-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 480 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

กล้วยน้ำว้า






ที่มา: http://student.nu.ac.th/gluay_gluay/index1.htm

กล้วยน้ำว้า

           
                 คุณลักษณะเฉพาะ

            - สายพันธุ์แนะนำได้แก่  มะลิอ่อง.  ไส้แดง.  นวลจันทร์.
            - กล้วยน้ำว้าปลูกได้ทุกพื้นที่และทุฤดูกาล  ชอบดินเหนียวมีอินทรีย์วัตถุมากๆ เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินที่มีความชื้นสูงจนถึงแฉะ มีลักษณะทางสายพันธุ์ใกล้เคียงกับกล้วยป่า ถ้าได้รับการผสมเกสรกับกล้วยป่า  ผลของกล้วยน้ำว้าต้นนั้นจะมีเมล็ด
            - ปลูกลึกให้เหง้าต่ำกว่าผิวดิน 20-30 ซม.จะช่วยให้โตเร็วได้เหง้าและโคนต้นขนาดใหญ่
            - ก่อนนำลงปลูกให้ตัดรากที่ติดมากับเหง้าทิ้งทั้งหมด เพราะรากเดิมไม่งอกต่อแต่จะเน่าแล้วแทงรากใหม่ออกมาแทน
            - แช่เหง้าที่ตัดรากและทำความสะอาดแล้วในสารไคตินไคโตซานนาน 6-12 ชม.ก่อนนำลงปลูกในแปลงจริง นอกจากเป็นการช่วยให้ต้นได้สะสมสารอาหารไว้ในเหง้าก่อนแล้วยังส่งผลให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรงโตเร็วและให้ผลผลิตดีอีกด้วย

            - นำหน่อลงปลูกแล้วกดดินให้แน่น  พูนโคนต้นด้วยดินข้างหลุม และคลุมหลุมปลูกหนาๆกว้างเต็มพื้นที่ทรงพุ่มด้วยเศษหญ้าแห้ง
            - กล้วยน้ำว้าต้องการน้ำมากและสม่ำเสมอจึงไม่ควรให้หน้าดินถูกแดดจนแห้ง  ถ้าต้นขาดน้ำหรือมีความชุ่มชื้นน้อยจะชะงักการเจริญเติบโต
            - คุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่ง คือ ทนทานต่อน้ำขังแฉะได้นาน
            - อายุตั้งแต่เริ่มปลูกถึงตัดเครือ 14 เดือนครึ่ง  (เริ่มปลูกถึงแทงปลี 250-260 วัน  และแทงปลีถึงตัดเครือ 110-120 วัน)  สภาพอากาศหนาวจะแทงปลีและตัดเครือช้ากว่าสภาพอากาศร้อน
            -  อายุต้นหลังปลูก 3-4 เดือนจะเริ่มแทงหน่อ  เมื่อหน่อสูง 50-80 ซม.ให้ตัดหน่อเหลือตอสูงจากพื้น 15-20 ซม. และตัดซ้ำทุกครั้งที่หน่อสูง 50-80 ซม.  โดยให้รอยตัดครั้งหลังสูงกว่ารอยตัดครั้งก่อน 5-10 ซม.เสมอ  จนกระทั่งต้นแม่อายุ 7-8 เดือนให้เลือกหน่อชิด 1-2 หน่อเพื่อแทนต้นแม่หลังจากตัดเครือและล้มต้นแม่แล้ว  หน่อที่เลือกไว้นี้ไม่ต้องตัดต้น  ส่วนหน่อตามหรือหน่ออื่นๆให้ตัดตามปกติ
            - การไว้หน่อเพื่อแทนต้นแม่สำหรับเป็นกล้วยรุ่นปีต่อไปนั้น หน่อแต่ละรุ่นควรมีอายุห่างกัน 4-5 เดือนเสมอ

           
- ช่วงที่ยังไม่แทงปลีให้เลี้ยงใบไว้ทั้งหมด  เมื่อถึงช่วงแทงปลีและออกเครือแล้วให้มีใบ 10-12 ใบ
            - ก่อนแทงปลีจะมีใบธงชูตรงขึ้นมาให้เห็น จังหวะนี้ควรให้ปุ๋ยทางรากด้วย  8-24-24  ควบคู่กับให้ ทางใบด้วย  0-42-56 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม  1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 7-10 วัน  จะช่วยให้ดอก (ปลี) สมบูรณ์ส่งผลให้ได้จำนวนหวีและจำนวนผล/หวีมากขึ้น
            - ระหว่างที่ต้นแม่กำลังแทงปลี ตกเครือ จนถึงตัดเครือ ห้ามขุดแยกหน่อเด็ดขาดเพราะจะทำให้ต้นแม่กระทบกระเทือน แต่ถ้าหน่อสูงใหญ่มากใช้วิธีตัดต้นหน่อให้สั้นลงแทน หลังจากตัดเครือแล้วจึงขุดแยกหน่อได้
            - กล้วยน้ำว้าปลูกลึก  มีรากมากและอยู่ลึก  โคนลำต้นจะค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบขนาดกับกล้วยสายพันธุ์อื่น ช่วงที่ต้นมีเครือขนาดใหญ่  ถ้าต้นตั้งตรงปกติก็ไม่จำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำต้น แต่ถ้าต้นเอียงก็อาจจะต้องมีไม้ค้ำต้นเพื่อป้องกันต้นล้ม
            - กล้วยน้ำว้าแจ็คพอต หมายถึง กล้วยน้ำว้าที่แก่จัดใกล้สุก (ห่าม) หรือสุกพอดีตรงหรือก่อนเล็กน้อยกับช่วงวันเข้าพรรษา ออกพรรษา หรือในพรรษาพอดี  การปลูกกล้วยน้ำว้าให้ได้ผลผลิตตรงกับช่วงเทศกาลดังกล่าวทำได้โดย นับระยะอายุจากวันตัดเครือย้อนหลังมาถึงวันที่หน่อเริ่มยืนต้นได้ 14 เดือนครึ่ง ให้ลงมือปลูกหน่อกล้วยที่เตรียมไว้พร้อมแล้วก่อนวันที่หน่อเริ่มยืนต้นได้ 10-15 วัน  จากนั้นปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนปกติ  กล้วยน้ำว้าต้นนั้นก็จะมีเครือให้ตัดได้ในอีก 14 เดือนครึ่งต่อมาพอดี
            วิธีปลูกหน่อก่อน 2-3 เดือนแล้วตัดต้น 1-2 รอบเพื่อสร้างเหง้าให้ใหญ่  ซึ่งการตัดต้นครั้งสุดท้ายตรงกับวันเริ่มนับอายุปลูก (ยืนต้น) ก็ได้  



 ********************************************************


กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้าเป็นกล้วยที่นิยมบริโภคในประเทศมีคุณค่าทางอาหาร เหมาะสมสำหรับการรับประทานทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ปลูกค่อนข้างง่าย

การปลูก
วิธีปลูก:
- ปลูกในช่วงฤดูฝน
- ปลูกด้วยหน่อใบแคบ หรือต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะปลูกเลี้ยงเนื้อเยื่อ
- เตรียมหลุมปลูกขนาด 50 x 50 x 50 ซม.
- ผสมดินปุ๋ยคอกจำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟส จำนวน 50 กรัม เข้าด้วยกันใน หลุมให้สูง ประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
- ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุมโดยระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
- ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากหลุมทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
- ดึงถุงพลาสติกออกโดยระวังอย่าให้ดินแตก
- กลบดินที่เหลือลงในหลุม
- กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
- คลุมดินบริเวณโคนต้นด้วยฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง
- รดน้ำให้ชุ่ม

ระยะปลูก:
2.5 x 3 เมตร , 2.5 x 2.5 เมตร

จำนวนต้นต่อไร่ :
จำนวนต้นเฉลี่ย 200 ต้น/ไร่ , 250 ต้น/ไร่

การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย:
ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ 15-15-15 อัตรา 1 กิโลกรัม ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 4 ครั้ง ๆ ละ 250 กรัม ดังนี้

ครั้งที่ 1 ใส่หลังปลูก 1 สัปดาห์ ใช้สูตร 15-15-15
ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 15-15-15
ครั้งที่ 3 ใส่หลังจากครั้งที่ 2 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 15-15-15
ครั้งที่ 4 ใส่หลังจากครั้งที่ 3 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 13-13-21


การให้น้ำ:
ปริมาณของน้ำนั้นขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ความชุ่มชื้นของดิน ปริมาณลมที่พัดผ่านจะทำให้การคายน้ำมาก จึงไม่ควรปล่อยให้ผิวหน้าดินแห้งติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากรากจะหาอาหารอยู่บริเวณผิวดิน จึงทำให้หยุดชะงักการเจริญเติบโต


การตัดแต่งหน่อ:
ตัดแต่งหน่อหลังจากปลูกประมาณ 3-4 เดือน จะมีหน่อขึ้นมารอบ ๆ โคนให้ตัด ไปเรื่อยจนกว่าจะเริ่มออกปลี หรือหลังปลูกแล้วประมาณ 7-8 เดือน ควรมีการไว้หน่อทดแทน 1-2 หน่อ โดยหน่อที่ 1 และที่ 2 ควรมีอายุห่างกันประมาณ 4 เดือน เพื่อให้ผลกล้วยมีความอุดมสมบูรณ์ โดย เลือกหน่อที่อยู่ในทิศทางที่ตรงกันข้าม

การตัดแต่งใบ :
ควรตัดแต่งใบช่วงที่ต้นเริ่มโตจนถึงเก็บเกี่ยว โดยเลือกใบแก่ และใบที่เป็นโรคออก ตัดให้เหลือประมาณ 7-12 ใบ เพื่อป้องกันต้นกล้วยโค่นช่วงออกปลี เพื่อใช้ใบปรุงอาหาร และเพิ่มความเจริญเติบของผลกล้วย


การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวกล้วยระยะใดขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการขนส่ง หากขนส่งไปขายไกล ๆ อาจตัดกล้วยเมื่อความแก่ประมาณ 75% การดูลักษณะความอ่อนแก่ของกล้วย อาจดูจากลักษณะผล เช่น ดูขนาดลูกกล้วย เหลี่ยมกล้วย หรือใช้วิธีการนับอายุจากวันแทงปลี หรือวันตัดปลีในการตัดจะต้องพิจารณาถึงต้นสูงหรือเตี้ย ถ้าสูงก็ให้ตัดบริเวณโคนต้น เพื่อให้ต้นเอียงลงมา โดยให้อีกคนหนึ่งจับหรือรับเครือกล้วยไว้ จะต้องเหลือก้านให้ยาวพอสมควร นำไปยังโรงเรือนเพื่อคัดขนาดบรรจุต่อไป


การปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว
นำเครือกล้วยแขวนไว้บนราว ปล่อยให้ยางไหลจนแห้ง
ทำความสะอาดถูกผลหรือบริเวณปลายผลที่มีกลีบแห้งติดอยู่ออกให้หมf แยกเครือกล้วยออกเป็นหวี ๆ อย่างระมัดระวังอย่าให้รอยตัดช้ำ คัดเลือกผลที่มีรอยตำหนิ หวีที่ไม่ได้ขนาดออก จุ่มในน้ำผสมสารไธอาเมนตาโซล แล้วผึ่งลมหรือเป่าให้แห้ง บรรจุหีบห่อ/บรรจุลงเข่งโดยมีใบตองรอง เพื่อป้องกันบอบช้ำ


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร




การปลูกกล้วย

     
กล้วยเป็นไม้ผลเขตร้อน ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ผลสุกนอกจากจะใช้รับประทานเป็นผลไม่แล้ว ยังสามารถนำมาปรุงอหารคาวหวาและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปชนิดต่าง ๆ อีกหลายชนิด ได้แก่ กล้วยตาก ท๊อปฟี่ กล้วยทอด กล้วยบวชชีกระป๋องกล้วยในน้ำเชื่อมกระป๋อง เป็นต้น

     
ส่วนใบตองสดสามารถนำไปใช้ห่อของ ทำงานประดิษฐ์ศิลปต่าง ๆ ได้แก่ กระทง บายศรี ใบตองแห้งใช้ทำกระทงใส่อาหารและ ใช้ห่อผลไม้เพื่อให้ผิวสวยงามและป้องกันการทำลายของแมลง ก้านใบและกาบกล้วยแห้งใช้ทำเชือก กาบสดใช้สำหรับการแทงหยวกประกอบเมรุในการฌาปนกิจศพหัวปลี (ดอกกล้วยน้ำว้า) ยังใช้ประทานแทนผักได้ดีอีกด้วย สำหรับคุณค่าทางอาหาร กล้วยเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินเอ

     
เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำอีกทั้งปลูกแล้วดูแลรักษาง่าย ให้ผลผลิตเร็วและจเริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศไทยรวมทั้ง ตลาดยังมีความคล่องตัวสูงทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก กล้วยจึงเป็นไม้ผลที่เกษตรกรควรพิจารณาปลูกเป็นการค้าทั้งในลักษณะ พืชหลักหรือแซมพืชอื่น ๆ เป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง

สถานการณ์ผลิตและการตลาดกล้วย

     
๑. สถานการณ์ผลิต
กล้วยน้ำว้ามีการปลูกกันทั่วไปทั้งแถบหลังบ้านและและเชิงการค้า ปี ๒๕๓๘ มีพื้นที่ปลูก ๗๒๓,๐๐๐ ไร่ผลผลิต ๑,๑๘๕,๐๐๐ ตัน แหล่งปลูกได้แก่ เลย นครพนม หนองคาย ชุมพร ระนอง และนครราชสีมา

     
กล้วยหอม ส่วนใหญ่มีการปลูกเชิงการค้าแหล่งปลูกได้แก่ ชุมพร ระนอง สงขลา นราธิวาส และกรุงเทพมหานคร ปี ๒๕๓๘ มีพื้นที่ปลูก ๕๓,๕๖๐ ไร่ ผลผลิต ๙๐,๔๓๙ ตัน ผลผลิตเฉลี่ย ๒,๓๙๑ กิโลกรัม / ไร่

     
กล้วยไข่ เป็นกล้วยที่ปลูกเชิงการค้าเป็นส่วนใหญ่ แหล่งปลูกสำคัญ จังหวัดกำแพงเพชร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครสวรรค์ สุโขทัย ชลบุรี ตรัง นครศรีธรรมราช ปี ๒๕๓๘ มีพื้นที่ปลูก ๙๓,๐๐๐ ไร่ ผลผลิต ๑๕๐,๐๐๐ ตัน ผลผลิตเฉลี่ย ๒,๑๔๐ กิโลกรัม / ไร่

     

๒. สถานการณ์ตลาด
การตลาดกล้วยส่วนใหญ่ปลูกเพื่อส่งขายตลาดภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหอมและกล้วยไข่

     
๒.๑ กล้วยน้ำว้า
ตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดกล้วยสดเพื่อการบริโภคได้แก่ตลาดท้องถิ่น ตลาดประจำจังหวัดและตลาดกลางกรุงเทพ ได้แก่ ตลาด อตก.ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ฯลฯ ราคาที่เกษตรกรขายได้ในปี ๒๕๓๗ กิโลกรัมละ ๓.๒๒ บาท

     
นอกจากนี้กล้วยน้ำว้ายังสามารถส่งโรงงานแปรรูปต่างๆ เช่น โรงงานทำกล้วยตาก กล้วยกวน กล้วยทอด กล้วยฉาบ

     
สำหรับการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศส่วนใหญ่อยู่ ในรูปผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยกระป๋องในน้ำเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยผสมกับ ผลไม้อื่น (ฟรุ๊ทสลัด)

     
๒.๒ กล้วยหอมทอง
ตลาดภายใน ส่วนใหญ่เป็นกล้วยสดเพื่อการบริโภคผลสุกตลาดนอกเป็น ตลาดท้องถิ่น ตลาดประจำจังหวัด ตลาดกลาง ได้แก่ สี่มุมเมือง ตลาดไท ปากคลองตลาด ฯลฯ ราคาที่เกษตรกรขายได้ ปี ๒๕๓๗ กิโลกรัมละ ๙.๓๐ บาท

     
ส่วนตลาดส่งออก ปัจจุบันมีการผลิตกล้วยส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น ของสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จ.เพชรบุรี และที่สหกรณ์การเกษตรละแม จ.ชุมพร ปริมาณที่ได้ส่งออกปี ๒๕๓๙ จำนวน ๘๗๘ ตัน มูลค่า ๑๘.๕ ล้านบาท

     
๒.๓ กล้วยไข่
ตลาดภายในประเทศ ได้แก่ ตลาดท้องถิ่นเช่น ตลาดรับของกิโลเมตร ๘ ถ.สายกำแพงเพชร จ.พิจิตร ตลาดปาอ่าว ริมถนนสายเอเซียระหว่างนครสวรรค์ - กำแพงเพชร ตลาดประจำจังหวัด และตลาดกลางกรุงเทพ ได้แก่ ปากคลองตลาด ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท เป็นต้น ราคาที่เกษตรกรขายได้ ในปี ๒๕๓๘ กิโลกรัมละ ๔.๒๗ บาท

     
ตลาดส่งออกได้แก่ ตลาดฮ่องกง ตลาดญี่ปุ่น ตลาด ไต้หวัน ปริมาณที่ส่งออกปี ๒๕๔๐ จำนวน ๑,๓๐๐ ตัน มูลค่า ๘.๓๒ ล้านบาท

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

     
กล้วยเป็นไม้ผลล้มลุกที่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น โดยเฉพาะในสภาพที่อากาศคงที่ จะทำให้กล้วยเจริญเติบโตและให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ช่วงอากาศแห้งแล้งที่ยาวนาน หรือช่วงอากาศหนาวเย็น ๒-๓ เดือน มีผลต่อการชะงักการเจริญเติบโตของกล้วยได้ และ ทำให้ผลผลิตกล้วยต่ำลง

     

ดิน
ที่เหมาะสมต่อการปลูกกล้วยควรเป็นดินที่มีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) อยู่ระหว่าง ๔.๕ - ๗ ที่เหมาะสมที่สุดคือ (pH) = ๖ เป็นดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำดี

     
ความชื้น
พื้นที่ที่เหมาะสมการปลูกกล้วยควรมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยระหว่าง ๕๐ - ๑๐๐ นิ้ว / ปี จำนวนวันที่ฝนตกควรยาวนาน หากมีฝนตกในช่วงสั้น การปลูก กล้วยจะต้องให้น้ำชลประทานช่วยเพิ่มรักษาความชุ่มชื้นของดินเพิ่มขึ้น แต่ในพื้นที่ฝนตกชุกควรทำควรทำการระบายน้ำให้แก่กล้วย

     
ลม
พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกกล้วยไม่ควรเป็นแหล่งที่มีลมแรงตลอดปี นอกจากจะทำให้ใบกล้วยฉีกขาดแล้วอาจจะมีผลทำให้กล้วยหักกลางต้น (หักคอ) หรือโค่นล้มได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงที่กล้วยออกเครือแล้ว



พันธุ์กล้วยที่ปลูกเป็นการค้า
๑. กล้วยน้ำว้า
เป็นกล้วยที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ ไทยสามารถทนทานสภาพดินฟ้าอากาศได้ดีกว่ากล้วยพันธุ์อื่น ๆ การดูแลรักษาง่ายใช้ประโยชน์จากผล ต้น ใบ ดอก มากกว่ากล้วย ชนิดอื่น ๆ ลำต้นสูงปานกลาง เมื่อสุกรชาติหวาน เนื้อแน่นสีเหลืองอ่อน กล้วยน้ำว้าสามารถจำแนก เป็นพันธุ์ต่างๆ ดังนี้

    
๑.๑ กล้วยน้ำว้าแดง สีเนื้อของผลมีไส้กลางสีแดง

๑.๒ กล้วยน้ำว้าขาว สีเนื้อของผลมีไส้กรองสีขาว

๑.๓ กล้วยน้ำว้าเหลือง สีเนื้อของผลมีไส้กลางสีเหลือง

๑.๔ กล้วยน้ำว้าค่อม เป็นกล้วยที่ลำต้นเตี้ยหรือแคระ

     

๒. กล้วยหอมทอง
เป็นกล้วยที่มีลักษณะลำต้นใหญ่แข็งแรงกาบใบชั้นในมีสีเขียวหรือชมพูอ่อน เครือได้รูปทรงมาตรฐานมีน้ำหนักมากผลยาวเรียว ปลายผลคอดเป็นแบบคอขวด เปลือกหนา ผลสุกผิวมีสีเหลืองทอง เนื้อมีรสชาติหอมหวาน โดยเฉลี่ยเครือหนึ่ง ๆ จะมีประมาณ ๖ หวี เป็ยพันธุ์ที่ไม่ต้านทานโรคตาย พรายและโรคใบจุด

     
๓. กล้วยหอมเขียว
เป็นกล้วยที่มีลักษณะทั่ว ๆ ไปคล้ายกล้วยหอมทองแต่กล้วยหอมเขียวกาบ ใบชั้นในมีสีแดงสด ปลายผลมน ผลสุกมีสีเหลืองงอมเขียว เปลือกหนา เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ในตลาดต่างประเทศนอกจากนี้กล้วยหอมเขียวยังต้านทานโรคตายพรายได้ดี แต่อ่อนแอต่อโรคใบจุด

     
๔. กล้วยหอมค่อม
เป็นกล้วยหอมอีกชนิดหนึ่งลำต้นเตี้ยหรือแคระผลมีลักษณะคล้ายหล้วยหอมเขียว เนื้อรสชาติดี จึงมีชื่อว่ากล้วยหอมเขียวเตี้ยอีกด้วย

     
๕. กล้วยไข่
เป็นกล้วยที่มีลำต้นสูงบาง สีใบและก้านใบสีเหลืองอ่อนไม่มีนวล กาบใบมีสีน้ำตาลหรือสีช็อคโกแลตเครือเล็ก ผลมีขนาดเล็กเปลือกบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองเข้มเนื้อแน่นสีเหลือง รสหวาน เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่ม ต้านทานโรคตายพราย แต่อ่อนแอต่อโรคใบจุด

     
๖. กล้วยหักมุก
เป็นกล้วยที่มีลำต้นขนาดปานกลางลำต้นมีสีเขียวนวล ผลโต เป็นเหลี่ยม สีเขียวนวลปลายผลเรียว ผลเมื่อสุกสีเหลืองนวล เปลือกหนามีรอยแตกลายงาเนื้อฟู สีเหลืองเข้มเหมาะสำหรับนำมาทำกล้วยปิ้ง กล้วยเชื่อม

     
๗. กล้วยเล็บมือนาง
เป็นกล้วยที่มีลำต้นค่อนข้างเล็กไม่สูงมากนักผลขนาดเล็ก ปลายผลเรียวแหลม ผลสุกมีสีเหลืองเข้ม เนื้อแน่น รสชาติหอมหวานใช้สำหรับรับประทาน สุกหรือทำเป็นกล้วยตากเป็นพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าทางภาคใต้ของประเทศไทย จังหวัดที่ปลูกเป็นการค้ามากคือ จังหวัดชุมพร




ฤดูกาลปลูกกล้วย
การปลูกกล้วยให้ได้ผลดีควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ซึ่งดินมีความชุ่มชื้นในช่วงฤดูฝนเหมาะสำหรับการเจริญ เติบโตทางลำต้นและออกปลีจนสามารถเก็บเกี่ยวกล้วยได้ในช่วงปลายฤดูฝนพอดี แต่อย่างไรก็ตามสำหรับการปลูกกล้วยในเขตชลประทานที่มีน้ำเพียงพอ สามารถดำเนินการได้ตลอดเวลา

     
กล้วยที่กำหนดเวลาปลูกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค ได้แก่

     
๑. กล้วยไข่
ควรได้ผลผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วงสารทไทย ไหว้พระจันทร์ ชาวสวนส่วนใหญ่จะเริ่มปลูกในราวเดือนเมษายน - พฤษภาคม ซึ่งจะทำให้สามารถเก็บเกี่ยวกล้วยได้ในช่วงเดือน สิงหาคมถึง เดือนตุลาคม

     
๒. กล้วยหอม
การปลูกกล้วยเป็นการค้าสำหรับการตลาดภายในประเทศก็เช่นเดียวกันกลับกล้วยไข่ เกษตรกรคาดหวังว่าจะเก็บเกี่ยวกล้วยขายในช่วงสารทไทย ไหว้พระจันทร์ และกินเจ ซึ่งจะทำให้ราคากล้วยสูงกว่าช่วงปกติแต่สำหรับการผลิตกล้วยหอมเพื่อ การส่งออกนั้นส่วนใหญ่จะทำการผลิตในลักษณะรวมกลุ่มใหญ่เพื่อ ผลิตกล้วยส่งให้ตลาดผู้ส่งออกอย่างต่อเนื่อง เช่น การผลิตกล้วยหอมทองของสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น ซึ่งการผลิตจะต้องมีการวางแผนการผลิตให้สามารถเก็บเกี่ยวตามที่ตลาดส่งออกต้องการ




การขยายพันธุ์
ในการผลิตกล้วยเป็นการค้านั้น นิยมทำการขยายพันธุ์กล้วยสำหรับการเพาะปลูก ๓ วิธี ดังนี้

     
๑. การขยายพันธุ์จากหน่อ
หน่อที่เกิดจากต้นแม่ที่ได้ทำการปลูกกล้วยต้นแรกไปแล้ว ได้แก่หน่ออ่อน หน่อใบคาบ หน่อแก่ หน่อใบกล้าจะมีวิธีการ ดังนี้

     
เตรียมอุปกรณ์ขุดได้แก่เสียมหรือชะแลงหน้ากว้างที่คมสำหรับขุดตัดแยกหน่อจากต้นแม่และ ขณะเดียวกันก็สมารถใช้งัดหน่อที่ตัดแยกจากต้นแม่แล้วนำหน่อมาตัดรากออกด้วยมีดโต้ แล้วกลบดินไว้ตามเดิม

     
๒. การขยายพันธุ์ด้วยเหง้า
วิธีการนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยของไทยนักเพราะเป็นขบวน การขยายพันธุ์ที่ค่อนข้างยุ่งยากเสียเวลานานในการเลี้ยงกล้าที่เกิดใหม่ มีวิธีการดังนี้

     
ขุดเหง้ากล้วยที่ตัดเครือใบแล้วนำมาผ่าใบลงตามยาวเป็น ๒ หรือมากกว่า ๒ แล้วแต่ขนาดและความสมบูรณ์ของเหง้า และนำไปชำในวัสดุเพาะชำ จนได้ต้นกล้าขนาดหรือพร้อมที่จะปลูกได้ จึงทำการย้ายปลูกได้ต่อไป

     
๓. การขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ซึ่งในการผลิตกล้วยในหลาย ๆ ประเทศ นิยมใช้วิธีนี้มากเพราะ ในการผลิตกล้วยเพื่อส่งตลาดในครั้งละมากๆ จะต้องมีการวางแผนการผลิตให้ได้ผลผลิตคุณภาพดีส่งตลาดในเวลาเดียวกันเป็นช่วง ๆ ไป เหมาะสำหรับการผลิตกล้วยเป็นการค้าแบบแปลงใหญ่ ข้อดีกล้วยที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ คือกล้วยจะตกเครือในเวลาเดียวกัน แต่เกษตรกรต้องเสียเวลา ในการเพาะปลูกยาวนานกว่าวิธีการแยกหน่อ



หน่อพันธุ์กล้วยสำหรับการเพาะปลูก
หน่อกล้วยที่เกิดจากต้นกล้วยต้นแม่สามารถจำแนกตามรูปร่างและลักษณะต่างๆ ดังนี้

     
๑. หน่ออ่อน
เป็นหน่ออายุน้อย ขนาดเล็กมีเพียงในเกล็ดอยู่เหนือผิวดิน ซึ่งไม่นิยมนำไปเพาะปลูก

     
๒. หน่อใบดาบ
เป็นหน่อที่เกิดจากตาของเหง้า ใบเลี้ยงเล็กขนาดสูงประมาณ ๗๕ เซนติเมตรมีเหง้าขนาดประมาณ ๑๕ เซนติเมตร เหมาะสำหรับการแยกไปเพาะปลูก

     
๓. หน่อแก่
เป็นหน่อที่เจริญมาจากหน่อใบดาบใบเริ่มแผ่กว้างขึ้น อายุประมาณ ๕-๘ เดือนมีเหง้าขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๕ เซนติเมตร เหง้าของหน่อแก่อาจมีตาที่สามารถเจริญ เป็นหน่อใหม่ได้หลายหน่อ

     
๔. หน่อใบกว้าง
เป็นหน่อที่เกิดจากตาของเหง้าแก่หรือเหง้าที่ไม่แข็งแรง สมบูรณ์ลักษณะใบแผ่กว้างตั้งแต่ยังมีอายุน้อย ซึ่งไม่นิยมนำไปเพาะปลูก




การเลือกหน่อกล้วยเพื่อการเพาะปลูก
๑. ต้องเป็นหน่อทีเหง้าใหญ่สมบูรณ์ของหน่อไม่ มากเกินไปส่วนใหญ่อยู่ประมาณ ๗๕ เซนติเมตร

     
๒.เป็นหน่อที่ไดจากต้นแม่สมบูรณ์ ไม่เป็นโรคตายพราย หรือมีแมลงเข้าทำลาย โดยเฉพาะด้วงงวง เข้าทำลายมาก่อน

     
๓. ส่วนเหง้าต้องไม่ถูกโรคแมลงทำลาย

     
๔. เป็นแหล่งพันธุ์ที่เชื่อถือได้ซึ่งเกษตรกรได้มี การตรวจสอบประวัติของสวนแล้ว ไม่เคยมีโรคระบาดมาก่อน

     
๕. กรณีเป็นหน่อที่มีวางจำหน่าย ต้องพิจารณาความสดใหม่เหง้าใหญ่ไม่บอบช้ำอีกด้วย




การใส่ปุ๋ย
เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่มีอายุสั้นจึงทำให้การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากกล้วยตั้งตัวได้แล้วเกษตกรควรรีบใส่ปุ๋ยให้แก่กล้วย เพื่อการเจริญเติบโตทางลำต้นและการตกแต่งเครือที่มีคุณภาพ ชนิดปุ๋ย มีดังนี้

     
๑. ปุ๋ยคอก ใส่ขณะเรียมหลุมปลูกแล้ว อัตรา ๕ กก./ต้น และ หลังกล้วยเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนออกปลีอัตรา ๕-๑๐ กก./ต้น

     
๒. ปุ๋ยไนโตรเจน ที่นิยมใช้ คือโซเดียมไนเตรทหรือแอมโมเนียมซัลเฟต ใช้วิธีการหว่านลงดินปริมาณ ๖๐ กรัม / ตัน แล้วให้น้ำทันที (การใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตบ่อย และมากเกินไปจะทำให้ดินเป็นกรด และ เป็นอันตรายต่อกล้วย)

     
๓. ปุ๋ยเคมี สูตร ๑๓-๑๓-๒๑ ปุ๋ยนี้ควรให้หลังติดผลแล้ว อัตรา ๕๐๐ กรัม / ต้น โดยแบ่งใส่ ๒ ครั้ง

           
- ครั้งแรกหลังตัดปลีแล้ว

- ครั้งที่ ๒ หลังจากครั้งแรก ๑ เดือน



การกำจัดวัชพืช
วัชพืชที่มาแย่งดูดอาหารในดินไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตมีผล ทำให้กล้วยมีความเจริญเติบโตช้าลง บางชนิดอาจทำให้การปฏิบัติเป็นไปด้วยความยากลำบาก ที่อาศัยของโรคและแมลงบางชนิด เกษตรกรควรมีการกำจัดวัชพืชอย่างเหมาะสม และถูกวิธี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

     
๑. วิธีกล ได้แก่ การถอน ดาย หรือ ถากาด้วยจอบ ควรทำการกำจัดขณะที่วัชพืชมีต้นเล็ก ก่อนที่วัชพืชนั้นจะออกดอก ถ้าเป็นพืชที่มีดอกต้องเก็บภาชนะที่ใส่เมล็ดวัชพืช ร่วงหล่นไปตามพื้นดิน มิฉะนั้นจะทำให้วัชพืชมีการระบาด และแพร่ระบาดกระจายมากยิ่งขึ้น ควรเก็บวัชพืชออกมารวมกันแล้วทำการเผาหรือฝัง หากกอง ทิ้งไว้เฉย ๆ เมล็ดที่แห้งอาจถูกกลมพัดพาไปงอกเป็นต้นใหม่ได้ต่อไป

     
๒. วิธีเขตกรรม โดยการปลูกพืชแซม เลือกพืชที่มีระบบรากตื้นและสามารถ ใช้ลำต้นเป็นปุ๋ยได้อีกด้วย เช่น พืชตระกูลถั่วต่างๆ หรือพืชผักชนิดต่าง ๆนอกจากจะ ช่วยลดปริมาณวัชพืชในแปลงปลูกกล้วย ยังทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

     
๓. ใช้วิธีคลุมดิน หลังจากมีการตัดแต่งกิ่งใบหล้วยแล้วเกษตรกรก็นิยมใช ้ใบกล้วยช่วยคลุมหน้าดินไว้ นอกจากจะช่วยให้ลดปริมาณวัชพืชลงได้แล้ว ยังช่วยป้อง กันการชะล้างของหน้าดินอีกด้วย



การตัดแต่งหน่อ
หลังจากปลูกกล้วยไปแล้วประมาณ ๕-ต เดือน กล้วยจะเจริญเติบโตมากขึ้น ในช่วงนี้จะมีหน่อกล้วย เจริญขึ้นมาพร้อมกับต้นแม่ จำนวน ๔-๕ หน่อหรือมากกว่านั้น หน่อขนาดใหญ่ เป็นหน่อตาม อยู่ตรงข้ามต้นแม่จะแย่งอาหารจากต้นแม่ ทำให้เครือกล้วยที่ออกมาจากต้นแม่มีขนาดเล็กเกษตรกรที่มีการดูแล สม่ำเสมอควรขุดแยกออกตั้งแต่ยังมีขนาดเล็กอยู่หากหน่อดังกล่าวมีขนาดใหญ่มากแล้ว จะไม่สามารถขุดออกได้ ทำลายโดยใช้น้ำมันก๊าดหยอดลงที่ยอดประมาณ ๑/๒ ช้อนชา ส่วนหน่ออื่น ๆ เก็บไว้ได้ ๑-๒ หน่อ หากมีมากกว่านี้ควรขุดออกบ้าง แต่ไม่ควรขุดหน่อในช่วงกล้วยออกเครือ เพราะอาจทำให้กล้วย ผลลีบเล็ก เครือเล็กหรือสั้นลงได้เกษตรกรควรใช้มีดปาดหน่อ ที่เกิดช่วงตกเครือให้สั้นลงได้ จะช่วยลดการแย่งอาหารจากต้นแม่ ได้อีกครั้งยังสามารถชะลอการเจริญเติบโตของหน่อ และสามารถขุดหน่อมาใช้ปลูกต่อไป หลังจากที่ทำการตัดเครือกล้วยแล้ว


การออกปลี
เมื่อปลูกกล้วยไปประมาณ ๖-๘ เดือน กล้วยจะมีลำต้นขนาดใหญ่พร้อมที่จะออกปลี โดยกล้วยจะแตกใบยอดสุดท้าย ซึ่งมีขนาดสั้นและเล็กมาก ชูก้านใบขึ้นชี้ท้องฟ้า ซึ่งเรียกว่า "ใบธง" หลังจากนั้นกล้วยจะแทงปลีกล้วยสีแดงออกให้เห็นชัด และกาบปลีจะบานต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งผลกล้วยที่อยู่บนหวีเริ่มสั้นและเล็กลง อีกทั้งขนาดแต่ละผลไม่สม่ำเสมอกันซึ่งเรียกว่า "หวีตีนเต่า" ส่วนหวีที่ถัดหวีจากหวีที่ตีนเต่า ลงมาก็จะมีขนาดเล็กมากเท่ากับก้านดอกในกาบปลีที่กำลังบานอยู่ ถ้าปล่อยให้หัวปลีบานต่อไป เรื่อย ๆ ก็จะเห็นเพียงก้านดอกกล้วยเล็ก ๆ เรียงกัน คล้ายหวีกล้วยขนาด จิ๋วการบานของหัวปลีจะทำให้การพัฒนาขนาดของผลกล้วยช้าลง ส่งผลให้ผลกล้วยมีขนาดเล็ก ๆ ไม่โตเท่าที่ควร


การตัดปลี
หลังจากกล้วยออกปลีมาแล้วระยะหนึ่ง ก็จะเห็นผลกล้วยเล็กจำนวนมาก เป็นหวี ๆ อย่างชัดเจน โดยทุกหวีจะมีผลกล้วยขนาดเท่า ๆ กัน ยกเว้นหวีตีนเต่า และหวีต่อไปก็จะเป็นผลกล้วยขนาดเล็กมาก ๆ ให้ทำการตัดปลีออกหลังจากปลีลานต่อไปจากหวีตีนเต่าอีก ๒ ชั้น เพื่อไว้สำหรับมือจับปลายหรือ ขณะทำการตัดเครือกล้วยใน ช่วงเก็บเกี่ยวอีกทั้งสะดวกในการหยิบยกและแบกหาม


การห่อผล
หลังจากที่ได้ทำการตัดปลีกล้วยออกไปแล้ว ผลกล้วยก็จะเริ่มพัฒนาและขยายขนาดใหญ่ ในการผลิตกล้วยเป็น การค้าที่ต้องการให้ผิวกล้วยสวยงามปราศจากโรคแมลงทำลาย สีผิวนวลขึ้น และน้ำหนักผลเพิ่มมากขึ้น ควรมีการห่อผล

     
การห่อผลนั้น อาจจะเลือกกระดาษถุงปูนซีเมนต์พับเป็นถุง แล้วเจาะรูระบาย อากาศ หรือใช้ถุงพลาสติกสีฟ้าเจาะรูหรือแบบก้นเปิดก็ได้ ปัจจุบันได้มีการผลิตถุงพลาสติกมาจำหน่ายพร้อมด้านห่อ


การค้ำกล้วย
ต้นกล้วยหลังตกเครือแล้ว จะมีการหักกลางต้น (หักคอ) ได้ง่ายเมื่อกล้วยใกล้จะแก่ ทั้งนี้เพราะน้ำหนักผลมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกล้วยหอมทอง ซึ่งจะมีการหักล้มได้ง่ายมาก เพื่อป้องกันการเสียหายจากหักล้ม เกษตรกรควรใช้ไม้ค้ำกล้วยหลังตกเครือแล้ว ด้วยไม้รวกที่ ผ่านการแช่น้ำมาแล้วประมาณ ๑ เดือน โดยดำเนินการดังนี้

     
๑. นำไม้รวกเสี้ยมปลายด้านที่จะใช้ปักลงดิน ทั้ง ๒ อัน แล้วผูกเชือกปลายไม้ทั้งสองอันนี้ โดยให้เหลือส่วนปลายไม้ด้านบนอันละ ๓๐ เซ็นติเมตร เพื่อทำหน้าที่รับน้ำหนักต้นกล้วย จากนั้นให้ถ่าง ไม้ทั้งสองไขว้กันเป็นลักษณะคีมแล้วนำไปค้ำต้นกล้วยบริเวณที่ต่ำลงมาจากตำแหน่งเครือกล้วย ประมาณ ๓๐-๕๐ เซนติเมตร

     
นอกจากใช้ไม้รวกแล้ว เกษตรกรอาจใช้ไม้ที่อยู่ในท้องถิ่นที่เป็นไม้ง่ามอยู่แล้วแทนก็ได้

          


การเก็บเกี่ยว
ปกติแล้วกล้วยจะแก่โดยใช้เวลาประมาณ ๓-๔ เดือน หลังจากเริ่มออกดอก การเก็บเกี่ยวความแก่ ๘๐-๑๐๐% ทั้งนี้แล้วแต่ความต้องการของตลาด

     
ลักษณะของผลที่นิยมเก็บเกี่ยวนั้น จะมีลักษณะผลกลมและเห็นเหลี่ยมเล็กน้อย ถึงผลกลมไม่มีเหลี่ยมเลย

     
การตัดเครือกล้วยให้มือที่ถนัดมากที่สุดจับมีด และมืออีกข้างหนึ่งจับที่ปลายเครือ แล้วใช้มีดยาวซึ่งคมตัดก้านเครือ (งวง) เหนือกล้วยหวีแรก ประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ในสวนที่เป็นแบบยกร่อง จะล้างน้ำไปเลยช่วยให้น้ำยางไม่เปื้อนผลกล้วย แล้วนำไปผึ่งแห้งในที่ร่ม การผึ่งควรตั้งให้ปลายเครืออยู่ด้านบน โดยวางพิงกันไว้



การจัดการผลกล้วยหลังเก็บเกี่ยว
๑. ทำการชำแหละหวีกล้วยเป็นหวี ๆ แล้วบรรจุหีบห่อส่งตลาดปลายทางเพื่อนำไปบ่มขายในตลาดผู้บริโภคต่อไป ช่วงขณะชำแหละหวีกล้วยต้องระวังน้ำยางกล้วยจะเปื้อนผลกล้วยจะดูไม่สวยงาม อาจชำแหละลงในน้ำแล้วผึ่งให้แห้ง หรือเป่าด้วยพัดลม

     
๒. การคัดคุณภาพและการคัดขนาด หลังชำแหละกล้วยเป็นหวี ๆ แล้วอาจจะพบกล้วยบางหวีหรือบางผลมีตำหนิ หรือถูกโรคแมลงทำลายก็ให้คัดแยกออก ขณะเดียวให้ทำการคัดขนาดหวี และผลกล้วยไปในคราวเดียวกันเลย ตามขนาดใหญ่ กลาง เล็ก

     
๓. บรรจุหีบห่อลงในกล่อง หรือเข่งที่บุด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หรือใบตองสดก็ได้ เพื่อป้องกันมิให้กล้วยผิวช้ำหรือดำได้ ขณะบรรจุจะมีการนับจำนวนผลไว้แล้วกรณีจำหน่ายแบบนับผล แต่ถ้าจำหน่ายเป็นกิโลกรัมก็ทำชั่งน้ำหนักแต่กล่องหรือเข่ง แล้วเขียนบอกขนาดและน้ำหนักไว้เลยด้วยป้ายกระดาษแข็ง

     
นอกจากบรรจุภาชนะแล้ว ในบางท้องที่อาจใช้วิธีบรรจุบนกระบะรถยนต์บรรทุก หรือตู้รถไฟแบบห้องเย็น โดยการเรียงหวีกล้วยคว่ำลงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ



การบ่มกล้วย
เป็นวิธีที่ทำให้กล้วยที่ตัดมานั้นสุกและเข้าสีสม่ำเสมอกันสะดวกในการจำหน่าย ในประเทศไทยนิยมบ่มกันได้แก่ กล้วยไข่ และกล้วยหอมทอง โดยเรียงกล้วยในเข่งที่กล้วยกระดาษโดยรอบ หรือใส่กล้วยลงในอ่างแล้วใส่ถ่านแก๊ซแคลเซี่ยมคาร์ไบด์ ที่ทุบเป็นก้อนเล็ก ๆ ห่อด้วยกระดาษ จะทำให้กล้วยสุกภายใน ๑-๓ วัน

     
นอกจากนี้แล้วยังมีการใช้สารละลายเอทธีลีน เช่น อีเธล (Ethel) ความเข้มข้น ๕๐๐ - ๑๐๐๐ ppm พ่นที่ผลกล้วยแล้วหุ้มด้วยถุงพลาสติก ๑ วัน แล้วเปิดออกผึ่งไว้ให้อากาศถ่ายเท กล้วยจะสุกภายใน ๑-๓ วัน สิ่งที่ควรคำนึงในการบ่มนั้น ภาชนะที่ใช้บ่มต้องสะอาด อุณหภูมิอยู่ระหว่าง ๑๒-๑๗ องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ ๙๐%



การชะลอการสุก
ในการส่งกล้วยไปจำหน่ายในตลาดปลายทางที่ค่อนข้างไกล หรือตลาดต่างประเทศที่ต้องการกล้วยดิบ ในกล้วยหอมทองมีปัญหาเพราะสุกง่าย แม้ไม่ต้องบ่ม การทำให้กล้วยสุกช้าโดยใช้อุณหภูมิต่ำในการขนส่งก็ จะช่วยชะลอการสุกได้ระยะหนึ่ง ทั้งนี้รวมถึงการใช้สารละลาย โปแตสเซี่ยมเปอร์มังกาเนต (ด่างทับทิม) ใส่ลงไปในกล่องก็สามารถชะลอการสุกได้อีกวิธีหนึ่งด้วย




http://sites.google.com/a/korat1.co.cc/www/Home/coconut/banana

sites.google.com/a/korat1.co.cc/www/Home/coconut/banana -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (13337 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©