- พื้นที่ควรจะราบเรียบและเกือบอยู่ในแนวราบ
- พืชที่เหมาะสม คือ ผัก พืชไร่ หญ้าเลี้ยงสัตว์ และไม้ดอกต่าง ๆ แต่ไม่เหมาะสมกับพืชสวนและพืชยืนต้น
ลักษณะที่สำคัญ
- วิธีนี้ใช้กับดินที่มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ และ อัตราการดูดซึมสูง ซึ่งไม่สามารถให้ น้ำทางผิวดินได้
- การระเหยน้ำจากผิวดินต่ำ
- สามารถควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่ในระดับที่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชที่อายุต่าง ๆ ได้
- สามารถใช้เป็นระบบระบายน้ำได้ด้วย
- ต้องการแรงงานในการให้น้ำน้อย
- ประสิทธิภาพในการให้น้ำสูง
ข้อจำกัด
- ไม่สามารถใช้ได้ดีกับน้ำที่มีเกลือผสมอยู่มาก
- พื้นที่ข้างเคียงจะต้องมีการให้น้ำวิธีนี้ด้วยมิฉะนั้นจะมีปัญหาเรื่องการระบายน้ำ
- การงออกของเมล็ดอาจจะไม่สม่ำเสมอถ้าไม่มีการควบคุมระดับน้ำใต้ดินให้มี
การซึมอย่างสม่ำเสมอ
- สามารถใช้ได้กับพืชเพียงบางชนิด พืชที่มีรากลึก เช่น พืชสวนและพืชยืนต้นไม่
เหมาะสมที่จะให้น้ำโดยวิธีนี้
- ปุ๋ยที่ให้แก่พืชแผ่กระจายไปทั่วเขตรากได้ช้ากว่าแบบให้น้ำทางผิวดินหรือแบบฉีดฝอย
การให้น้ำแบบหยด (Trickle Irrigation)
คือการให้น้ำแก่พืชที่จุดใดจุดหนึ่งหรือหลาย ๆ จุดบนผิวดินหรือในเขตรากพืช โดยอัตราการให้นั้นไม่มากพอที่จะทำให้ดินในเขตรากเปียกชุ่มเป็นบริเวณกว้าง แต่จะทำให้ดินมีแรงดึงความชื้นต่ำอยู่
ความเหมาะสม
- พื้นที่ที่มีปริมาณน้ำจำกัด หรือราคาแพง
- ใช้ได้กับเนื้อดินเกือบทุกชนิด และต้องการให้ดินมีความชื้นสูงตลอดเวลา
- เหมาะกับพืชรากตื้น เช่น พวกพืชผักต่าง ๆ
ลักษณะที่สำคัญ
- น้ำไหลซึมอยู่บริเวณรากพืช
- ลดปัญหาวัชพืช
- ใช้แรงงานในการให้น้ำน้อย
- ให้ปุ๋ย สารเคมี พร้อมการให้น้ำได้
ข้อจำกัด
- มีปัญหาการอุดตันของหัวจ่ายน้ำ
- สัตว์ กัดแทะ กัดท่อระบบให้น้ำ
- ความเข้มของเกลือซึ่งมักจะเกิดขึ้นในบริเวณรอบ ๆ นอกของส่วนที่เปียกชื้นอาจเป็นอันตรายต่อพืชได้
- ค่าลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูงเพราะต้องมีอุปกรณ์หลายอย่าง
http://kmcenter.rid.go.th/kmc16/wichakarn/data/method_m.htm
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.