เทคนิคการเลือกซื้อปุ๋ย
ปุ๋ย (1) การเลือกซื้อปุ๋ยให้คุ้มค่าควรมีการเปรียบเทียบราคา/หน่วย
ก่อนซื้อ
ปุ๋ย (2) โดยอาศัยหลักการคำนวณอย่างง่าย สนใจข้อมูลเพิ่มเติมโทร
*1677 กด 2
|
ปุ๋ย คือ วัสดุที่มีธาตุอาหารพืชเป็นองค์ประกอบหรือสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดธาตุ
อาหารพืช เมื่อใส่ลงไปในดินแล้วจะปลดปล่อยหรือสังเคราะห์ธาตุอาหารที่
จำเป็นให้แก่พืช ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์จึงต้องการธาตุอาหารพืชเพิ่มเติม
จากปุ๋ยน้อยกว่าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
ปุ๋ยแบ่งได้ 4 ประเภท : ดังนี้
1.ปุ๋ยเคมี คือ สารประกอบ อนินทรีย์ ให้ธาตุอาหารพืช เป็นสารประกอบที่
ผ่านกระบวนการผลิตทางเคมี เมื่อใส่ลงไปในดินที่มีความชื้นที่เหมาะสมจะ
ละลายให้พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว
2.ปุ๋ยอินทรีย์ คือ สารประกอบที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ได้แก่ พืช สัตว์ จุลินทรีย์ ฯลฯ
ผ่านกระบวนการผลิตทางธรรมชาติ ปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่ใช้การปรับปรุงคุณสมบัติ
ทางกายภาพของดิน ทำให้ร่วนซุย ระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศได้ดี รากพืชชอน
ไชไปหาธาตุอาหารได้ง่าย
ปุ๋ยอินทรีย์มี 3 ประเภท คือ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกและปุ๋ยพืชสด
ปุ๋ยอินทรีย์มีปริมาณธาตุอาหารพืชน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมี และธาตุอาหาร
พืชส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไนโตรเจนอยู่ในสารประกอบ
จำพวกโปรตีน เมื่อใส่ลงไปในดินพืชจะไม่สามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้ทันที
ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในดิน แล้วปลดปล่อยธาตุอาหาร
เหล่านั้นออกมาในรูปสารปรกอบอนินทรีย์ เช่นเดียวกับปุ๋ยเคมีจากนั้นพืชจึงดูด
ไปใช้ประโยชน์ได้
3.ปุ๋ยชีวภาพ คือ ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่และมีคุณสมบัติพิเศษ
สามารถสังเคราะห์สารประกอบธาตุอาหารพืชได้เอง หรือสามารถเปลี่ยนธาตุ
อาหารพืชที่อยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชให้มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดไป
ใช้ประโยชน์ได้
ปุ๋ยชีวภาพแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสังเคราะห์สาร
ประกอบธาตุอาหารพืชไนโตรเจนได้เอง ได้แก่ ไรโซเบียมที่อยู่ในปมรากพืชตระ
กูลถั่ว แฟรงเคียที่อยู่ในปมของรากสนทะเล สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่อยู่ใน
โพรงใบของแหนแดงและยังมีจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินอย่างอิสระอีกมากที่มี
ความสามารถในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้แก่พืชได้เช่นกัน และอีกประ
เภทหนึ่งคือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่ช่วยทำให้ธาตุอาหารพืชในดินละลายออกมาเป็น
ประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น เช่น ไมคอร์ไรซาที่ช่วยให้ฟอสฟอรัสที่ถูกตรึงอยู่ในดิน
ละลายออกมาอยู่ในรูปที่พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้
4.ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ใช้อุณหภูมิสูงถึง
ระดับที่สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ทั้งที่เป็นโรคพืช โรคสัตว์ และโรคมนุษย์รวมทั้ง
จุลินทรีย์ทั่วๆไปด้วย จากนั้นจึงนำจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นปุ๋ยชีวภาพที่เลี้ยงไว้
ในสภาพปลอดเชื้อมาผสมกันกับปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าว และทำการหมักต่อไปจนกระ
ทั่งจุลินทรีย์ที่ใส่ลงไปในปุ๋ยหมักมีปริมาณคงที่จุลินทรีย์เหล่านี้นอกจากจะช่วยตรึง
ไนโตรเจนให้แก่พืชแล้วยังช่วยผลิตสารฮอร์โมนพืชเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต
ของรากพืช และจุลินทรีย์บางชนิดยังสามารถควบคุมโรคพืชในดินและกระตุ้นให้
พืชสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้อีกด้วย
การเลือกปุ๋ยที่คุ้มค่า :
เกษตรกรโดยทั่วไปมักตัดสินใจในการเลือกซื้อปุ๋ยโดยมักจะพิจารณาจากราคาต่อ
กระสอบเป็นหลัก กระสอบเท่าๆกันกระสอบใดถูกกว่าก็มักจะเลือกซื้อ ปุ๋ยกระสอบ
นั้น วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง การเลือกซื้อปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าจะ
ต้องได้ธาตุอาหารพืชที่คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายซื้อปุ๋ย ให้ใช้วิธีการคำนวณเปรียบเทียบ
ราคาของปุ๋ยต่อน้ำหนักธาตุอาหารพืช 1 หน่วย(กก.)ตัวอย่าง เช่น
1.การเปรียบเทียบราคาปุ๋ย 46-0-0 และปุ๋ย 21-0-0
1)ปุ๋ย 46-0-0 ราคาตันละ 13,400 บาท
2)ปุ๋ย 21-0-0 ราคาตันละ 8,000 บาท
วิธีคำนวณ
1) ปุ๋ย 46-0-0 หมายความว่าปุ๋ย 1,000 กก.มีไนโตรเจน 460 กก.
ราคา = 13,400 บาท เพราะฉะนั้นไนโตรเจน 1 กก. ราคา =
13,400/460 = 29.10 บาท
2) ปุ๋ย 21-0-0 หมายความว่าปุ๋ย 1,000 กก.มีไนโตรเจน 210 กก.
ราคา = 8,800 บาท เพราะฉะนั้นไนโตรเจน 1 กก. ราคา =
8,000/210 = 38.10 บาท
ดังนั้น ปุ๋ย 21-0-0 จึงมีราคาแพงกว่าปุ๋ย 46-0-0
2.การเปรียบเทียบราคาปุ๋ย 15-15-15 และปุ๋ย 16-20-0
1)ปุ๋ย 15-15-15 ราคาตันละ 12,000 บาท
2)ปุ๋ย 16-20-0 ราคาตันละ 11,000 บาท
วิธีคำนวณ
1) ปุ๋ย 15-15-15 หมายความว่าปุ๋ย 1,000 กก.มีธาตุอาหารพืช 450
กก. ราคา = 12,000 บาท
เพราฉะนั้นธาตุอาหาร 1 กก. ราคา = 12,000/450 = 26.60 บาท
2) ปุ๋ย 16-20-0 หมายความว่าปุ๋ย 1,000 กก.มีธาตุอาหารพืช 360
กก. ราคา = 11,000 บาท
เพราะฉะนั้นธาตุอาหาร 1 กก. ราคา = 11,000/360 = 30.50 บาท
3.การดังนั้น ปุ๋ย 16-20 0 จึงมีราคาแพงกว่าปุ๋ย 15-15-15
คำนวณราคาธาตุอาหารพืชในปุ๋ยอินทรีย์
- ปุ๋ยอินทรีย์ (2-1-1) ราคาตันละ 3,000 บาท
วิธีคำนวณ
ปุ๋ยอินทรีย์ 1,000 กก.มีธาตุอาหารพืช 40 กก. ราคา = 3,000 บาท
เพราะฉะนั้นธาตุอาหารพืช 1 กก. ราคา = 3,000/40 = 75 บาท
*** ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบราคาต่อหน่วยธาตุอาหารพืชปุ๋ยอินทรีย์จะมีราคา
แพงกว่าปุ๋ยเคมี ส่วนธาตุอาหารทั้งหมด 40 กก. ในปุ๋ยอินทรีย์ 1 ตัน พืชไม่
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั้งหมดได้ทันที ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายของ
จุลินทรีย์เปลี่ยนจากรูปอินทรีย์สารเสียก่อนพืชจึงดูดไปใช้ได้ ซึ่งอัตราย่อยสลายนี้ช้า
มาก ปุ๋ยอินทรีย์จึงปลดปล่อยธาตุอาหารพืชออกมาในปีแรกเพียงร้อยละ 12-20
ที่มา: คู่มือสำหรับเกษตรยุคใหม่ธรรมชาติของดินและปุ๋ย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทร์
ดร.ประทีป วีระพัฒน
bio-worm.igetweb.com/index.php?mo=3&art=242193 -
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.