กำลังปรับปรุงครับ
โอเวอร์เฮด สับปะรด 300 ไร่...
ราว 10 ปีที่แล้ว หลังจากเข้ามาจับงานด้านเกษตรแล้วได้ลงพื้นที่ ดูแปลง เก็บ
ข้อมูล อย่างน้อยก็เพื่อนำมาลงในวารสารเกษตรใหม่ จากการที่ได้ตะลอนๆไปทั่ว
สารทิศ พบปะผู้คนทั้งเกษตรกรโดยตรงและโดยอ้อม ทำให้มองเห็นอะไรบางอย่าง
หรือหลายอย่างที่แฝงลึกในความสำเร็จและความล้มเหลว
ระบบให้น้ำพืชไร่อย่างสับปะรดในแปลงนี้ เป็นสิ่งพิสูจน์ได้ชัดเจนที่สุด ทุกหลัก
การ ทุกเทคนิค ตรงกับสิ่งที่ลุงคิมเคย "จินตนาการ" เอาไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เป๊ะๆ
ไม่ผิดเพี้ยน เคยนำแนวคิดในจินตนาการนี้ลงในวารสารเกษตรใหม่ พูดผ่านวิทยุทั้ง
รายการของตัวเองและรายที่ร่วมแจมกับคนอื่น (ไม่ต่ำกว่า 10 สถานี ทั่วประเทศ)
ถึงความเป็นไปได้ ความจำเป็น ความเหมาะสม กับทั้งประโยชน์ที่พึงได้รับทั้งระยะ
สั้น ระยะปานกลาง ถึงระยะยาว
ตลอดระยะเวลาที่นำเสนอผ่านสารพัดสื่อที่มีอยู่ ครั้งแล้วครั้งเล่า ซ้ำแล้วซ้ำอีกนั้น ก็
ไม่มีใครเห็นด้วยถึงขนาดลงมือทำ ด้วยการพูดแต่ปากอาจจะมีน้ำหนักความน่าเชื่อ
ถือไม่เพียงพอ เหมือนทำเกษตรหลังไมโคโฟน หรือทำเกษตรบนแผ่นกระดาษ จึง
ตัดสินใจลงมือทำ ทำกับมือตัวเองที่ไร่กล้อมกล้ม กระทั่งวันนี้มีเพียงบางรายเท่า
นั้น น้อยรายมากๆ ที่เห็นด้วยแล้วลงมือทำบ้าง
1. หน่อพันธุ์ที่ตัดออกมาจากโคนต้นแม่ เอามาวางบนต้นแม่แบบนี้เป็นการช่วยบัง
แดดไม่ให้เผาหัวสับปะรดได้เป็นอย่างดี....ปกติหน่อพันธุ์วางบนต้นแม่แบบนี้ แล้ว
ไม่มีการให้น้ำเลย จะอยู่ได้นานนับเดือนโดยไม่กระทบกระเทือนต่อการงอกใหม่
เพียงแต่ต้นหน่อพันธุ์อาจจะไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรเท่านั้น แต่หากมีการให้น้ำแก่ต้น
แม่ซึ่งก็เท่ากับเป็นการรักษาต้นหน่อพันธุ์ไปด้วยนี้ หน่อพันธุ์สามารถอยู่ได้นานถึง
3 เดือน ช่วยให้การยืดเวลา (ปัญหาแรงงาน) ที่จะเอาไปปลูกต่อได้นานขึ้น....
นอกจากเป็นการให้น้ำแก่ต้นแม่แล้ว ยังเป็นการบำรุงและยืดอายุต้นหน่อพันธุ์อีก
ด้วย นี่คือ ประโยชน์ที่ได้รับอย่างเห็นได้ชัด
2. เนื้อที่ 300 ไร่ หัวโอเวอร์เฮด 5 หัว แรงงาน 5 คน ประจำหัวละ 1 คน เมื่อหัว
ใดทำงานเสร็จให้น้ำพอเพียงเป็นที่น่าพอใจ ประมาณ 10 นาที คนงานประจำหัวก็จะ
ถอดหัวออกจากท่อสวมหัว ปิดวาวล์ แล้วเอาไปสวมให้กับท่อสวมหัวถัดไป ตามที่
แบ่งพื้นที่กันแต่ละคนแล้ว เปิดวาวล์ปล่อยน้ำ ทำแบบนี้ทีละโซนๆ จนครบทุก
โซน....ท่ามกลางแสงแดดแผดเผา คนงานตัวเปียกเหมือนอาบน้ำ เย็นสบาย ทำ
งานด้วยสุขภาพจิตที่ดี ทำให้ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของเนื้องาน ออกมาดี โดย
เจ้าของไม่ต้องจ้ำจี้จ้ำไชให้มะเร็งกินอารมย์
3. หัวสปริงเกอร์โอเวอร์เฮด หรือ TOP GUN สนนราคามือ 2 ประมาณ 1,000
กว่าบาทเท่านั้น เป็นหัวสปริงเกอร์แบบให้เม็ดน้ำใหญ่ ซึ่งเหมาะสมกับพืชอย่าง
สับปะรด ท่าทางแข็งแรงทนทานมาก เพราะไม่มีอุปกรณ์ชิ้นส่วนเล็กๆเลย ทุกชิ้น
ส่วนใหญ่ หนา บึกบึน ทนต่อแรงกระแทก ไม่เป็นสนิม ขะโมยไม่ชอบเพราะไม่มี
แหล่งรับซื้อ....
4. แต่ละหัวพ่นน้ำได้ไกลรัศมี 18-20 ม. (เส้นผ่าศูนย์กลาง 38-40 ม.) ช่วงลม
สงบ ด้วยแรงปั๊มที่มีสามารถทำงานได้ครั้งละ 5 หัว สบายๆ
5. แม้จะเป็นหัวสปริงเกอร์แบบพ่นน้ำเม็ดใหญ่ แต่ก็มีเม็ดน้ำขนาดเล็กปลิวกระจาย
ตั้งแต่ปลายหัวสปริงเกอร์สาดทั่วบริเวณจนถึงปลายทางได้
6. เครื่องยนต์ 10 ล้อ ขนาด 195 แรงม้า ระยะเวลาทำงานครั้งละ 7 ชม. สำหรับ
แปลงขนาด 300 ไร่ สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงครั้งละ 1,500 บาท เฉลี่ยไร่ละ 5 บาท
ต่อการเดินเครื่องอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ให้เฉพาะช่วงแล้งจัดเท่านั้น....ต้นทุนค่าให้น้ำไร่
ละ 5 บาท ..... สมมุติว่า ตลอดทั้งปีต้องให้น้ำ 10 ครั้ง ก็เท่ากับไร่ละ 50 บาท/
ไร่/รุ่น หรือให้น้ำ 20 ครั้ง ก็เท่ากับไร่ละ 100 บาท/ไร่/รุ่น
7. ตรวจสอบปริมาณหยดน้ำที่สาดลงบนผิวถนน โดยโอเวอร์เฮดสาดใส่เพียง 2
รอบ พบว่า หยดน้ำกระจายทั่วทุกตารางนี้ แต่ในความเป็นจริงนั้น ในแปลงแต่ละ
โซน โอเวอร์เฮดสาดน้ำแบบส่ายซ้ายขวา หรือหมุนรอบตัว โซนละ 10-15 รอบ
นั่นหมายถึงปริมาณน้ำที่อาจจะมากจนเกินพอดีก็ได้ ..... ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้ คนงานที่
ทำงานรู้ดีว่า น้ำพอเพียงหรือยัง มากหรือน้อยเกินไปหรือไม่
8. เครื่องยนต์ต้นกำลัง ประกอบส่วนกับปั๊ม....อยู่ในโรงเรือนแบบง่ายๆ แต่แข็ง
แรง ทนทาน ใช้งานมาแล้ว 3 ปี ทั้งยังมีท่าทีว่าจะใช้งานต่อไปได้อีกไม่น้อยกว่า
10 ปี......คุ้มเกินคุ้ม กับการลงทุนเพียงครั้งเดียว
9. หัวสวมโอเวอร์เฮด ขนาด 2 นิ้ว กระจายตามจุดต่างๆทั่วแปลง ตามที่คำนวน
ระยะรัศมีทำงานของแต่ละจุด แต่ละหัว ไว้ก่อนแล้ว นึกอยากให้น้ำโซนไหน ก็เอา
หัวโอเวอร์เฮดไปสวมที่ปลาย แล้วเปิดวาวล์ จากนั้นทุกอย่างก็จะทำงานของมันเอง
โดยไม่มีการอู้หรือหลบเลี่ยงงาน เสร็จงานแล้วถอดหัวกลับบ้าน ขืนทิ้งไว้อาจโดน
มือดีขอยิมได้
10. ปั๊มตัวนี้ไม่ได้เก็บรายละเอียดมา แต่ก็เห็นเป็นปั๊ม "สเตจ" ทั่วๆไป ที่ไร่กล้อม
แกล้มก็เคยใช้ แต่แรงดันน้ำมากเกินจำเป็นเลยโละทิ้ง จำได้ว่า ตอนนั้นซื้อมาแค่
3,500 บาทเอง.....เป็นงานชิ้นสุดท้ายของภารกิจวันนั้น อาการ "ขี้เกียจ" เริ่ม
กำเริบ......นิสัย
11. น้ำในห้วย "ลำผักชี" แม้ไม่มากนัก แต่ก็มีน้ำไหลตลอดปี หน้าแล้งระดับน้ำ
อยู่ที่ก้นห้วย แต่หน้าฝนระดับน้ำอยู่ที่ริมตลิ่ง.....น้ำท่วมคราวที่แล้ว ระดับน้ำขึ้นมา
เหนือตลิ่ง กินพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 20-50 ม. .... ที่น่าฉงนก็คือ แปลงสับปะรด
ข้างเคียง ทั้งๆที่แปลงสับปะรด แปลงอ้อย แปลงสำปะหลัง ในละแวกใกล้เคียง อยู่
ติดลำห้วย ไม่มีใครนำน้ำในห้วยขึ้นมาให้แก่พืชไร่ของตัวเองเลย อ้างเหตุผลว่า ให้
น้ำแล้วจะเกิดอาการเน่า ทั้งๆที่เห็นโทนโท่อยู่เต็มตา บางคนเคยมารับจ้างแรงงานใน
แปลงนี้ด้วยซ้ำ กลับไม่ยอมรับความจริงว่า พืชไร่ที่ได้น้ำพอหน้าดินชื้นจะได้ปริมาณ
และคุณภาพเหนือกว่าที่ไม่ได้ให้น้ำเลย...........อนิจจา
12. นั่งอยู่ริมตลิ่งลำผักชี มองสันเนินทรายกลางร่องน้ำแล้วย้อนมามองร่องรอยริม
ตลิ่งที่พังทะลายลงเป็นแนว บ่งบอกถึงพลังอันมหาศาลจากธรรมชาติแห่งสายน้ำ
ยามไหลเชี่ยว มันทั้งสร้างความสมบูรณ์และความเสียหายแก่สรรพสิ่งที่ขวางหน้า
สายน้ำลำผักชีแห่งนี้เริ่มต้นจากจุดไหนในพงไพรของจังหวัดราชยุรีไม่ทราบ แต่
ทราบว่า ทางท้ายน้ำโน้น อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ต้อง
รับภัยน้ำท่วมจากลำผักชีลำน้ำสายเล็กๆสายนี้อยู่เป็นประจำ
น้ำท่วม....น้ำท่วม...น้ำท่วม.....ผู้คนมักเอ่ยแต่คำนี้ หากคิดกลับอีกมุมหนึ่งแล้ว
พูดว่า น้ำบริบูรณ์....น้ำบริบูรณ์....น้ำบริบูรณ์...แล้วบริหารจัดการภายใต้กฏเกณท์
ธรรมชาติ เพื่อยังประโยชน์ของผู้คน ก็น่าจะได้
บ่ายวันนั้นใต้ร่มมะม่วงป่าริมตลิ่งลำผักชี นึกย้อนอดีตเมื่อครั้ง ร.5 ทรงรับสั่งให้
สร้าง "คลองระพีพัฒน์" โดยสร้างลำคลองสายหลักขึ้นมาก่อน แล้วสร้างคลอง
แยกออกจากคลองหลัก ทุกระยะ 2 กม.ของคลองสายหลักจะมีคลองย่อยดั่งก้าง
ปลาแยกออกไปไกล 2-3 กม. ทั้งคลองสายหลักและคลองย่อยก้างปลาต่างเป็นที่
กักเก็บน้ำ สร้างความบริบูรณ์ให้เรือกสวนไร่นาสองฝั่งฟากมากระทั่งปัจจุบัน และจะ
สืบต่อจนถึงรุ่นลูกหลานเหลนโหลน
ตามประสาคนชั่งคิด รูปลักษณ์สัณฐานคลองระพีพัฒน์มาสู่คลองลำผักชีอย่างมีเหตุ
มีผล วันนี้ถ้าจัดการลอกสันทรายกลางลำน้ำออกให้หมด ตัดแต่งตลิ่งแบ่งเขต
คลองกับเขตที่ชาวบ้านให้แน่ชัด ทำฝายน้ำล้นเพื่อกักเก็บน้ำเป็นช่วงๆ ให้น้ำคลอง
สายหลักเต็มอยู่เสมอ แทนการปล่อยน้ำไปสู่ปลายทางที่อ่าวไทย จากนั้นขุดคลอง
แยกจากคลองหลักทุกระยะ 2 กม. เหมือนก้างปลาคลองระพีพัฒน์ ที่ปลายก้าง
ปลาให้มี "แก้มลิง" รองรับอีกต่อหนึ่ง ก็ทำได้
โครงการนี้น่าจะใช้เงินไม่น้อยกว่า 100 ล้าน ให้สงสัยว่า ทำไม "นักกินเมือง" จึง
ไม่สนใจ ค่าคอม.จากงบก่อสร้าง แถมยังได้ค่าทรายที่ก้นลำคลองอีกนับพัน นับ
หมื่นตัน เป็นของแถมอีกต่างหาก
13. หนุ่มใหญ่ ผันชีวิตจากผู้รับเหมาก่อสร้าง โปรเจ็คละหลายร้อยหลายพันล้าน
มาสู่เกษตรกรชาวไร่ ไร่สับปะรด. สวนหมาก. และสวนปาล์มน้ำมัน. แต่ละอย่าง
ระดับหลายๆร้อยไร่ ทุกแปลงติดตั้งระบบสปริงเกอร์ ทั้งนั้น....แนวคิดของเขาน่า
สนใจมากๆ คิดไม่เหมือนใคร แต่คิดเหมือนลุงคิม.... เรื่องนี้ยาว ต้องใส่อารมย์โดย
เฉพาะ แล้วจะเล่าสู่ฟังวันหลัง..........สัญญา
14. คำนวนต้นทุนตามหลักเศรษฐศาสตร์การลงทุนแล้ว พบว่า สับปะรดส่งโรงงาน
1 หัว ต้นทุนอยู่ที่ 2 บาท ส่งโรงงานได้ราคาหัวละ 5.50 บาท นี่เท่ากับกำไร
300 % เห็นๆ ที่ได้อย่างนี้เพราะ "น้ำ" ไม่ใช่ "ปุ๋ย" เหมือนที่ชาวไร่ทั่วๆไปเข้าใจ
15. อากาศหนาวเย็น สับปะรดมีอาการใบสี "เหลืองอมแดง" แต่อาการไม่รุนแรง
นักเมื่อเทียบกับแปลงที่ไม่เคยให้น้ำเลย
16. วันนี้ยังให้ปุ๋ยทางดิน 3 : 1 : 6 ด้วยแรงงานคน....ในอนาคตอันใกล้จะให้
ปุ๋ยทางใบ ด้วย "รถให้ปุ๋ย" รถคันนี้สร้างที่สวนผึ้ง อำเภอเล็กๆติดชายแดน (ลุงคิม
ไปเห็นมาแล้ว...สุดยอด) สนนราคาหน้าอู่พร้อมใช้ประมาณ 1 ล้าน ถ้าสั่งซื้อจาก
ต่างประเทศ (รู้จากเน็ต.....ประเทศไทยไม่มี) ตกคันละ 30 ล้าน.....เจ้าของคำ
นวนต้นทุนแล้ว บอกว่า สับปะรดรุ่นเดียวก็ได้ทุนคืน รุ่นต่อๆ ไปคือกำไรเนื้อๆ
17. ชุดสูบส่งน้ำลงไปอยู่ในห้วยเลย เพื่อลดระยะทาง "ดูด" ให้เหลือระยะทางสั้น
ที่สุด ความสูงดูดน้ำ (จากกะโหลกถึงปั๊ม) ประมาณ 2 ม. กะโหลกอยู่ในน้ำถ่วงด้วย
ถัง 200 ล. 2 ถัง....และความสูงส่งน้ำ (จากปั๊มถึงพื้นระดับ) ประมาณ 3 ม.
เหมือนกัน.....ไม่ได้เก็บรายละเอียด เมื่อน้ำท่วมคราวที่แล้ว แก้ปัญหายังไง.....
18. ฝายน้ำล้น สร้างเพื่อชาวบ้านใกล้เคียงได้มีน้ำใช้
19
20. หน่อพันธุ์ "อวบ-อ้วน-อั๋น-อึ๋ม-ใหญ่-ยาว-แข็ง" บ่งบอกถึงความสมบูรณ์
ชัดเจน เพราะต้นแม่ได้น้ำนั่นเอง.....ฉนี้แล้ว ทำมั้ย ทำไม ชาวไร่สับปะรดย่านใกล้
เคียง แปลงติดกัน ใยไม่ทำตามอย่างบ้าง
21. ประตูน้ำขนาด 3 นิ้ว สำหรับแบ่งโซนแต่ละโซน....ระบบทดขนาดท่อของ
แปลงขนาด 300 ไร่ เมนใหญ่ 6 นิ้ว เมนรอง 4 นิ้ว แล้วก็ 2 นิ้วที่หัวสวมโอเวอร์
เฮด.....ท่อทุกเส้นทุกจุดฝังดินทั้งหมด เหลือก็แต่ท่อหัวสวมตัวโอเวอร์เฮดเท่านั้น
โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดิน....ท่อที่ฝังดินไม่มีปัญหาเรื่องเครื่องจักรขนาดหนักวิ่งทับ
เพราะออกแบบป้องกันแต่แรกแล้ว ดีนะแบบนี้ ไม่ต้องกลัวขะโมย ไม่เกะกะสาย
ตา แล้วก็ไม่ต้องซ่อมเพราะโดนใบมีดเครื่องตัดหญ้าด้วย
ลุงคิมครับผม
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.