-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 493 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปุ๋ยเคมี








แม่ปุ๋ยคืออะไร


         
คือปุ๋ยเคมีที่ผลิตขึ้นมาโดยมีปริมาณธาตุอาหารในสูตรเข้มข้นมาก การผลิตเป็นการทำปฏิกิริยาทางเคมี แม่ปุ๋ยเคมีไม่มีสารตัวเติม เช่น ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0), ยูเรีย (46-0-0) และโพแทสเซียมคลอไรท์ (0-0-60) ซึ่งบรรจุกระสอบละ 50 ก.ก.




ปุ๋ยเคมีสูตรสำเร็จที่จำหน่าย เช่น สูตร
16-20-0 หมายความว่าอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการผสมปุ๋ยใช้เองอย่างไร

         
มีความหมายว่าปุ๋ยเคมีชนิดปั้นเม็ด หรือชนิดผสมคลุกเคล้าเพื่อจำหน่ายที่มีปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน 16 ก.ก. และธาตุฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ได้ 20 ก.ก. ในน้ำหนักรวม 100 ก.ก. เกี่ยวข้องกับการผสมป๋ยใช้เองคือ การผสมปุ๋ยให้ได้ปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน 16 ก.ก. และธาตุฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ได้ 20 ก.ก. นั้นต้องใช้แม่ปุ๋ย 18-46-0 จำนวน 44 ก.ก. และยูเรีย (46-0-0) อีก 18 ก.ก. แต่แม่ปุ๋ย 2 ชนิดรวมกันได้เพียง 62 ก.ก. ยังขาดอีก 38 ก.ก. จึงจะครบ 100 ก.ก. พระราชบัญญัติปุ๋ย 2518 กำหนดว่าถ้าจำนวนยังไม่ครบ 100 ก.ก. ต้องหาเพิ่ม เช่น ดิน ทราย ดินขาว ใส่ให้ครบ (เพราะกำหนดไว้เป็นร้อยละโดยน้ำหนัก) แล้วขายรวมมาเป็นปุ๋ยเคมีได้ ดังนั้นปุ๋ยเคมีชนิดปั้นเม็ดหรือชนิดคลุกเคล้าที่จำหน่ายในตลาดจะมีสารตัวเติมไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสูตรที่มีปริมาณธาตุกาหารพืชมากหรือน้อย ถ้ามีธาตุอาหารพืชในสูตรมาก ก็มีตัวเติมน้อย ถ้ามีธาตุอาหารใยสูตรน้อยก็มีตัวเติมมาก ยิ่งมีตัวเติมมากเท่าใด เกษตรกรก็เสียเงินซื้อของไม่มีประโยชน์มากเท่านั้น



ตัวเติมทั่วๆไปรวมอยู่ในสูตรปุ๋ยเคมีมากเท่าใด

ทั่วไปมีตัวเติมอยู่ระหว่าง 80, 150, 200, 250, 300, 350, 400, 490, 510 บางสูตรถึง 600 ก.ก. ต่อน้ำหนักปุ๋ยรวม 1000 ก.ก. หรือกล่าวโดยเฉลี่ย ถ้าเกษตรซื้อปุ๋ยเคมีดังกล่าว 20 กระสอบ จะได้เนื้อแม่ปุ๋ย 8-19 กระสอบ นอกนั้นเป็นตัวเติมจากความจริงที่กล่าวแล้ว การผลิตปุ๋ยสำเร็จรูปเพื่อจำหน่ายชนิดปั้นเม็ดหรือชนิดคลุกเคล้า มีขั้นตอนการผลิตหลายขั้นตอน ต้องจำหน่ายในราคาแพง  ทำให้ต้องหาแนวทางเลือกให้เกษตรได้ใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาถูกลง โดยยังคงคุณภาพเหมือนเดิมด้วยการผสมปุ๋ยใช้เองอีกประการหนึ่ง พืชชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน แต่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินและสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศแตกต่างกันไป พืชนั้นๆ ต้องการปริมาณและสัดส่วนของธาตุอาหารพืชไม่เท่ากัน คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชต่างๆ ในดินแต่ละภาค แต่ละจังหวัด แต่ละท้องที่ จึงยุ่งยากและซับซ้อน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร นักวิชาการเกษตร ผู้ดำเนินการวิจัยการเกษตร พนักงานระดับอำเภอตำบล ซึ่งใกล้ชิดกับเกษตรกรในท้องถิ่นจะสามารถชี้แจง อธิบายให้เกษตรกรปรับปรุงสูตรและสัดส่วนธาตุอาหารตามที่ต้องการได้ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยได้อย่างแท้จริง แต่การปรับปรุงดังกล่าวจะทำไม่ได้เลย ถ้าไม่มีแม่ปุ๋ยเคมีแต่ละชนิดเพื่อลดหรือเพิ่มปริมาณตามที่พืชต้องการ

         
ปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ ที่จำหน่ายในประเทศไทย ชนิดที่ใส่ทางดิน เกษตรกรสามารถผสมใช้เองได้ทุกสูตร โดยวิธีการง่ายๆมีความถูกต้องและได้ผลดี ถูกหลักวิชาการทุกประการเพียงแต่มีแม่ปุ๋ยเคมี 3 ชนิดเท่านั้น เมื่อผสมธาตุอาหารหลัก (ไนโตรเจร ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม) ได้แล้ว ถ้าต้องการจะผสมธาตุอาหารรองหรือธาตุอาหารเสริมต่อไปก็สามารถทำได้โดยง่าย



โครงการให้เกษตรผสมปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆใช้เองยากมากไหม

เมื่อเปรียบเทียบกับการลดต้นทุนการผลิตที่เกษตรกรได้รับและการที่ประเทศชาติประหยัดเงินได้อย่างมหาศาลแล้ว ไม่มีโครงการใดจะง่ายกว่านี้อีกแล้ว



การผสมปุ๋ยเคมี ต้องจัดหาวัสดุอุปกรณ์อะไรบ้าง

1. ต้องจัดหาเครื่องชั่งขนาด 50 ก.ก. พลั่วผสมซีเมนต์หรือจอบ ถังพลาสติกสำหรับใส่แม่ปุ๋ยเวลาชั่ง ขันพลาสติกสำหรับตักปุ๋ย ในกรณีผสมใช้เองครั้งละมากๆ อาจดัดแปลงทำเครื่องผสมเอง หรือซื้อเครื่องผสมซีเมนต์ขนาดเล็กก็ได้

2. แม่ปุ๋ยเคมี 3 ชนิดคือ ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0), ยูเรีย (46-0-0), โพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) ที่จริงแล้วมีแม่ปุ๋ยอีกหลายชนิด แต่ถ้าคำนึงถึงต้นทุนแล้ว แม่ปุ๋ยทั้ง 3 ชนิดถือว่าถูกหลักเศรษฐกิจ

3.ตารางกำหนดน้ำหนักแม่ปุ๋ยเคมีที่ต้องการผสมสูตรต่างๆ ตามน้ำหนักที่ต้องการใช้



ต้นทุนของปุ๋ยเคมีผสมใช้เอง

ราคาของปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรผสมใช้เองยิ่งถูกมาก ยิ่งทำให้เกษตรกรต้องการผสมใช้เองมากขึ้น เกษตรกรจึงต้องเข้าใจวิธีการเปรียบเทียบราคาปุ๋ยเคมีชนิดสำเร็จรูปแล้วที่จำหน่ายในแต่ละท้องถิ่น โดยเกษตรกรคิดได้ดังนี้

1. ต้องการทราบราคาแม่ปุ๋ยเคมีแต่ละชนิดว่าราคา ก.ก.ละกี่บาท

2. ต้องทราบน้ำหนักแม่ปุ๋ยแต่ละชนิดที่ต้องการผสมสูตรนั้นๆ

3. เอาจำนานแม่ปุ๋ยที่ใช้แต่ละชนิดคูณกับราคาต่อ ก.ก. ของแม่ปุ๋ยเคมีแต่ละชนิด แล้วรวมกันเป็นราคาทุนที่จ่ายไปเพื่อผสมปุ๋ยสูตรนั้นๆ เทียบน้ำหนักเท่ากับปุ๋ยเคมีชนิดเม็ด 1000 ก.ก.



ตัวอย่าง

ราคาแม่ปุ๋ย (ที่กำหนดในนี้สูงกว่าราคาที่ ส.ก.ต. จำหน่ายจริง) กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้เกษตรกรเปรียบเทียบราคาได้เอง


แม่ปุ๋ยเคมี

ราคา (บาท/ตัน)

ราคา (บาท/ก.ก.)

ราคา (บาท/กระสอบ)

18-46-0

46-0-0

0-0-60

8,000

7,000

5,000

8.00

7.00

5.00

400

350

250



 

ข้อจำกัดของการผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง

1. ต้องอบรมชี้แจ้งทำความเข้าใจกับผู้มีหน้าที่ฝึกอบรมเกษตรกร และให้เกษตรกรสามารถผสมปุ๋ยสูตรต่างๆ ตามตารางที่กำหนดไว้

2. ต้องเตรียมเอกสารสำหรับใช้เป็นคู่มือชั่งแม่ปุ๋ยแต่ละชนิดตามสูตรและจำนวนที่ต้องการใช้

3. เมื่อนำแม่ปุ๋ยเคมีมาผสมกันแล้วจะชื้นง่าย ควรใช้ภายในระยะเวลา 15 วัน ดังนั้นจึงควรผสมแม่ปุ๋ยเคมีเมื่อถึงเวลาที่ต้องการใช้ ส่วนแม่ปุ๋ยเคมีที่เหลือหรือที่ซื้อเตรียมไว้ใช้ครั้งต่อๆไป เก็บแยกชนิดกันไม่ให้ถูกแดด ฝน จะคงสภาพดีอย่างเดิม เป็นเวลาหลายปีโดยไม่เสื่อมคุณภาพ

4. เกษตรกรต้องเสียเวลาและแรงงานเพิ่มขึ้น (การผสมแม่ปุ๋ยเคมีให้ได้สูตรที่ต้องการ 500 ก.ก. ใช้เวลาประมาณ 30 นาที)

5. เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องจัดซื้อและขนแม่ปุ๋ยเคมีจากแหล่งขายเอง ในระยะเริ่มโครงการแหล่งขายแม่ปุ๋ยเคมียังห่างไกลจากแหล่งใช้ปุ๋ย เนื่องจากแหล่งขายมีจำนวนน้อย

6. ความน่าใช้และความสวยงามของปุ๋ยเคมีผสมใช้เองน้อยกว่าปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดที่สำเร็จรูป

7. ระยะแรกของโครงการ เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงยึดมั่นกับสี ขนาดของเม็ดปุ๋ยเคมี และบริษัทที่จำหน่าย แต่การจัดหาแม่ปุ๋ยเคมีแต่ละครั้ง คำนึงเฉพาะราคาและคุณภาพทางเคมีสำหรับสมบัติทางกายภาพเฉพาะเท่าที่กำหนดไว้เท่านั้น

8. ไม่มีหลักประกันว่าจะมีแม่ปุ๋ยเคมีจำหน่ายครบทั้ง 3 ชนิด

9. ราคาแม่ปุ๋ยเคมีขึ้นอยู่กับการกำหนดราคาของผู้ค้าปุ๋ยเคมี ถ้ามีจำนวนผู้ค้าน้อยรายอาจทำให้ราคายุติธรรมเท่าที่ควร




สูตรผสมปุ๋ย

สูตร 16-20-0  สำหรับใช้เป็นปุ๋ยข้าวในนาดินเหนียว เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ฝ้าย


สูตร 16-16-8  สำหรับใช้เป็นปุ๋ยข้าวในนาดินทราย เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ฝ้าย กาแฟ ไผ่


สูตร 15-15-15 สำหรับใช้เป็นปุ๋ยข้าวในนาดินทราย เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ฝ้าย กาแฟ ไผ่ตง งา พริกมะเขือต่างๆ ไม้ดอก ขนุน โกโก้ ไม้ผลต่างๆ


สูตร 13-13-21 สำหรับใช้เป็นปุ๋ยแห้ว อ้อย มันเทศ สับปะรด กาแฟ ขนุน โกโก้ ไผ่ตง มะม่วงหิมพานต์ ปาล์ม มะพร้าว ไม้ผลต่างๆ ผักกินหัว หน่อไม้ฝรั่ง แตง กะหล่ำ


สูตร 8-24-24  สำหรับใช้เป็นปุ๋ยแห้วระยะออกหัว ถั่วต่างๆ มังคุด ทุเรียน เงาะ มันเทศ


สูตร 10-20-10 สำหรับใช้เป็นปุ๋ยไม้ดอก ไม้ผลต่างๆ มะม่วงหิมพานต์ องุ่น ผักกินหัว ผักพวกกะหล่ำ น้ำเต้า แตงโม หอม พริก มะเขือ กล้วย ฝรั่ง มะละกอ ถั่วต่างๆ ฝ้าย


สูตร 15-5-20  สำหรับใช้เป็นปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง หน้าวัวระยะแรก ไม้ผลต่างๆระยะติดผล ผักกินหัว มะเขือเทศ ไม้ดอก ไม้ประดับ ผักพวกแตง


สูตร 25-7-7   สำหรับใช้เป็นปุ๋ยไผ่ตง ผักกินใบ อ้อยขายพันธุ์ ใช้กับพืชที่ต้องการให้เติบโตเร็ว ระยะแรกๆไม้ผล ถ้าใส่ติดต่อกันนานๆพืชจะอ่อนแอ ล้ม และเป็นโรคต่างๆง่าย


สูตร 18-4-5   สำหรับใช้เป็นปุ๋ยยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ถึงกรีดได้ และปลูกในดินร่วน


สูตร 16-8-14  สำหรับใช้เป็นปุ๋ยยางพาราหลังปลูกถึง 3 ปีครึ่ง ในดินร่วนปนทราย


สูตร 18-10-6  สำหรับใช้เป็นปุ๋ยยางพาราที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี และดินที่ปลูกเป็นดินร่วน




www.ruangkitt.com/index.php?option=com_content&view...
-









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (3794 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©